The Twin Stupas according to Buddhaphumi's Philosophy
๒.สถูปพระเจ้าสุทโธทนะในยุคปัจจุบัน
๓.สถูปพระนางสิริมหามายา เทพมารดาแห่งชาวฮินดู
๑.บทนำ
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้เขียนได้เดินทางแสวงบุญร่วมกับผู้แสวงบุญไทยพุทธจำนวน ๓๐ คน เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าที่ทรงประกาศคำสอนของพระองค์ต่อพระราชบิดา และพระมารดาเลี้ยงที่พระนครกบิลพัสดุ์ในแคว้นสักกะ ปัจจุบันคืออำเภอกบิลพัสดุ์ จังหวัดลุมพินี สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้า โดยผู้เขียนเชื่อว่าเมื่อผู้เขียนจาริกแสวงบุญมาถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เมื่อผู้เขียนมรณภาพแล้วดวงวิญญาณของตนเองจะไปเกิดสุคติโลกสวรรค์ แม้ผู้เขียนมาที่นี้หลายครั้งก็ไม่รู้สึกเบื่อ เมื่อผู้เขียนและพุทธศาสนิกชนจาริกจากอำเภอลุมพินีไปยังอำเภอกบิลพัสดุ์ จังหวัดลุมพินี ระหว่างสองข้างทางเป็นที่พื้นที่เพาะปลูกของชาวอำเภอกบิลพัสดุ์ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูและรับประทานอาหารมังสวิรัติ เพื่อชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้โมกษะตามความเชื่อในศาสนาฮินดู
ในปัจจุบันพระราชวังกบิลพัสดุ์เหลือเพียงซากปรักหักพังเพียงแห่งเดียว ที่เหลืออยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์โบราณ (Ancient Kapilavastu) ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานทางพุทธศาสนาและแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมทางทิศเหนือของพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณ และเป็นที่ตั้งของสถูปฝาแฝด(Twin Stupas) และอยู่ในระยะที่สามารถเดินได้จากพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณไปยังสถูปแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาหิมาลัยและเป็นที่ตั้งของพระนครกบิลพัสดุ์แห่งอาณาจักรสักกะ ซึ่งถือเป็นสถานที่ประสูติของพระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ สถูปแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังกบิลพัสดุ์โบราณ ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับมาหลายปี และทรงตัดสินพระทัยสละวรรณะกษัตริย์ เพื่อผนวชเป็นพระโพธิสัตว์และค้นหาสัจธรรมของชีวิต พระองค์ทรงบิณฑบาตรเพื่อยังชีพจากคนทุกวรรณะ เพื่อจะได้มีเวลาพัฒนาศักยภาพชีวิต และปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘เพื่อบรรลุสัจธรรมแห่งชีวิตว่าพรพรหมผู้สร้างมนุษย์ และวรรณะให้คนทำงานตามวรรณะที่เกิดจริงหรือไม่ มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้หรือไม่
ในปัจจุบันทุกประเทศทั่วโลก ได้จัดตั้งสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของประชาชนในประเทศของตนให้มีทักษะในการทำงานด้านต่าง ๆ และนำความรู้ไปพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าและทันสมัยในด้านต่าง ๆ เช่นประเทศอารยะ ในยุคปัจจุบัน แต่สถานศึกษาเหล่านั้น ไม่ได้มุ่งพัฒนาศักยภาพชีวิตผู้คนให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ อริยบุคคลจึงเป็นบุคคลหายากเพราะดับไปพร้อมกับปรินิพพาน ส่วนมนุษย์ในสมัยพุทธกาล วิญญาณไปจุติอีกโลกหนึ่งตามกรรมที่สั่งสมอยู่ในดวงวิญญาณ แต่การจุติวิญญาณตามกรรมที่เป็นนามธรรมห่อหุ้มจิตนั้นไว้ สู่ภพภูมิอันเป็นสุคติภูมิหรือทุกคติภูมิตามกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่ตนได้ทำลงไปแล้ว ทำให้จิตวิญญาณเกิดความยากที่จะกลับชาติมาเกิดในอาณาจักรแห่งแคว้นสักกะนี้ได้อีกหากไม่มีพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกบันทึกไว้แล้วยากที่มนุษย์จะค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรแห่งแคว้นสักกะนี้ได้ เพราะร่องรอยของอาณาจักรแห่งแคว้นสักกะนี้เหลืออยู่น้อยมาก มีเพียงโบราณสถานเป็นหลักฐาน แต่แทบจะตีความหมายของโบราณสถานไม่ได้และนามสมมติของสถานที่ต่าง ๆ ไม่หลงเหลือให้ผู้คนพบเห็นด้วยประสาทสัมผัสแล้ว
แต่เมื่อจิตวิญญาณของมนุษย์ผัสสะแล้ว จึงขาดความสนใจศึกษาในประวัติของโบราณสถานเหล่านั้น เพราะชีวิตของตนเองนึกคิดแล้ว มองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านั้นจะนำสิ่งที่มีอยู่นั้น ไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้แก่ชุมชนของตัวเองได้น้อยมากแทบจะไม่มีด้วยซ้ำจึงเป็นสิ่งที่จิตวิญญาณผัสสะเพื่อรับรู้แค่รู้เท่านั้นทำให้ขาดความสนใจ แม้ว่าจะมีร่องรอยของโบราณสถาน เป็นบ่อเกิดที่มาความรู้ทางประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวก็ตาม แต่ประวัติศาสตร์เรื่องราวความเป็นมาของมูลเหตุการสร้างเป็นอนุสรณ์นั้นหลงเหลือให้เห็นน้อยมาก นอกจากคัมภีร์พระไตรปิฏกในศาสนาของพระพุทธเจ้ามีหลักฐานหลงเหลือไว้ เป็นหลักฐานให้ผู้คนได้ศึกษาค้นหา เพื่อหาความรู้ด้วยเหตุผลของการอนุมานความรู้แต่หลักฐานเหล่านั้น หลงเหลือในดินแดนอันห่างไกลอยู่นอกดินแดนชมพูทวีปเช่น ศรีลังกา พม่า ไทย และลาว เป็นต้น
ขณะเดียวกันผู้อาศัยนั้นในดินแดนแห่งพุทธภูมิไม่มีความรู้ อันเกิดจากปัญญาญาณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า เพราะแนวคิดของพวกเขาอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ และความคาดหวังจะมีชีวิตที่ดีกว่า จากความศรัทธาในเทพเจ้าที่พวกประกอบพิธีอามิสบูชาถวาย ให้เทพเจ้าในแต่ละปีกาลเวลาผ่านไปกว่า ๒๕๐๐ กว่าปีแล้วเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมชมพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่ซึ่งเหลือ แต่ซากปรักหักพังไม่ไกลจากพระราชวังมากนัก ผู้เขียนได้เดินไปไปชมสถูปพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาตั้งตระหง่านเคียงคู่กัน ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังเก่ากบิลพัสดุ์อันเก่าแก่สร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้เขียนสนใจศึกษาเรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา ทั้งสองพระองค์ทรงมีจริยวัตรอันงดงาม ทรงมีแบบอย่างของชีวิตที่น่าศึกษา ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนสนใจจึงสนใจเขียนบทความเรื่อง The Twin Stupas (เคียงคู่ฟ้าชัวนิรันดร์) โดยอาศัยที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และบันทึกของสมณจีนอีก ๒ ท่าน เป็นที่มาของความรู้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาความรู้ในพระพุทธศาสนาให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น