Metaphysical Problems, Devdaha is the birthplace of Queen Maya Devi in Tripitaka.
บทนำ
อภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา นักปรัชญามุ่งหวังสำรวจธรรมชาติของความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์และอยู่รอบตัวของมนุษย์เอง นักปรัชญามีความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จึงตั้งประเด็นขึ้นมาพิจารณาความเป็นจริง เริ่มต้นจากความสงสัยได้แก่ความเป็นจริงคืออะไร ? เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ของแนวคิดทางปรัชญาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและการมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ตามปรัชญาพุทธภูมินั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงจากเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราไม่ควรเชื่อเรื่องราวเหล่านั้นทันที เราควรสงสัยก่อนจนกว่าจะได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อเรามีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราก็สามารถวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องนั้นได้
หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นไม่น่าเชื่อถือ และไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่าเป็นความจริงได้ เพราะโดยธรรมชาติของมนษย์นั้นมีจะมีอคติต่อผู้อื่นและมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายของตนเองที่มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่น ฝนตก น้ำท่วม เป็นต้น และเหตุการณ์ทางสังคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่น การฆ่ากัน การลักขโมย การข่มขืนกระทำชำเรา การดูหมิ่นผู้อื่น การดื่มสุราและเสพยา เป็นต้น นอกจากนี้ วิชาอภิปรัชญา ยังมีความสนใจศึกษาความจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้า เช่น พระพรหมและพระอิศวร ซึ่งเป็นความรู้ที่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ เป็นต้น
เนื่องจากหลักฐานทางญาณวิทยาส่วนใหญ่เป็นพยานบุคคลและมนุษย์มักมีอคติต่อกัน มีการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมอย่างจำกัด เพื่อแก้ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของหลักฐาน นักปรัชญาจึงสร้างทฤษฎีความรู้ประสบการณ์นิยมขึ้นซึ่งมีแนวคิดว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จะต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมเป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจ"เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น หากบุคคลนั้นไม่มีความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของตนเอง ก็จะขาดความน่าเชื่อถือและไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ หากนำมาอ้างเป็นหลักฐาน จะถือว่าเป็นพยานเท็จ เป็นต้น
ในการเขียนบทความนี้ผู้เขียนใช้ทฤษฎีความรู้แบบประจักษ์นิยมได้กำหนดหลักการว่า"บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จะต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตของเขาเองเท่านั้น"จากหลักการของทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนตีความว่าพยานบุคคลที่น่าเชื่อและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เขาต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมความรู้ไว้ในจิตของเขาเองเพื่อให้สามารถยืนยันข้อเท็จจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นได้ ถ้าผู้ใดไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง ไม่สามารถยืนยันความจริงของคำตอบได้ เป็นต้น เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ และได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่ออภิปรัชญาสนใจศึกษาความรู้จริงเกี่ยวกับมนุษย์นั้น เราสามารถแบ่งความจริงตามหลักอภิปรัชญาออกเป็น ๒ ประการคือ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ซึ่งเราสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ได้ดังต่อไปนี้
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น คือความเป็นความจริงชนิดหนึ่ง ที่บุคคลบางคนซึ่งเป็นนักตรรกะและนักปรัชญา ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตของตน โดยผ่านอาตนะภายในร่างกาย และสั่งสมเรื่องราวต่าง ๆ เป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจ เป็นต้น ความจริงที่สมมติขึ้นจึงมีลักษณะเกิดขึ้น มันตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไปในอากาศแต่ก่อนที่สิ่งนี้จะหายไป จิตใจมนุษย์จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านอาตนะภายในร่างกายและสั่งสม เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจของมนุษย์ แต่ธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์ไม่เพียงแต่รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต และสั่งสมเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจเท่านั้น แต่จิตใจของมนุษย์ยังมีหน้าที่คิดวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นด้วย แต่ข้อความเห็นเพียงคนเดียวยังขาดความน่าเชื่อถือเพราะมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ มีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต และมนุษย์ชอบมีอคติต่อผู้อื่นโดยความไม่รู้ ความกลัว ความเกลียดชัง และความรักใคร่ชอบพอเป็นการส่วนตัว เป็นต้น ดังนั้นเมื่อข้อความคิดเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ยังขาดความน่าเชื่อถือหากผู้ใดต้องการศึกษาในเรื่องนั้นต่อไป จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ให้เพียงพอ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ตอบที่ได้จากการวิเคราะห์หาเหตุผลอธิบายความจริงจะเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น เป็นต้น
๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ เป็นความจริงขั้นสูงสุดตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่น การปรินิพพาน โดยทั่วไปแล้ว เมื่อธรรมชาติของมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของตนเองและมักจะมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอทำให้ชีวิตมีความมืดมิดอยู่เสมอ เมื่อรับรู้เรื่องต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจึงไม่สามารถแยกแยะความจริงว่าเรื่องราวใดจริงเรื่องราวใดเท็จ หรือปัจจัยอะไรทำให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ นั้น ตามหลักปรัชญาเพราะแก่นแท้ของเมืองเทวทหะเป็นชุมชนทางการเมือง ที่ตั้งขึ้นโดยพระเจ้าโอกกากราชตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และก็ดับไปตามกฎไตรลักษณ์แต่เมืองเทวทหะโบราณได้ทิ้งร่องรอยไว้ เป็นเมืองหลวงเก่าและเป็นอารยธรรมที่สร้างขึ้นจากความคิดของมนุษย์ แม้หลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ จะกล่าวถึงเรื่องเมืองเทวทหะโบราณไว้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเมืองเทวทหะโบราณนี้ ตั้งอยู่ที่ใดในโลกมนุษย์ก็เป็นเรื่องที่เราจะตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานพิสูจน์ความจริงกันต่อไป
ปัญหาคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เทศบาลเมืองเทวทหะ(Devdaha municipality) ที่ตั้งอยู่ในเขตรูปานเดฮี (Rupandehi distruct)จังหวัดลุมพินี (Lumbini Province) เป็นเมืองเทวทหะโบราณที่พระมารดาของพระพุทธเจ้า พระนางมายาเทวีประสูติ ผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่าในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ผู้เขียนได้เดินทางไปแสวงบุญจากเมืองตันเซ็นไปยังเทศบาลตำบลเทวทหะ ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตรูปานเดฮี จังหวัดลุมพินี โดยใช้แผนที่โลกของกูเกิล ซึ่งเป็นเอกสารดิจิทัล เป็นแผนที่นำทาง กลุ่มของผู้เขียนได้เดินทางจากเมืองตันเซ็นไปเมืองเทวทหะ โดยได้แจ้งไว้อย่างชัดเจนผ่านทางอินเตอร์เน็ตในโทรศัพท์มือถือของผู้เขียน เมื่อผู้เขียนเดินเข้าไปในเมืองเทวทหะสภาพของเมืองได้เปลี่ยนไปสิ้นเชิง ลักษณะอาคารสถานที่อยู่อาศัยของชาวเมืองเทวทหะนั้น แตกต่างจากข้อความที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณโดยแสดงให้เห็นว่า เมืองเทวทหะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายตามกฎไตรลักษณ์ เหลือไว้แต่ซากปรักหักพังไว้ของเมืองโบราณ เมืองเทวทหะจึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น
แต่ซากปรักหักพังของโบราณสถานเหล่านี้ กลับเป็นพยานหลักฐานที่นักปรัชญาคาดคะเนความจริงโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการบอกเล่าถึงร่องรอยอารยธรรมที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงโปรดให้สร้างขึ้นจากปัญญาของชาวปัฏตาลีบุตรในปัจจุบันเมืองเทวทหะสมัยใหม่ มีถนนตัดเป็นเส้นตรงปูด้วยแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย และที่อยู่อาศัยของชาวเมืองเทวทหะเป็นแบบทันสมัย ไม่มีซากปรักหักพังของเมืองเทวทหะโบราณเหลือให้ผู้เขียนเห็นหลักฐานที่ชัดเจน เมื่อวิเคราะห์หลักฐานที่ผู้เขียนรับรู้จากประสาทสัมผัสของตนเองยังไม่ชัดเจนเพราะไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ว่าเป็นเมืองเทวทหะโบราณ เป็นสาเหตุให้ผู้เขียนสงสัยว่า Devdaha municipality คือพระนครเทวทหะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโกลิยะ เป็นที่ประสูติของพระราชินีมายาเทวี และพระราชินีประชาบดีโคตรมี หลักฐานนี้พบในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ แม้ว่าจะมีหลักฐานเหลือเพียงเล็กน้อยให้เราศึกษา แต่ชาวพุทธในเมืองนี้มีจำนวนน้อยมากที่สามารถนับได้ อย่างไรก็ตามไม่ได้ทำให้ความยิ่งใหญ่ของพระนครเทวทหะโบราณสูญเสียเสน่ห์ ซึ่งก็คือความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติของสรรพสิ่ง อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ผู้คนยังต้องการทราบประวัติของพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้า ประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาก็ยังคงเป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การศึกษาต่อไป (ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น