Metaphysics Problems regarding Wat Kalayamai, the birthplace of Queen Prachabodi Kotamee
โดยทั่วไป มนุษย์บางคนเป็นนักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเรื่องสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ เกิดจากเหตุปัจจัยของความเชื่อเรื่องการมีอยู่เทพเจ้า เมื่อมีผู้คนศรัทธาในเทพเจ้ามากขึ้น สิ่งของมีค่าต่าง ๆ ในการบูชายัญสร้างลาภสักการะเกิดขึ้นมากมาย ทำให้พราหมณ์เจ้าพิธีมีฐานะร่ำรวย ก็กลายเป็นผลประโยชน์ทางการเมือง เมื่อพราหมณ์อารยันต้องการรักษาลาภสักการะจากบูชา ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเล่าต่อ ๆ กันมา ก็ไม่ควรเชื่อทันที ควรสงสัยเสียก่อน ต้องมีหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าเป็นความจริง โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา อธิ หากไม่มีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาจากพยานหลักฐานเพียงปากเดียวไม่น่าเชื่อถือ และนักปรัชญาไม่ยอมรับว่าเป็นความรู้แท้จริง เพราะธรรมชาติของมนุษย์นั้นมักมีอคติต่อมนุษย์ด้วยกัน เนื่องจากจิตของมนุษย์มีความลำเอียงเพราะชอบพอ, เกลียดชัง, โง่เขลาและลำเอียงเพราะกลัว นอกจากนี้มนุษย์ ยังมีอวัยะอินทรีย์ ๖ มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ในสังคมที่เกิดขึ้นห่างไกลออกไป เป็นต้น
ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมินั้นจึงแบ่งความจริงเป็น ๒ ประการคือ
๑.ความจริงสมมติขึ้น ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า "สังขตธรรม" (สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้)
๒. ความจริงขั้นปรมัตถ์ ที่เรียกว่า "อสังขตธรรม" (สิ่งที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
๑.ความจริงสมมติขึ้น เมื่อผู้เขียนศึกษาคำว่า "สังขตธรรม" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๖ ได้กำหนดความหมายที่แน่นอนว่า สังขตธรรมคือสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งได้ กล่าวคือโดยทั่วไป สิ่งที่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์หรือตัวของมนุษย์ก็เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งทั้งสิ้น จึงลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะสลายสภาวะไปเองก่อนจะหายไปจากสายตาของมนุษย์รับรู้เรื่องราวเหล่านี้มาสั่งสมไว้ในจิตใจ มนุษย์จึงกำหนดชื่อสภาวะเหล่านี้ขึ้นมา จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจ ปรุงแต่งขึ้นในครรภ์มารดา เป็นเวลา ๙ เดือน คลอดออกมา ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็ตายไป ชีวิตมนุษย์จึงเป็นสิ่งไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็สมมติชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะ พระอานนท์ ดำรงชีวิตอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเช่นเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนม์มายุได้ ๘๐ ปี และดับไปด้วยความตาย เช่นพระสิทธัตถะพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พระอานนท์ปรินิพพานเช่นกัน จัณฑาลเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เดิมทีตามแนวคิดของปรัชญาศาสนาพราหมณ์อารยันเชื่อกันว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะของตน เมื่อมหาราชาแห่งอาณาจักรต่าง ๆศรัทธาในพระพรหมและพระอิศวร
๒. ความจริงขั้นปรมัตถ์ ที่เรียกว่า "อสังขตธรรม" (สิ่งที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) โดยทั่วไป มนุษย์ทั่วโลกเต็มไปด้วยชีวิตมืดมน ไม่สามารถคิดในการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา อธิบายความจริงที่สมมติขึ้นและความคิดขั้นปรมัตถ์ได้ แม้ยุคนี้เป็นยุควิทยาศาสตร์ นักวิศวกรยังไม่สามารถสร้างกล้องจุลทรรศน์ที่สามารถสองดวงวิญญาณของมนุษย์ออกจากร่างในขณะที่ตาย
ดังนั้น หลักคำสอนของพราหมณ์ในเรื่องนี้ถูกตราขึ้นเป็นกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี โดยแบ่งแยกประชาชนในแคว้นต่าง ๆ เป็น ๔ วรรณะ โดยกำหนดห้ามการแต่งงานระหว่างวรรณะและห้ามประชาชนปฏิบัติหน้าที่วรรณะอื่น ๆ หาก แต่มนุษย์มีชีวิตที่อ่อนแอควบคุมกิเลสตนเองไม่ได้ หักห้ามใจตนเองไม่ได้จึงเกิดการแต่งงานระหว่างวรรณะขึ้นมา จึงลงโทษจากคนในสังคมพิพากษาให้ขับไล่ออกจากถิ่นพำนักตน กลายเป็นนักโทษทางสังคมที่เรียกว่า "จัณฑาล" ต้องชายชีวิตเร่ร่อนตลอดชีวิตไปตามพระนครกบิลพัสดุ์ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลต้องใช้ชีวิตในวัยชรา ยามเจ็บป่วยและนอนตายข้างถนน เป็นต้น เป็นความรู้จากจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของพระองค์ เมื่อทรงเห็นปัญหาพระองค์ทรงมีพระกรุณาช่วยให้จัณฑาลพ้นทุกข์และสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมคนอื่น ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานซึ่งเป็นพยานบุคคลน่าเชื่อ เช่น พราหมณ์ในฐานะปุโรหิตและพระองค์ ทรงได้ฟังข้อเท็จจริงจากปุโรหิตว่าพระพรหมและอิศวรสร้างมนุษย์จริง แต่เมื่อพระองค์ทรงตรัสถามว่าพระพรหมและอิศวรมีความเป็นมาอย่างไร?ไม่มีพราหมณ์ปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ ทำให้พระองค์ทรงสงสัยการมีอยู่จริงของพระพรหมและพระอิศวร เป็นต้น

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชทรงปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์ว่าตามกฎแห่งธรรมชาติ เห็นว่าเมื่อมนุษย์ตาย วิญญาณของพวกเขาจะออกจากร่างกายไปเกิดอีกในภพอื่น ตามอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ แสดงว่าเห็นว่าชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยสองอย่างคือกายและจิต มิได้ขึ้นจากจิตใจหรือร่างกายเพียงอย่างเดียว องค์ประกอบของชีวิตเกิดจากปัจจัยทั้งสองอย่างคือร่างกายและจิตใจ เป็นต้น เมื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้าฟังข้อเท็จจริงได้เช่นนี้
ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อปรัชญาของศาสนาพราหมณ์สอนว่าพระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์และชีวิตมนุษย์ตายแล้วสูญเปล่าแสดงให้เห็นว่า พวกพราหมณ์ปุโรหิตยังไม่รู้การปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตของพวกเขาเอง จึงไม่มีญาณทิพย์เหนือมนุษย์ที่จะมองเห็นว่า เมื่อมนุษย์ตายวิญญาณจะออกจากร่างไปเกิดอีกในภพอื่นๆ พราหมณ์ปุโรหิตจึงไม่มีความรู้เหนือขอบเขตของประสาทสัมผัสของมนุษย์เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ชีวิตมนุษย์จึงเป็นที่เกิดจากปัจจัยการปรุงแต่งของกายและจิตใจ เป็นต้น บ้านเกิดของพระราชินีโคตรมีอยู่ในแคว้นโกลิยะโบราณ ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายมารวมกันเป็นแคว้นโกลิยะโบราณ ประกอบด้วยชุมชนทางการเมืองตั้งอยู่ในอาณาเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองและมีรัฐบาลทำหน้าที่บริหารประเทศ
ปัจจุบันแคว้นโกลิยะโบราณได้สูญเสียอำนาจอำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศไปแล้ว เป็นเพียงตัวอย่างของความจริง ตามหลักอสังขตธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เนื่องจากหลักฐานทางปรัชญาในฐานะพยานบุคคล สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ แต่ความไม่น่าเชื่อถือของพยานบุคคลมักมีอคติซ่อนอยู่ในจิตใจ และมนุษย์มักมีข้อจำกัดของตนเองในการรับรู้ความจริงผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง อาจอ้างข้อเท็จจริงเป็นเท็จเพื่อช่วยเหลืออาชญากรในการฉ้อฉลเพื่อให้มาซึ่งประโยชน์ของผู้เสียหาย หรือให้การเท็จในเหตุแห่งปรากฏการณ์ทางสังคมเพื่อไปช่วยเหลือผู้อื่นทั้งนี้ปรัชญาได้จัดทำทฤษฎีความรู้ขึ้นมาเป็นมาตรฐานความรู้ การวัดความรู้ที่แท้จริงหรือความรู้ที่แท้จริงของมนุษย์เป็นต้น
พยานเอกสารเกี่ยวกับเมืองเทวทหะเป็นสถานที่ประสูติของพระราชินีประชาบดีโคตรมี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระราชินีมายาเทวี พระมารดาของพระพุทธเจ้า เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐาน ในพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก [๒๑๓] " จากนั้นข้าพเจ้าทั้งหลายพร้อมด้วยสามีได้ตายไป ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บัดนี้เป็นภพสุดท้ายข้าพเจ้าได้กรุงเทวทหะ" เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และได้ฟังข้อเท็จจริงว่า ดวงวิญญาณของพระราชินีปชาบดีโคตมีได้ผ่านวัฏจักรแห่งความตาย และการกลับมาเกิดใหม่ในสังสารวัฏมาช้านานในภพชาติสุดท้ายได้ถือกำเนิดมาในพระนครเทวทหะเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ
หลักฐานบนเว็บไซต์ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานบนเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต และได้ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าวัดกัลยามัย (Kalyamai Temple) ตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลเมืองเทวทหะ อำเภอรูปานฮีเด (rupanhide district) จังหวัดลุมพินี (Lumbini province) ชาวเมืองนี้เชื่อกันว่า วัดเคยเป็นที่ตั้งของพระราชวังเทวเทวทหะซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระราชินีประชาบดีโคตมีมาก่อน ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสร้างวัดบนสถานที่ตั้งของปราสาทพระราชินีประชาบดีมาก่อน เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงคุณของพระนางประชาบดีโคตรมีในฐานะที่พระองค์ทรงอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ จนกระทั่งพระองค์ทรงออกผนวชพุทธสาวกเรียกพระองค์ว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดา เมื่อพยานหลักฐานรับฟังได้เป็นข้อยุติเช่นนี้ และไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด ยกขึ้นมาหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกอีกต่อไปถือว่า สถานที่แห่งนี้เป็นพระราชวังเทวทหะเป็นที่สถานที่ประสูติของพระราชินีประชาบดีโคตตรมี

ผู้เขียนอ้างตนเองเป็นพยานถึงสถานที่ประสูติของพระนางประชาบดีโคตรมี กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๓๓ น. ผู้เขียนร่วมเดินทางไปกับคณะพระธุดงค์ (pilgirm) ในโครงการก้าวตามธรรม (follow dhrama project) ได้จาริกมาประตูเมืองเทวทหะ ผู้เขียนอ่านข้อความเป็นภาษาอังกฤษบนประตูเมืองเทวทหะได้ความว่า " welcom vistit Devdaha the birth place Mayadevi the mother of Lord Buddha แปลเป็นภาษาไทยว่ายินดีต้องรับการมาเมืองเทวทหะบ้านเกิดของพระนางมายาเทวี พระมารดาของพระพุทธเจ้า เมื่อเข้าสู่ประตูเมือง สภาพของเมืองได้เปลี่ยนแปลงเป็นแบบทันสมัย ตามริมถนนเป็นอาคารพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ มีรถยนต์วิ่งผ่านไปมาตลอดเวลา
ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเทวทหะมีฐานะเทียบเท่ากับองค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย ซึ่งเป็นตำบลขนาดเล็ก ๆ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ ชาวเทวทหะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ ค้าขายและเกษตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเทวทหะ (Devdaha people ) ส่วนเปิดร้านค้าในอาคารพาณิชย์ที่ออกแบบอย่างทันสมัย ถนนในเมืองเทวทหะลาดยาง เกือบทั้งตำบลเทวทหะ ชาวเมืองเทวทหะนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าหลายองค์ และรับประทานอาหารมังสวิรัติ เป็นวิถีหลักในการชำระร่างกายและจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ เพื่อการหลุดพ้นไปสู่โมกษะ ลักษณะบ้านเรือนของชาวเทวทหะนั้นนิยมสร้างตัวบ้านตั้งอยู่ติดถนน บริเวณข้างบ้านจะปลูกถั่วไว้หลายไร่ เพื่อทำเป็นอาหารมังสวิรัติของคนในครอบครัวและส่งไปขายที่ตลาด เมื่อคณะของพระธุดงค์เดินผ่าน พวกเขาจ้องมองด้วยความประหลาดใจที่เห็น ผู้เขียนและนักบวชในพระพุทธศาสนาที่เดินทางผ่านเขตนี้ หลายคนที่ทางไปประเทศไทยอาจเข้าใจวิถีชาวพุทธที่บ้านของบ้านของพวกเรา
เมื่อคณะพระธุดงค์เดินจากประตูเมืองเทวทหะ (Devdaha city) ประมาณ ๑ กิโลเมตร ก็มาถึงวัดกัลยามัย (kanyamai temple) ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในพระพุทธศาสนา ในปัจจุบัน ผู้เขียนเห็นสภาพของวัดว่าสถานที่ปรักหักพัง (ruins) ของที่พักสงฆ์ อุโบสถ และวิหารที่สร้างขึ้น เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงพระนางปชาบดีโคตรมีซึ่งเป็นบุคคลที่ประเสริฐยิ่งต่อมนุษยชาติทั่วโลก เพราะพระราชินีประชาบดีโคตตรมีทรงเป็นพระมารดาให้น้ำนมแก่เจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมาพระองค์ทรงผนวชและพัฒนาศักยภาพของชีวิต จนทรงได้ตรัสรู้กฎธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษยชาติทั่วโลกที่มีวิถีชีวิตเท่าเทียมกัน จนพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงเป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา ผู้เขียนเห็นว่าพระนครเทวทหะในสมัยปัจจุบัน
นั่นคือเทศบาลตำบลเทวทหะ เป็นดินแดนที่ประสูติของพระราชินีประชาบดีโคตรอย่างแท้จริง. เมื่อผู้เขียนและพระธุดงค์มาถึงและเยี่ยมชมโบราณสถานแห่งนี้ ผู้เขียนเห็นโครงสร้างของวัด มีอุโบสถและที่พักสงฆ์ วัดกัลยามัยแห่งนี้ มีห้องปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ แบ่งเป็นห้องต่าง ๆ เรียงกั้นเป็นแถว ตัวอาคารแสดงว่า เคยเป็นสถานที่ที่พระภิกษุเคยเข้าพรรษา และมีทางเข้าเพียงทางเดียว ต่อมาวัดแห่งนี้ถูกทิ้งร้างเพราะมหาราชาผู้ปกครองดินแดนแห่งนี้ หมดศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่ศรัทธาในศาสนาฮินดู ส่วนสาเหตุที่มหาราชาหมดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็เพราะการปฏิบัติธรรมตามอริมรรคมีองค์ ๘ ไม่ตอบสนองกิเลสที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของพระองค์ เมื่อพวกวรรณะพราหมณ์ปฏิรูปตัวเอง โดยการงดเว้นบูชายัญด้วยสัตว์อีกต่อไป ส่งเสริมพราหมณ์ และวรรณะอื่น ๆ กินผัก และผลไม้ละเว้นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้ฟื้นศรัทธาของประชาชนอีกครั้ง
แม้แต่ในปัจจุบันนี้ ประชากรส่วนใหญ่ของเมืองเทวทหะนับถือศาสนาฮินดูและรับประทานมังสวิรัติเป็นอาหารหลัก แต่สัญลักษณ์ของเมือง ชาวเมืองเทวทหะยังถือว่าสถานที่ประสูติของพระนางมายาเทวี พระมารดาของพระพุทธเจ้า ตำบลเทวทหะตั้งอยู่ในเขตปกครองของรูปันฮีเด จังหวัดหมายเลข ๕ ของสหพันธสาธารณรัฐสาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล แม้แต่สถานที่สักการะในพระพุทธศาสนาจะถูกทำลายหมดสิ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงจนไม่เหลือพุทธสถานอีกต่อไป ศาสนบุคคลในพระพุทธศาสนาถูกทำลายสิ้น และไม่มีอยู่ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวเมืองเทวทหะอีกต่อไป แต่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาเกิดจากการพัฒนาศักยภาพ ของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะเองโดยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนเกิดญาณทิพย์เหนือมนุษย์และรู้กฏธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษย์ว่า เมื่อมนุษย์ตายไป จิตวิญญาณมนุษย์จะออกจากร่างไปเกิดในโลกอื่น ตามอารมณ์ของมนุษย์เอง กรรมเป็นสิ่งที่มั่นคง ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งใดได้
แม้ว่ามนุษย์ในแต่ละยุคสมัย จะมีเหตุผลมาสร้างทฤษฎีใหม่เพื่อโต้แย้งและหักล้างคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ตาม แต่เหตุผลเหล่านั้นเป็นเพียงการอธิบายความจริงเท่านั้น ไม่ใช่วิธีการพัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษย์ให้บรรลุความจริงขั้นปรมัตถ์ เหมือนวิธีปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ ของพระพุทธเจ้าในการมองเห็นจิตวิญญาณ อันเป็นแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ทุกคนจึงอาศัยอยู่ในร่างกายเพียงชั่วคราวเท่านั้น เป็นกฎธรรมชาติสากล มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเชื้อชาติไหน? ศาสนาไหน? วรรณะไหนพวกเขามีสถานะอะไร ? แม้ว่าจะยากจนก็ตาม คนร่ำรวยล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาตินี้ เมื่อปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ก็จะเกิดผลเช่นเดียวกันคือบรรลุญาณชั้นอภิญญา ๖ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสัจธรรมของชีวิต
การค้นพบโบราณสถานซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นพุทธสถาน โดยเฉพาะเสาหินอโศกที่สร้างเป็นอนุสาวรีย์ เพื่อให้ชาวโลกระลึกถึงพันธกิจของพระพุทธเจ้าศากยมุนี ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยทรงปฏิรูปสังคมในอนุทวีปอินเดียโดยยกเลิกระบบวรรณะ และให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ในการทำงาน และการเข้าถึงบริการที่เป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติต่อประชาชน โดยให้สิทธิและหน้าที่แก่ประชาชนบางส่วนในลักษณะใด แม้ว่าเสาอโศก จะเป็นหลักฐานยืนยันเหตุการณ์ทางพุทธประวัติไว้ ถูกดัดแปลงเป็นศิวลึงค์แล้ว แต่ร่องรอยของเสาอโศกก็ยังคงเป็นหลักฐานทางโบราณคดีได้ มีเหตุผลเพียงพอที่จะตีความหมายได้ว่า เมื่อก่อนเคยเป็นพุทธสถานมาก่อน ผู้เขียนกับพระธุดงค์หมู่ใหญ่เดินไปตามถนนในเมืองเทวทหะนั้น ผู้ที่เห็นเราต่างยกมือไหว้และกล่าวว่า "นมัสเตต่อพวกเรา" เมื่อคนศรัทธาในเรา ถวายขนมกับน้ำชาร้อน ๆ แก่พวกเรา แม้ในปัจจุบัน พระนครเทวทหะเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นโกลิย คือตำบลเทวทหะขึ้นกับอำเภอรูปานฮีเด จังหวัดลุมพินีของประเทศเนปาลแล้ว และเป็นที่ตั้งของวัดกัลยามัย ชึงนักโบราณคดีเนปาลเชื่อว่า ครั้งหนึ่งเคยเป็นพระราชวังเดิม และเป็นที่ประสูติของนางประชาบดีโคตรมี เป็นจุดแรกที่คณะของเราเดินทางไปที่ เทศบาลตำบลเทวทหะแห่งนี้ และมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บ้างไหมว่า เดิมเคยเป็นพระวังเทวทหะมาก่อน เมื่อผู้เขียนได้รับรู้แล้ว สามารถจินตนาการไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อน เป็นสิ่งที่น่าศึกษาและค้นคว้าข้อมูล เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องวัดกัลยามัยกันต่อไป
2 ความคิดเห็น:
อ่านแล้วได้ความรูัดีมากครับท่านพระอาจารย์ ดร. เมืองเทวทหะ บ้านเกิดของพระนางปชาบดี โคตมี
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น