The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2565

ปัญหาญาณวิทยา : การค้นพบตนเองตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ

 The epistemology problems: Self-discovery according to Buddhaphumi's Philosophy

บทนำ 

      เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในแวดวงวิชาการและรับฟังข้อเท็จจริงว่า ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับที่มาของความรู้ของมนุษย์ จะต้องเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น ดังนั้นให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นพยานสามารถให้คำยืนยันเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ ได้ ถ้าบุคคลใดไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองแล้ว การให้ข้อมูลของผู้นั้นไม่สามารถรับฟังเป็นหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นได้ เช่น การไม่เห็นใครฆ่าคนตาย จะให้การยืนยันว่าคนนั้นฆ่าคนตายไม่ได้ เพราะไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง ซึ่งสอด คล้องกับทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมว่า บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จะต้องมาจากประสาทสัมผัสของมนุษย์ จึงถือได้ว่าเป็นความรู้ที่สามารถยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้ในโลกปัจจุบัน มนุษย์มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สามารถสร้างแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับแบ่งปันข้อมูลหรือรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ๔๕ เล่ม อรรถกถาจำนวน ๙๐ เล่ม  คัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ มีความชัดเจนมากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีนักเขียนหลายคนที่เขียนข้อความทางวิชาการสำหรับระดับการศึกษาที่แตกต่างกันและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้นั้นได้ เมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคในชีวิต ที่เราไม่สามารถหาเหตุผลในการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ เราจำเป็นต้องพึ่งพาความคิดของผู้อื่นเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเองนั้น ส่วนตำราทางพระพุทธศาสนานอกจากพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ยังมีความรู้จากคัมภีร์ต่างๆในปรัชญาพุทธมหายาน และตำราของนักปราชญ์พุทธศาสนาที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ในการเทศน์ตามสถานที่ต่าง ๆ      ความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์จากการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ของนักเขียนแต่ละคนมีสไตล์การเขียนที่แตกต่างกัน  ส่วนผู้อ่านจะชอบศึกษาพระพุทธศาสนาแนวไหน ก็ไม่ใช่ศึกษาพระพุทธศาสนาไว้เพื่อสั่งสมความรู้เท่านั้นแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตตามจริตของแต่ละคนได้ เพราะชีวิตมนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ ทุกคนจึงแสวงหาสิ่งที่ขาดเพื่อดับทุกข์แห่งความปรารถนาในชีวิตของตนเอง 

           ในภาคการศึกษานี้  ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้สอนวิชาพระพุทธศาสนาในระดับปริญญาตรีจึงได้เขียนบทความนี้เพื่อใช้ในการสอนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น  การศึกษาของนิสิตมิใช่ศึกษาเพื่อให้จิตของตนเองรู้เท่านั้น แต่นำความรู้ประยุกต์ใช้ตลอดชีวิต เพราะชีวิตมนุษย์ไม่ได้สมบรูณ์แบบ ทุกคนมักดิ้นรนเพื่อหาสิ่งที่ตนเองขาดเสมอๆ โดยเฉพาะในการแสวงหาความรู้เพื่อไปใช้ในการทำงานของตนเองการศึกษาพระพุทธศาสนาด้วยความเข้าใจย่อมเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน สามารถนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ใช้ความรู้ที่มีอยู่ในจิตทำประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้ หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด การศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้เข้าใจเป็นสิ่งที่ยากสำหรับผู้ไม่สนใจใคร่รู้ หรือใคร่ศึกษาแต่พระพุทธศาสนานั้นจึงมิใช่เรื่องยากสำหรับเราเพราะเป็นการแสวงหาตนเองมิใช่แสวงหาคนอื่น ทำให้เรารู้จักตัวตนของเราเอง เข้าใจความต้องการของตน ทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้ด้วยดังนั้นการแสวงหาตนเองตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่าการหาคนอื่น 

          ตามทฤษฎีความรู้ของญาณวิทยาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์นั้น "มนุษย์ต้องรับรู้สิ่งนั้นผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเท่านั้นจึงถือเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น"แม้ชีวิตมนุษย์จะเรียนรู้โลกมาอย่างยาวนาน จนมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนสั่งสมอยู่ในจิตใจ  แต่มนุษย์ก็ยังไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตน เพราะไม่สนใจที่มาของชีวิตและมัวแต่สนใจแต่โลกธรรม ๘ (หรือคุณสมบัติทางโลก ๘ ประการ) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกชีวิตที่สร้างความสุขในใจตนได้เพียงชั่วขณะหนึ่ง ความสุขก็หายไปและไม่มีอะไรแน่นอน เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานคำว่า โลกธรรม ๘ ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓  พระสุตัตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกายจตุกกนิบาต [๕] ภิกษุทั้งหลายโลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกก็หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ โลกธรรม ๘ ประการอะไรบ้างคือ ๑.ลาภ ๒.เสื่อมลาภ  ๓.ยศ   ๔.เสื่อมยศ  ๕.นิททา ๖. สรรเสริญ  ๗.สุข  ๘.ทุกข์
          


      ภิกษุทั้งหลายโลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกก็หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ  นิททา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดาแต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้วย่อมพิจารณาเห็นว่ามีความแปรผันเป็นธรรมดาอิฏฐารมย์ (อารมณ์ที่ปรารถนา) จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินดียินร้ายต่ออนิฏฐารมย์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) ความยินดีหรือความยินร้าย ท่านขจัดปัดเป่าจนไม่มีอยู่ ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลีไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยถูกต้อง [๑] และตามพจนาราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามความหมายของคำว่า "โลกธรรม"  ไว้ว่า เป็นคำนาม, เรื่องของโลก ธรรมดาของโลก เป็นต้นเมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกข้างต้น ผู้เขียนตีความว่า มนุษย์ทุกคนมีตัณหาซ่อนเร้นอยู่ในใจ  ทุกคนจะแสดงการกระทำของตนเองออกมาในรูปของกรรม  ซึ่งผู้เขียนสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมได้ดังต่อไปนี้  

         ๑.ลาภ คำว่า "ลาภ"ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า"เป็นคำนาม, สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด"  ตัวอย่างเช่น ในการเสี่ยงโชคซื้อลอตเตอรี่ไม่คาดหวัง แต่ถูกรางวัลที่ ๑ จำนวน ๒๐ ล้านบาทโดยไม่คาดคิด ถือว่า "มีลาภ" ส่วนคำว่า "เสื่อมลาภ" เมื่อได้ลาภจากการถูกลอตเตอรี่มาก็หมดไปเพราะถูกขอและให้ลาภคนอื่นไปอย่างรวดเร็ว ก็เรียกว่า "เสื่อมลาภ" ก็ได้  อดีตพระลาสิกขาเพราะถูกลอดเตอรี่รางวัลที่ ๑ จบชีวิตด้วยอุบัติเหตุ หรือผัวเมียถูกรางวัลที่๑เป็นเงินก้อนใหญ่พอได้มา ก็เลิกกันก็ถือว่าความเสื่อมของชีวิตก็ได้เช่นกัน หรือ ได้รับลาภจากทรัพย์มรดกเป็นเงิน ๒๐ ล้านบาทของพ่อแม่ติดการพนันจนหมดตัวเอง  มีลาภก็เสื่อมลาภ  เป็นต้น  
 
         ๒.มียศ เสื่อมยศ  เมื่อรับราชการในตำแหน่งที่ดีมีอนาคตในวงราชการถือว่ามียศ แต่พออายุ ๖๐ ปีก็ต้องเกษียณออกจากราชการถือเสื่อมยศ ไม่ได้รับการยกย่องในหน้าที่การงานของหน่วยงานนั้น ๆ อีกต่อไป เพราะไม่มีส่วนได้เสียหรือให้คุณแลโทษให้กับผู้อื่นอีกต่อไป หรือการกระทำความผิดเพราะละเว้นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ถูกสอบสวนและไล่ออกจากหน้าที่ราชการ ถูกถอดยศ ฯลฯ  

          ๓.นิททา  ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔  ได้นิยามความหมายของคำว่า  "นินทา"หมายถึง"ถูกติเตียนลับหลัง" คำว่า"ติเตียน"ได้รับการนิยามเช่นกันว่ายกโทษขึ้นพูด กล่าวร้าย  เป็นต้น  เป็นเรื่องของมนุษย์มีอคติต่อกัน   เนื่องจากความลำเอียงเพราะเกลียดชัง จึงต้องใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย เป็นต้น   สรรเสริญเป็นโลกธรรมอย่างหนึ่งตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้คำนิยามว่ากล่าวคำยกย่อง เชิดชู เทิดทูน เช่นสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้ากล่าว คำชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอคุณความดี เช่นสรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ  เป็นต้น 

          ๔.สุข  เป็นโลกธรรมอย่างหนึ่ง ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔  ได้ให้คำนิยามว่า ความสบายกายสบายใจ  ส่วน  ทุกข์ก็เป็นโลกธรรมอย่างหนึ่ง พจนานุกรม ฯ ได้นิยามไว้ว่า ความยากลำบาก,   ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ,  ความทนได้ยาก,  เมื่อมนุษย์สนใจแต่แสวงหาอารมณ์แห่งโลกธรรม ๘ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเพราะมัวหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ วิญญาณของพวกเขาจึงสั่งสมกิเลสที่เกิดจากการกระทำของตนอยู่ตลอดเวลา แต่อารมณ์แห่งโลกธรรม ๘ ที่มนุษย์ได้รับรู้นั้นไม่เที่ยงและเสื่อมลงในที่สุด ตัวอย่างเช่น ความรักที่มนุษย์ที่เติมเต็มซึ่งกันและกันและแต่งงานเพื่ออยู่ร่วมกันเป็นสามีภริยากันสุดท้ายความสุขจากความรักกลับกลายเป็นความทุกข์ยาก จะแยกจากกันไม่ว่าจะดีหรือร้ายได้หรือรักกันจนนาที่สุดท้ายก็ตายจากกันกลายเป็นความทุกข์เช่นเดิมดังนั้นความสุขจากความรักเป็นสิ่งไม่เที่ยงดังนั้น  บุคคลใดมีความรักก็ย่อมมีความทุกข์ด้วยเพราะเหตุปัจจัยของความไม่เที่ยงกันทั้งนั้น ทรัพย์สมบัติที่แสวงหามาตลอดชีวิต  อาจจะหมดไปเพราะเหตุปัจจัยต่าง ๆ  ก็ได้        

     
        การค้นพบตนเองในพระไตรปิฎก ปัญหาต้องศึกษาว่าแก่นแท้ของ"มนุษย์" คืออะไร ?  เมื่อผู้เขียนศึกษาตามแนวคิดอภิปรัชญาเรื่อง "ชีวิต" ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [มหาจุฬา ฯ ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๔.อัคคัญญสูตร ข้อ.๑๑๓ ครั้งนั้น วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้จงกรมตามเสด็จพระผู้มีพระภาคซึ่งกำลังเดินจงกรมอยู่  พระผู้มีพระภาคจึงมีรับสั่งเรียกวาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรมาตรัสว่าวาเสฏฐะและภารทวาชะ ........ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้นวรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์  ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพระพรหมเจ้าทั้งสองมาละวรรณะที่ประเสริฐที่สุด เข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือสมณะโล้นเป็นคนรับใช้ เป็นคนวรรณะต่ำ (กัณหโคตร) เป็นเผ่าของมารเกิดจากพระบาทของพระพรหม ...........เมื่อพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นและวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะของตน  ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [มหาจุฬา ฯ ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๔.อัคคัญญสูตร ข้อ.๑๑๕ วาเสฏฐะและภารทวาชะ  วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร เป็นต้น  

         เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ดังกล่าวแล้ว   ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ พราหมณ์สอนว่ามนุษย์เชื่อว่าตนถูกสร้างขึ้นโดยร่างกายของพระพรหมและสร้างวรรณะให้พวกเขาทำงานตามวรรณะที่กำเนิดมา นอกจากนี้ เทพเจ้าสามารถช่วยให้มนุษย์ประสบคววามสำเร็จในชีวิตได้ด้วยบูชายัญด้วยของมีค่าตามที่พราหมณทำพิธีเรียกร้องเอามาจากผู้บูชานั้น   เมื่อทำพิธีเสร็จของมีค่าเหล่านี้ตกเป็นพราหมณ์นิกายนั้น การบูชาเทพเจ้าจึงสร้างความมั่งคั่งกับพราหมณ์ทุกนิกายเท่านั้น ส่วนคนวรรณะอื่นไม่สามารถสวดมนต์อ้อนวอนเพื่อช่วยมนุษย์ประสบความสำเร็จได้  เมื่อพราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียนได้รับผลประโยชน์เครื่องบูชาเป็นของมีค่าต่าง ๆ ต่อมาได้กลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ เมื่อพราหมณ์ทั้งสองเชื้อชาติพยายามหาทางรักษามั่งคั่งทางเศรษฐกิจของตนไว้ด้วยการรักษาศรัทธาต่อเทพเจ้าในนิกายของตนเองไว้ ดังนั้นเมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต เป็นพราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในทางนิติคือขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี เป็นต้น พวกเขาเสนอต่อรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะนำหลักคำสอนของพราหมณ์ในเรื่องพระพรหมสร้างมนุษย์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้น ทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เป็นต้น  เมื่อบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะแล้วและห้ามมิให้ยกเลิก เพราะบทบัญญัติของ "ธรรมกษัตริย์" ซึ่งเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองแคว้นสักกะที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"หลักอปริหานิยธรรม"มาตรา๓ ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วดังนั้นในยุคศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรือง ชาวอนุทวีปอินเดียเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะของตน  โดยมีพยานหลักฐานตามคำให้การยืนยันข้อเท็จจริงของปุโรหิตเป็นพราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ด้านกฎหมายคือขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีว่าพระพรหมเป็นอยู่จริง เพราะเคยเห็นพระพรหมในอาณาจักรจริง เป็นผู้สร้างมนุษย์จากร่างของพระพราหม และวรรณะให้กับมนุษย์สร้างขึ้นตามวรรณะของตนเอง เป็นต้น  

         เมื่อข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นเช่นนี้ ชีวิตมนุษย์ดูเหมือนจะเป็นพรหมลิขิตมนุษย์ตามที่พรหมต้องการ เป็นต้น นอกจากนี้ การนำหลักคำสอนของพราหมณ์ไปปรับใช้เป็นกฎหมายจารีตประเพณี ทำให้หลายรัฐในชมพูทวีปกลายเป็นรัฐศาสนาของพราหมณ์ และการให้สังคมตรวจสอบคนกันเอง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ชาวอนุทวีปมีอคติเพราะความกลัวซ่อนอยู่ในจิตใจ  จึงยอมรับและปฏิบัติตามความเชื่อในคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นหลักศีลธรรมและกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม หากกระทำความผิดต้องได้รับการตรวจสอบจากสังคมและถูกลงโทษจากคนในสังคมไปตลอดชีวิต  และไม่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นฐานและครอบครัวได้อีกต่อไป    

          คำว่า "พรหมทัณฑ์" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แปลว่า "คำสาปแห่งพราหมณ์" หมายถึงการกระทำของพราหมณ์ที่ทำให้บุคคลที่แต่งงานข้ามวรรณะให้พบกับความวิบัติ เช่น บังคับให้ละวรรณะและขับไล่ออกจากสังคม ที่ตนเคยคบค้าสมาคมและถิ่นที่อยู่ต้องไปอยู่ไปข้างถนนในพระนครใหญ่ เช่น กบิลพัสดุ์ เทวทหะ เป็นต้น และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เมื่อบัญญัติไว้แล้วจะยกเลิกไม่ได้ เพราะบทบัญญัติที่กฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศที่เรียกว่า"หลักอปริหานิยธรรม"ถือว่าเป็นหลักนิติศาสตร์ในการบริหารปกครองของประเทศในสมัยอินเดียโบราณนั้นห้ามล้มเลิกกฎหมายบัญญัติไว้ดีแล้ว เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาล (outcast) ในสังคมในรัฐสักกะและตัดสินพระทัยในการปฏิรูปสังคม เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันในการประกอบอาชีพ การศึกษา การประกอบพิธีตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และสิทธิเสรีภาพในการแต่งงาน เป็นต้น แต่สมาชิกรัฐสภาศากยวงศลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายจารีตประเพณียกเลิกการแบ่งชั้นวรรณะเพราะขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญนั่นเอง 

        "ตัวตน" แก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตชีวิตมนุษย์ว่ามีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง ชีวิตมนุษย์จึงไม่ใช่มีแค่ร่างกายเท่านั้น จิตวิญญาณอาศัยร่างกายเชื่อมต่อกับเรื่องราวเกี่ยวกับโลก และแสดงเจตจำนงแห่งจิตวิญญาณทางกาย ทางวาจา ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนรักตนเอง ไม่พอใจ โกรธ โลภและหลง เป็นต้น ดังนั้นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ จึงมีแนวโน้มที่จะประพฤติในทางใดทางหนึ่ง แสดงออกผ่านการกระทำทางกาย วจีกรรม และมโนกรรม ย่อมได้รับผลกรรมที่ตามมา ซึ่งทำให้ชีวิตและทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย  แต่บางครั้งผลของการกระทำก็ตอบสนองผู้กระทำช้า หรือผู้เสียหายรู้สึกว่าผลของการกระทำนั้น ไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือเพื่อความยุติธรรมการลงโทษนั้นไม่สมเหตุสมผล สำหรับการกระทำที่ร้ายแรงเกินกว่าจะยอมได้ หลายคนคิดว่ากรรมที่ทำแล้ว ไม่กระทบต่อผู้กระทำ เป็นต้น 

        ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การศึกษาค้นตัวแท้จริงของมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อมนุษย์มีความรู้และความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวตนแล้วก็จะมีความเข้าใจในความเป็นไปของชีวิตตนนั้นก็สามารถดำเนินชีวิตของตัวเองต่อไปสู่ความหลุดพ้นจากปัญหาต่าง ๆ ได้  

      

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ