The Truth problems concerning the development of Life Potential Development in Buddhaphumi's Philosophy
บทนำ
ในการศึกษาปัญหาความจริงเรื่อง การพัฒนาศักยภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมินั้นถือเป็นปัญหาอภิปรัชญาที่น่าสนใจที่ควรศึกษาอย่างยิ่งเพราะมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับมนุษย์ ตามแนวคิดญาณวิทยาเกี่ยวกับต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ตามทฤษฎีประจักษ์นิยม ได้กำหนดเกณฑ์ตัดสินความรู้ที่แท้จริง คือ "ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ ต้องรับรู้ผ่านอายตนะภายในและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์เท่านั้น" จึงจะถือว่าบุคคลนั้นมีความรู้ที่แท้จริงและสามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ และตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อมนุษย์มีจิตวิญญาณอาศัยอยู่ในร่างกายและใช้อายตนะภายในร่างกาย เชื่อมโยงกับอารมณ์ของโลกเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ และวิญญาณเก็บอารมณ์ของความรู้ต่าง ๆ สั่งสมไว้ในจิตใจ อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของจิตวิญญาณ นอกจากรับรู้ เก็บอารมณ์ต่าง ๆ แล้ว ยังมีธรรมชาติเป็นผู้คิดอีกด้วย เมื่อมนุษย์รู้สิ่งใดก็จะคิดจากสิ่งนั้นด้วย แต่เนื่องจิตของมนุษย์มีอายตนะภายในของร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและมักมีอคติต่อผู้อื่น เพราะขาดกำลังของสมาธิจึงให้ความสนใจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แตกต่างกันเพราะมัวแต่สนใจสิ่งที่ตนชื่นชอบหรือหลงใหลมากกว่า จะสนใจสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ชีวิตของตนเอง ทำให้เกิดปัญหาของชีวิตเพราะไม่มีความรู้ช่วยเหลือตนเองในการแก้ปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
คำว่า "มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน" อธิบายว่าบุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้าหรือผู้มีชีวิตที่เข้มแข็ง คำว่า"ศรัทธา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามว่าคำนามแปลว่า ความเชื่อ,ความเลื่อมใส ส่วนคำกิริยาแปลว่าเชื่อ, เลื่อมใส เป็นต้นกล่าวคือ มนุษย์ทุกคนมีชีวิตประกอบด้วยร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกันทุกคนหากเรามีศรัทธาในตัวเองว่า เรามีความสามารถที่จะกระทำได้เหมือนที่คนอื่นทำได้แล้ว เราก็จะเกิดแรงบันดาลใจที่จะสู้ชีวิตต่อไป ถ้าเราเอาสิ่งที่ไม่มีเหมือนคนอื่นมาเป็นข้อจำกัดในชีวิตให้ท้อถอยและปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม เพราะเขาชอบฟังความคิดที่มีเหตุผลของคนอื่นที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตที่ฟัง เพราะชอบตามอารมณ์ของคนอื่นที่กล้าแต่ขาดสติปัญญายากที่เราจะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตได้ ตัวอย่างเช่นเจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดในวรรณะกษัตริย์มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองประเทศตามวรรณะที่พระองค์ทรงประสูติมา ทรงสำเร็จการศึกษาด้านศิลปศาสตร์ถึง ๑๘ สาขาวิชาด้วยกัน ทรงใช้อย่างมีความสุขกับบริวารถึง ๔๐,๐๐๐ คนและมีปราสาทอันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ถึง ๓ หลังด้วยกัน แต่ในที่สุดของความสุขของมนุษย์คือความเบื่อหน่ายในความสุขระดับประสาทสัมผัสเท่านั้นและตัดสินพระทัยเสด็จเยี่ยมเยือนประชาชนในพระนครกบิลพัสดุ์ทรงพบปัญหาของประชาชนที่เกิดจากการบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งวรรณะทำให้ประชาชนหลายล้านคนออกมาใช้ชีวิตข้างถนนแม้ในวัยชรา ยามเจ็บป่วยและในยามตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิตเพราะถูกพรหมทัณฑ์จากสังคมด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นที่อยู่อาศัยของตน เมื่อเห็นปัญหาของประเทศทรงตั้งสติระลึกปัญหาของประชาชนเกิดจาการแบ่งวรรณะ เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมด้วยการบัญญัติกฎหมายผ่านรัฐสภาแต่ระบบรัฐสภาไม่อนุมัติ ตามที่พระองค์เสนอร่างกฎหมาย แต่พระองค์ไม่ท้อถอยที่จะช่วยเหลือผู้อื่นตามหลักเมตตาธรรมด้วยความเลื่อมใสในพระองค์เองว่ามีสติปัญญา (ชีวิตที่มีความเข้มแข็ง) ดังนั้นระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรมของรัฐศาสนาพราหมณ์เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปสังคม ในโลกปัจจุบันเราเป็นคนไทยต้องเลื่อมใสในชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ของตนเอง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนเองในการแสดงถึงความเมตตาถึงความเป็นมิตรช่วยเหลือผู้อื่นในยามเดือดร้อนร่วมกันแสดงความสามัคคีที่เราสามารถตัวตนเราชัดเจนในการรับประทานอาหาร การแสดงออกทางวัฒนธรรม ความน้อมนอมถ่อมตนต่อผู้อื่นโดยการเคารพกราบไหว้
บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบุคคลผู้มีความเกียจคร้านเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน (ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น