Introduction to Dhamma practice to develop life potential according to the philosophy of the Buddha's land
บทนำ ทำไมมนุษย์ต้องปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตนั้น มีรากฐานจากภูมิปัญญาโบราณของหลากหลายวัฒนธรรม ไม่ใช่เพียงการทำสมาธิหรือการภาวนาตามแบบแผน ยังเป็นกระบวนการพัฒนาตนเองอย่างลึกซึ้ง เพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติของจิตใจและการใช้ชีวิตอย่างมีสติและปัญญา ตลอดประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ได้ค้นพบว่าการฝึกฝนจิตใจ สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทั้งในระดับบุคคลและสังคม
ยุคแรกเริ่มจากหลักฐานทางประวัติที่เก่าแก่ที่สุด คือพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ พระไตรปิฎกฉบับหลวง ล้วนเก็บข้อมูลในการปฏิบัติธรรมสมัยพุทธกาล และหลักฐานโบราณคดีทั่วสาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล และประเทศอื่น ๆ เป็นพยานวัตถุที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ล้วนเป็นข้อมูลของสถานที่ปฏิบัติธรรมและชี้ให้เห็นการปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่าง ๆ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ การปฏิบัติวิปัสสนาในพระพุทธศาสนาและการฝึกจิตในเต๋าของจีน ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาจิตใจและการบรรลุสภาวะที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและความสุข
พุทธศาสนาและการพัฒนาศักยภาพ พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างมาก โดยเน้นการฝึกจิตใจผ่านการปฏิบัติธรรม เช่น การเจริญสติ การวิปัสสนาและการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนทั่วโลกว่าชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์ ความไม่เที่ยงของชีวิตและการดับทุกข์ในจิตวิญญาณของมนุษย์ การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาไม่ใช่เพียงแต่แค่การหลีกหนีจากโลก แต่เป็นการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายในชีวิตอย่างมีสติ และปัญญา พัฒนาความอดทน ความเมตตาและสติปัญญาซึ่งล้วนเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
การแพร่หลายในปัจจุบัน ในปัจจุบันการปฏิบัติธรรมได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากไม่เพียงในกลุ่มผู้มีศรัทธาทางศาสนา แต่ยังแพร่หลายไปยังกลุ่มคนทั่วไปที่สนใจพัฒนาตนเองมีการนำหลักการและวิธีการปฏิบัติธรรมมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้านเช่น การบริหารธุรกิจ การศึกษาและการดูแลสุขภาพจิต เพราะการฝึกจิตใจสามารถเพิ่มความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ลดความเครียด และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นต้น
ตามกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณว่า มนุษย์เกิดมาจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจโดยวิญญาณปฏิสนธิในครรภ์มารดา เจริญเติบโตเป็นทารกเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว จึงคลอดจากครรภ์มารดา เมื่อเกิดมาแล้ว ชีวิตก็ไม่เที่ยง ร่างกายก็ต้องแก่ ต้องเจ็บและต้องตายเช่นเดียวกับคนทั่วไป เมื่อดำรงชีวิตอยู่ มนุษย์มีรูปแบบการใช้ชีวิต การศึกษา การงานและสถานะทางสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้น มนุษย์จึงถูกวัดด้วยมูลค่าของทรัพย์สิน เงินทอง ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความมั่งคั่งหรือความยากจน เป็นต้น
นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีอายตนะภายในร่างกายที่จำกัดในการรับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมักมีความลำเอียงเข้าข้างผู้อื่น ทำให้ชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความมืดมน เพราะไม่มีความศรัทธาในตนเอง จึงไม่มีความขยันหมั่นเพียรที่จะตั้งใจที่จะศึกษาและลงมือปฏิบัติให้บรรลุความฝันของตนเอง ไม่่มีสติสัมปชัญญะในการคิดหาความรู้จากประสบการณ์ชีวิตจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต และระบบการศึกษาของชาติ ไม่มีสมาธิแน่วแน่ในการปฏิบัติตามอุดมการณ์ของชีวิตเพื่อดำเนินชีวิตให้บรรลุเป้าหมาย และขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิตว่าเมือกระทำกรรมสิ่งใดแล้วต้องได้รับผลแห่งการกระทำนั้นกล่าวคือการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา การทำร้ายผู้อื่น การลักขโมย ชิงทรัพย์และการคิดหาทางหลวกลวงผู้อื่น การทำผิดโดยสมคบคิดกับผู้อื่นโดยไม่ได้ยินยอม หรือยินยอมแต่กฎหมายห้าม การพูดจาสบประมาทผู้อื่น การดื่มสุราและเสพยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้มีความสุขนานขึ้น แม้จะสูญเสียสุขภาพร่างกายและจิตใจเป็นต้น เมื่อการกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นโดยเจตนา อารมณ์แห่งกรรมก็จะสั่งสมอยู่ในจิตใจตามกฎธรรมชาติ เมื่อการกระทำของพวกเขาจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และประมวลกฎหมายอาญาของประเทศแล้ว ย่อมต้องรับผลของกรรมนั้นต้องถูกดำเนินคดีเข้าสู่กระบวนยุติธรรมต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการว่าความดำเนินคดี หากแพ้คดีย่อมต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายอีกด้วย
การพัฒนาศักยภาพชีวิตในพระพุทธศาสนาเรียกว่า "การปฏิบัติธรรม" ? เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ และพระไตรปิฎกฉบับหลวง (The Royal tripitaka) ได้ยินข้อเท็จจริงว่าเมื่อก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะนั้น พระองค์ทรงมีความรู้ระดับประสาทสัมผัสผ่านระบบการศึกษาแห่งราชอาณาจักรสักกะ ในสำนักเรียนของครูวิศวามิตรในหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ วิชา แม้พระองค์จะทรงศึกษาศาสนาพราหมณ์เฉพาะในทางทฤษฎีเท่านั้น ส่วนความรู้ระดับเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสนั้นเพื่อสื่อสารกับเทพเจ้าด้วยการบูชายัญผ่านพราหมณ์อารยันเจ้าพิธีนั้น พระองค์ไม่สามารถทำพิธีบูชายัญ เพราะต้องห้ามคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ การตรัสรู้สัจธรรมของชีวิตมนุษย์ได้ข้อเท็จจริงว่า ชีวิตมนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง และดำรงอยู่ในร่างกายระยะเวลาหนึ่ง อาจจะ ยี่สิบปี ห้าสิบปี หรือร้อยปี มนุษย์ก็ต้องตายในที่สุด แต่ชีวิตมนุษย์จะไม่สูญเปล่าเพราะมนุษย์ยังมีดวงวิญญาณหลงเหลืออยู่ ดวงวิญญาณจะออกจากร่างกายพร้อมกับอารมณ์แห่งกรรมที่ห่อหุ้มดวงวิญญาณไปเกิดในภพภูมิอื่น อาจจะเป็นโลกเทวดา หรือโลกมนุษย์หรือบางดวงวิญญาณไปชดใช้กรรมในนรก เป็นต้น แต่การที่มนุษย์จะรู้แจ้งในเรื่องราวเหล่านี้ต้องปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจนกว่าจะบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ เท่านั้น เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำไมคนเราถึงมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันเช่นนี้? เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์มีชีวิตที่อ่อนแอเพราะขาดกำลังของสมาธิ สั่งสมอารมณ์กิเลสไว้ในจิตมาก จึงมีอารมณ์ขุ่นมัวตลอดเวลา มีอุปนิสัยหยาบกระด้าง จึงไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ชอบแสวงหาปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนองอารมณ์ของตนและแสวงหาการยอมรับ จึงไม่มั่นคงในอุดมการณ์ของชีวิตหวั่นไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นโดยสุจริตและเที่ยงธรรมได้ ดังนั้น ในช่วงมีชีวิตอยู่นั้น มนุษย์ทุกคนจึงสั่งสมความรู้จากประสบการณ์ชีวิตต่าง ๆ ไว้ในจิตวิญญาณของตน ทำให้มนุษย์มีคุณภาพของชีวิตที่แตกต่างกันตามความสนใจของแต่ละคน บางคนชอบทำงานราชการเพราะมีอาชีพที่มั่นคง บางคนทำธุรกิจเพราะมีรายได้มาก บางคนชอบความท้าทาย จะเป็นตำรวจ ทหารหรือนักการเมือง แต่ความรู้ไม่สูญหายไปกับความตายของมนุษย์นั้น เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง เขาสามารถนำความรู้ที่เรียกว่า "พรสวรรค์" หรือ "สัญญา" ไปใช้ในการงานได้ เนื่องจากมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง จึงไม่สามารถรับรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกได้นอกจากนี้ มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวมักมีอคติต่อกันโดยมีสาเหตุเกิดขึ้นจากความโง่เขลา, ความเกลียดชัง, ความกลัว, ความชอบพอต่อกันและที่สำคัญชอบศึกษาเฉพาะสิ่งที่ตนเองชอบเท่านั้น
เนื่องจาก พนักงานของหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก จบการศึกษาจากสาขาวิชาที่แตกต่าง กัน พวกเขาจึงมีทักษะและความรู้ในการทำงานที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพชีวิตของพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และทักษะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนกำหนดในนโยบาย หากพนักงานบางคนไม่ยอมพัฒนาศักยภาพเพราะไม่ใช่ความสามารถเฉพาะทาง ก็จะขาดคุณสมบัติที่ต้องการของหน่วยงานนั้น สำหรับนักปราชญ์ยุคใหม่มีความรู้หลายระดับ เช่น ความรู้ในชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น เมื่อพนักงานไม่มีคุณสมบัติในทักษะการทำงานตามที่ภาครัฐหรือเอกชนต้องการ การจ้างงานจะสิ้นสุดลง เป็นต้น ในยุคปัจจุบัน มีโครงการพัฒนาศักยภาพบุคคลากรหลายล้านโครงการ เพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่าง ๆ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทมหาชน ให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตสำหรับพนักงานออฟฟิตเพื่อลดความล่าช้าในการทำงาน สามารถิดตามงานและติดตามการเปลี่ยนแปลงในโลกที่ต้องการความสะดวกสบาย และตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์อย่างรวดเร็ว หากบุคลากรไม่มีทักษะการใช้เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์ ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากเจตนาของมนุษย์ที่จะละเมิดในชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ด้วยกันได้ หรือเป็นการก่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเดียวกันหลายท้องที่หรือกรณีพิพาทเกี่ยวกับมลภาวะและการใ้ช้เสียงที่กระทบต่อชีวิตของผู้อื่น หากไม่มีหลักฐานการทำงานประชาชนก็จะร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงว่า หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ ไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณะ ซึ่งเป็นการจงใจละเว้นการหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อคนชั่วยังคงอยู่ในสังคม และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม เพราะเป็นตยรวยแล้ว บ้านเมืองจะไม่มีความสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมายอีกต่อไปการพัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ก็ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสอนปัญจวัคคีย์ ด้วยธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาที่กล่าวถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์รวมทั้งการบำเพ็ญตบะ และหมกมุ่นอยู่กับความสุขทางอารมณ์ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ เป็นต้น เพราะเป็นกรรมที่สูญเปล่าและสั่งสมกิเลสโดยที่ห่อหุ้มจิตไว้ ทำให้จิตวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อปัญจวัคคีย์ได้ฟังธรรมด้วยจิตอันสงบนิ่ง และใคร่ครวญความรู้จากประสบการณ์ชีวิตในอดีตที่เคนจมอยู่ในกิเลสผ่านประสาทสัมผัสของตน แม้จะมีความสุขก็เพียงชั่วคราว จิตก็ยังเป็นทุกข์ส่วนการบำเพ็ญตบะ มีแต่ความทุกข์ก็สั่งสมในจิตเรื่อยไป ผู้นั้นอาจตายโดยเปล่าประโยชน์พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้ดำเนินชีวิตตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ที่ซึ่งพระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุญาณทิพย์เหนือมนุษย์ เห็นมนุษย์กระทำความผิดผิดศีลธรรมและกฎหมายในโลกมนุษย์ ดวงวิญญาณจะไปชดใช้กรรมในทุคติอบาย และนรก เป็นต้น
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตชาวชมพูทวีปให้มีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการฝึกสมาธิ จนจิตใจผ่องใสปราศจากอคติและอารมณ์ขุ่นมัว มีนิสัยอ่อนโยนไม่หยาบกระด้าง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ มีความมั่นคงในอุดมการณ์ของชีวิตตน และไม่เกรงกลัวการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรมกับทุกฝ่าย และมีสติปัญหาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของปัญจวัคคีย์ ยสกุลบุตรและเพื่อนอีก ๕๕ รูปด้วยการฝึกสมาธิ จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์มีความรู้ในระดับอภิญญา ๖
ดังนั้นในยุคปัจจุบัน การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง จึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่จะรักษาศรัทธาของผู้มีจิตศรัทธาอยู่แล้วให้มีศรัทธายิ่งขึ้น ส่วนผู้ไม่มีศรัทธาจะได้เกิดศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก่อนส่งพระภิกษุไปเป็นพระวิทยากรเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสาธารณรัฐอินเดียและเนปาลได้นั้น จำเป็นต้องฝึกฝนอบรมพระภิกษุมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถอธิบายเนื้อหาในพระพุทธศาสนาได้ แต่การจะพัฒนาศักยภาพของพระภิกษุทุกรูปให้สามารถทำงานเผยแผ่ศาสนาได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความรู้สั่งสมในจิตนั้นแตกต่างกันไปตามความสนใจของพระภิกษุแต่ละรูป แต่เราสามารถพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระภิกษุทุกรูปให้เป็นพระวิทยากรที่ดีได้ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ได้ยินข้อเท็จจริงว่าพระภิกษุหลายรูปมีความรู้และความสามารถในการบรรยาย แต่ไม่มีโอกาสได้ทำงาน เพราะไม่มีผลงานปรากฏทั่วไป พระบางองค์มีโอกาส แต่มีความรู้ระดับตำรา แต่ความรู้จากประสบการณ์ชีวิตรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในจิตใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการบรรยายได้อย่างน่าสนใจเพราะเหมาะสำหรับผู้ไม่เคยฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาก่อน หรือพุทธศาสนิกชนที่นับถือพระพุทธศาสนาตามประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อมา มีพระภิกษุหลายรูปมีโอกาสปฏิบัติหน้าที่แต่ไม่ยอมรับงานเพราะคิดว่ามีความรู้ทางพระพุทธศาสนาจำกัด จึงไม่กล้ารับงานบรรยายในสถานที่จริง ไม่มีประสบการณ์ทำงานภาคสนามในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง และไม่ยอมรับการอบรมเชิงลึกของพระวิทยากร เพราะการไม่รู้จักแบ่งเวลาเรียนรู้การทำงานรับใช้พระพุทธเจ้าก็จะเสียโอกาสพัฒนาตนเองเพื่อจะได้นำประสบการณ์การทำงานที่ได้ไปต่อยอด ในงานที่ตนชอบโดยไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกอบรมอีก ในเมื่อผู้เขียนเอง ก็รู้ข้อจำกัดของตัวเองว่ายังไม่ค่อยมีความรู้เเรื่องพระพุทธศาสนาแต่อยากทำงานรับใช้พระพุทธเจ้า ด้วยการไปบรรยายให้กับผู้แสวงบุญฟังผู้เขียนจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้สั่งสมไว้ในจิตเป็นประจำเพราะการทำงานเป็นพระวิทยากรในดินแดนพระพุทธศาสนากำเนิดนั้น ไม่สามารถทำได้ตลอดชีวิต เมื่อมีโอกาส ก็ไม่ควรผ่านไป และไม่ใช่เพียงคำบรรยายของเนื้อหาพุทธประวัติ ยังมีประวัติของอริยสาวก อาหาร วัฒนธรรม และความเชื่อในศาสนาฮินดู การแต่งงานข้ามวรรณะกับวิถีชาวพุทธในอินเดีย เป็นเรื่องที่ผู้เขียนต้องเล่าเพื่อสนองความใคร่รู้ของผู้แสวงบุญทุกคน ทุกวันนี้มนุษย์เป็นทรัพยกรที่มีค่าของหน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน บริษัทร้านค้าและธรุกิจส่วนตัว เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการทำงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางแผนไว้ในแต่ละปี และก้าวทันตามการเปลี่ยนแปลงของโลก หากคนในชาติไม่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาของประเทศ และขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยี่ในด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูล เพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาของคนในสังคมและประเทศยากที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ และตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

การพัฒนาศักยภาพชีวิตของบุคลากรให้มีคุณภาพตามที่องค์กรต้องการร่วมทำงานร่วมด้วย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กรในการขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า การจ้างบุคลากรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดของหน่วยงาน แม้จะได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน แต่การทำงานขาดประสิทธิภาพย่อมทำให้สภาพแวดล้อมทางการทำงานเกิดความตึงเครียด ได้ผลลัพท์จากการทำงานไม่เป็นที่น่าพอใจ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระสงฆ์ด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์แปด จนบรรลุถึงความรู้ขั้น "อภิญญา๖" และส่งพระอรหันต์ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด อย่าตัดสินใจเชื่อทันทีในข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น จนจะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอเสียก่อน เพื่อเป็นข้อมูลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ผู้เขียนชอบค้นคว้าเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพชีวิตตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ จึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา บันทึกของผู้แสวงบุญชาวจีนและตำราธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก เป็นต้น ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลของคำตอบยืนยันความจริงในเรื่องนี้ บทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่พระวิทยากรเพื่อใช้ในการบรรยายให้กับผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองในอินเดียและเนปาลเป็นไปในทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราพุทธศาสนา และบันทึกของผู้แสวงบุญ จะเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อค้นหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในหัวข้อการวิจัย และให้ความรู้ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับความจริงของเรื่องนั้นอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น