The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564

หลักฐานพิสูจน์พระพุทธเจ้าทรงไม่พัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์

 

 

 Evidence proves that the Buddha intended not to develop the potential of human life.

 บทนำ       

    เมื่อผู้เขียนศึกษา"ธรรมะ" หรือความเป็นจริงตามธรรมชาติของชีวิตมนุษย์จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชเป็นพระโพธิสัตว์" นั้นเป็นเพราะในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์นั้น ชาวแคว้นสักกะเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า พรหมสร้างมนุษย์และนำหลักคำสอนของพราหมณ์อารยันไปตราเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เพื่อให้ชาวสักกะทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดและห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะ แต่พวกเขาเป็นมนุษย์ที่มีกิเลสสอยู่ในจิตใจ และไม่สามารถหักห้ามใจตนเอง จึงเกิดความสมัครรักใคร่กันฉันท์สามีภริยากันระหวางคนต่างวรรณะ จึงถูกลงโทษจากสังคมด้วยการขับไล่ออกจากสังคมตลอดชีวิต  ต้องใช้ชีวิตเป็นจัณฑาล เร่ร่อนตามท้องถนนแม้จะอยู่วัยชรา ยามเจ็บป่วยและนอนตายข้างถนน  

     เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลและทรงประสงค์ปฏิรูปสังคม ทรงเสนอให้แก้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะต่อรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะ แต่สมาชิกรัฐสภาไม่อนุมัติเพราะขัดต่อกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศ ที่ห้ามไม่ให้มีการยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว (มีศักดิ์เทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศ)  เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์เองเป็นเวลา ๖ ปีและทรงค้นพบวิธีปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งพระองค์ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษย์ในความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ และความเสื่อมสลายของชีวิตมนุษย์  ดังนั้น ชีวิตมนุษย์ย่อมเป็นไปตามเจตนาของการกระทำของตนเอง  กล่าวคือเมื่อผู้ใดจงใจฆ่าผู้อื่น ลักทรัพย์ การล่วงละเมิดทางเพศโดยเจตนา การดูหมิ่น จงใจแสวงหาความสุขจากสุราและยาเสพย์ติดเพื่อปลุกใจให้สุขทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นการกระทำที่โง่เขลา โดยไม่รู้ว่าเป็นการขัดต่อคำสอนของพระพุทธศาสนา เมื่อทำกรรมไปแล้วไม่สูญเปล่าเพราะจิตวิญญาณของเรากักเก็บอารมณ์แห่งการกระทำผิดไว้เป็นสัญญาที่เรียกว่า "ความทรงจำ" ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้กระทำและห่อหุ้มจิตใจไว้ เมื่อมนุษย์เดินทางไปสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความรู้ติดตัวเหล่านี้ พวกเขาสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ตลอดเวลา เมื่อตายไปวิญญาณจะออกจากร่างไปเกิดใหม่ในอีกโลกอื่น อารมณ์ของกรรมก็ติดตามวิญญาณไปยังโลกอื่นด้วยเช่นกัน ********* 

       เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงจากหลักฐานข้างต้นแล้ว มนุษย์จึงไม่สามารถหนีจากกรรมของตนได้เพราะกรรมอยู่กับตนตลอดเวลา เมื่อวิญญาณปฏิสนธิเกิดขึ้นในครรภ์มารดาและมนุษย์เกิดมาพร้อมกับ"ความโง่เขลา" เพราะชีวิตอยู่ในความประมาทและมนุษย์ยึดติดกับความสุขที่ครอบครัวส่งเสริมตลอดเวลาโดยไม่สนใจศึกษา ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในชีวิตประจำวัน ไม่เคยเชื่อความเป็นจริงของชีวิตตามคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นความรู้อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ และลงมือปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ด้วยตนเองเท่านั้นจึงจะเกิดดวงตาเห็นธรรมที่เรีกว่า"อภิญญา๖ซึ่งเป็นสัจธรรมของชีวิตตามกฎธรรมชาติว่า มนุษยทุกคนมีวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง และมีตัณหาเป็นอารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจเป็นต้น เมื่อมนุษย์มีชีวิตที่อ่อนแอ จึงดำเนินชีวิตตามความพอใจของตนโดยไม่มีสติระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง และไม่สามารถความรู้นั้นช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้ด้วยตนเองและละเมิดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นประจำ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของของประชาชน ทำให้ประเทศไม่มีความสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมดังนั้นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองของทุกประเทศทั่วโลกจึงนำหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไปบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเพื่อประกาศใช้บังคับและลงโทษผู้กระทำความผิดดังนั้นผลของกรรมของมนุษย์ในโลกนี้และโลกหน้าจึงเป็นกฎธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะไม่มีใครเห็นเหตุการณ์แต่ก็ไม่สามารถหนีจากกรรมของตนได้ 

            สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงดำริไม่สอนธรรม    เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔  [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] มหาวรรคภาค๑ พรหมยาจนคาถาว่่าด้วยพรหมอารธนาให้ ทรงแสดงธรรมเรื่องทรงพิจารณาความลึกซึ้งแห่งหลักปฎิจจสมุปบาท ข้อ๗. ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคออกจากสมาธิ แล้วเสด็จจากควงต้นราชายตนะไปยังต้นอชปาลนิโครธ  ทราบว่าพระองค์ ประทับ ณ ควงต้นอชปาลนิโครธนั้น  ขณะเมือทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดความดำริขึ้นในพระทัยว่าธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้งเห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก สงบ ปราณีต   ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ   ละเอียด  บัณฑิตจึงจะรู้ได้  สำหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย  เพลิดเพลินในอาลัย  ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา  หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง  ความสลัดแห่งอุปธิทั้งปวง  ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน  ก็ถ้าเราจะพึ่งแสดงธรรมและ้อื่นจะไม่เข้าใจซึ่งต่อเรา  ข้อนั้นก็จะพึ่งเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากแก่เรา อนึ่งเล่าอนัจจฉริยคาถาเหล่านี้ ไม่เคยสสดับมาก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคว่าอนัจจฉริยคาถา "บัดนี้เรายังไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุด้วยความลำบากนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถูกต้องราคะและโทสะครอบงำจะรู้ได้ แต่เป็นสิ่งที่พาทวนกระแส  ละเอียดลึกซึ้ง  รู้เห็นได้ยาก  ประณีต  ผู้กำหนัดด้วยราคะ  ถูกกองโมหะหุ้มห่อไว้จักผู้อื่นเห็นไม่ได้"  

          เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว  พระองค์ทรงได้ทดสอบผลการวิจัยกฎธรรมธรรมชาติเป็นเวลา ๔๙  วัน โดยวิธีปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์๘ ได้ผลเหมือนกันทั้ง ๗ ครั้งคือความรู้ระดับอภิญญา ๖  แต่พระพุทธเจ้าดำริจะไม่ประกาศธรรม เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ  ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า "เมื่อพระสิทธัตถะโพธิสัตซ์ทรงปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษย์โดยชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงมีญาณทิพย์เหนือมนุษย์และทรงเห็นวิญญาณสถิตอยู่ในร่างมนุษย์ทุกคน เมื่อมนุษย์ตายแล้ว วิญญาณออกจากร่างไปเกิดในอีกโลกอื่น  ส่วนใครจะเกิดในภพใด ขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองซึ่งเป็นอารมณ์ของสัญญาในใจ หากกลับไปเกิดใหม่ในโลกมนุษย์อีกครั้ง จะเกิดในครรภ์มารดาและคลอดออกมามีชีวิต เมื่อตายไปอีกครั้ง วิญญาณจะไปจุติไปยังอีกโลกหนึ่ง และเข้าสู่วัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่อย่างไม่รู้จบในสังสารวัฏ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าชีวิตเกิดจากปัจจัยของกายและวิญญาณที่รวมกันตั้งแต่ในครรภ์มารดา พระพรหมไม่ได้สร้างมนุษย์จากร่างของพระพรหมตามคำสอนพราหมณ์ที่สอนต่อเนื้องกันแต่อย่างใด  เมื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นความรู้ที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสที่ยากแก่มนุษย์ปุถุชน จะมองเห็นเห็นดวงวิญญาณออกจากร่างไปชดใช้กรรมในทุคติภูมิหรือเสวยสุขในสุคติภูมิ   ดังนั้น มนุษย์ปุถุชนยังไม่ได้พัฒนาศัยภาพในชีวิตตามอริยมรรคมีองค์ ๘ พวกเขาจึงไม่มีญาณทิพย์ กฎธรรมชาติจึงเป็นธรรมะ (หรือความจริง) ที่ลึกซึ้งมากเป็นยากที่คนธรรมดาจะหยั่งรู้ได้เหมือนอริยบุคคล  ด้วยเหตุผลที่ยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงดำริจะไม่พัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษย์ทั่วโลก เพราะ            

       เป็นธรรมอย่างลึกซึ้ง  คำว่า "ธรรมะ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำศัพท์ไว้ว่า ความจริง,  และพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฑุฒโน) ทรงกำหนดไว้ว่า"ธรรมะ คือ สิ่งที่มีอยู่  เป็นอยู่จริง  ซึ่งหมายถึงสัจจะที่เราทุกคนแปลเป็น "ความจริง" ก็เพราะมีสิ่งหนึ่งที่เป็นจริง  ต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่  คือว่าเป็นสิ่งที่ทรงอยู่ ดำรงอยู่นั่นเอง  ธรรมะคือสัจจะหรือสัจธรรมนี้ก็ได้ ก็ได้แก่ ธรรมดาเป็นของที่มีอยู่อยู่ประจำโลก พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม เช่น วิญญาณของมนุษย์และสัตว์น้อยใหญ่จะต้องเวียนว่ายตายและเกิดในสังสารวัฏ  เป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่อย่างไม่มีวันสิ้นสุด  เมื่อธรรมะเป็นจริงตามกฎธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการยากที่ฆราวาสจะเข้าใจ เพราะเป็นความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ เว้นแต่บุคคลจะพัฒนาศักยภาพในชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็จะเกิดญาณทิพย์และเห็นวิญญาณออกจากร่างของผู้ตายไปจุติในภพอื่น ส่วนผู้ที่ยังไม่พัฒนาศักยภาพในชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่เกิดญาณทิพย์เหนือมนุษย์ที่จะเห็นวิญญาณออกจากร่างกายของคนตาย เมื่อไม่มีญาณทิพย์เห็นวิญญาณไปชดใช้กรรมในทุคติภูมิ มนุษย์หลายคนยังไม่เชื่อว่ามีวัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ ดังนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีลึกซึ้งและมองเห็นได้ยาก 
  
           ความเป็นธรรมะ (หรือความจริง) ที่มองเห็นได้ยาก เพราะเป็นความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้  ผู้มีกิเลสตัณหามาก กิเลสก็จะปกปิดความจริงแห่งชีวิตที่คน ๆ หนึ่งต้องทนทุกข์ทรมานมาหลายครั้งและสั่งสมไว้เป็นความรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตของตนเอง การยึดมั่นในความสุขและความมั่วเมานั้นจึงไม่เห็นความไม่เที่ยงของชีวิตในโลกนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงยากแก่การมองเห็นความรู้ขั้นปริมัติ   
  
          ความเป็นธรรมที่รู้ตามได้ยาก  เมื่อตีความให้เข้าใจง่ายหมายถึงความจริงที่ยากจะปฏิบัติตาม เมื่อคนต่างวรรณะ ต่างศรัทธาอย่างลึกซึ้งในการบูชาเทพเจ้า เพราะคิดว่าพรหมสร้างวรรณะและวรรณะเพื่อทำงานตามวรรณะที่ตนเกิด พวกเขาจะไม่รู้สึกลำบากในการใช้ชีวิต จึงไม่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะสอนด้วยเหตุผลอธิบายและยกตัวอย่างให้ฟังก็ยังเข้าใจยากและไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า 
          ความเป็นธรรมะที่ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกะ หมายถึง ความรู้ที่เป็นจริงในระดับอภิญญา ๖ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้  มิใช่ความรู้ที่จากการสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล หาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบเรื่องชีวิตมนุษย์ แต่เป็นความรู้จากการพัฒนาศักยภาพของชีวิตของพระองค์ด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น 

            เป็นธรรมที่บัณฑิตจึงจะรู้ได้     ในประเด็นนี้ผู้เขียนจะตีความให้เข้าใจง่าย   คำว่า"ธรรมะ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นิยามว่า ธรรมะ" แปลว่า"ความจริง" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงจากคำสอนของอาจารย์, การอ่านตำรา  ฯลฯ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า เราไม่ควรเชื่อข้อเท็จจริงทันที เราควรสงสัยเกี่ยวกับที่มาของเรื่องนี้ก่อน ต้องสืบเสาะหาข้อเท็จจริงและหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อพราหมณ์สอนว่าพระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถามถึงที่มาของพระพรหมและพระอิศวรแล้ว แต่ไม่มีพราหมณ์คนใดอธิบายเหตุผลและแสดงหลักฐานของความจริงในเรื่องนี้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยและตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรมในเรื่องนี้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชา ก่อนออกผนวช ความรู้ที่พระองค์ตรัสรู้จึงเป็นความรู้ระดับบัณฑิตเท่านั้นที่รักจะศึกษาเรียนรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ได้  เป็นต้น ส่วนผู้ที่มองเห็นได้ยาก ได้แก่ผู้ที่ยินดีในความเศร้าโศก หมายถึง ผู้มีความสุขในสิ่งที่ตนรัก บ้าน   ทรัพย์สิน  หน้าที่การงาน  และคนที่ตนรัก ล้วนแต่เป็นสิ่งไม่เที่ยงแม้จะสมหวังในสิ่งเหล่านี้  เมื่อพลัดพรากจากสิ่งที่รักย่อมเกิดความทุกข์  คนเหล่านี้ย่อมไม่ฟังคำสอนของใครทั้งสิ้นเพราะยึดติดในความพอใจในความสุขที่ผ่านมา ด้วยความเสียดายยินดีในอาลัย  เมื่อหมกมุ่นในความพอใจในความรักใครสอนย่อมไม่ฟัง  พระพุทธองค์ทรงเทศน์สอนเรื่องไม่เที่ยงของชีวิต ย่อมไม่ยอมฟัง พระองค์ยทรงเหนื่อยเปล่า    (ยังมีต่อ)  

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ