The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การพัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ของพระพุทธเจ้าในปรัชญาแดนพุทธภูมิ

 Development of the human life potential of the Buddha in the ฺBuddhabhumi's philosophy

การพัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ของพระพุทธเจ้าในปรัชญาแดนพุทธภูมิ   


เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่พระพุทธศาสนา             
       เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔  มหาวรรค ๔ พรหมยาจนกถา เรื่องพิจารณาเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว [๙] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับคำทูลอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม และ เพราะอาศัยพระกรุณาในหมู๋สัตว์ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในตาน้อยมีธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อนมีอาการดี มีอาการทราม  สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัวก็มี   

             มีอุปมาเหมือนในกออุบล  ในกอปทุม  ในกอบุณฑลิก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑลิก  บางดอกที่เกิดในน้ำ  เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ  จมอยู่ในน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑลิก บางดอกที่เกิดในน้ำ  เจริญในน้ำ  อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑลิก บางดอกที่เกิดในน้ำ  เจริญในน้ำ  ขึ้นพ้นน้ำ ไม่แตะน้ำฉันใด  

            เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในตาน้อย มีธุลีในตามาก มีอินทรีย์แก่กล้า  มีอินทรีย์อ่อน  มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย  สอนให้รู้ได้ยาก  บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัวก็มี บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัวก็มี ฉันนั้น"เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯข้างต้น  เราสามารถสืบหาข้อเท็จจริงจากหลักฐานได้ว่าภายหลังการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก่อนพระองค์ทรงจะตัดสินใจเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษย์ พระองค์ทรงรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ทั้งหมด เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์อย่างเหตุผลเพื่อยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าเห็นว่ามนุษย์มีกิเลสต่ัณหาสั่งสมอยู่ในจิตใจต่างกัน สิ่งนี้ทำให้เราสามารถแบ่งลักษณะสำคัญของมนุษย์ออกเป็น ๒ ประเภท กล่าวคือมนุษย์มีอินทรีย์แก่กล้าหรือมนุษย์มีอินทรีย์อ่อนแอ ปัญหาคำว่า "อินทรีย์" คืออะไร  เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ได้นิยามความหมายว่า ร่างกายและจิตใจ, สติปัญญาเช่นอินทรีย์แก่กล้า, สิ่งมีชีวิต  เป็นต้น สรุปข้อเท็จจริงได้ว่า อินทรีย์คือชีวิตของมนุษย์ที่เกิดจากสองปัจจัยคือกายและจิตรวมกันเป็นทารกในครรภ์มารดาคลอดออกมามีชีวิตรอดอยู่ เป็นต้น จากคำนิยามดังกล่าว ผู้เขียนตีความได้ว่า  มนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจที่มีอินทรีย์แก่กล้าหรืออ่อนแอแตกต่างกันเราสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายว่า มนุษย์บางคนมีชีวิตที่เข้มแข็ง บางคนมีชีวิตที่อ่อนแอ  ทำให้บางคนสอนให้รู้ได้ง่าย บางคนสอนให้รู้ได้ยาก  จากคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เรามองเห็นลักษณะของมนุษย์นั้นมีอยู่สองลักษณะ กล่าวคือ  


      ๑.มนุษย์มีอินทรีย์แก่กล้า (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชีวิตที่เข้มแข็งเพราะมีสติปัญญา

      ๒.มนุษย์มีอินทรีย์อ่อนแอ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชีวิตที่อ่อนแอเพราะขาดสติปัญญา) 

           เมื่อพระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงข้อมูลเกี่ยวกับมนุษย์ (สติ) และพิจารณาข้อมูลของลักษณะมนุษย์ทั่วโลก  พระองค์ทรงเห็นว่า วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ และวรรณะแพทย์ ที่เป็นบัณฑิตยก็มีให้เห็นทั่วโลกเช่นกัน     บัณฑิตเหล่านี้เป็นผู้มีชีวิตที่เข็มแข็งและกล้าหาญด้วยสติปัญญา  สติมีความระลึกถึงปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้และเรื่องราวใดยังปรากฏขึ้นในจิตยังไม่ชัดเจน   บัณฑิตเหล่าพร้อมจะมีศรัทธาในการรวบรวมหลักฐานเพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูล หาเหตุผลของคำตอบเพื่อใช้หลักฐานยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้    บัณฑิตเหล่านั้น พร้อมจะเข้าใจคำสอนของพระองค์ จึงเป็นผู้รู้ตามคำสอนได้ง่าย  เป็นต้น  

           เมื่อมนุษย์แต่ละคนมีจุดอ่อนหรือจุดแข็งของชีวิตแตกต่างกันไปตามบุคคลิกลักษณะที่แสดงออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของพวกเขาเอง ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าแต่ละคนมีอุปนิสัยใจเป็นอย่างไร เป็นคนกล้าตัดสินใจหรือใจคอโลเล     ไม่กล้าตัดสินใจในปัญหาของชีวิตและไม่สามารถแบกภาระหน้าที่ได้รับมอบหมายไว้วางใจได้ 

       ปัญหาว่าคนมีอินทรีย์อ่อนแอเป็นอย่างไร เมื่อผู้เขียนศึกษาจากหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓      ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค [๑.มหาวรรค] ๑.ญาณกถา ๖๘. อินทรียปโรปริยัตตญาณนิทเทส   

           ข้อ๑๑๑. ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายของตถาคตเป็นอย่างไร คือในญาณนี้ พระตถาคตทรงเห็นหมู่สัตว์  ผู้มีกิเลสดุจน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม    พึ่งสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย สอนให้รู้แจ้งได้ยาก  บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย  บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย 

          คำว่า ผู้มีกิเลสดุจน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ  ผู้เขียนอธิบายว่าบุคคลผู้มีศรัทธาชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุบุคคลผู้มีความเพียรชื่อว่า มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุบุคคลผู้มีความเกียจคร้านชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุบุคคลผู้มีสติหลงลืมชื่อว่า มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุบุคคลผู้มีปัญญาดีชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญาทรามชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักษุ

           

         คำว่า"มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน"  อธิบายว่าบุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีความเกียจคร้านเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน  บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า   บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า    บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน 

       คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีอาการทราม  บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มีอาการดีบุคคลผู้มีความเกียจคร้านเป็นผู้มีอาการทราม บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี    บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มีอาการทรามบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการดี  บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีอาการทรามบุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มีอาการทราม  

      คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย  พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก   อธิบายว่าบุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก  บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย  บุคคลผู้มีความเกียจคร้านเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยากบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยากบุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่ายบุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก  

      คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย    บางพวกมักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่าบุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย  บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีความเพียรเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยบุคคลผู้มีความเกียจคร้านเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยบุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย  บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย  (ยังมีต่อ)   

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ