Introduction to Jetavana Monastery in Buddhaphumi's Philosophy
บทนำ ความสำคัญของวัดเชตวันมหาวิหาร
เมื่อผู้เขียนมาศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ผู้เขียนได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับวัดเชตวันมหาวิหารจากเพื่อนนักศึกษาว่า พระนครสาวัตถีเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่เป็นเวลานานถึง ๒๕ ปี เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาศักยภาพของชีวิตชาวเมืองสาวัตถีในแคว้นโกศล ให้บรรลุความจริงของชีวิต และตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เมื่อพวกเราอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ ที่สำนักเรียนของวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารในช่วงเข้าพรรษาครั้งแรกของการอุปสมบทของเรา พระอาจารย์สอนว่าในสมัยพุทธกาล นั้น วัดเชตวันมหาวิหารตั้งอยู่ที่พระนครสาวัตถี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล ปัจจุบันคือ อำเภอสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
แต่ผู้เขียนไม่ค่อยสนใจนัก เพราะราชอาณาจักรไทยไทยมีวัดนับหมื่นแห่ง เมื่อผู้เขียนศึกษาที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียเป็นเวลาหลายปี ผู้เขียนมีโอกาสไปแสวงบุญหลายครั้ง และบางครั้งก็เป็นพระธรรมทูตบรรยายประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่วัดเชตวันมหาวิหาร อำเภอสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ผู้เขียนจึงได้รับแรงบันดาลใจในกาารศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก เพื่อใช้ในการสอนนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมถึงศึกษาการใช้เหตุผลทางพุทธศาสนาในการตีความข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ความจริงอันเป็นที่สุดอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
วัดเชตวันมหาวิหารเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในพระพุทธศาสนา เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่วัดแห่งนี้นานถึง ๑๙ พรรษา เดิมเป็นพระอุทยานหลวง (สวนหลวง) ของเจ้าชายเชต พระราชกุมารแห่งราชวงศ์โกศล ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองสาวัตถีทางทิศใต้
ดังปรากฏหลักฐานในพยานเอกสารจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] จูฬวรรค[เสนาสนขันธกะ] ข้อ ๓๐๘ ได้กล่าวว่า" สมัยนั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคน มีมิตรมาก มีสหายมาก ประชาชนเชื่อถือคำพูดท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทำธุระในกรุงราชคฤห์เสร็จแล้วก็เดินทางกลับไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางชวนคนทั้งหลายสร้างอาราม สร้างวิหาร เตรียมทานเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาแล้วในโลกนี้และข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว พระองค์จะเสด็จมาทางนี้ครั้งนั้นคนทั้งหลายที่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ได้พากันสร้างอารามสร้างวิหารเตรียมทาน" ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงกรุงสาวัตถี เที่ยวตรวจดูรอบๆกรุงสาวัตถีคิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าควรประทับที่ไหนดีซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไปไม่ใกล้จากหมู่บ้านเกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะเข้าเฝ้าไปมาสะดวกได้ง่าย ผู้คนไม่พลุกพล่านกลางคืนมีเสียงรบกวนน้อยไม่มีเสียงอึกทึกไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวกมนุษย์จะทำกิจที่ลับได้เหมาะแก่การหลีกเร้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นว่าพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร เป็นสถานที่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้จากหมู่บ้านเกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะเข้าเฝ้าไปมาสะดวกได้ง่ายผู้คนไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อยไม่มีเสียงอึกทึกไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวกมนุษย์จะทำกิจที่ลับได้เหมาะแก่การหลีกเร้นครั้นแล้ว ถึงเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงที่แล้วได้กราบทูลเจ้าเชตราชกุมารดังนี้ว่าพระลูกเจ้าขอพระองค์ทรงโปรดประทานพระอุทยานแก่กระหม่อมเพื่อจัดสร้างพระอารามเถิด พระเจ้าขา"
เหตุผลที่สร้างวัดเชตวันมหาวิหารของอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเรื่อง"ชีวิตมนุษย์" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ จนกระทั่งบรรลุธรรมในระดับพระโสดาบัน อนาถบิณฑิกคหบดีมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้า และประสงค์ให้พระองค์ทรงเผยแผ่พระธรรมแก่ชาวเมืองโกศล เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้บรรลุความจริงของชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขโดยยึดหลักศีลธรรมและกฎหมาย ในพรรษาที่ ๑๔ พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่วัดเชตวันมหาวิหารเป็นครั้งแรก และเป็นวัดพุทธแห่งที่สองของพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นในแคว้นโกศลโดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้าและพระสาวกเพื่อจำพรรษาตลอดฤดูฝน ๓ เดือนและเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นโกศล เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของชาวโกศลให้บรรลุปัญญาในระดับอภิญญา ๖ โดยพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นนี้ เป็นเวลา ๒๕ พรรษาและพระองค์ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเชตวันมหาวิหารเป็นเวลา ๑๙ พรรษาและที่วัดบุพพารามเป็นเวลา ๖ พรรษา
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดเชตวันมหาวิหารแล้ว จากการศึกษาจากตำราพุทธศาสนาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาหรือจากการฟังพระธรรมเทศนาของพระธรรมทูตในแดนพุทธภูมิในวัดนี้หลายครั้งแล้วยอมรับข้อเท็จจริงโดยปริยายว่าเป็นความจริง แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี หรือจากข่าวลือ จากตำราเรียนหรือคัมภีร์ศาสนา เป็นต้น อย่าเพ่งเชื่อทันทีเราควรสงสัยก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ
ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องวัดเชตวันมหาวิหารนี้ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าถือว่ายังคงเป็นที่น่าสงสัยถึงความเป็นมาของวัดเชตวันมหาวิหาร ผู้เขียนจึงสนใจศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระเชตวันมหาวิหารในพระไตรปิฏกอีกต่อไปโดยเขียนบทวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานในพระไตรปิฎก อรรถกถา บันทึกลายลักษณ์อักษรของการเดินทางสู่พุทธภูมิของสมณะจีน ๒ รูป ความคิดเห็นของนักโบราณคดีที่บันทึกไว้ และความรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียน ซึ่งได้เดินทางแสวงบุญไปสักการะในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งหลายครั้งในฐานะผู้แสวงบุญและพระนักเทศน์ เป็นต้น เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องวัดเชตวันมหาวิหารอย่างสมเหตุสมผล บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระภิกษุ และนักเทศน์ในการบรรยายเนื้อหาทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับวัดเชตวันมหาวิหารสำหรับผู้แสวงบุญในดินแดนพุทธภูมิให้เนื้อหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกระบวนพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าและปรัชญาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตระดับปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา สามารถใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในหัวข้อวิจัยได้ เป็นการสร้างองค์ความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล และไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริงของการวิจัยในระดับปริญญาเอกอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น