The Epistemological problems concerning the U Bein Teak- Bridge
บทนำ
โดยทั่วไปแล้ว ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของสะพานอูเบ็งว่าเป็นสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลก เป็นสะพานไม้สักที่เก่าแก่ที่สุดของโลก มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ปีแล้วจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปเมืองมัณฑเลย์โบราณเล่าให้ฟังและหลักฐานในตำราประวัติศาสตร์พม่าและเว็บไซต์ต่าง ๆ มากมายและแผนที่โลกกูเกิล เป็นต้น เมื่อได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นแล้ว เราก็เชื่อข้อเท็จจริงโดยปริยายว่าเป็นความจริง ไม่มีเหตุสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องการมีอยู่ของสะพานอูเบ็งอีกต่อไป แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากสิ่งที่นิยมยึดถือประพฤติปฏิบัติจนแบบแผน ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี จากตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น เราไม่ควรเชื่อทันที ให้สงสัยก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น
เมื่อเรายึดหลักพิจารณาความจริงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เราไม่ควรเชื่อเรื่องการมีอยู่ของสะพานไม้อูเบ็งทันที เราควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับการมีอยู่ของสะพานไม้อูเบ็ง เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ เยังเป็นเรื่องนักปรัชญาได้กำหนดทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับที่มาของความรู้ของมนุษย์ไว้หลายทฤษฎีด้วยกัน แต่ผู้เขียนเลือกทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยมมีแนวคิดว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้แท้จริงของผู้นั้น" เป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ตามแนวคิดของทฤษฎีความรู้ของญาณวิทยาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้เขียนตีความว่า การรับรู้เชิงประจักษ์ของมนุษย์เกี่ยวกับความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ต้องผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้นและจิตมนุษย์น้อมรับอารมณ์เหล่านั้นมาสั่งสมอยู่ในจิตใจ จึงจะยืนยันด้วยเหตุผลว่า บุคคลนั้นเห็นจริงและสามารถอธิบายด้วยเหตุผลที่ตรวจสอบได้ว่าเป็นเรื่องจริงและน่าเชื่อถืออย่างไม่ต้องสงสัย หากบุคคลใดไม่เคยรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสโดยตรง แม้จะกล่าวด้วยเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงน่าเชื่อถือก็ตามถือว่ามีน้ำหนักน้อยไม่น่ารับฟัง เพราะมนุษย์ชอบมีอคติต่อกัน อาจกล่าวด้วยถ้อยคำที่เป็นเท็จ ยืนยันว่าเป็นจริง ทำให้การตัดสินปัญหาปราศจากความบริสุทธิ์ยุติธรรมทุกฝ่ายได้
กล่าวคือผู้เขียนรับรู้ความมีอยู่ของสะพานไม้สักอูเบ็งจากประสาทสัมผัสของผู้เขียนเพียงอย่างเดียว เมื่อได้เดินทางจากประเทศไทยมาสู่เมืองอมรปุระได้มาเที่ยวชมสะพานแห่งไม้สักอูเบ็งแห่งนี้ในยามเช้าเป็นสะพานไม้โบราณที่มีอยู่จริง ผู้เขียนรับรู้ด้วยตัวของผู้เขียนเอง เมื่อผู้เขียนลงรถพร้อมกับคณะผู้แสวงบุญจำนวน ๒๐ กว่ารูป/คนเดินผ่านร้านค้าหลายแห่งเปิดขึ้นมา รองรับผู้คนมาจากแดนไกลเดินก้าวเท้าผ่านชีวิตผู้คนมากมายมารับลมเย็น เพื่อผ่อนคลายบนสะพานไม้แห่ง ในยามเช้าอันแสนอบอุ่มเต็มไปด้วยผู้คนจากนานาชาติที่เดินทางจากทั่วโลกเหมือนกระแสน้ำไหลไม่มีวันเหือดแห้งแต่อย่างใด ถ้าเปรียบเป็นมนุษย์นั้นสะพานไม้อูเบ็งเป็นมนุษย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก ที่มนุษย์ได้ขึ้น เพื่อความสะดวกของการเดินทางของชีวิตมนุษย์ สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๓ ปีอายุในปัจจุบันปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ประมาณ ๑๖๘ ปีแล้ว เดิมเป็นพระราชวังเก่าจากกรุงอังวะ นำมาก่อสร้างสะพานที่นครอมรหรืออมรปุระ เป็นสร้างสะพานที่สร้างขึ้นมาเพื่อข้ามทะเลสาบตองตะมานเพื่อใช้เดินทางไปมาหาสู่กัน การเดินทางมาพม่าครั้งนี้ถือว่าเป็นการแสวงหาความรู้จากความว่างเปล่าจริงเพราะไม่ได้สนใจอ่านโปรแกรมที่เขาจัดมาให้ ฟังแต่จากคำบรรยายของไกด์ชาวพม่าที่พูดภาษาไทยจัดมาให้ก็น่าตื่นเต้นไม่น้อย
เมื่อผู้เขียนเดินทางมาถึงสะพานไม้อูเบ็งแล้ว สภาพปรากฏการณ์ที่พบเห็นเหมือนสะพานไม้ทั่วไป ที่สร้างขึ้นตามภูมิปัญญาของช่างท้องถิ่นยุคโบราณฝีมือยังไม่พิถีพิถันเท่าที่ควรแต่สภาพไม้โบราณนั้นสึกกร่อนน้อยมายังมีสภาพแข็งแรงคงทนต่อดินฟ้าอากาศจากฝนตกอากาศหนาวแสงแดดที่แผดเผาไหม้มาชั่วกาลนาน การเดินทางท่ามกลางแสงแดดน้อยผ่านชีวิตผู้คนที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกันต่างแค่เชื้อชาติที่มนุษย์ ภาษาพูดและอาหารการกินเท่านั้นเองในฐานะอาจารย์สอนในรายวิชาสุนทรียศาสตร์ ของหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญา เมื่อจิตตัวเองผัสสะกับสะพานไม้อูเบ็งแล้ว อาการของจิตตัวเองมีความรู้ว่าสะพานไม้แห่งนี้มีอยู่จริงและสะพานไม้สร้างขึ้นจากไม้สัก ความงามอย่างไร โดยเหตุผลเป็นเครื่องมือคิดวิเคราะห์ใช้บรรยายความงามของสะพานไม้สักแห่งนี้สะพานไม้แห่งนี้ จะมีความงดงามเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นกับจิตของมนุษย์แต่ละคน ที่มีแนวคิดเกี่ยวกับความงามประกอบด้วยเหตุผลไม่เหมือนกัน สะพานไม้แห่งนี้ผัสสะจิตผู้ใด ย่อมเกิดความงามมีอยู่ในจิตของผู้นั้นมากน้อยเพียงใดขึ้นกับจิตของผู้นั้นพอใจหรือไม่ เพียงใด และแตกต่างกันออกตามเหตุผลที่ใช้อธิบายความงามนั้นแต่แนวคิดของใครใช้อธิบายความงามของสะพานไม้สัก ย่อมงามใดด้วยเหตุผลใดที่ก็จะงามของคนนั้น เพราะมนุษย์มีจริตแนวโน้มของความชอบไม่เหมือนกันจะเอาความนึกคิดชอบของใครเป็นสากลไม่ได้
๓.ความงามของสะพานไม้อูเบ็ง

แหล่งความรู้ของผู้เขียนเกี่ยวกับสะพานอูเบ็ง เป็นความรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวของผู้เขียนเองเมื่อผู้เขียนและคณะผู้แสวงบุญได้มาเยือนสะพานแห่งที่นี้ ในยามเช้าหลังจาก ฉันภัตตาหารเช้าในโรงแรมแล้ว สะพานแห่งนี้มีความเป็นสากลเพราะผู้คนรู้จักกันทั่วโลก เพราะ นักท่องเที่ยวจำนวนมากได้เผยแผ่การท่องเที่ยวของตนแชร์ไว้ในอินเตอร์เน็ตและพากันรีวิวสถานที่แห่งนี้ไว้ในโลกออนไลน์ เมื่อเดินทางมาถึงสะพานอูเบ็งแล้ว ผู้เขียนเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนหลายร้อยคน ต่างเชื้อชาติ หลายภาษา ได้พากันเดินบนสะพานแห่งนี้ผ่านทะเลสาบ ดูวิถีผู้คนได้ผัสสะอากาศเย็นสบายพัดผ่านชีวิตของตนท้องฟ้ามืดคลึ้ม แสงแดดส่องไม่ถึงทะเลสาป ผู้เขียนมองพื้นดินบนทะเลสาบที่ตื้นเขิน และยังขาดการปรับปรุงพัฒนาให้สวยงามมองไปบนสะพานผู้เขียนเห็นผู้คนกำลังเดินเล่นบนสะพานไม้สักเต็มไปหมด เพื่อเที่ยวชมความงามของสะพานไม้สัก เป็นศิลปะความงามจากความนึกคิดในการสร้างภาพจินตนาการของมนุษย์ในช่วงเมื่อ๑๐๐ ปี ที่ผ่านมา สะพานแห่งนี้จึงไม่ได้สวยงามอย่างที่ผู้เขียนคาดหวัง เพราะผู้เขียนหวังว่าจะเห็นความปราณีตงดงามเต็มด้วยศีลปะอันวิจิตร แต่ภาพผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียน ฝีมือเรียบง่ายมุ่งไปที่ใช้ประโยชน์ใช้สะพานแห่งนี้มากกว่า ความวิจิตรตระการตาของชีวิตและการก่อสร้างสะพานน่าจะใช้แรงงานจำนวนมหาศาลให้เป็นสัญลักษณ์ที่มาจากภูมิปัญญาของมนุษย์กาลเวลาผ่านไปสะพานยังใช้ประโยชนแก่ผู้คนที่เดินทางมาด้วยความอยากรู้อยากเห็น คนพม่านำของมาขายมากมายถือว่าเป็นสีสรรค์ของชีวิต มนุษย์ต่างความคิดและความฝันมาเจอกันโลกนี้ไม่ได้มีแต่มุมมืดเพียงอย่างเดียวแต่อย่างใด แต่มนุษย์มีความหลากหลายทางความคิดต่างมีแนวโน้มของความชอบไม่เท่ากัน ความหัศจรรย์ของทุกชีวิตเกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่งเสมอ โอกาสของมนุษย์มีไม่เท่ากันอาจเป็นความคิดที่ผิดก็ได้ เพราะทุกอย่างล้วนเป็นตามเหตุปัจจัยของจิตที่ชอบหมกหมุ่นไม่เหมือนกันหรือสนใจไม่เหมือนกัน ความสุขของมนุษย์บางอย่างไม่อาจคำนวนเป็นเงินได้ สะพานไม้แห่งนี้ในแง่ของความหัศจรรย์คือศิลปะของการใช้คำพูดอย่างไร จึงได้รับพระราชทานไม้สักที่มีมูลค่ามหาศาลจากพระราชวังเก่ามาสร้างเป็นสะพานไม้โบราณแห่งนี้ได้ เป็นความรู้ผ่านจากประสบการณ์ของประสาทสัมผัสในฐานะเป็นมนุษย์เมื่อมาถึงเมืองมัณฑเลย์ต้องไปเที่ยวชมสะพานไม้อูเบ็งก็ต้องเป็นหนึ่งในหลายโปรแกรมที่เราต้องมาเที่ยวชม แม้เรื่องสะพานไม้สักแห่งนี้จะมีผู้เขียนไว้มากมายหลายเวปไซด์ ก็ตามความรู้จากแนวคิดของมนุษย์แต่ละคน เป็นเรื่องของมุมมองจากความคิดของใครของมันยากจะลอกเลียนแบบกันได้ มนุษย์คนไหนมีความคิดเหมือนคนอื่น ย่อมเกิดจาการลอกเลียนแบบเขาเพราะมนุษย์แต่ละคนก็มีมุมมองจากแนวคิดไม่เหมือนกันเพราะอาการของจิตที่มากระทบย่อมทำให้มนุษย์คิดไม่เหมือนกัน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น