Introduction to Aesthetics on the U-Bein Bridge of Mandalay
บทนำ
สะพานไม้อูเบ็งเป็นสะพานไม้สักที่ยาวที่สุดในโลกยาวประมาณ๑ กิโลเมตร เป็นสะพานไม้สักที่ใช้เป็นเส้นทางข้ามทะเลสาบตองตะมานสำหรับชาวเมืองอมรปุระ เพื่อลดเวลาในการเดินทางไปทำงานในเมืองอมรปุระ สะพานไม้สักแห่งนี้ ตั้งอยู่ในตำบลอมรปุระ เขตมัณฑะเลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ ในภาคกลางของสหภาพเมียนมาร์เป็นสะพานไม้สักแห่งเดียว ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุดในโลก และสะพานไม้สักอูเบ็ง ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่สร้างขึ้นด้วยภูมิ ปัญญาของชาวพม่า เมื่อชาวเมืองอมรปุระย้อนไปถึงความยากลำบากที่ต้องเดินทางรอบทะเลสาบตองตะมานเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในแต่ละวันเพื่อไปทำงานที่อมรปุระ การสร้างสะพานไม้สักอูเบ็งจะช่วยลดเวลาและระยะทางในการเดินทางไปทำงานได้ ผู้สร้างจินตนาการถึงปัญหาการเดินทางของชาวอมรปุระจึงได้สร้างสะพานไม้สักข้ามทะเลสาบ เพื่อเชื่อมระหว่างชายฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของทะเลสาบตองตะมาน และลดเวลาการเดินทางของชาวเมืองอมรปุระ ต้นไม้สักเป็นสิ่งที่หาได้ยากและต้องตัดต้นสักจำนวนมากในป่าเพื่อนำไปแปรรูปในการสร้างสะพานแห่งนี้
แต่ปัจจุบัน มีต้นไม้สักอยู่ในสหภาพเมียนมาร์และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ปริมาณไม้สักน้อยมากและลดลงอย่างรวดเร็ว มีราคาแพงและหายากมาก การที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกมาชมความสวยงามของสะพานไม้สักอูเบ็งตามแบบที่ผู้สร้างตั้งใจทำขึ้น หรือเราคาดหวังไว้นั้นย่อมมีค่าในความคิดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยการสืบค้นข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานที่เพียงพอ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อใช้เหตุผล มาอธิบายความงามที่เกิดในจิตใจของแต่ละคน โดยอาศัยความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส เมื่อได้มาเยี่ยมชมสะพานไม้อูเบ็งแห่งนี้ เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปถึงภาคกลางของสหภาพเมียนมาร์ และได้เดินชมสะพานไม้สักแห่งนี้ในตอนเช้า และตอนเย็นจิตใจของผู้เขียนก็สัมผัสได้ ถึงลมเย็นที่ได้พัดมาจากทะเลสาบตองตะมาน พัดผ่านร่างกายให้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบายและผ่อนคลาย ทำให้ชีวิตได้ฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้าที่เกิดจากความเครียดจากการทำงานตลอดทั้งปี เป็นประโยชน์ต่อชีวิต ความงามที่ประทับอยู่ในจิตใจและติดตามกลับมาสู่ประเทศไทย ผู้เขียนนำข้อมูลที่ติดตามกลับมาถึงประเทศไทย เพื่อใช้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสะพานไม้สักอูเบ็งนั้น กระตุ้นให้คนไทยรู้จักการคิดวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความสวยงามของสะพานแห่งนี้อย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น

เมื่อสะพานไม้สักอูเบ็งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกนักท่องเที่ยวหลายคนใช้เหตุผลเขียนเขียนบรรยายถึงสะพานไม้สักอูเบ็ง ในเว็บไซต์ต่าง ๆ แต่ธรรมชาติของนักเขียนทุกคน ก็คือมีจิตวิญญาณที่จินตนาการถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง และรวบรวมข้อมูลทางอารมณ์ในจิตใจของตนเอง เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุมาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับสะพานอูเบ็งให้แตกต่าง ออกไปตามความเข้าใจของตนเอง หนึ่งล้านคน สามารถคิดเหตุผลได้เป็นล้านเหตุผลเช่นกันเหตุผลเหล่านั้นแสดงออกมาเป็นตัวอักษรเหมือนสายน้ำที่ไม่มีวันเหือดแห้ง ยิ่งเขียนยิ่งบรรยาย ยิ่งทำให้ผู้เขียนเข้าใจความจริงของสิ่งต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์มากขึ้น แต่ถ้าเราอ่านมุมมองของความคิดของนักเขียนแต่ละคน ย่อมมีมุมมองและความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพราะนักเขียนแต่ละคนมีแนวโน้มจะชอบและไม่ชอบ และทักษะชีวิตและความสนใจของนักเขียนแต่ละคน ก็มีวาทะศิลป์ที่แสดงออกต่อผู้อื่นในลักษณะที่แตกต่างกันแน่นอนความรู้ของที่เขียนขึ้นมานี้ เป็นความรู้ที่ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ข้อความของผู้เขียนเข้าใจได้ด้วยเหตุผลของตนเอง
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องสุนทรียภาพของสะพานอูเบ็งแห่งมัณฑเลย์ (The aesthetics on the U-ben Bridge of the Mantelay) โดยการเขียนคำตอบเป็นบทความ โดยอาศัยบ่อเกิดความรู้จากการรับรู้จากประสาทสัมผัสของผู้เขียนเอง ที่ได้เดินทางไปชมความงามของสะพานไม้สักอูเบ็งแห่งนี้ ในแง่สุนทรียศาสตร์ น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจวิชาปรัชญา ข้อมูลได้จากวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากประสาทสัมผัส น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ศึกษาปรัชญา เพื่อให้ได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์มากขึ้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น