Introduction :
A Study of Civilized Era during the time of Buddha according to Buddhaphumi's philosophy
แนวคิด "ยุคศิวิไลซ์" นั้น เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ความหมายและขอบเขตความรู้เกี่ยวกับ "ยุคศิวิไลซ์" กลับมีความซับซ้อนและแตกต่างกันไปตามบริบท ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ คำพูด หรือความคิดและสามารถเข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ได้ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายข้อเท็จจริงและประเมินความจริงของเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน และครบถ้วน เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาและวิเคราะห์ยุคศิวิไลซ์ตามหลักปรัชญา จึงต้องพิจารณาความจริงในเรื่องนี้ในทุกแง่มุม ตั้งแต่ความหมายของคำว่า "ยุคศิวิไลซ์" ที่มาของแนวคิด ไปจนถึงความสำคัญของการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน
๒. ความหมายและที่มาของคำว่า "ยุคศิวิไลซ์"
มักใช้เรียกสังคมมนุษย์ที่เจริญก้าวหน้าในหลากหลายด้านได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม หรือวัฒนธรรมเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตามความหมายที่แท้จริงของ "ยุคศิวิไลซ์นั้น" ยังไม่ชัดเจนและจึงใช้เปรียบเทียบและสร้างลำดับชั้นระหว่างสังคมต่าง ๆ สังคมที่เจริญแล้วถือเป็นสังคมที่ "ศิวิไลซ์" หรือมีอารยธรรมมากขึ้น
แนวคิดเรื่อง "ยุคศิวิไลซ์" มีรากฐานจากแนวคิดทางปรัชญาของนักปรัชญาตะวันตก โดยเฉพาะในยุคอาณานิคม เมื่อชาวยุโรปใช้แนวคิดนี้ เพื่อหาเหตุผลในการปกครองและควบคุมสังคมอื่น ๆ โดยมองว่าสังคมเหล่านั้น เป็นสังคม "ป่าเถื่อน" หรือไร้อารยธรรม ส่งผลให้เกิดการกดขี่ และทำลายล้างวัฒนธรรมอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง ในปัจจุบัน แนวคิดเรื่อง "ยุคศิวิไลซ์" ถูกตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมาย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง การเหยียดเชื้อชาติ และการสร้างความไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นการศึกษาและวิเคราะห์ยุคศิวิไลซ์ จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้แนวคิดนี้ในลักษณะลำดับชั้น ต้องพิจารณาบริบททางประวัติศาสตร์และสังคมอย่างรอบคอบ เป็นต้น
๓.ความสำคัญของการศึกษาวิเคราะห์ในยุคศิวิไลซ์ตามหลักปรัชญามีประเด็นสำคัญหลายประการ ดังนี้
๓.๑ การทำความเข้าใจประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ การศึกษาช่วยให้เราเข้าใจความคิดของมนุษยชาติ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี่ ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคมมนุษย์ด้วยตัวผู้คนในสังคมเอง และเกิดจากการกำหนดนโยบายทางการเมืองของผู้นำประเทศในยุคสมัยนั้น ๆ
๓.๒ การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความเจริญเติบโต และความก้าวหน้าในสังคมมนุษย์ในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่ประชาชนได้รับประโยชน์จากสิ่งคำนวณได้ และสิ่งคำนวณไม่ได้ การศึกษาในเรื่องเหล่านี้ จะช่วยให้เราตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดเรื่องการเติบโตและความก้าวหน้าของแต่ละประเทศนั้น โดยพิจารณาถึงผลกระทบอย่างครอบคลุมของแนวความคิดเหล่านี้ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมในทุกแง่มุม
๓.๓ การสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืน การศึกษาช่วยให้เราเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมสังคมที่เท่าเที่ยม ยุติธรรม และยั่งยืน
๓.๔ การแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน การศึกษาจะช่วยให้เราเข้าใจกิลสตัณหาของมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบันและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
โดยสรุปการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในยุคศิวิไลซ์ตามหลักปรัชญา เป็นการศึกษาวิจัยที่สำคัญและจำเป็นเพื่อเข้าใจถึงต้นกำเนิดของความรู้หรือที่มาของความรู้ ความหมายและผลกระทบต่อแนวคิดในยุคศิวิไลซ์และนำไปสู่สังคมที่ดีกว่าในอนาคต โดยหลีกเลี่ยงความเลื่อมล้ำ การกดขี่ และเน้นการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นต้น
ผู้เขียนได้ฟังความเห็นมากมายเกี่ยวกับยุคศิวิไลซ์จากนักวิชาการ นักบวช ฆราวาส และนักโหราศาสตร์ ซึ่งทำนายอนาคตของมนุษยชาติว่าคนชั่วจะพินาศ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องนี้ และนำมาแชร์ต่อในโซเชียลมีเดีย ส่วนความเห็นของบุคคลเหล่านี้ ที่บอกว่าคนชั่วจะพินาศทั้งหมดนั้น เป็นเพียงการแสดงความเห็นตามปฏิภาณของตนเอง ตามหลักเหตุผล และคาดคะเนความจริงจากสิ่งที่ได้ยินมา เท่านั้น แต่เมื่อบุคคลเหล่านี้เป็นมนุษย์ ที่มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมนุษย์ชอบมีอคติต่อกันด้วยไม่รู้แจ้งของชีวิตว่ามนุษย์มีชีวิตมนุษย์เมื่อตายไปแล้ว ดวงวิญญาณต้องไปเกิดในภพชาติอื่นต่อไปไม่รู้จบสิ้น ทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องตกอยู่ในความมืดมิด ไม่มีความสามารถคิด โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงในเรื่องยุคศฺวิไลซ์ ได้
ดังนั้น เมื่อบุคคลเหล่านี้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความจริงของเรื่อง "ยุคศิวิไลซ์" พวกเขาจะไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ พวกเขาจะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานนั้น โดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ความเห็นของนักตรรกะและนักปรัชญา พวกเขาอาจใช้เหตุผลบ้างครั้งถูกบ้าง บ้างครั้งผิดบ้าง บ้างครั้งเป็นอย่างนั้นบ้าง บางครั้งเป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อข้อเท็จจริงของคำตอบยังไม่ชัดเจน วิญญูชนรู้ข้อเท็จจริงของคำตอบมีข้อพิรุธน่าสงสัยและไม่ยอมรับข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นคนเลว ใครจะจับกุมคนเลวเหล่านั้น คนเลวเหล่านั้นจะพินาศได้อย่างไร ไม่มีใครสามารถอธิบายความจริงข้อนี้ได้อย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ได้พัฒนาแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต เป็นพื้นที่ให้ผู้คนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและศาสนาผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อสะท้อนปัญหาของประเทศ เพื่อให้รัฐบาลสามารถศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานต่าง ๆ และเห็นความทุกข์ยากของประชาชนในประเทศ เมื่อสังคมในประเทศเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องของผู้นำประเทศที่มีปัญญาหยั่งรู้ความจริง จากความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต้องการให้ผู้นำประเทศแก้ไขปัญหาของประชาชน เพราะเสียงของประชาชนคือเสียงจากสวรรค์ที่มีอำนาจในการคัดเลือกผู้นำเพื่อกำหนดชะตากรรมของประเทศ หากอยู่ในสถานการณ์ลำบากเพราะไม่มีงานทำ ธุรกิจเอกชนล้มเหลว เมื่อประชาชนต้องการเพียงสิ่งจำเป็นสี่ ประการ แต่ไม่มีกำลังซื้อ จะสร้างงานที่มั่นคง และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้อย่างไร
การเรียนรู้ความทุกข์ของประชาชนจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันทวงทีดีกว่าแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนในชีวิตประจำวัน แนวคิดเรื่องยุคศิวิไลซ์นั้น แม้ว่านักเขียนบางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา เขียนหนังสือเผยแพร่ความรู้ในเรื่องนี้ แต่เป็นการแสดงทัศนะความจริงในเรื่องนี้ตามปฏิภาณของตนเองและคาดคะเนความจริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อนักเขียนบางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา มักจะมีการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องยุคศิวิไลซ์นั้น ทำให้ผู้อ่านสนใจในการอ่านกันและกลายเป็นหนังสือขายดี แต่การใช้เหตุผลของนักตรรรกะ นักปรัชญาเหล่านั้น บางครั้งก็มีการใช้เหตุผลถูกบ้าง การใช้เหตุผลผิดบ้าง มีการใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง มีการใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง แต่เมื่อวิญญูชนซึ่งเป็นผู้อ่านหนังสือเกี่ยวกับยุคศิวิไลย์แล้วแต่ประวัติศาสตร์ของยุคศิวิไลย์ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร จึงพากันละทิ้งหนังสือเรื่องนี้ไม่สนใจที่จะติดตามอ่านอีกต่อไปหรือเมื่ออ่านแล้ว ก็ไม่นำความรู้ในเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัด เป็นต้น
เมื่อเราเห็นตัวตนของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย ต่างก็มีอวิชชาสั่งสมอยู่ในจิตใจ ที่ต้องพัฒนาความรู้และทักษะความสามารถในการคิดจากความรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกาย และที่สั่งสมไว้ในจิตใจ โดยใช้สติปัญญาพิจารณา และใช้เหตุผลอธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ๆ เช่น คาดคะเนอนาคตชีวิตมนุษย์ ตัดสินใจเชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ว่าจริงหรือเท็จ เป็นต้น
บางคนคิดว่าคนชั่วยากจะจำกัดให้หมดสิ้นได้ เพราะมนุษย์เป็นพวกเห็นแก่ตัว ไม่เคยแสดงตัวตนที่แท้จริงให้คนอื่นเห็น มักแสดงสมบัติผู้ดีให้สาธารณะชนเห็นหรือแสร้างทำเป็นไม่รู้เรื่อง การแยกแยะคนดีและคนชั่วจึงเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลาวิจารณญาณและปัญญากว่าจะเห็นตัวตนที่แท้จริง เพราะมนุษย์มักจะหวาดกลัวต่อโลกธรรม ๘ ประการ จึงไม่เคยแสดงตัวตนหรือธรรมชาติที่แท้จริงของตนให้ผู้อื่นในสังคมเห็น เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในโซเชียลเน็ตเวิร์ก เว็บไซต์และ YouTube และได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในยุคศิวิไลซ์ คนชั่วจะพินาศ แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ วิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของยุคศิวิไลซ์ แต่เรื่องราวของคำตอบที่ผุดขึ้นในใจของผู้เขียนนั้น ยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยและไม่ชัดเจนว่าคนชั่วจะถูกทำลายได้อย่างไร ?แต่ผู้เขียนชอบค้นคว้าเรื่องยุคศิวิไลย์อีกต่อไป จำเป็นต้องมีการสอบสวนและรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อนำมาวิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบให้ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียนสนใจแสวงหาความรู้เกี่ยวกับยุคศิวิไลย์มากขึ้น จึงได้ค้นคว้าข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ อรรถกถา เอกสารวิชาการอื่น ๆ และหลักฐานเอกสารดิจิทัลจากอินเตอร์เน็ต เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ผู้เขียนจะเขียนบทวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผล มาพิสูจน์ความจริงของคำตอบเกี่ยวกับยุคศิวิไลซ์ บทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่สนใจศึกษาปรัชญาเชิงวิเคราะห์ และพระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรใช้บรรยายธรรมในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง (The Four Holy Buddhist Places)และพุทธสถานทั่วโลก กระบวนการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตระดับปริญญาเอก ใช้เป็นแนวทางการเขียนวิทยานิพนธ์และบทความของนิสิตระดับปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนา เพื่อให้ได้ความรู้ที่สมเหตุสมผล ไม่สงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไปและสามารถตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลได้ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น