The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช

Epistemological Problems Regarding Karma of Ashoka the Great
      
บทนำกรรมในพระไตรปิฎก 

      โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องพระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาโดยสร้างวัดต่าง ๆ ในสังเวชนียสถาน ๔ แห่งและส่งพระธรรมทูตสายต่าง ๆ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งราชอาณาจักรไทยมาไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว จากการแสดงพระธรรมเทศนาของพระภิกษุทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานในวันธรรมสวนะตามวัดต่าง ๆ ทั่วโลก   หรือได้ยินข้อเท็จจริงจากคำบรรยายของพระธรรมทูตสายต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยในการแสวงบุญที่สาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลหรือหนังสือเรียนประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยทั่วโลก  เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตผู้คนทั่วโลกให้มีชีวิตที่เข็มแข็งด้วยการทำสมาธิ  มีจิตบริสุทธิ์ปราศจากอคติต่อผู้อื่น มีความอ่อนโยนเหมาะแก่การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมระดับชาติและนานาชาติ มีความมั่นคงในอุดมการณ์ที่จะปกป้องชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์ และ ไม่หวั่นไหวที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์และสุจริต มีสติสัมปชัญญะที่จะระลึกถึงความรู้ จากระบบการศึกษาแห่งราชอาณาจักรไทยและมหาวิยาลัยทั่วโลก หรือประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรง ใช้เป็นหลักพิจารณาในการแก้ไขปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าในชีวิตสามารถแยกแยะเรื่องไหนจริงหรือเท็จได้  เป็นต้น   

      อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนานั้น  เจ้าชายสิทธัตถะทรงสนใจการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ และการมีอยู่ของเทพเจ้า เช่นพระพรหมและพระอิศวร เป็นต้น  เมื่อพระองค์ทรงเห็นปัญหาจัณฑาลในแคว้นสักกะ และแคว้นโกลิยะที่ถูกคนในสังคมลงโทษด้วยการลงพรหมทัณฑ์ ด้วยการขับไล่ออกจากสังคมไปตลอดชีวิต เสียสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายกฎหมายจารีตประเพณีโดยปริยายไปตลอดชีวิต และไม่อาจกลับคืนสู่สถานะเดิมในสังคมอีกต่อไป เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะได้ เนื่องจาก พระองค์ทรงไม่สามารถประกอบพระราชพิธีบูชายัญแด่พระพรหมเพื่อขอให้พระองค์ทรงยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะเพราะเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง ที่ห้ามประชาชนมิใช่วรรณะพราหมณ์บูชายัญและสวดพระเวท  เมื่อพระองค์ทรงเสนอกฎหมายยกวรรณะในแคว้นสักกะต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ ก็เป็นกระทำที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแห่งแคว้นสักกะ ที่ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว เป็นต้น  

    พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง จึงสามารถศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะปัญหาที่ทางพระพุทธศาสนาสนใจศึกษาและแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ ตามหลักพิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนานั้น เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด อย่าเชื่อทันที ควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ให้เพียงพอ ตามกระบวนการวิเคราะห์หลักฐานพิสูจน์ความจริงตามหลักปรัชญาได้ โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น มีองค์ประกอบของชีวิตเกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไป  ร่างกายของมนุษย์ต้องอาศัยจิตใจในการดำรงชีวิตของตนไว้  เมื่อมนุษย์หิว จิตใจของมนุษย์ ก็จะใช้ร่างกายในการแสวงหาอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายของตนเองในขณะเดียวกันจิตอาศัยร่างกายรับรู้อารมณ์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นดำรงอยู่เป็นสภาวะชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วสลายสภาวะไปในอากาศ แต่ก่อนที่สภาวะของอารมณ์เหล่านั้นจะหายไปจากสายตาของมนุษย์  เมื่อรับรู้แล้ว มนุษย์ก็น้อมรับอารมณ์เหล่านั้นมาสั่งสมไว้ในจิตใจของตนเองเกิดเป็นสัญญาอยู่ในจตใจของมนุษย์ แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์ไม่ได้แค่รับรู้ สั่งสมความรู้เท่านั้น  แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์มีหน้าที่คิดจากสิ่งที่รู้ เมื่อเขารู้สิ่งไหนก็คิดจากสิ่งนั้นแต่สิ่งมนุษย์รับรู้และคิดนั้นอาจเป็นความจริงตามที่เราคิดหรืออาจไม่ใช่ความจริงตามที่เราคิดก็ได้ เพราะมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร่างกายของตนเองมีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้น การฆ่าตัวตาย, การลักทรัพย์, การข่มขืนผู้เยาว์,  การเหยียดเชื้อชาติทางสังคม, การดื่มสุรายาเมาและเสพยาแต่เมื่อรับรู้แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนในมูลเหตุจูงใจในการกระทำผิดเหล่านี้ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีควมเห็นแก่ตัวจึงชอบอคตืต่อกันโดยมีสาเหตุมาจากความโง่เขลา, ความกลัว, ความเกลียดชัง, ความรักใคร่ชอบพอ  เป็นต้น ดังนั้น เมื่อความจริงเกี่ยวกับมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ และไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์โดยตรง นักปรัชญาจึงสามารถแบ่งความจริงทางอภิปรัชญาได้ ๒ ประการกล่าวคือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.สัจธรรม  ซึ่งเราสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเกี่ยวข้องกับงานยุติธรรมที่จะวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในอรรถคดีต่าง ๆ    

        ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น  โดยธรรมชาติทั่วไป มนุษย์อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติรอบตัว อาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว  มันจะคงอยู่ในสถานะนี้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไปในอากาศ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะหมดไปจากสายตามนุษย์   มนุษย์สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมเหล่านี้ผ่านอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖  ในร่างกายของเขาเอง ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวในประเทศสหภาพเมียนมาร์ เกิดเหตุพายุเข้าบริเวณทะเลอ่าวไทย น้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น มันจะคงอยู่ มั ตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่นเหตุการณ์ชายคนหนึ่งไล่แทงเด็กนักเรียนตายในโรงเรียนแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา คนเหยียบกันตายในสนามบอลที่อินโดนีเซีย หลอกเล่นแชร์จนได้รับความเสียหายนับร้อยล้านบาท เป็นต้น  แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์ไม่ได้มีหน้าที่ในการรับรู้เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ดึงดูดอารมณ์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ต่าง ๆในสังคมที่เกิดขึ้น เป็นหลักฐานทางอารมณ์มาสั่งสมอยู่ในจิตของมนุษย์แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์ไม่ได้มีหน้าที่รับรู้ รวมรวบหลักฐานทางอารมณ์เป็นสัญญาอยูในจิตของตนเท่านั้น ยังมีหน้าที่เป็นผู้คิด  เมื่อรับรู้สิ่งใดย่อมคิดจากสิ่งนั้น ด้วยการวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อนักประวัติศาสตร์ได้ศึกษาพุทธประวัติจึงรับรู้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นบุคคลสำคัญของโลกในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก ชีวิตของพระองค์ทรงประสูติแล้วทรงดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไปตามกฎธรรมชาติเช่นเดียวกับมนุษย์คนอื่น ๆ ดังนั้น เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่สามารถรับรู้้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ด้วยกัน  ก่อนที่เสื่อมสลายไปตามกฎธรรมชาติ ตามหลักวิชาการทางปรัชญาและพระพุทธศาสนานั้น ถือว่าเป็นการมีอยู่ของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์  จึงเป็นความจริงที่สมติขึ้น เป็นต้น 

       ๒.สัจธรรมคือ ความจริงอันเป็นที่สุดและที่ลึกซึ้งนั้นเป็นเรื่องยากที่ปุถุชนจะหยั่งรู้(เข้าใจ)ได้ เพราะเป็นความรู้ที่อยู่นอกขอบเขตของการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงอันเป็นที่สุดได้ เนื่องจากมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น มนุษย์มีความเห็นแก่ตัว จึงมักมีอคติต่อผู้อื่นชีวิตจึงอยู่ในความมืดมิด แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์  เพื่อค้นหาความจริงขั้นปรมัตถ์ ก็ยังไม่มีหลักฐานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความจริงขั้นปรมัตถ์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ แต่เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ก็ค้นพบว่าพระสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุถึงความจริงของชีวิตในระดับอภิญญา ๖ ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่อง "อภิญญา๖"นี้ เป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์เช่น สภาวะนิพพานของพระอรหันต์หรือญาณทิพย์อยู่นอกเหนือมนุษย์ทั้งปวง ผู้รู้ความจริงในเรื่องนี้ต้องเป็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เท่านั้นเพราะบุคคลเหล่านั้นได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตตนโดยการปฏิบัติตามอริมรรคมีองค์๘ เท่านั้น เป็นต้น       

     ในยุคปัจจุบัน  มนุษย์สนใจปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายในชีวิตของตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามเก็บอารมณ์ภายนอกเหล่านั้นไว้ในจิตใจ เพื่อสร้างความฝันและแรงบันดาลใจในการทำงาน ไปสู่เป้าหมายชีวิตของตัวเอง เมื่อพระพุทธศาสนาและปรัชญาสนใจที่จะศึกษาแก่นแท้ของความจริงของสรรพสิ่ง ได้แก่มนุษย์ โลก ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และการพิสูจน์ความมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น  ตามหลักปรัชญาและพระพุทธศาสนานั้น เมื่อผู้ใดได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใด  อย่าเชื่อทันที เราควรสงสัยไว้ก่อนจนกว่าจะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ให้เพียงพอ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ  หากไม่หลักฐานมาพิสูจน์ข้อเท็จจริง จะรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานเพียงปากเดียวข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้นมีน้ำหนักน้อยขาดความน่าเชื่อถือ เพราะโดยทั่วไป ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมักมีอคติต่อผู้อื่นและมีอวัยวะอินทรีย์ในร่างกายของมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ เป็นต้น  

     พยานบุคคลที่ให้มนุษย์ในทุกสมัยสงสัยว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ ส่วนใหญ่ของเรามักจะตอบอริยสัจ ๔ แต่ในความรู้ที่แท้จริงที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นคือ หลักปฏิจจสมุปบาท (Dependent origination)  คำว่า dependent rigination) แปลได้ว่าการก่อกำเนิดขึ้นอยู่กับ  ตัวอย่างเช่น การกำเนิดของชีวิตใหม่ขของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดาที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เกิดปัจจัยทางร่างกายและจิตรวมตัวกันในครรภ์มารดา ถ้าจิตวิญญาณไม่สามารถอาศัยอยู่ในครรภ์มารดาได้ก็อาจจะแท้งลูก เป็นต้น เมื่อตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงนำหลักปฏิจจสมุปบาทมาอธิบายในรูปแบบของคำสอนในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้ผู้คนเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนได้โดยง่าย และเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผลโดยไม่สงสัยในความจริงของชีวิตมนุษย์อีกต่อไป  เช่น ในอดีตชาวโกฬิยะเชื่อความจริงตามคำสอนของพราหมณ์อารยันว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงามตามหน้าที่ที่ตนกำเนิดมา แต่คำสอนของพวกพราหมณ์เชื้อสายอารยันให้กับมนุษชาติในยุคนั้นแต่คำสอนนั้นมีเหตุผลของความรู้ที่น่าสงสัยในที่มาของความรู้เกี่ยวกับพระพรหมที่พวกพราหมณ์อธิบายให้หายสงสัยได้และความตายเป็นความรู้ที่แท้จริงที่มนุษย์ทุกคนเป็นไปโดยเสมอภาคกันที่ทุกวรรณะไม่สามารถแบ่งแยกผู้คนให้ตายได้เหมือนกับวรรณะ เมื่อยังมีผู้สงสัยในปัญหาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ พราหมณ์ปุโรหิตผู้แสวงหาผลประโยชน์จากความทุกข์ของผู้คนโดยการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์และสิ่งของมีมูลค่ามหาศาลในแต่ละปีต้องการรักษาผลประโยชน์จึงเสนอให้ออกกฎหมายแบ่งวรรณะต่อรัฐสภาโกลิยะวงศ์ เมื่อประกาศใช้แล้วห้ามมิให้ยกเลิกโดยอ้างว่าขัดต่อธรรมของกษัตริย์ ซึ่งเป็นหลักสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศที่เรียกว่าหลัก "อปริหานิยธรรม" ซึ่งเป็นต้นแบบของร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญในยุคปัจจุบัน 

      หลักปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่จะแสวงหาคำตอบไม่น้อยเพราะเป็นการศึกษาตามแนวคิดทางปรัชญา  โดยแบ่งออกเป็นหลายสาขาด้วยกันกล่าวคือในแนวคิดทางอภิปรัชญาว่าด้วยความรู้และความจริงของชีวิตมนุษย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงค้นพบว่าจิตวิญญาณนั้นเป็นตัวตนแท้จริงของมนุษย์ ปัญหาว่าพระพุทธเจ้ารู้ได้อย่างไรว่า จิตวิญญาณเป็นตัวตนแท้จริงของมนุษย์วิธีการค้นพบความจริงข้อนี้นั้น เมื่อพระองค์ปฏิบัติกรรมฐานตามวิธีการมรรคมีองค์ ๘ จนระดับจิตของพระองค์เป็นสมาธิ ได้ชำระล้างจิตมีความบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสแล้ว มีอ่อนโยนเหมาะแก่การทำงาน มีความมั่นคงไม่หวั่นไหวแล้ว จิตของพระพุทธเจ้าตรัสรู้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณมนุษย์ไปจุติจิตในภพภูมิต่าง ๆ เห็นจิตวิญญาณของสัตว์น้อยใหญ่อุบัติในโลกมนุษย์ตามผลของกุศลกรรมที่สร้างไว้เป็นต้นทุนของชีวิต ญาณวิทยาเป็นวิชาว่าด้วยบ่อเกิดที่มาของความรู้ของมนุษย์ ทำให้มนุษย์รับรู้ทางประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวและจิตของตนโน้มออกไปรับเรื่องราวของความรู้ต่างๆ ภายนอกชีวิตมาสั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณของตนเองประเด็นสุดท้ายจริยศาสตร์เป็นวิธีการปฏิบัติอย่างไรจะถึงความรู้และความเป็นจริงเหล่านั้น 

     การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้เรารู้ว่าการปฏิบัติตามระบบความรู้ที่เรียกว่า "ไตรสิกขา" เป็นทางนำไปสู่ความรู้และความจริงของชีวิตได้ โดยปกติธรรมดาทั่วไป มนุษย์มีความรู้แค่ระดับการรับรู้ทางประสาทสัมผัสเพียงเดียวเท่านั้น เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงของชีวิตนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของชีวิตที่เรียกว่า ทฤษฎีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท  ๒.๑ หลักธรรมปฏิจจสมุปบาท  เมื่อศึกษาข้อความมีปรากฎพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่๔  พระวินัยปิฎกเล่มที่๔ ฉบับมหาจุฬาฯ มหาวรรคภาค ๑ [มหาขันธกะ/โพธิคาถา] ข้อ [๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า  เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ควงต้นไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  เขตตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ได้นั่งประทับนั่งโดยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์เป็นเวลา ๗ วัน ที่นั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมปฏิโลมตลอดปฐมยามแห่งราตรีว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี, เพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี,เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัยผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมี,เพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัยอุปทานจึงมี เพราะอุปทานเป็นปัจจัยภพจึงมีเพราะ ภพเป็นปัจจัยชาติจึงมีเพราะชาติเป็นปัจจัยชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปาทายสจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้  ทรงนำหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทนั้น มาแจกแจงอธิบายในรูปแบบคำสอนต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมแก่ผู้ฟังที่มีอ่อนกล้าแตกต่างกันออกไปเมื่อพังธรรมเทศนาแล้ว พิจารณาจนเกิดความรู้ที่สมเหตุสมผลและปราศจากข้อสงสัยในความจริง เพราะเข้าใจปราศจากข้อสงสัยในชีวิตอีกต่อไป รูปแบบคำสอนต่าง ๆ นั่นได้แก่ อริยสัจ ๔ วิชชา ๓   และกรรม  เป็นต้น 

         ๒.๒ หลักธรรมวิชชา ๒  เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในกฎปฏิจจสมุปบาทแล้วทรงนำมาแจกแจงอธิบายในคำสอนเรื่องวิชชา ๓  ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่๑  พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ ฉบับมหาจุฬาฯ มหาวิภังค์ภาค ๑ [เวรัญชกัณฑ์] [๑๓] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังนั้น  ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อมไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี  ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ ความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นชอบพวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์  เป็นต้น. 

๓.กรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช
 
 โดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  อรรถกภา และเอกสารทางวิชาการอื่น ๆ ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพินทุสาร กษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นโมริยะ เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ปรารถนาเป็นกษัตริย์ต่อจากพระราชบิดาจึงทำสงครามระหว่างพี่น้องและขยายพระราชอาณาจักร จากข้อความของหลักปฏิจจสมุปบาทและวิชชา ๓ ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาที่กล่าวข้างต้น เราสามารถแบ่งการกระทำของมนุษย์ตามคำสอนเรื่องวิชชา ๓ ของพระพุทธเจ้าเป็น ๒ ประเภทด้วยกันดังนี้คือ ๓.๑ กรรมสุจริตและ ๓.๒ กรรมทุจริต เป็นต้นมนุษย์เกิดมาพร้อมอวิชชา (ความไม่รู้)หรือ ความโง่เขลาของจิตใจมนุษย์ตามหลักคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท (The dependent origination) ว่ามนุษย์ไม่รู้ว่าการกำเนิดของชีวิตขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของกายและจิต จึงเกิดชีวิตใหม่ขึ้นมาเป็นเพราะชีวิตมนุษย์ขาดการพัฒนาศักยภาพชีวิต ด้วยวิธีการจึงไม่รู้แจ้งว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงที่เวียนว่ายเกิดต่อไปไม่สิ้นสุด แม้ชีวิตดังนั้นชีวิตอยู่ในความมืดมิด เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าแก่นแท้ของชีวิตตนนั้น พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาและถูกพวกพราหมณ์ปุโรหิตให้ชนวรรณะกษัตริย์ออกกฎหมายวรรณะ    เมื่อชีวิตมนุษย์ถูกบีบบังคับด้วยความเชื่อทางศาสนาและกติกาทางการเมืองบีบให้เกิดความทุกข์จึงมองไม่เห็นโอกาสของชีวิต จึงขาดการพัฒนาศํกยภาพของชีวิต จึงมองไม่เห็นความรู้เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเองในระดับอภิญญา ๖ เมือไม่พัฒนาศักยภาพชีวิตจึงไม่มีตาทิพย์มองเคยจิตวิญญาณตน และคนอื่นออกจากร่างกายเมื่อตายลงแต่ประการใด ่เห็นผลของกรรมที่ตนทำไปที่จิตไปจุติในนรก ทุกคติ อบาย เมื่อไม่มีความรู้เพราะไม่พัฒนาศักยภาพ ส่วนใหญ่เชื่อชีวิตตายแล้วสูญ ใช้ชีวิตด้วยเหตุผลที่เข้าทางตนเอง  

       ๓.๑ กรรมทุจริตของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น มูลเหตุเกิดทุจริตของพระองค์นั้น กล่าวคือเพราะตั้งความปรารถนาเป็นกษัตริย์ต่อจากพระราชบิดาจึงทำสงครามกับพี่น้องต่างพระมารดากัน เมื่อพระองค์ได้รับชัยชนะจนเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองปัฏตาลีบุตรแล้ว พระทัยเกิดเพลิดเพลินในการทำสงครามอีก  ทรงดำริจะทำสงครามขยายดินแดนของอาณาจักรเมารยะออกไปจากเดิมมีเนื้อที่แค่แคว้นมคธเท่านั้น ทรงขยายอำนาจอธิปไตยออกไปอย่างกว้างขวาง จนยึดดินแดนแคว้นต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีปได้เกือบทั้งหมดและขยายออกไปสู่ดินแดนอื่น ๆ อีกกว้างไกลทั้งด้านตะวันออกและทิศตะวันตก การขยายอาณาเขตของอาณาจักรเมารยะนั้นเป็นสิ่งกระทำที่ได้มาโดยยาก เพราะต้องทำสงครามแลกชีวิต เลือดเนื้อของด้วยแม่ทัพนายกองจำนวนมหาศาลเพื่อได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยใช้เวลายาวนานหลายปี ต้องแลกด้วยศักยภาพของความรู้ในวางแผนยุทธศาสตร์ ใช้ทักษะของฝีมือที่ผ่านการฝึกฝนมายาวนานและต้องแลกด้วยปัญหาสุขภาพและชีวิตทหารในกองทัพ กองทัพของพระองค์ได้ประหารชีวิตศัตรูที่เข้ามาต่อสู้เพื่อปกป้องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของพวกเขาต่อไป แม้จะต้องล้มตายลงเหมือนใบไม้ที่ร่วงหล่นลงจากต้นเป็นจำนวนมากในฤดูใบไม้ร่วงก็ตาม โดยเฉพาะสงครามครั้งสุดท้ายที่แคว้นกาลิงคะ เป็นมูลเหตุให้ชีวิตของพระองค์ทรงจมปลักอยู่กับความทุกข์ทรมาน เพราะมโนภาพของการทำสงครามอย่างโหดเหี้ยม ไร้มนุษยธรรม มีการจับเชลยศึกมาทารุณจนกว่าศัตรูจะตายนั้น จิตของพระองค์โน้มรับมาเก็บไว้ในจิตกลายเป็นสัญญานอนเนื่องอยู่ในอยู่ในพระทัย ภาพของสัญญาผุดขึ้นอยู่ในพระทัยของพระองค์ตลอดเวลา ทำให้พระองค์ไม่อาจสลัดภาพของผู้คนร้องขอไว้ชีวิตนั้นให้หายไปจากพระทัยของพระองค์ได้แต่อย่างใด ผลของชัยชนะในการทำสงครามแม้จะให้ความภาคภูมิใจแก่ผู้ทำก็ตาม แต่วิบากกรรมที่ทำไปนั้นไม่เคยหายไปจิตแต่สร้างความทุกข์ทางจิตวิญญาณของพระองค์เองได้เช่นกัน ***

     สมุทัยหมายถึงเหตุแห่งทุกข์ของมนุษย์ กล่าวคือจิตใจของมนุษย์เกิดตัณหาสร้างขึ้นใหม่ประกอบด้วยความยินดีและราคะซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น คำว่า "ตัณหา" เป็นอารมณ์แห่งความปรารถนาที่เกิดขึ้นในจิตใจมนุษย์ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กล่าวคือ ในปีพ.ศ. ๒๗๘ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงปกครองเมืองปาฏลีบุตรเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธต่อไป หลังนั้นพระองค์ทรงเห็นว่าอาณาจักรแห่งแคว้นมคธยังเล็กเกินไป ทรงเกิดตัณหา(ความทะยานอยาก) [1] ทรงประสงค์ที่จะขยายอาณาเขตแคว้นมคธให้กว้างไกล และมีพื้นที่มากที่สุดเหนือแคว้นอื่นใดในยุคนั้น เพื่อแสดงพระราชอำนาจทางทหารของพระองค์ ทรงมีจิตวิญญาณที่ทะยานอยากในทำสงครามขยายอาณาเขต และทรงมีความสุขเพลิดเพลินพอใจในชัยชนะของพระองค์เอง การสงครามครั้งสุดท้ายในปีพ.ศ.๒๘๖ ตรงกับปีที่ ๘ ในรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทำสงครามกับแคว้นกาลิงคะ แม้การสงครามจะทำให้พระองค์ได้รับชัยชนะก็ตาม แต่ผลการทำสงครามทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก และชาวกลิงคะส่วนหนึ่งหนีสงครามออกทะเลไปอยู่เมืองสะเทิมในแคว้นมอญ อาณาจักรธรรมวดี และทำให้เกิดธรรมเวชในพระทัยของพระองค์ เมื่อตัดสินพระทัยเลิกทำสงครามแล้ว ทำให้พระองค์ทรงมีเวลาปกครองบ้านเมือง ทำหน้าที่ทำนุบำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ให้เจริญรุ่งเรือง  ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป 
        ๓.๒ กรรมสุจริต  ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละทิ้งความฝัน ความไม่อาลัยในตัณหา  กล่าวคือ การดับความทุกข์ในพระพุทธศาสนาต้องหาวิธีการดับตัณหา  ตัณหาเป็นอาการของจิตวิญญาณ เมื่อผัสสะสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้จิตวิญญาณเกิดอาการอยากเป็นสิ่งนั้นผัสสะชีวิตหมอเกิดแรงบันดาลใจอยากเป็นหมอเป็นต้น เมื่อพระทัยของพระเจ้าอโศกมหาราชทรงทะยานอยากเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรเมารยะ จนทำให้พระองค์ต้องทำสงครามระหว่างพี่น้องต่างพระราชมารดา เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว เกิดความเพลิดเพลินอยากขยายอาณาเขตออกไปให้กว้างขวาง เป็นต้น เมื่อได้เป็นกษัตริย์ปกครองปัฏตาลีบุตรแล้วพระองค์ทรงมีความฝัน อยากขยายอาณาจักรของราชเมารยะให้กว้างขวางออกไป เพื่อแผ่พระบารมีให้กว้างใหญ่ไพศาลยิ่งรัชกาลใดเมื่อพระองค์ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาแล้ว คืออำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนต่าง ๆ  แม้จะเป็นความสุขและแต่เป็นความสุขได้มาจากการเบียดเบียนผู้อื่นย่อมเกิดความทุกข์เพราะได้สิ่งใดมาต้องแลกกับสุขภาพอันย่ำแย่ของตนเอง เป็นต้น แต่การทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ทั่วทุกสารทิศ    ทำให้พระองค์ทรงต้องตรากต่ำพระวรกายหนักมาก ทำให้พระองค์มีความทุกข์เพราะทรงใช้ชีวิตตรากต่ำทำสงครามเป็นเวลาหลายปีต่อเนื่องกันมายาวนาน จิตของพระองค์ทรงโน้มรับเอาอารมณ์โหดเหี้ยมในการฆ่าศัตรูขัดขวางความทะยานอยากของพระองค์โดยไม่รู้ตัว สั่งสมอารมณ์มายาวนานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี เป็นชัยชนะบนกองเลือดของชีวิตผู้ไม่ปรารถนาทำสงคราม แต่เพื่อศักดิ์ศรี และความเอาตัวรอดจำเป็นต้องสู้เพื่อให้ได้รับชนะ 

       ผลของสงครามนำมาซึ่งชัยชนะแก่พระเจ้าอโศกมหาราช  แต่ก่อความทุกข์แก่ชีวิตของพระองค์และในยามที่พระองค์ทรงบรรทมแและหลับพระเนตรลง พระองค์ทรงเห็นภาพคนตายนอนร้องไห้ คร่ำครวญ ทุกข์ทรมานจากสงครามที่พระองค์ทรงก่อขึ้นเพื่อขยายอาณาเขต ยากที่พระองค์จะหลับพระเนตรลงได้และตั้งใจจะหลีกหนีจากภาพเหล่านี้ อยากจะขอไว้อาลัยให้กับชัยชนะกับสงครามเหล่านี้และขอให้ความทุกข์ทั้งปวงหมดไปจากพระทัยของพระองค์เพียงอย่างเดียวพระเจ้าอโศกมหาราชทรงดำริหาทางออกจากทุกข์และทรงระลึกได้ว่าพระเจ้าพินทุสารทรงเป็นศาสนูปถัมภกของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐมคธและทรงได้อุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยการจัดตั้งนิตยภัตขึ้นจำนวนมากแก่พราหมณ์ ตาปะขาว และปริพาชกเพื่อส่งเสริมศาสนาพราหมณ์ แต่ในยามทุกข์ในพระทัย พระองค์ก็ทรงอยากให้สมณะเหล่านั้น เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของพระองค์เพื่ีอดับทุกข์ทั้งปวงในชีวิต  แต่เมื่อพระองค์ทรงประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชรของพระราชวังปัฏตาลีบุตร และได้ทอดพระเนตรชีวิตเหล่าสมณะพราหมณ์อาศัยอยู่ในวิหารรอบพระราชวังปัฏตาลีบุตรพวกเขาบริโภคอาหารอย่างคนขาดสติโดยไม่สำรวมอินทรีย์โดยสงบทั้งไม่ตั้งสติสัมปชัญญะเพื่อพิจารณาอาหารก่อนบริโภคพระองค์ทรงเห็นว่าพราหมณ์เหล่านั้นยังไม่ได้การพัฒนาศักยภาพชีวิตเพื่อบรรลุถึงความเป็นอริยบุคคลในระดับอภิญญา๖  ดังนั้นจึงยากเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะเป็นพึ่งของพระองค์ได้ในยามทุกข์ทรมานและทรงนึกคิดว่าจะปลดปล่อยชีวิตจากทุกข์ได้อย่างไร ต่อมาในเช้าวันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธกำลังบิณฑบาตรหน้าพระราชวัง และทรงผัสสะภาพของสามเณรที่มีอิริยาบถสำรวมอินทรีย์สงบ มั่นคง ไม่หวั่นไหว มีสติสัมปชัญญะและพระองค์ทรงพิจารณาแล้วและมีศรัทธาในสามเณรนิโครธนั้น พระองค์ทรงนิมนต์ไปบิณฑบาตรในพระราชวังและสามเณรนิโครธแสดงธรรมต่อพระเจ้าอโศกมหาราชด้วยหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่อง "ความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต" จากนั้นพระองค์ทรงนิมนต์สามเณรนิโครธและพระภิกษุรูปอื่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๖ แสนรูปไปบิณฑบาตรที่พระราชวังปัฏตาลีบุตรเป็นประจำทุกวัน เมื่อบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา"พระภิกษุนิโครธ" ก็สอนให้พระเจ้าอโศกมหาราชและประชาชนของพระองค์ดำรงตนในพระรัตนตรัยและเบญจศีล  เป็นต้น   
    ในปี พ.ศ.๒๘๘ ตรงกับปีที่ ๑๐ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช  ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นทรงเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์เพื่อปฏิบัติบูชาและอามิสบูชาไม่เคยขาดด้วยความสุขและปิติยินดียิ่ง  
    ในปี พ.ศ.๒๙๑ ตรงกับปีที่ ๑๓ ในรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราชทรงดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘ เรียกว่า"ทางสายประเสริฐ" เพื่อนำชีวิตของพระองค์ไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ของชีวิต กล่าวคือ เมื่อชีวิตมีความทุกข์เพราะสัญญาของอกุศลกรรมทำให้พระหทัยของพระองค์ฟุ้งซ่านระลึกถึงแต่อกุศลกรรมได้กระทำไปทำให้ชีวิตขาดความสุข ดังนั้นพระองค์รักษาศีลอุโบสถเพื่อชำระล้างอกุศลกรรมที่เคยกรระทำและมีอยู่ในจิตวิญญาณ ทรงปฏิบัติบูชาคุณของพระพุทธเจ้าทรงใช้พระหทัยพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่จรเข้ามาผัสสะจิตทางประสาทสัมผัสของพระองค์ตลอดเวลา 
    ในปี พ.ศ.๒๙๕ ตรงกับปีที่ ๑๗   ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระองค์ทรงประธานอุปถัมภ์ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์เสด็จไปยังเมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสี เพื่อทรงค้นหาสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕  
     ในปีพ.ศ.๒๙๘ ตรงกับปีที่ ๒๐ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระองค์เสด็จไปยังเมืองกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ เพื่อค้นหาสวนลุมพินีอันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างเสาหินอโศกและสร้างวัดมายาเทวีไว้ในพระพุทธศาสนา
     ในปี พ.ศ.๓๑๐ ตรงกับปีที่ ๓๒ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองคเสด็จไปยังเมืองกุสินารา เพื่อค้นหาสาลวโนทยานอันเป็นสถานที่ปรินิพพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสังเวชนียสถานแห่งสุดท้าย 

        กล่าวโดยสรุปว่า เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสังคายนาประไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ณ พระนครปัฏตาลีบุตรเมืองหลวงแห่งอาณาจักรเมารยะเสร็จสิ้นแล้ว แต่พระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อไปคือการค้นหาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง เพื่อสร้างเป็นอนุสรณ์สถานไว้ให้ชาวพุทธทั่วโลก  เดินทางมาแสวงบุญ เพื่อปฏิบัติบูชาคุณพระพุทธเจ้าและพัฒนาศักยภาพของชีวิตเพื่อชำระล้างอาสวะกิเลสมีอยู่ในใจให้หมดสิ้นด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒๒ ปี เพื่อการค้นพบสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง พระองค์ทรงโปรดสร้างเสาหินอโศกพร้อมกับสลักอักษรพรหมี เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันความจริงในพระไตรปิฎกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังที่มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้เดินทางไปแสวงบุญยังสังเวชนียสถานทั้ง๔แห่ง ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาลในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าการศึกษาการแสวงบุญของพระเจ้าอโศกมหาราช ทำให้เราได้เรียนรู้ปรัชญาแดนพุทธภูมิในแนวคิดเชิงจริยศาสตร์ได้เป็นอย่างดีและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของเราได้อย่างเหมาะสมของยุคสมัยปัจจุบันเป็นอย่างดี (ยังมีต่อ) 

บรรณนานุกรม 
[1]http://www.royin.go.th/dictionary/ตัณหา เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๒ 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ