ที่มาของความรู้เกี่ยวกับแคว้นมคธในปรัชญาแดนพุทธภูมิ
บทนำ
โดยทั่วไปนักปรัชญาศึกษาแนวคิดอภิปรัชญาที่ว่าด้วยความจริงของมนุษย์ โลก ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคม และข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น มีปัญหาต้องพิจารณาต่อไปคือ นักปรัชญาคือใคร ? โดยทั่วไป นักปรัชญาคือมนุษย์คนหนึ่งที่อาศัยอยู่บนโลก ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มนุษย์ตามแนวคิดของนักปรัชญาพราหมณ์นั้นพวกเขาเชื่อว่าพระพรหมสร้างขึ้นจากร่างของพระองค์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมา และมนุษย์สามารถสื่อสารกับพระพรหมและพระอิศวรได้ผ่านพิธีบูชายัญของพราหมณ์อารยันเท่านั้น คำสอนของศาสนาพราหมณ์กลายเป็นปัญหาสังคม เมื่อนำคำสอนของศาสนาพราหมณ์มาบัญญัติเป็นกฎหมายวรรณะ ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เมื่อรัฐสภาแห่งแคว้นต่าง ๆ บัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ย่อมกำหนดสภาพบังคับในกฎหมายวรรณะให้ประชาชนต้องปฏิบัติตามก็คือห้ามแต่งงานข้ามวรรณะและปฏิบัติหน้าที่วรรณะอื่น แต่เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์มีกิเลส มีความมีอยากได้ และอยากเป็น
ปัญหาความจริงของมนุษย์ แต่การศึกษาอภิปรัชญาเป็นการศึกษาหลักฐานเพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องของโลกและมนุษย์ เป็นต้น ความจริงในพระพุทธศาสนาเรียกว่า"ธรรมะ"มาจากคำว่า"ธรรมชาติ" โดยทั่วไปธรรมชาติมีลักษณะเป็นสภาวะ สิ่งของและปรากฏการณ์ที่ล้อมรอบตัวมนุษย์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการศึกษาที่ว่า ชีวิตมนุษย์เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทางสังคม โดยอาศัยอวัยวะอินทรีย์ ๖ อย่างตนเองและจิตมนุษย์น้อมรับอารมณ์เหล่านี้เก็บเป็นหลักฐานไว้ในใจของตนเอง หรือรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์ไว้ในใจของตนเอง เพื่อใช้วิเคราะห์หาเหตุผลยืนยันความจริงในเรื่องนี้ต่อไป
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า แคว้นมคธเป็นรัฐเอกราชที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองและเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในสมัยรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ เป็นเมืองสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะพระสิทธัตถะโพธิสัตว์ได้เสด็จมาศึกษาที่สำนักอาฬารดาบส และอุททกดาบส จนสำเร็จการศึกษาทั้งสองสำนัก และอาจารย์เจ้าของสำนักเสนอให้พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ เป็นอาจารย์ในสำนัก แต่พระองค์ทรงปฏิเสขก่อนที่จะเดินทางลงไปทิศใต้ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่า เราจะศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของแคว้นมคธเชิงอภิปรัชญาได้หรือไม่ เมื่อแคว้นมคธเกี่ยวข้องกับมนุษย์จึงเป็นปัญหาหนึ่งแนวคิดอภิปรัชญาว่าด้วยปัญหาเกี่ยวกับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป แต่มีหลักฐานในพระไตรปิฎกให้ค้นคว้าหาหลักฐานรัฐมคธเป็นรัฐที่เก่าแก่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล รักษาเอกราชมาจนถึงยุคหลังพุทธกาล และสิ้นความเป็นรัฐมครธ ในยุคพระเจ้าพินทุสารได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรโมริยะ แต่ความทรงจำเกี่ยวกับรัฐมคธ ที่มีชื่อเสียงในยุคพุทธกาลไม่เคยหายไปจากความทรงจำของมนุษย์ชาติ
เนื่องจากมนุษยชาติได้มุขปาฐะเกี่ยวกับรัฐมคธด้วยการสังคายนาพระไตรปิฎกหลายครั้ง ตามหลักฐานที่มีข้อความบันทึกไว้ในพุทธประวัติในแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่นพระไตรปิฎก อรรถกถา บันทึกของนักแสวงบุญชาติต่าง ๆ นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ มนุษย์ในยุคต่อ ๆ มาได้นำความรู้ในพระไตรปิฎก มาพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนสืบต่อกันมาหลายร้อยปีจนถึงยุคปัจจุบัน ทำให้มนุษยชาติมีความรู้ความเข้าใจในกฎธรรมชาติเกี่ยวกับความจริงของชีวิตด้วยเหตุผล และสามารถนำความรู้นั้นไปพัฒนาศักยภาพของชีวิตเพื่อบรรลุถึงความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิตที่เรียกว่า"อภิญญา ๖" ได้
ทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมว่าด้วยบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์มีแนวคิด มนุษย์รับรู้จากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คำว่า "มคธรัฐ" เป็นชื่อแคว้น เป็นถ้อยคำภาษาโบราณที่ใช้บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก แต่ภาษาสมัยใหม่ไม่นิยมใช้คำว่า รัฐ เมื่อดูถ้อยคำความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วเขียนความหมายคำว่า "รัฐ" สั้นมากบอกแปลว่า แคว้น แต่เมื่อหาความหมายของคำว่า "ประเทศ" แต่ไม่ได้ความหมายไว้ชัดเจนนัก แต่ความหมายของคำว่า รัฐและเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐนั้น ต้องประกอบด้วยดินแดน ประชากร รัฐบาล อำนาจอธิปไตย จากองค์ประกอบของคำว่า รัฐ ดังกล่าวต้นนั้น เราจะนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐที่ปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ หลายเล่มว่า แคว้นมคธ เป็นรัฐตามความหมายของทฤษฎีทางปรัชญาการเมืองหรือไม่เพียงใด เราก็ต้องวิเคราะห์ให้ได้ความจริงกันต่อไป.

ในช่วงพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธหลายครั้ง มีการบันทึกข้อความในพระไตรปิฎกหลายเล่ม มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายครั้ง การศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมในสมัยพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าอชาตศัตรูโดยอาศัยเหตุผลเป็นเครื่องมือของปรัชญา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในพระไตรปิฎกทำให้มองเห็นภาพขององค์ความรู้ของพระพุทธศาสนาชัดเจนยิ่งขึ้น
๑.๑ เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ. ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเรียกว่า "คยาสีสะ" พอสมควรแล้ว จึงเสด็จไปสู่เมืองราชคฤห์ พร้อมพระภิกษุชฎิล ๓ รูปและภิกษุที่เคยเป็นบริวารอีก ๑๐๐๐ รูป เดินทางมาถึงณ. ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่มพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ปกครองแคว้นมคธ พร้อมด้วยเหล่าพราหมณ์ คฤหบดีชาวมคธ จำนวน ๑๒ นหุต (๑๒๐,๐๐๐ คน) ได้ข่าวและชื่อเสียงของพระพุทธเจ้า จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เนื่องจากอุลุเวลากัสสปเป็นอาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาพร้อมชฎิล ๓ พี่น้องพร้อมบริวาร ทำให้ชาวเมืองราชคฤห์เกิดความสงสัยว่าพระพุทธเจ้าและอุรุเวลากัสสปใครเป็นอาจารย์และลูกศิษย์กัน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ปัญญาญาณว่าชาวเมืองยังมีความสงสัยในใจช่นนั้นจึงทรงโปรดให้อุรุเวลากัสสปได้ประกาศต่อหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถึงมูลเหตุที่ตนละเลิกลัทธิเดิมได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาว่าตนมีความคิดเหตุผลอย่างไร เพื่อทำลายทิฐิมานะของชาวเมืองราชคฤห์ที่มาเข้าเฝ้าเสียก่อนแล้ว จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาเรื่องอนุบุพพิกถา (แสดงเรื่อง ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกามและอนิสงส์ ของการออกจากกามโดยลำดับแล้ว) ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ แก่พระเจ้าพิมพิสารพร้อมประชาชนหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคนเกิดดวงตาเห็นบรรลุธรรมขั้นโสดาบันและอีกหนึ่งหมื่นคนศรัทธาในพระพุทธเจ้าแสดงตนเป็นพุทธมามกะ.

๑.๒ เป็นสถานที่ตั้งของวัดเวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร ได้ถวายสวนไผ่ให้เป็นที่จำพรรษาแก่พระภิกษุ ๑๐๐๐ รูปกล่าวคือในวันรุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปเสวยภัตตาหารเช้า ณ พระตำหนักพระราชนิเวศน์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๑๐๐๐ กว่ารูป เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จพระภิกษุสงฆ์ พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาโดยพระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำ จากพระเต๋าทองลงบนพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าทรงแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับทรงปรารถถึงเหตุจำเป็นนั้นจึงประทานพุทธานุญาตให้มีอาราม (วัด) ได้
๑.๓ เป็นสถานที่ตั้งของถ้ำสัตบรรณคูหาอันเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑ เพื่อรวบรวมพระไตรปิฎกไว้เป็นหมวดหมู่
๑.๔ เป็นสถานที่ตั้งพระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ เป็นภูเขาที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นกำแพงเมืองล้อมรอบตัวเมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวงเงียบสงบสุขปลอดภัยจากการรุกรานจากแค้นมหาอำนาจอื่น ๆ ได้.

๑.ดินแดนแคว้นมคธ มีอาณาเขตดินแดนแน่นอน มีเมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ คำว่า "ราชคฤห์" เป็นถ้อยคำที่มีชื่อปรากฎเป็นหลักฐานของข้อความหลายแห่งด้วยใน พระสูตรต่าง ๆ ของพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ และฉบับอื่นๆ และอรรถกถาที่ขยายเนื้อความไว้ในที่ต่างๆอีกมากมาย เช่น มหาปรินิพพานสูตร เป็นต้นภูเขาคิชฌกูฏเป็นภูเขาขนาดเล็กไม่น่าจะสูงเกิน ๖๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล เรียกว่า เนินเขามากกว่าภูเขา เพราะตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น ได้ให้คำนิยามว่า"ภูเขา"ต้องเป็นพื้นที่จากบริเวณโดยรอบตั้งแต่ ๖๐๐ เมตรขึ้นไป แต่ในทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนแล้วเห็นว่าควรใช้คำว่า "ภูเขาคิชฌกูฏ" ตามที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเพราะภูเขาไม่ว่าจะมีความสูงมากหรือน้อยกว่า ๖๐๐ เมตรก็ตามก็คือ ภูเขา ลักษณะตัวเมืองราชคฤห์เป็นแอ่งกะทะที่ล้อมรอบด้วยภูเขาห้าลูกจึงเรียกว่าเบญจคิรินคร ได้แก่ ภูเขาอิสิคิริ ภูเขาปัฏทวะ ภูเขาเวภาระ และภุเขาไวภาวะ เป็นต้น ภูเขาคิชฌกูฏเป็นชื่อภูเขา ๑ ใน ๕ ลูกที่ล้อมรอบเมืองราชคฤห์ ภูเขาคิชฌกูฏตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองราชคฤห์ ภูเขาแห่งนี้เคยมีอีแร้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเกาะตามหน้าผาของยอดเขาคิชฌกูฏ ภูเขาแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับภูเขารัตนคีรีช่องระหว่าภูเขารัตนคีรีกับภูเขาคิชฌกูฏนั้นมีทางเดินเล็กๆ ไปสู่ยอดเขาคิชฌกูฏ สภาพภูมิศาสตร์ยอดบนสุดของยอดรัตนคีรีเป็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่พอสมควรเหมาะการกิจกรรมทางศาสนา.

๒. ประชากร มีหมู่บ้านถึง ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน
๓. รัฐบาลมีพระเจ้าพิมพิสาร ทรงเป็นกษัตรย์ปกครองรัฐนี้ ทำหน้าที่บริหารรัฐมคธ ประชาชนเมืองนี้นับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนมีพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกเขาเชื่อทรงสร้างพวกเขามาจากส่วนต่าง ๆ ของพรหม กำหนดชะตาชีวิตของพวกเขาให้มีหน้าที่ในการทำงานตามวรรณะของตัวเอง.
๓. รัฐบาลมีพระเจ้าพิมพิสาร ทรงเป็นกษัตรย์ปกครองรัฐนี้ ทำหน้าที่บริหารรัฐมคธ ประชาชนเมืองนี้นับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนมีพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด พวกเขาเชื่อทรงสร้างพวกเขามาจากส่วนต่าง ๆ ของพรหม กำหนดชะตาชีวิตของพวกเขาให้มีหน้าที่ในการทำงานตามวรรณะของตัวเอง.
๔. อำนาจอธิปไตย การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศมคธนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น