The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

บทนำ: พระนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

Introduction: Rajagaha City of Magadha Country according to Buddhaphumi's philosophy




๑.บทนำ เมืองราชคฤห์
๒.ปัญหาความจริงของเมืองราชคฤห์   

๑. บทนำ 

         โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ จากการแสดงพระธรรมเทศนาของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน  จากการศึกษาพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ   และตำราเรียนทางพุทธศาสนาในสำนักธรรมสนามหลวง โรงเรียนและมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นต้น หลังจากศึกษาในเรื่องนี้แล้ว ชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ยอมรับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่าเป็นความจริงโดยปริยาย โดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ  มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องพระนครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธว่าเป็นจริง และเป็นความรู้ที่มีความสมเหตุสมผล เป็นต้น

          ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ นักปรัชญามีความสนใจในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นั้น เมื่อผู้ใดอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ ตามหลักปรัชญาของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าเราไม่ควรเชื่อข้อเท็จจริงทันที  คุณควรตั้งข้อสงสัยหรือปัญหาก่อน  และนักปรัชญาชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้น และจะสืบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อให้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หาเหตุเพื่อพิสูจน์ว่าเรื่องราวเป็นจริงหรือเท็จ  ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงถือ พระพุทธเจ้าในฐานะนักปรัชญาถือว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานหลักฐานเพียงปากเดียวนั้น เพราะมนุษย์มีอคติต่อกันเนื่องจากความเกลียดชัง, ความชอบพอ, ความกลัวและความโงเขลา  เป็นต้นและมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร้างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นและเสื่อมสลายไปในอากาศธาตุ เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน ถ้าเป็นพยานบุคคลต้องมีความจากประสบการณืชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจถึงจะเป็นพยานหลักฐานน่าเชื่อและรับฟังเป็นพยานได้  

          เมื่อศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎก, อรรถกถา บทความทางวิชาการต่าง ๆ ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า สมัยก่อนพุทธกาล มีประเทศมหาอำนาจประกอบด้วย ๑๖ ประเทศและ รัฐชนบทเล็กๆ อีก๕ ประเทศ เป็นรัฐทางศาสนาพราหมณ์ เพราะหลักคำสอนของพราหมณ์ถูกกำหนดให้เป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศ เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่ทุกประเทศทั่วโลกใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน สาระสำคัญของกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในสมัยอินเดียโบราณ คือเมื่อกฎหมายใดตราขึ้นภายหลังแล้วก็จะยกเลิกไม่ได้  เมื่อมหาราชาแห่งชาติสักกะประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะแล้ว ภายหลังจะบัญญัติกฏหมายเพื่อยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะไม่ได้ เพราะเป็นข้อห้ามภายใต้บทบัญญัติกฏหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของชาวสักกะ ที่ถูกลงโทษตามกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เพราะพวกเขาควบคุมตัณหาราคะของตนเองไม่ได้ จึงสมัครรักใคร่กันฉันท์ชู้สาวและเกิดการแต่งงานข้ามวรรณะ  เมื่อกฎหมายจารีตวรรณะประเพณีให้อำนาจคนในชุมชนของสังคมลงโทษพวกเขาได้ จึงถูกพิพากษาโดยคนในสังคมลงโทษพวกเขา ด้วยการถูกขับไล่ออกจากสังคมตลอดชีวิตกลายเป็นคนไร้วรรณะที่เรียกว่า "จัณฑาล" ไปใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในพระนครใหญ่ ๆ ในวัยชรา เจ็บป่วยและนอนตายข้างถนน พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเพื่อปฏิรูปสังคมด้วยระบบการเมืองของประเทศ เพื่อให้ชาวสักกะทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่เท่าเทียมกันในการทำงาน การศึกษาปรัชญาศาสนาพราหมณ์และทำพิธีบูชาเทพเจ้าในนิกายของตนได้ แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคมในรัฐสักกะได้   เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ได้ประชุมเพื่อพิจารณากฎหมายจารีตประเพณีว่า ด้วยการเลิกวรรณะตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอแล้ว   แต่สมาชิกรัฐสภาลงมติไม่เห็นด้วยเพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองอาณาจักรสักกะ  เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามวรรณะที่เกิดมาตามคำสอนของพราหมณ์หรือไม่มีเหตุผลเพียงใด แม้ว่าจะมีปุโรหิตเป็นพยานบุคคลได้อ้างว่าเคยเห็นพระพรหมมาก่อน แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสถามว่าพระพรหมและพระอิศวรมีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ 

            เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้เขียนได้เดินทางไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลเป็นเวลา ๑๐ วัน เมื่อผู้เขียนและกลุ่มผู้แสวงบุญมาถึงเขตพิหารซารีฟ (BiharSharef) ของรัฐพิหาร ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงจากพระวิทยากรว่าในสมัยพุทธกาล เขตพิหารซารีฟเป็นที่ตั้งของพระนครราชคฤห์ในฐานะเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ โดยมีพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นกษัตริย์ปกครองรัฐมคธซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๖ รัฐอำนาจของอนุทวีปอินเดีย มีอิทธิพลทางการทหาร และเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง มีมหาเศรษฐีมากถึง ๙ คนที่ทำธุรกิจค้าส่งในต่างประเทศเพื่อหารายได้ให้กับรัฐมคธ ในแต่ละปีจำนวนมหาศาลด้วยกัน  ทั้งหมดอยู่ในวรรณะแพศย์มีทำหน้าที่ในทำการเกษตรกรรม การค้าขายส่งข้าวออกไปต่างประเทศเพื่อหารายได้เข้าสู่รัฐมคธ บนเส้นทางคมนาคมจะผ่านตัวเมืองราชคฤห์ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะที่มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบตัวเมืองไว้ และพบรอยเกวียนโบราณฝังลึกลงไปในหินเกือบ  ๖ นิ้วฟุตมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ปี เป็นร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะแสดงให้เห็นว่ามีกองคาราวานเกวียนสินค้าขนาดใหญ่หลายพันเล่มเกวียน มีคนคุมคาราวานจำนวนหลายพันคนเข้าสู่ประตูเมืองด้านทิศตะวันออกทะลุด้านทิศตะวัน เป็นเวลาต่อเนื่องกันมายาวนานหลายพันปีเพื่อส่งสินค้าเข้าจากรัฐต่างๆและส่งสินค้าออกจากรัฐมคธไปสู่รัฐโกศลหรือรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวดองกันเช่นรัฐมคธและรัฐโกศล มีพระเจ้าปเสนธิโกศลเป็นกษัตริย์ปกครอง ทรงมีความเกี่ยวดองกันเพราะนางเวเทหิพระราชมารดาของพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ทรงเป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าปเสนธิโกศลจึงค้าขายกันเองในหมู่เครือญาตินอกจากนี้เป็นเมืองศักดิ์สิทธิในพระพุทธศาสนา เพราะมีวัดเวฬุวันมหาวิหารแห่งแรกในพระพุทธศาสนา  ยอดเขาคิชฌกูฏอันรื่นรมย์ ถ้ำปิปผลิของพระมหากัสสปะ รวมทั้งถ้ำสัตบรรณคูหาที่แสดงสังคายนาเป็นครั้งแรกเป็นต้น  เมื่อพยานเอกสาร  พยานบุคคล และพยานวัตถุยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบว่าพระนครราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ  เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง   แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า มิให้เชื่อข้อเท็จจริง 
   
       ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วต้น ผู้เขียนจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความจริงของแคว้นมคธในพระไตรปิฎก และเขียนบทความนี้โดยอาศัยการวิเคราะห์คำตอบจากหลักฐานมีอยู่ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และจดหมายเหตุของสมณจีน ๒ รูป เป็นต้น บทความนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่พระธรรมวิทยากรใช้เป็นข้อมูลบรรยายแก่ผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน กระบวนการวิเคราะห์ที่มาของความรู้นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจัยแก่นิสิตในระดับปริญญาเอกหลักสูตรดุษฏีบัณฑิตสาขาพระพุทธศาสนาให้บรรลุ ถึงความรู้และความเป็นจริง ที่มีกฏเกณฑ์ของการตัดสินที่สมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยในความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์อีกต่อไป.  

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ