The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : บทนำ ความคิดที่ติดตัวมาแต่กำเนิดในพระไตรปิฎก

Buddhaphumi's Philosophy: Introduction  to  the Innate idea  in the Tipitaka


คำสำคัญ ความคิดในตัวในพระไตรปิฎก 
บทนำ                

           

         โดยทั่วไป หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงได้เทศน์ตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นเวลา ๔๕ พรรษา เป็นคำสอนเรื่องกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ซึ่งมีวิญญาณเป็นแก่นแท้ของชีวิต แต่ชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายแและจิตใจรวมกันในครรภ์ของมารดา และได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยเลือดของมารดาเป็นเวลา ๙ เดือน จึงคลอดบุตรออกมาและมีชีวิตอยู่รอดเป็นบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   ในคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมเรื่อง "ปฏิจจสมุปบาท"  ซึ่งมีดวงวิญญาณเป็นสาระของสัจธรรมกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ที่วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏตามกฎธรรมชาติ และพระพุทธเจ้าทรงนำหลักคำธรรมเรื่อง "หลักปฏิจจสมุปบาท" มาแจกแจง รายละเอียด  ตีความ และอธิบายเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจโดยง่าย  ตัวอย่าง  เช่น พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเรื่อง "ชีวิต"โดยแยกองค์ประกอบชีวิตออกเป็น ๕ ฝ่าย ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการตีความคำสอนของพระพุทธเจ้า และสอดคล้องกับการศึกษาสมัยใหม่ โดยเน้นการเรียนรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ เมื่อขันธ์ ๕ ย่อให้เหลือเพียง ๒ อย่างคือ กายและจิต เป็นต้น

           การวิเคราะห์ปัญหาว่าสาระสำคัญของชีวิตมนุษย์คืออะไร เมื่อเราศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ทุกคน ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า "มนุษย์เกิดมาต้องตายไม่มีใครหลีกเลี่ยงความตายได้" ปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ของตนเองที่เห็นคนกำลังตายสาเหตุผลเพราะหมดอายุขัยหรือชราโดยตรง หรือคนตายแล้วแต่หาสาเหตุการตายยังไม่ได้   และเป็นความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสโดยอ้อมจากสื่อสังคมโซเซียลเน็ตเวิร์ก ที่หนังสือพิมพ์ออนไลน์โพสข่าวคนตายทุกวัน เป็นต้น มีประเด็นที่ผู้เขียนสงสัยว่าชีวิตหลังความตายมีอยู่หรือไม่ เป็นปัญหาที่น่าคิด ตามทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยม มีแนวคิดว่า  บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงได้  แต่ลักษณะทั่วไปของมนุษย์ แม่จะเห็นคนกำลังจะตายและนอนแน่นิ่งเท่านั้นไม่สามารถขยับร่างกายได้เท่านั้น เมื่อตรวจดูลมหายใจแล้วไม่มีลมหายใจอีกต่อไป ก็สันนิษฐานว่าผู้นั้นตายไปแล้ว และไม่เห็นสิ่งใดเคลื่อนไหวออกไปจากร่างกายของบุุคคลนั้นนอีกษา  ตามที่ทฤษฎความรู้เชิงประจักษ์ถือว่าชีวิตตายแล้วดับสูญ เพราะไม่มีความรู้อื่นใดเกี่ยวกับคนตายนั้นจากประสาทสสัมผัสของมนุษย์ที่อยู่ในเหตุการณ์อีกต่อไป  

          
             

           การตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้าที่วัดมหาโพธิ (Mahabodhi temple) ตำบลพุทธคยา  อำเภอคยา รัฐพิหารนั้น  ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทั่วโลกนั้น พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า แก่นแท้ของชีวิตมนุษย์มีจิตใจเป็นตัวตนที่แท้จริงและอาศัยอยู่ชั่วคราวในร่างกาย    เมื่อมนุษย์ตาย วิญญาณไม่ได้ตายพร้อมกับร่างกายแต่อย่างใด  แต่จะออกจากร่างเมื่อสิ้นอายุขัยไปจุติในภพอื่น ๆ ต่อไปหรือ กลับมาอุบัติในโลกอีกครั้งหนึ่ง ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬา ฯ] มหวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์ จุตูปาตญาณ [ข้อ๑๔.]  "เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งานตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เราได้น้อมจิตไปจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติจิต กำลังอุบัติทั้งต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดี  ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวนให้ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวนให้ผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์นั้น ในภพภูมิต่างๆ นั้น"  

              ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่าวิญญาณเป็นแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ที่ต้องไปเกิดในสังสารวัฏ เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าเมื่อมนุษย์ตายไป ความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจจะสูญหายไปกับความตายของมนุษย์หรือไม่จะมีเหตุผลยืนยันความจริงได้อย่างไรผู้เขียนตัดสินใจศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความจริงของความรู้ติดตัวมาแต่กำเนิดในพระไตร ปิฎก  โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลของคำตอบจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถาและเอกสารทางวิชาการอื่น ๆ คำตอบที่เกี่ยวข้องในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรในการใช้ข้อมูล เพื่อบรรยายแก่ผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ (the four Holy places of worship)  ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาความรู้จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตในระดับปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพระศาสนา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูลทั้งเอกสารพยาน พยานบุคคล และพยานแวดล้อม เพื่อนำมาเป็็นข้อมูลใช้วิเคราะห์ให้ได้ความรู้ที่จริงของคำตอบในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเหตุผลของความจริงอีกต่อไป เมื่อมีความรู้และความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษาสามารถนำความรู้นั้นไปพัฒนาศักยภาพของชีวิตตนเอง ให้บรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ต่อไป  


ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ