The problem of the truth about grief in-laws according to Buddhaphumi's philosophy

บทนำ
ในการศึกษาหาความรู้ตามหลักปรัชญาโดยทั่วไป มนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ อย่างเชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ทางสังคม และอารมณ์เรื่องราวของสิ่งเหล่านั้นเป็นหลักฐานไว้ในจิตใจของตนเอง และใช้หลักฐานเป็นข้อมูลวิเคราะห์หาเหตุยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นอย่างถูกต้องได้
การศึกษาเรื่อง"ธรรมสังเวช" เป็นความรู้อย่างหนึ่งที่ชาวพุทธควรศึกษาค้นคว้าข้อมูลไว้ เนื่องจากเป็นพิธีกรรมที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนาเป็นการต่อยอดความรู้จากพระไตรปิฎกจนกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และความภาคภูมิใจในความชาติของตัวเองและมีเหตุผลอธิบายได้ยืนยันข้อเท็จจริงได้อย่างสง่าผ่าเผยในท่ามกลางของความแตกต่างทางวัฒนธรรมชาติต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้นการศึกษาบ่อเกิดความรู้ของความจริงทางวัฒนธรรมของชาติจึงเป็นสำคัญ เป็นการหล่อหลอมความคิดจากที่มาของความรู้จากแหล่งต่าง ๆ โดยอาศัยเหตุผลเพื่อยืนยันความจริง ได้ดังนี้
๑. พระไตรปิฎก เมื่อฉันตัดสินใจศึกษาค้นคว้าเรื่อง grief in laws of Tipitaka (ธรรมสังเวชในพระไตรปิฎก) ผู้เขียนนึกคิดว่าควรจะเริ่มต้นการศึกษาตรงไหนก่อน แต่นึกคิดขึ้นมาได้ว่าพิธีกรรมธรรมสังเวชเป็นพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา เราควรจะศึกษาค้นข้อเท็จจริงจากพระไตรปิฎกเป็นหลักเสียก่อน แล้วค่อยศึกษาจากพยานหลักฐานจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ในยุคปัจจุบัน พระไตรปิฎกออนไลน์จึงมีความสำคัญต่อการศึกษาหาข้อมูล เมื่อผู้เขียนเปิดเข้าในพระไตรปิฎกออนไลน์ ป้อนข้อควมคำว่า "ธรรมสังเวช" แล้ว เราข้อมูลเบื้องต้น ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒ทีฆนิกายมหาวรรค
ข้อ ๑๕๐ กล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว บรรดาพระภิกษุทั้งหลายนั้น พระภิกษุเหล่าใดยังมีราคะ ไม่ไปปราศแล้ว พระภิกษุเหล่านั้น บางพวกประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้ว รำพันว่าพระผู้มีพระภาคปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีจักษุในโลก อันตธานเสียเร็วนัก ส่วนภิกษุใดผู้มีราคะไปปราศแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีสติสัมปชัญญะอดกลั้นโดยธรรมสังเวชว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอเพราะฉะนั้นเหล่าสัตว์จะพึงได้ในสังขารนี้ แต่ที่ไหน ฯ

ข้อ ๑๕๑ กล่าวว่า ครั้งนั้นพระอนิรุทธะเตือนพระภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยท่านอาวุโสทั้งหลายพวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้วไว้ก่อนแล้ว ไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ ความพลัดพราก เป็นอย่างอื่นจากเรื่องของรักของชอบใจทั้งสิ้นต้องมี เพราะฉะนั้นจะพึ่งมีได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้วปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่าขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรอาวุโสท่านทั้งหลายพวกเทวดาพากันยกโทษอยู่ ท่านพระอานนท์ถามว่า ท่านอนุรุทธะพวกเทวดาเป็นอย่างไรกระทำไว้ในใจเป็นไฉน ท่านอนุรุทธะตอบว่ามีอยู่อานนท์ผู้มีอายุเทวดาบางพวกสำคัญว่าอากาศว่าเป็นแผ่นดินสยายผมประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้วรำพันว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเสียเร็วนักพระองค์ผู้มีจักษุในโลก อันตธานเสียเร็วนัก ดังนี้ เทวดาบางพวกสำคัญแผ่นดินว่าเป็นแผ่นดิน สยายผมประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญล้มกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้ว รำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีจักษุในโลก อันตธานเสียเร็วนัก ดังนี้มี เทวดาที่ปราศจากราคะแล้วมีสติสัมปชัญญะอดกลั้น โดยธรรมสังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเพราะฉะนั้น เหล่าสัตว์จะพึงได้ในสังขารนี้ แต่ที่ไหน ฯ.
๒. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า ความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขารเป็นอารมณ์ของพระอรหันต์
๓. ตามพจนานุกรมฉบับพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) แปลว่า ความสลดใจ ความกระตุ้นให้คิด ความรู้สึกเตือนสำนึก ในทางธรรม ความรู้สึกสลดใจทำให้คิดได้ทำให้ใจหันมาคิด ถึงสิ่งที่ดีงาม เกิดความประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศล ต่อไปเรียกว่า สังเวช, ความสลดใจแล้ว หงอยเหงาหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช.
จากคำนิยามศัพท์ดังกล่าวเราวิเคราะห์ได้ชีวิตของมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นประกอบด้วยกายและจิต เมื่อจิตของมนุษย์ทุกคนได้อาศัยร่างกายนี้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกย่อมเกิดความรู้สะสมไว้ในจิต เมื่อเมื่อจิตตัวเองเห็นความแตกดับของสังขารผ่านอินทรีย์ ๖ ของร่างกายตัวเอง จิตย่อมเกิดอาการความคิดปรุงแต่งไปเป็นอารมณ์ต่าง ๆ เช่น จิตเกิดความรู้สึกสลดใจ, จิตมีสติความรู้ตัว เกิดพิจารณาคิดได้ความแตกดับของสังขารกระตุ้นจิตให้คิด, เกิดความรู้สึกเตือนสำนึกในความไม่ประมาทในการใช้ชีวิตวันนี้คนอื่นต้องจุติจิตไปตามการกระทำของตัวเอง ที่มีค่าของผลการกระทำเป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม ในวันนี้จิตของเรารับรู้ว่าสังขารผู้อื่นลาลับล่วงไปแล้วสักวันใดวันหนึ่งสังขารของเราย่อมละล่วงไปจิตของเราย่อมไปจุติจิตเช่นเดียวกัน
๔.ปลงธรรมสังเวชในความทรงจำของชีวิต

ผู้เขียนโชคดีที่ได้บวชในแผ่นดินพระองค์ ทรงปกครองประชาชนโดยธรรม เป็นดินแดนแห่งความสงบ อบอุ่น และปลอดภัย ทำให้ผู้เขียนใช้วิถีชีวิตตนอย่างความเงียบสงบ มีเวลานั่งสมาธิได้นาน ผู้เขียนตั้งใจจะสืบสานปณิธานของพระองค์ ในการพัฒนาศักยภาพของคน เพื่อให้แผ่นดินนี้สงบ ร่มเย็น และเจริญรุ่งเรืองตามหน้าที่และกำลังความสามารถของตนที่มีอยู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในหลวงรัชกาลที่๙ ทรงงานเพื่อสร้างงานให้ประชาชนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ นอกจากทรงมีพระเมตตากรุณาต่อพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างยิ่งในฐานะประชาชนของพระองค์ และอาศัยโพธิสมภารของพระองค์ ทรงเมตตาและกรุณาสร้างโอกาสมากมายแก่ชีวิตของประชาชนไม่ว่าจะสร้างแอ่งเก็บน้ำ พระราชทานที่ทำกินแก่ประชาชน เป็นต้น สิ่งที่ประชาชนได้ถวายงานรับใช้ประเทศชาติตลอดทั้งชีวิตไม่อาจทดแทนพระคุณอันยิ่งใหญ่ จากพระราชหฤทัยของพระองค์ได้ แม้ว่าจังหวัดนครราชสีมา ที่คณะของเราได้จำพรรษาอยู่นั้น แม้ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวัง สถานที่ตั้งของพระบรมศพ ฯ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มากนัก แต่โอกาสของชีวิตที่จะมาทำจิตภาวนาปลงธรรมสังเวชหน้าพระบรมศพฯนั้น เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ที่จะได้รับพระราชทานวโรกาสเช่นนั้น ใช่โอกาสจะเกิดขึ้นแก่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่จำพรรษาอยู่ในประเทศไทยหาได้ไม่ แต่ขึ้นอยู่กับสติความรู้และปัญญาในวิธีคิดพิจารณาของพระภิกษุ สามเณร แม่ชี แต่ละรูปแต่ละคนนั้น ที่จะใช้จิตตนด้วยสติรู้จัก การพิจารณาของตัวเอง การเดินทางจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครราชสีมา แม้จะต้องเสียค่าใช้เองนั้น ออกเดินทางตั้งแต่เที่ยงคืนไปถึงพระบรมมหาราชวังในเวลาเช้ามืด แม้ร่างกายและจิตใจรู้อ่อนเพลียและเหน็ดเหนื่อยมากเพราะการเดินทางไกลจากจังหวัดนครราชสีมาและอดนอนทั้งคืน แต่เมื่อตั้งสติของพวกเราก็ระลึกถึงคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของพระองค์อยู่เสมอว่าตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ทรงดำริอยู่เสมอว่า ทรงมีชีวิตนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชน พระองค์ทรงไม่เคยบรรทมตลอดทั้งคืน ทรงงานเพื่อหาวิธีการแก้ความทุกข์ยากของประชาชน

แม้ในยามประชวรเป็นเวลาหลายปีพระองค์ยังทรงงานตลอดเวลา ไม่เคยคิดจะหยุดพักการบำเพ็ญเพียรพระบารมีของพระองค์ พวกเราจึงมีความตั้งใจสูงมากที่จะมาร่วมพิธีปลงธรรมสังเวช เพราะเป็นโอกาสครั้งสุดท้ายแล้ว ที่จะทำความดีตอบแทนคุณของพระองค์ พวกเราได้ระลึกถึงพระคุณของพระองค์เสมอ แม้ความดีที่ีทำมาทั้งชีวิตของพวกเรา ยังไม่อาจทดแทนพระคุณของในความเมตตากรุณาของพระองค์ในภพชาติได้ คณะของเราเดินทางไปสมทบกับพระอีกหลายรูปที่เดินทางมาจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทย เรามากันโดยไม่ได้นัดหมายใด ๆ ผู้เขียนระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์อยู่เสมอว่าตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีที่พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ ทรงเปิดโอกาสของชีวิตให้แก่กุลบุตรทุกท่าน ได้บวชและศึกษาเล่าเรียนหนังสือตำราในพระพุทธศาสนาทั้งระดับนักธรรม เปรียญธรรมแผนกภาษาบาลี โรงเรียนปริยัติแผนกสามัญและระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง เป็นต้น เพื่อให้กุลบุตรมีจิตที่เข้มแข็งและมีความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณที่จะพัฒนาตนเองให้หลุดพ้นจากความทุกข์ของชีวิต ด้วยวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีการนี้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย และเมื่อจิตบรรลุถึงความรู้ระดับจิตอริยบุคคล จะได้นำความรู้นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยการพัฒนาความรู้ของพวกเขาให้มีจิตเป็นที่พึ่งของตนเอง ส่วนใครจะสะสมความรู้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสนใจใฝ่รู้ของจิตแต่ละคน เพราะมนุษย์ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในศึกษาเล่าเรียน ด้วยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเข้าสู่จิตตนเอง แต่เมื่อรับรู้แล้ว ความรู้นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิต เมื่อนำความรู้นั้นมาพิจารณาหาเหตุผล เพื่อเกิดความรู้ว่าเป็นความจริงหรือความเท็จสามารถบอกถึงที่มาของความรู้ได้และนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ตลอดเวลา
บรรณานุกรม
-พจนานุกรมฉบับพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกายมหาวรรค ข้อ ๑๕๐
-พจนานุกรมฉบับพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกายมหาวรรค ข้อ ๑๕๐
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น