The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

บทนำ: ธรรมสังเวชในพระไตรปิฎกตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

Buddhaphumi's philosophy: An analysis of The Grief in-laws  of   Tipitaka  

คำสำคัญ ธรรมสังเวช พระไตรปิฎก
๑.บทนำ 
๒.ที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก
.ความหมายของธรรมสังเวช 
๔.ธรรมสังเวชในความทรงจำของชีวิต 

๑.บทนำ
          ในในปีสุดท้ายของสมัยพุทธกาลและพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุได้๘๐ พรรษา หรือปีที่๔๕ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแห่งงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พระพุทธเจ้าทรงเข้าพรรษาสุดท้ายที่พระนครเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี ในระหว่างเข้าพรรษา พระองค์ทรงประชวรอย่างรุนแรงและทรงตัดสินพระทัยปลงอายุสังขารว่าอีก ๓ เดือนพระองค์จะเสด็จปรินิพพานที่สาลวโนทยาน พระนครกุสินารา แคว้นมัลละ และเป็นการสิ้นสุดของดวงวิญญาณของสุเมธดาบส ได้ผ่านวัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่ผ่านเวลาไม่น้อยกว่า ๔ อสงไขย ๔๐๐,๐๐๐ กัปป์ในสังสารวัฏ   การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าในขณะนั้น พระอรหันต์หลายล้านองค์ได้รับแจ้งถึงการปรินิพพานแล้ว จิตของอริยสงฆ์เกิดอาการธรรมสังเวช (The Grief in-laws) แต่จิตสงบระงับเพราะพระอรหันต์ผ่านการพัฒนาศักยภาพชีวิต จนดวงจิตมีสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลสทำให้ชีวิตหม่นหมอง จิตอ่อนโยนเหมาะแก่การทำงานร่วมกับผู้อื่น มีสติสัมปชัญญะ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอีกต่อไป เมื่อชีวิตได้พัฒนาศักยภาพเต็มที่ และดวงจิตเกิดสติได้ว่าวันนี้พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว อีกสักวันตนก็ต้องนิพพานเช่นเดียวกัน 

              การเสด็จปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  มนุษย์ย่อมเกิดสติของความรู้ตัวว่าความเป็นไปของชีวิตมนุษย์อาศัยร่างกายชั่วขณะหนึ่งเมื่อหมดอายุขัย วิญญาณต้องออกจากร่างกายที่ตายแล้วเพราะหมดสภาพการใช้งานเพื่ออรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ของโลกอีกต่อไปแล้ว  ย่อมออกจากร่างกายไปจุติจิตในภพภูมิอื่น ตามกฎธรรมชาติของจิตวิญญาณที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปไม่สิ้นสุด  กฎธรรมชาตินี้ทุกชีวิตเท่าเทียมกันไม่มีข้อยกเว้น การพลัดพรากจากคนที่รักและควรบูชาเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ซึ่งจิตวิญญาณไม่สามารถหลีกเลี่ยงกฎธรรมชาติแห่งความจริงนี้ได้ ส่วนพระภิกษุโดยสมมตินั้น เมื่อยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพชีวิต        ก็ไม่มีประสบการณ์ในการฝึกจิตด้วยการทำสมาธิตามวิธีปฏิบัติของมรรคมีองค์ ๘ ได้  เพื่อให้ชีวิตตนมีสมาธิ ไม่มีมีความบริสุทธิ์ืผุดผ่อง ยังมีกิเลสความเศร้าหมอง จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เข้มแข็ง ย่อมหวั่นไหวต่อปัญหาที่ผ่านเข้าในชีวิต  ตัวอย่าง เมื่อผัสสะกับความพลัดพรากจากคนที่รักด้วยความตายย่อมอยู่ในอาการทุกข์โศกเศร้าเสียใจ เพราะยังมีอนุสัยของความอาลัยในสิ่งที่รักยังนอนเนื่องสั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณนั้น  เป็นต้น 

            ผู้เขียนมีความเป็นนักบวชธรรมดารูปหนึ่งไม่มีตัวตนในสังคมไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปเป็นเพียงพระบ้านนอก แต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงโปรดเกล้าฯให้พระภิกษุสงฆ์ ฯ ทั่วประเทศ เข้ามายืนปลงธรรมสังเวชตรงหน้าพระบรมศพฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ส่วนตัวผู้เขียนได้เดินทางมาสู่พระบรมมหาราชวังถึง ๓ ครั้ง ถือว่าบุญกุศลอันสูงยิ่งของชีวิตแล้ว การที่พวกเราเหล่าสมณะได้รับพระราชทานวโรกาสจากพระองค์ เดินทางมายืนธรรมสังเวชไว้อาลัยแด่พระบรมศพ ฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เนื่องด้วยทรงเป็นพระเมตตามหากรุณาธิคุณอย่างสูงยิ่ง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระภิกษุสามเณร แม่ชี และผู้ถือศีล ๘ ได้เข้าปลงธรรมสังเวชอาลัยพระบรมศพ ฯ ได้วันละ ๓ เวลาคือ รอบ ๐๙.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. และ รอบ ๑๕.๐๐ น. ในทุก ๆ วัน ก่อนจะสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้เขียนตัดสินใจศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องgrief in laws of  Tipitaka (ธรรมสังเวชในพระไตรปิฎก) และการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนมีเจตนาอยู่ในใจของผู้เขียนเพื่อเป็นวิทยาทาน ให้เกิดความรู้และความเข้าใจในความเป็นไปของชีวิตแก่ประชาชนชาวไทย ผู้มีศรัทธาและเทิดทูนในหลวงผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลและเป็นมหาราชาผู้ทรงธรรมที่ยิ่งใหญ่ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยามเท่านั้น คำตอบของบทความนี้มาจากวิเคราะห์หาเหตุผลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารในพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารวิชาการอื่น ๆ และ แผนที่โลกออนไลน์เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นั้นจะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมวิทยากรสายต่างประเทศทั่วโลก ใช้ในการบรรยายแก่ผู้แสวงบุญในประเทศอินเดีย และสหพันธรัฐประชาธิปไตยเนปาลที่สังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ ที่เมืองกุสินาราสถานที่ปรินิพพานของศากยมุนีพุทธเจ้า ให้มีเนื้อหาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล จากที่มาของความรู้จากพยานเอกสารในพระไตรปิฎก และอรรถกถา พยานวัตถุในพุทธสถานต่าง ๆ  จะเป็นประโยชน์แก่ผู้วิจัยในระดับปริญญาเอก เพื่อพัฒนาศักยภาพของนิสิตในการวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลของคำตอบ จากข้อมูลในพยานหลักฐานต่าง ๆ  จนเป็นคำตอบที่เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล และปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลของความเป็นจริงจากการวิเคราะห์อีกต่อไป  เพื่อใช้ประโยชน์แก่รุ่นหลังที่จะรักษาความรู้และความจริงในพระพุทธศาสนา ที่มีความเป็นสากล ที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเองและภาคภูมิใจในความเป็นตนของตน  

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ