epistemological problem: Sumedha Dabo's Prayer in Tripitaka
บทนำ
ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับการอธิษฐานของสุเมธดาบสนั้น ตามหลักปรัชญานั้น เมื่อใครอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใด จะต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริง ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้นขาดความน่าเชื่อถือและนักปรัชญาไม่ยอมรับว่าเป็นจริง เนื่องจากวิชาปรัชญาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล พยานหลักฐานทางปรัชญาส่วนใหญ่เป็นพยานบุคคลที่เป็นประจักษ์พยาน แต่ขาดความน่าเชื่อเพราะส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเอง แต่อ้างตนเองว่ามีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น เรื่องเทพเจ้าและเทวดาและอ้างว่าตนเคยเห็นเทพเจ้าในแคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย ความรู้เหล่านี้ใช้ในระดับปัจเจกบุคคลไม่ค่อยจะปัญหาทางสังคมเพราะเป็นความเชื่อถือส่วนบุคคลแต่ในระดับประเทศจะเกิดปัญหา เมื่อนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่า ด้วยวรรณะที่ประกาศใช้บังคับในประเทศ และมีบทลงโทษผู้ไม่ศรัทธาและฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายจารีตประเพณี ในการศึกษาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความเป็นจริงของมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและข้อพิสูจน์การมีอยูการมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น อภิปรัชญาแบ่งความจริงออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวคือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น (ficitous reality) ๒. สัจธรรม (Truth)
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไปในธรรมชาติ แต่จิตมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยอวัยวะอินทรย์ทั้ง ๖ ของร่างมนุษย์และสั่งสมหลักฐานทางอารมณ์เป็นข้อมูลอยู่ในจิตใจของเขาเอง ตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่น น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด, ลมพายุในทะเลทรายเป็นต้น แต่ก่อนปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทางสังคมจะเสื่อมสลายไป จิตของมนุษย์จะดึงดูดอารมณ์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจได้ จากนั้นจิตใจจะวิเคราะห์หลักฐานที่เป็นข้อมูลอยู่ในจิตใจนั้น เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ หากผลการวิเคราะห์หลักฐานได้คำตอบยังไม่ชัดเจน ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้นเป็นความเท็จ เป็นต้น
๒.สัจธรรม (Truth) เป็นความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้สัจธรรมได้ด้วยตนเอง เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์มีข้อจำกัด และมีอคติต่อมนุษย์ด้วยกัน เว้นแต่มนุษย์จะศึกษาหลักกฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ จะค้นพบความจริงว่า พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์เอง ด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริมรรคมีองค์ ๘ จะบรรลุถึงความรู้ระดับอภิญญา ๖ ได้แก่ญาณทิพย์เหนือมนุ์ทั้งปวง สภาวะนิพพาน ซึ่งความรู้ที่คนในระดับอริยบุคคลเช่นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้น จะรับรู้ความจริงที่แท้จริงในเรื่องนี้ได้ ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แม้จะสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในเรื่องนี้แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่านักวิทยาศาสตร์ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ค้นพบตงามรู้ที่แท้จริงในขั้นสัจธรรมได้ แม้จะมีข้อเท็จจริงตามหลักฐานตามวารวิชาการวิทยาศาสตร์ว่า นักวิทยาศาสตร์สร้างมือหลายอย่าง เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในการค้นหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ ต้งแต่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานได้อย่างเพียงพอ ก็จะใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์นั้น วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น แต่สุดท้ายผู้อ่านค่าและตีความหมาย ก็ต้องใช้จิตมนุษย์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อหาความสมเหตุสมผลขององค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นต้น
ตามแนวคิดญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาแรกของปรัชญามีความสนใจในการศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร เดิมมนุษย์มีความเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า พรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดเพื่อให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน ปุโรหิตถวายคำแนะนำต่อสมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ ในการเขียนบทความนี้ ผู้เขียนอยากรู้ความจริงของสุเมธดาบสเป็นใคร และเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไร ? เป็นเรื่องที่ผู้เขียนต้องหาหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดคือ พระไตรปิฎกทั้งมหาจุฬา ฯ เพราะเป็นที่รวบรวมคำสอนของศากยมุนีพุทธเจ้าที่ทรงเทศนาเป็นเวลา ๔๕ ปี ความรู้ในพระไตรปิฎกทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน ในคำสอนเรื่องชีวิตของมนุษย์พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนมีวิญญาณเป็นตัวตนแท้จริงที่ผ่านการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏมายาวนานไม่รู้กี่อสงไขยแล้ว ในตัววิญญาณของมนุษย์สั่งสมความรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่เป็นความสุขเมื่อพอใจในสิ่งที่มาผัสสะเป็นความทุกข์บ้าง เมื่อไม่พอใจในสิ่งที่มาผัสสะ ความสุขความทุกข์เมื่อประสบแล้วมิได้หายไปไหน ยังคงสั่งสมเป็นกรรมอยู่อย่างนั้นในวิญญาณของตัวเอง แม้จะเวียนวายเกิดมากี่รอบแล้วก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของการอธิษฐานของสุเมธดาบส (The problem with the truth of Sumetha dabos' prayer) เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลในพระไตรปิฎกทำให้ผู้เขียนรู้ว่าการอธิษฐาน (prayer) เป็นวิธีการหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตโดยการตั้งใจมุ่งต่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งหรือตั้งจิตปรารถนา หรือตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันใดอันหนึ่ง เพื่อให้ตนประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา และเมื่ออธิษฐานแล้ว คำอธิษฐานบารมีก็จะเป็นสัญญาอยู่ในใจของผู้นั้น แม้จะเวียนว่ายเกิดตายเกิดไม่รู้กี่ครั้ง ก็อารมณ์กรรมฝั่งอยู่ในจิตอย่างนั้นมิได้สูญหายไปกับความตายแต่อย่างใด สุเมธดาบสซึ่งเป็นชาติหนึ่งของโคตมพุทธเจ้า ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ทรงใช้คำอธิษฐานบารมี ตั้งความเป็นปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าต่อหน้าที่ปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อหลายร้อยล้านปีมาแล้ว การวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของแรงอธิษฐานสุเมธดาบส ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาเล่มที่ ๒๓ พระสุตตัตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒.สุเมธกถา[๑] ใน ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป มีนครหนึ่งชื่อว่าอมร เป็นนครที่น่าชม น่ารื่นรมย์ใจ
๒.ความหมายของคำว่า "อธิษฐานบารมี" เมื่อศึกษาหาความรู้ของคำว่า "อธิษฐานบารมี" จากแหล่งความรู้จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน๒๕๕๔ ได้นิยามให้ให้ความหมายว่า (๑) อธิษฐาน แปลว่า ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งตั้งจิตปรารถนา ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง (๒) บารมี แปลว่าคุณความดีที่ควรบำเพ็ญ ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมาคุณ สมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นต้น
เมื่อนำสองคำรวมกันเป็นคำว่า "อธิษฐานบารมี" ผู้เขียนตีความหมายคำว่าอธิษฐานบารมี หมายถึงการตั้งจิตต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งตัวอย่างเช่น สุเมธดาบสตั้งจิตต่อสิงศักดิสิทธิ์คือทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าขอบุญกุศลที่ได้บำเพียรวิริยะบารมีด้วยการสร้างถนนไปยังเมืองปัจจันตชนบท เพื่อถวายแด่ทีปังกรพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๔๐๐,๐๐๐ รูป แต่สร้างถนนไม่เสร็จและตัดสินใจบำเพ็ญขันติบารโดยทอดร่างกายเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สี่แสนรูปเพื่อเหยียบข้ามพ้นเปือกตม เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล เป็นต้น คำอธิษฐานบารมีสั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณของสุเมธดาบส และติดตามวิญญาณไปจุติในภพภูมิต่างๆ ผ่านกาลเวลาไม่น้อยกว่า ๔ อสงไขย คำอธิษฐานยังเป็นสัญญานอนเนื่องอยู่ในจิตวิญญาณและคำอธิฐานบารมีทำให้สุเมธดาบสสมปรารถนาเป็นโคตมพุทธเจ้าในภัทรกัปป์ปัจจุบัน
๓. ปัญหาเกี่ยวกับความจริงในการอธิษฐานบารมีของสุเมธดาบส

การศึกษาค้นคว้าปัญหาเกี่ยวกับความจริงของโลกเป็นเรื่องหนึ่งที่อภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่น่าสนใจศึกษาตามคำนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่าอภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาว่าด้วยความจริงแท้เป็นเนื้อหาสำคัญของปรัชญาเป็นต้น ส่วนคำว่า "จริง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ให้คำนิยามความหมายว่าเป็นอย่างนั้นแน่แท้ไม่กลับเป็นอย่างอื่น ตัวอย่างเช่น ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นจากตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษย์นั้น ทรงตรัสรู้ว่าชีวิตมีกายและจิตเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันโดยมีจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ เมื่อมนุษย์สิ้นชีวิตลงไปทรงเห็นจิตวิญญาณด้วยตาทิพย์ ออกจากร่างกายไปจุติจิตในภพภูมิอื่นต่อไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงไม่มีเหตุผลอื่นใดมาโต้แย้งว่าจิตของมนุษย์ เป็นสิ่งไม่มีอยู่จริงแต่อย่างใด แม้มนุษย์คนอื่นมองไม่เห็นด้วยตาทิพย์เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าก็ตาม การมองไม่เห็นของมนุษย์คนอื่นนั้นมิใช่ไม่มีเหตุผลโต้แย้งเพียงแต่พวกเขายังมิได้ปฏิบัติตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นเพราะผลของการปฏิบัติคือการบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ มนุษย์จึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้ตนประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนาแต่การอธิษฐานขอสิ่งใดต้องอยู่กับความดีที่ตนได้บำเพ็ญเพียรมาด้วยเช่นทำบุญใส่บาตรเป็นความดีที่ทำมาทุกๆวันแล้ว เอาความดีนี้มาอธิษฐาน ให้เป็นไปตามจิตปรารถนาและลงมือปฏิบัติย่อมบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ หากชีวิตของตนไม่เคยบำเพียรความดีอะไรมาเลยเช่นการปฏิบัติธรรม ภาวนาเจริญสติเป็นต้นเป็นการตั้งจิตปราศจากคุณความดีเก็บสั่งสมหรือห่อหุ้มจิตของตนไว้เป็นต้นทุนของชีวิตแล้ว ย่อมไม่เกิดอนิสงค์ใดในชีวิตเลย ตัวอย่างเช่น ไปยกมือไหว้พระประธานในวัดแล้วอธิษฐานบารมีเลยไม่เคยทำความดีอะไรได้แก่ การบริจาคทาน รักษาศีล ภาวนา ย่อมไม่มีที่กรรมที่เป็นบุญกุศลเก็บสั่งสมเป็นสัญญาไว้ในจิตของตนเลยย่อมไม่เกิดอนิสงค์อะไรจิตที่ไปจุติจิตในภพภูมิต่างๆย่อมเต็มไปด้วยอวิชชาความไม่รู้ รับรู้อะไรย่อมขาดปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ย่อมเกิดความทุกข์ซ้ำซากอยู่อย่างนั้นชีวิตดำเนินต่อไปในสังสารวัฏอย่างไร้จุดมุ่งหมายของชีวิต ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น จิตของศากยมุนีพระโพธิสัตว์เคยเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏมายาวนานไม่รู้กี่อสงไขยแล้วดังที่เป็นพยานปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกนั้น ทรงปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการเจริญอาณาปานสติจนกระทั่งจิตของพระองค์เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทำให้จิตปรุงแต่งอ่อนเหมาะสมแก่การทำงานจิตวิญญาณมีความมั่นคง และไม่หวั่นไหวในกิเลสที่ฟุ้งซ่านขึ้นมา หรือจรเข้ามาสู่ชีวิตจิตศากยมุนีพระโพธิสัตว์บรรลุถึงความรู้ระดับจุตูปปาตญาณทรงเห็นเหตุการณ์ย้อนเวลากลับไปสู่อดีตเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๔ อสงไขย ๑ แสนกัปป์
ดังปรากฎพยานเอกสารที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒๕[ฉบับมหาจุฬา ฯ ]พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถาว่าด้วยสุเมธดาบสข้อ.[๑]....ในสี่ อสงไขย หนึ่งแสนกัป ......[๔]เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะเกิดในกรุงอมรวดีสั่งสมทรัพย์ไว้หลายโกฏิและมีทรัพย์สมบัติและธัญญาหารไว้มากมาย จากพยานเอกสารของข้อความบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติกรรมฐานด้วยการเจริญอาณาปานสติจนกระทั่ง จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส บรรลุธรรมถึงวิชชา ๑ ที่เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสสติญาณ" ทรงเห็นการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของชีวิตพระองค์เอง ที่จิตวิญญาณของพระองค์ไปจุติในภพภูมิต่างๆที่ย้อนเวลาไปถึง ๔ อสงไขยและ ๑๐๐,๐๐๐ กัปป์ในยุคเวลานั้น พระพุทธองค์ทรงเกิดในตระกูลพราหมณ์ชื่อว่า สุเมธดาบสผู้ที่ร่ำรวยมหาศาลมีทรัพย์สมบัติมากมายหลายร้อยโกฏิ และมีธัญหารในยุ้งฉางมากมายวันหนึ่งเมื่อสุเมธดาบสตั้งสติระลึกถึงชีวิตที่ผ่านมา พิจารณาเห็นว่าการเกิดในภพใหม่และการแตกไปแห่งสรีระเป็นทุกข์ ความหลงตายเป็นทุกข์ชีวิตถูกชราย่ำยี เป็นต้นเมื่อชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอนจึงตัดสินใจมอบทรัพย์สมบัติให้แก่คนมีที่พึ่ง และไม่มีที่พึ่งแล้วออกบวชเข้าป่าหิมพานต์เมื่อออกบวชแล้วมีโอกาสทำความดีถวายแก่ทีปังกรพระพุทธเจ้าด้วยการสยายผมลาดผ้าคากรองและหนังสัตว์ลงบนเปลือกตมแล้วตนอนคว่ำลงที่นั่น ดังปรากฏในพยานเอกสารที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒๕ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] พุทธวงศ์ ๒. สุเมธกถาว่าด้วยสุเมธดาบส ข้อที่ ๓๖. ว่า ในเมืองปัจจันตประเทศ ชนทั้งหลาย ทูลนิมนต์พระตถาคตแล้ว มีใจยินดี ช่วยกันแผ้วทางสำหรับพระตถาคตเสด็จพระราชดำเนินมา
ข้อที่ ๓๗. ว่า ครั้งนั้นเราอกจากอาศรมของเราแล้ว สลัดผ้าคาครองเหาะไปในท้องฟ้า
ข้อที่๓๘. ว่าเห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัสยินดีบันเทิงร่าเริงใจ จึงลงจากท้องฟ้ามาถามหมู่มนุษย์ทั้งหลายในขณะนั้นว่า.
ข้อที่ ๓๙.ว่าเห็นหมู่ชนผู้มีจิตโสมนัสยินดีบันเทิงร่าเริงใจ ช่วยกันแผ้วทางสำหรับเดินเพื่อใคร
ข้อที่๔๐.ว่า ชนเหล่านั้นถูกเราถามแล้วบอกว่า พระพุทธชินเจ้าผู้ยอดเยี่ยมพระนามว่าทีปังกร ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นมาแล้วในโลกชนทั้งหลายช่วยกันแผ้วทางสำหรับเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระองค์
ข้อที่ ๔๓ ว่าแล้วกล่าวว่า "ถ้าท่านทั้งหลายช่วยกันแผ้วถางทางเพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงใหโอกาสหนึ่งแก่พระพุทธเจ้า...ข้าพเจ้าจะช่วยแผ้วถางทางสำหรับพระราชดำเนิน
ข้อ๕๒เราสยายผมแล้วลาดผ้าคากรองและหนังสัตว์ลงบนเปือกตมแล้วคว่ำหน้าลงที่นั่น
ข้อ ๕๓ ด้วยคิดว่า"พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสาวกผู้เป็นศิษย์ จงเหยียบเราเสด็จไปเถิด อย่าทรงเหยียบเปือกตมนั้นเลยข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา

จากข้อความในพระไตรปิฎกเราตีความได้ว่า สุเมธดาบสได้ทำ ความดี โดยการมีส่วนร่วมกับชาวเมืองปัจจันตประเทศสร้างตถนนเพื่อให้ทีปังกรพุทธเจ้าและพระอรหันต์สี่แสนรูปเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง แต่การทำถนนไม่เสร็จ เป็นเพราะว่าพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์เสด็จมาถึงเมืองก่อน ชาวเมืองจึงพากันนั่งลงประนมมือ กล่าวคำต้อนรับพระพุทธเจ้าด้วยความปิติยินดียิ่งจนลืมว่าเส้นทางเสด็จ ฯ ยังสร้างไม่เสร็จส่วนสุเมธดาบสเห็นว่าเส้นทางเดินธุดงค์นั้นยังสร้างไม่เสร็จ ตนเห็นว่าไม่อยากให้พระบาทของพระพุทธเจ้าเปื้อนเมือกโคลนตมสุเมธดาบสจึงตัดสินใจปูลาดผ้าคากรอง หนังสัตว์ลงบนเปือกตมและสยายผมนอนคว่ำหน้าลงไปให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๔ แสนรูปนั้น ใช้เท้าเหยียบร่างกายของตนก้าวข้ามพ้นเปือกโคลนตมการทอดร่างกายเป็นสะพานให้ทีปังกรพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกเยียบข้ามเปือกโคลนตมนั้นเป็นอกุศลกรรมอย่างหนึ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณของสุเมธดาบส ติดตามกระแสจิตวิญญาณตลอดไปนับเวลาไม่น้อยกว่าสี่อสงไขยและสี่แสนกัปป์ ขณะที่ที่ปังกรพุทธเจ้าพระองค์นั้นเหยียบร่างกายข้ามไปนั้นก็ตั้งจิตปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในภัททกัปป์ภัทกัปหนึ่งในอนาคตกาลข้างหน้านั้น
๔.การอธิษฐานในคำชะโนด
๔.๑ ทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยม เป็นทฤษฎีบ่อเกิดของของความรู้ของมนุษย์มีแนวคิดว่า "มนุษย์คนใดคนหนึ่งรับรู้จากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวของมนุษย์เป็นความรู้และเป็นความจริง" กล่าวคือ ผู้เขียนรับรู้ในความมีอยู่ของคำชะโนดและความเป็นจริงจากประสัมผัสเพียงอย่างเดียวของผู้เขียนโดยตรง กล่าวคือผ่านหูตา จมูก ลิ้น กายและใจของฉัน เป็นต้น สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่แสวงหาโชคลาภของมนุษย์ ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ ฉันเดินทางมาที่คำชะโนดนี้เป็นครั้งสองแล้ว ในครั้งแรกที่ฉันมาคนไม่ค่อยเยอะเท่ากับวันนี้เลย อาจเป็นเพราะใกล้วันที่ ๑ ทุกคนปรารถนาอยากมีโชคลาภหรืออีกส่วนหนึ่งได้ตั้งสัจวาจาไว้แล้วสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาก็พากันมาแก้บน ผู้คนมากมายจากหลายทิศทางและหลายจังหวัดด้วยกัน ทำให้พานบายศรีขนาดเล็ก ๆ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านใช้อามิสบูชาขายดีมากเพราะเป็นวัฒนธรรม และความเชื่อของคนในท้องถิ่นปฏิบัติกันมายาวนานแล้ว ที่ต้องทำบายศรีเพื่อใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิที่ตนศรัทธาตั้งความปรารถนาในชีวิต สิ่งเหล่านี้ฉันเคยเห็นมากมายในพุทธสถานของเมืองลาวที่ฉันเคยทางไปเยี่ยมมาการอธิษฐานบารมีเป็นการแสดงออกทางกายกรรมวจีกรรมแสดงออกมาทางคำพูดโดยมีมโนกรรมบ่งบอกความปรารถนาของตน จิตจะเก็บอารมณ์เหล่าเหล่านี้ไว้ห่อหุ้มจิต (ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น