Introduction: BHU, University of Indian Philosophy
๑.บทนำ การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อผู้เขียนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและตั้งใจจะอุปสมบทตามขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวพุทธไทยที่ปฏิบัติกันมาช้านานในราชอาณาจักรไทย โดยกุลบุตรจะอุปสมบทในช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือนเพื่อพัฒนาศักยชีวิตให้มีชีวิตที่เข้มแข็ง มีจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากความโศกเศร้า มีจิตใจอ่อนโยนเหมาะสมแก่การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมมีอุดมการณ์มั่นคงในการปกป้องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรม สามารถวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริง โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุผล
เมื่อผู้เขียนได้เรียนรู้หลักธรรมของพระพุทธศาสนา และนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาพัฒนาศักยภาพชีวิต และเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีความสุขมากขึ้น เพราะได้อยู่กับสิ่งที่เหมาะกับบุคลิกของตนเองคือ การสอนหนังสือหลังจากใช้ชีวิตอย่างผู้หลงทางมานาน ๓๔ ปี เมื่อผู้เขียนบวชได้ ๖ พรรษาผู้เขียนจึงตัดสินใจ ไปศึกษาต่อที่คณะพุทธศาสตร์บัณฑิตสาขาปรัชญา ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้เขียนได้ศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู เขตพาราณสี สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเน้นการศึกษาปรัชญาฮินดู ผู้เขียนใช้เวลาหลายปีในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ในช่วงเวลาที่น่าภาคภูมิใจของผู้เขียนที่ได้อุทิศชีวิตของตนเพื่อรับใช้พระพุทธเจ้า แม้จะต้องเจอปัญหาสุขภาพที่ต้องเจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลาเวลาในการทำงาน แต่เป็นประสบการณ์ของชีวิตที่ยิ่งใหญ่แม้กาลเวลาจะผ่านไปหลายปี แต่ความทรงจำอันหาได้ยากเหล่านี้ ก็ไม่เคยสูญหายไปจากชีวิต แต่ในอนาคตประสบการณ์ชีวิตที่ทรงคุณค่าที่มีอยู่ในตัว ผู้เขียนก็จะสูญหาย ไปพร้อมกับตายของตัวเอง ผู้เขียนจึงได้เขียนปรัชญาพุทธภูมิขึ้นมาเพื่อรักษาความรู้ของตนเองเกี่ยวกับการจาริกแสวงบุญในแดนพุทธภูมิ ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง ความคิดของมนุษย์น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป

แม้ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดูแล้วแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเข้าใจประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องBHUซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งปรัชญาอินเดียนี้ต่อไป โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องBHU มหาวิทยาลัยแห่งปรัชญาอินเดีย ในรูปแบบบทความเชิงวิเคราะห์จะเขียนขึ้นในรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้อย่างสมเหตุสมผล โดยอาศัยข้อมูลจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียน กับความทรงจำของชีวิตในมหาวิทยาลัย การทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา เป็นพระวิทยากรในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง และความทรงจำในบางส่วนที่พอนึกถึงได้ จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ คือ เพื่ออ่านเพื่อระลึกถึงสิ่งที่งดงามที่ผ่านเข้ามาสู่ชีวิตและศึกษาวิถีชีวิตของคนอินเดียไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ เพราะต้องอาศัยความเพียร และความอดทนในการทำและอะไรไที่ได้มาโดยง่าย ๆ ย่อมขาดเสน่ห์แห่งความพากเพียร เป็นแรงบันดาลใจของชีวิตเสมอ
๒.ที่มาของความรู้ของมหาวิทยาลัย BHU
๒.๑ ในความฝันของผู้เขียน ฝันหนึ่งที่ไม่เคยลืมคิดอยากจะไปคือการเดินทางมาศึกษาในต่างประเทศ กาลเวลาผ่านไปอายุเลยกลางคนมาแล้วหลายปี แต่การเอาความหมายมาไว้ในชีวิตนั้นไม่เคยหยุดที่จะทำเมื่อผู้เขียนต้องการมาศึกษาต่อในต่างประเทศ ผู้เขียนได้ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาตรีช่วยหาข้อมูลอัตราค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศอินเดีย ให้ผู้เขียนตัดสินใจเลือกตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีที่มีค่าเล่าเรียนถูกที่สุดนี่คือความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ส่วนนอกนี้ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลยไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวมหาวิทยาลัยการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยควรทำอย่างไรเป็นเรื่องไม่เคยนึกถึงแต่อย่างใดเพียงให้ได้เดินทางมาศึกษาต่อเพียงอย่างเดียว เหตุผลที่ควรเรียนต่อในต่างประเทศโดยเฉพาะอินเดีย เนื่องจากมีค่าเล่าเรียนที่ถูกที่สุดในโลกเพราะค่าเทอมศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศไทยแพงมากในบางหลักสูตรผู้เขียนได้ขอข้อมูลจากบุคคลที่เรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาถึง ๔๕๐,๐๐๐ บาทต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งทุนเพื่อศึกษาอีกด้วยแล้วผู้เขียนจะเอาเงินมากไหน มาเป็นค่าเล่าเรียน ผู้เขียนไม่เคยคิดเอาค่าเรียนเป็นภาระของคนอื่นโดยเฉพาะคนในครอบครัว ๆ เพราะเมื่อผู้เขียนเลือกทางชีวิตของตัวเอง ผู้เขียนขอความช่วยเหลือจากอาจารย์หัวหน้าภาควิชาปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น วัดธาตุเมืองเก่า เพื่อช่วยหาข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในประเทศอินเดีย
ผู้เขียนตัดสินใจมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดูเพราะค่าเรียนถูกที่สุด และที่สำคัญรัฐบาลไทยรับรองคุณภาพของการศึกษาเนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องทุนการศึกษาเพราะพ่อส่งให้ค่าใช้จ่ายเพียงเดือนละ๓,๐๐๐ บาท เมื่อศึกษาจบปริญญาโทแล้วก็คิดว่าจะไปสอนในโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญสักแห่งหนึ่งก็พอแล้วใช้ชีวิตอย่างสงบ และเรียบง่ายการเดินทางมาเรียนที่อินเดียผู้เขียนอยู่ที่ประเทศนี้เป็นเวลาถึง ๙ ปี โดยผู้เขียนส่งเอกสารผ่านฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมจร วัดมหาธาตุเป็นผู้ดำเนินงานให้ เพราะผู้เขียนติดอบรมโครงการพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่๘ อยู่ ผู้เขียนเริ่มต้นการศึกษาปริญญาโทที่นี้สิ้นสุดลงด้วยการศึกษาจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยที่ประตูแห่งนี้ด้วยการเดินทางกลับประเทศไทยวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
๒.๒ การใช้ชีวิตในต่างแดนต่างครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕ผู้เขียนเดินทางมาเรียนต่อที่ประเทศอินเดียโดยเครื่องบินสายการบินไทยเที่ยว ๑๐ โมงเช้าออกจากสนามบินดอนเมืองมาถึงสนามบินกัลกาตาร์ สาธารณรัฐอินเดีย เวลาในอินเดียประมาณบ่ายสี่โมงเย็น วันนั้นผู้เขียนจำได้ว่ามองผ่านหน้าต่างเครื่องบินของสายการบินไทย ที่สนามบินโกลกาตาร์มีฝนตกมีน้ำเจิ่งนองขังทั่วไป สนามบินแห่งนี้เป็นสนามบินนานาชาติมีขนาดไม่ใหญ่โตมากนักและไม่สวยงามที่ผู้เขียนคิด แต่โชคดีที่มากับรุ่นพี่ของมหาวิทยาลัยหลายคนที่สนามบินวุ่นวายเพราะการตรวจตรากระเป๋าหลายใบ นับแต่บัดนี้ชีวิตผู้เขียนต้องเริ่มต้นใหม่นับหนึ่งใหม่อีกครั้งหนึ่ง คณะของเราเป็นพระเกือบทั้งหมดมาจากประเทศไทย ออกจากสนามบินตอนแรก ผู้เขียนคิดว่าเมืองโกลกัลต้าเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดูแล้วที่มาเรียนต่อแล้วแต่รถแทกซี่พาเราไปที่วัดBuddhist Bengal เพื่อพักผ่อนรอเวลาขึ้นรถไฟเดินทางต่อไปจากนั้นประมาณ ๑ ทุ่มคณะเราก็ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟฮาวราห์ (Howrah Railway Station) เพื่อเดินทางไปอีก ๖๖๓ กิโลเมตรสู่เมืองพาราณสี อันเป็นจุดหมายปลายทางของพวกเรา คณะเราไปถึงที่สถานีรถไฟมงคลส่าหร่ายใช้เวลาเดินทาง ๑๑ ชั่วโมงกว่า เมื่อเดินทางมาถึงเวลา ๐๘.๐๐ น. มีรุ่นพี่มารับเราที่สถานีรถไฟมงคลสาหร่าย
๒.๓ เสน่ห์ของอินเดีย การมีประชาชนหนาแน่นชีวิตต้องต่อสู้เพื่อให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งล้วนแต่เป็นเสน่ห์ของชีวิตที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในโลกแห่งความลำบากต้องอาศัยความเพียรของการดำเนินอยู่ของชีวิตก็ตาม ทุกคนไม่อยากลำบากในการดำเนินชีวิต ฉันใช้ชีวิตอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยเกือบ ๑ เดือน ก็ถึงวันนัดตรวจเอกสาร เพื่อพิจารณาการขอ admission มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีอายุเกือบ ๙๐ ปี เป็นอาคารแบบอังกฤษโบราณ เป็นหอพักนักศึกษาของชาวอินเดียเป็นส่วนใหญ่ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นิยมใช้จักรยานมากกว่ายานพาหนะอื่นๆ (ยังมีต่อ)
๒.๓ เสน่ห์ของอินเดีย การมีประชาชนหนาแน่นชีวิตต้องต่อสู้เพื่อให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งล้วนแต่เป็นเสน่ห์ของชีวิตที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในโลกแห่งความลำบากต้องอาศัยความเพียรของการดำเนินอยู่ของชีวิตก็ตาม ทุกคนไม่อยากลำบากในการดำเนินชีวิต ฉันใช้ชีวิตอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยเกือบ ๑ เดือน ก็ถึงวันนัดตรวจเอกสาร เพื่อพิจารณาการขอ admission มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีอายุเกือบ ๙๐ ปี เป็นอาคารแบบอังกฤษโบราณ เป็นหอพักนักศึกษาของชาวอินเดียเป็นส่วนใหญ่ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นิยมใช้จักรยานมากกว่ายานพาหนะอื่นๆ (ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น