Introduction: Suvarnabhumi State according to Buddhaphumi's Philosophy
๑.บทนำ
โดยทั่วไป ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง"รัฐสุวรรณภูมิ"จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ อรรถกถา และบทความตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วกว่า ๒๐๐ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงประกาศสงคราม และแผ่อำนาจของอาณาจักรโมริยะออกไปสู่ดินแดนต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศ เนปาล อินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในสงครามครั้งล่าสุดกับแคว้นกลิงคะ (Galinga) กองทัพของพระเจ้าอโศกมหาราชทรงต่อสู้กับกองทัพกลิงคะอย่างดุเดือด เพราะชาวกลิงคะไม่ยอมจำนนอย่างง่ายดาย ทำให้ทหารทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเห็นประชาชนล้มตายไปหลายแสนคน พระองค์ทรงโศกเศร้าอย่างยิ่งและไม่ทรงรู้สึกยินดีต่อชัยชนะที่มีต่อแคว้นกาลิงคะ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศยุติสงคราม อย่างไรก็ตาม เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทางใช้พระวรกายของพระองค์ต่อสู่สงครามนานหลายปี เพื่อขยายอาณาจักรโมริยะโดยเสี่ยงพระชนม์ชีพเพื่อแลกกับความตายของประชาชนในแคว้นต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม อารมณ์แห่งการทำสงครามต่อสู้กับศัตรูนั้นคือพลังของจิตวิญญาณแห่งนักสู้ที่ยิ่งใหญ่และชัยชนะเหนือศัตรูของพระองค์ ซึ่งเป็นอารมณ์โหดร้ายที่ฝังรากลึกอยู่ในพระทัยของพระองค์ตลอดไปเพราะในสงครามใดไม่มีวิญญาณของนักสู้คนใดที่จะเมตตาต่อศัตรู มีเพียงการสังหารศัตรยางโหดร้ายไร้ความปราณีเท่านั้น

เมื่ออารมณ์แห่งการฆ่าศัตรูกลายเป็นกรรมที่สั่งสมไว้ในพระทัย กลายเป็นภาพที่เกิดขึ้นในพระทัยและตามพระทัยของพระองค์ไปยังที่ต่าง ๆ จนกระทั่งถึงพระนครปัฏตาลีบุตร ภาพเหล่านั้นก็เกิดขึ้นและรบกวนชีวิตจนพระองค์บรรทมไม่หลับ เมื่อทรงทุกข์ทรมานจากอารมณ์แห่งสงครามนั้น พระองค์ทรงนึกถึงนักบวชที่พระเจ้าพินทุสาร พระบิดาทรงอุปถัมภ์และทรงบัญญัติกฎหมายวรรณะเพื่อคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ทำพิธีบูชายัญด้วยเครื่องบูชา เพื่อขอพรจากพระพรหม เพื่อช่วยให้พระองค์ทรงหลุดพ้นจากชีวิตมืดมนชีวิต แต่เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเห็นพวกพราหมณ์ประพฤติตน ไม่สมควรกับความเป็นสมณสารูป พระองค์ทรงไม่มีความศรัทธาในนักบวชเหล่านั้นว่า จะสอนให้พระองค์ทรงมีศรัทธาในการปฏิบัติคำสอนของศาสนา มีความวิริยะที่จะสอนให้พระองค์ทรงสติที่จะระลึกถึงความรู้ที่สั่งสมอยูในพระทัยของพระองค์ ทรงมีสมาธิแน่วแน่ในการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ และปัญญาหยั่งรู้ในการแก้ไขปัญหาพระองค์ และประชาชนหลุดพ้นจากความมืดมนในชีวิตด้วยพระองค์เองได้ เมื่อความจริงเกี่ยวกับพราหมณ์ปุโรหิตนั้นถูกเปิดเผยต่อพระองค์แล้ว พระองค์จึงทรงละทิ้งความเชื่อในคำสอนของพราหมณ์ เพราะทรงเห็นว่าปุโรหิตในรัชสมัยของพระเจ้าพิมทุสารนั้น ไม่สามารถเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของพระองค์ได้
ในปีที่ ๘ แห่งรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อพระองค์ทรงทอดพระเนตรสามเณรนิโครธไปบิณฑบาตรด้วยกิริยามารยาทอันงดงาม พระองค์ก็ทรงนิมนต์สามเณรไปบิณฑบาตที่ปราสาทปัฏตาลีบุตร สามเณรนิโครธสอนให้รู้จักมีสติในการดำเนินชีพด้วยความไม่ประมาท และหมั่นเพียรปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพื่อดับทุกข์ในใจและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยการทำบุญใส่บาตร แด่พระภิกษุจำนวนหลายแสนรูปในปราสาทปัฏลีบุตรทุกวัน ทรงรักษาศีลและเจริญสมาธิภาวนาทุกวันเพื่อดับทุกข์จากอารมณ์ยึดติดในการทำสงคราม จนพระองค์ทรงมีพระทัยที่เข้มแข็ง บริสุทธิ์และมั่นคงในอุดมคติในชีวิต และพระองค์ทรงไม่หวั่นไหวต่อพระราชกรณียกิจที่ต้องพัฒนาศักยภาพชีวิตของชาวโมริยะ ด้วยการเจริญสติในการดำเนินชีวิตด้วยการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น
เมื่อประชาชนหมดศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ พวกพราหมณ์ก็ไม่มีหนทางที่จะประกอบพิธีบูชายัญ เพื่อหาเลี้ยงชีพให้อยู่รอดต่อไป เพราะพระเจ้าอโศกมหาราชทรงได้อุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ ด้วยการให้ทานเป็นประจำ พราหมณ์จำนวนมากปลอมตัวเป็นพระภิกษุและทำพิธีบูชายัญเช่นเดิม ทำให้ประชาชนหมดศรัทธาในพระภิกษุสงฆ์ เพราะพระภิกษุประพฤติไม่สมควรเหมาะสมณสารูป พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นประธานในการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๒ ในแคว้นมคธ ในการประชุมสังคายนาครั้งที่ ๓ ของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น พระองค์ทรงระลึกถึงว่าจุดมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่พุทธศาสนาคือ การปฏิรูปสังคมในอนุทวีปอินเดียด้วยความเมตตาของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ผู้คนทุกวรรณะได้เรียนรู้กฎธรรมชาติและพัฒนาศักยภาพชีวิตของตน เพื่อให้บรรลุถึงแก่นแท้ของชีวิตซึ่งก็คือ มนุษย์ทุกคนมีวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง
การดำเนินชีวิตของทุกคน ล้วนมีพื้นฐานมาจากกิเลสตัณหาและเจตนาของการกระทำของตนเอง พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนให้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต ที่เรียกว่า"อริยบุคคล"เมื่อพระเจ้าอโศกมหาาชทรงมีความความศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ สติในการระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหนทางเดียวที่จะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ และทรงทำสมาธิแน่วแน่มีความสามารถในการคิดได้เช่นนี้ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยปฏิบัติธรรมใต้พระศรีมหาโพธิ์ ทำให้นางดิษยรักษ์พระมเหสีทรงไม่พอพระทัย พระนางจึงส่งข้าราชบริพารมาตัดต้นพระมหาโพธิ์ เมื่อต้นมหาโพธิ์ตายลง เป็นมูลเหตุให้พระองค์ตัดสินพระทัยเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแดนต่างๆ ทั่วโลก

ยุคทองของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พระองค์ทรงเป็นประธานในการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ เสร็จสิ้น โดยทรงตัดสินพระทัยที่จะเสด็จไปแสวงบุญและค้นหาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ พระองค์ทรงใช้เวลารวม ๒๒ ปี และทรงส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรโมริยะ ๙ คณะเพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา คณะที่ ๘ นำโดยพระโสนะเถระและพระอุตตระเถระ ซึ่งนำมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวสุวรรณภูมิ
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรโมริยะ ไปเผยแผ่คำสอนและหลักปฏิบัติตามรรคมีองค์ ๘ ของพระพุุทธเจ้าไปยัง
"รัฐสุวรรณภูมิ" ซึ่งเป็นรัฐอิสระมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองนั้นจากคำบรรยายของครูในโรงเรียนและอาจารย์ในเรื่องนี้ ก็ยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริง แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด ที่เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อย่าเพิ่งเชื่อทันที เราควรสงสัยก่อนจนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ มาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ต่อไป
เมื่อยึดหลักคำสอนของพระพุทธองค์แล้วถือว่าข้อเท็จจริงในเรื่องรัฐสุวรรณภูมิ ยังเป็นปัญหาความจริงที่น่าสงสัย ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในสนใจศึกษาเกี่ยวกับ "รัฐสุวรรณภูมิ" โดยจะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้วก็ใช้เป็นข้อมูล วิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากพยานเอกสารพระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารอื่น ๆ ในทางพระพุทธศาสนา บันทึกของนักเดินทาง เป็นต้น เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล จะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมวิทยากรในแดนพุทธภูมิ เพื่อใช้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ประเทศอินเดียและเนปาลให้มีเนื้อเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ความจริงของคำตอบจะเป็นประโยชน์ในการวิจัยของนิสิตระดับปริญญาเอกในการวิเคราะห์หาเหตุผลของความรู้และความจริงของชีวิตตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นความรู้ผ่านเกณฑ์การตัดสินความรู้อย่างสมเหตุสมผลปราศจาก ข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น