The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทนำสู่เมืองท่าแขกตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

 Introduction to Thakhek city according to the philosophy of the land of Buddhahood


บทนำเมืองท่าแขก

         เมืองท่าแขกเป็นเมืองหลวงของแขวงคำม่วนซึ่งตั้งอยู่ในเขตภาคกลางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีดินแดนตั้งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับอำเภอเมืองนครพนม ทั้งสองเมืองนี้ เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตในอาณาจักรศรีโคตรบูรมีอาณาเขตกว้างขว้างรวมทั้งภาคอีสานของไทยได้แก่นครพนม หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานีนครราชสีมา ภาษาพูดของคนภาคอีสานในไทยมีสำเนียงใกล้เคียงภาษาลาวทั้งหมด ในยุคต่อมาอาณาจักร
ศรีโคตรบูรได้ล่มสลายลงศตวรรษที่ ๘ เพราะเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านช้าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกราวศตวรรษที่ ๑๖ หรือประมาณปี พ.ศ. ๒๑๘๔ ชาวฮอลันดาเข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้าง เพราะการค้าขายของลาวกับชาวต่างชาติที่เมืองปัตตาเวียในประเทศอินโดนีเซีย การเดินทางมาของชาวฮอลันดาได้บันทึกเรื่องราวของอาณาจักรล้านช้างไปสู่โลกตะวันตกส่งผลให้เกิดการค้าขายสินค้ากันในเวลาต่อมา   

         ผู้เขียนนั่งเรือข้ามฟากแม่น้ำโขงจากท่าเรือด่านตรวจคนเข้าเมืองนครพนม ประเทศในเวลา ๐๘.๓๐ น.ไปยังฝั่งเมืองท่าแขกประมาณ ๑ กิโลเมตรใช้เวลา ๒๐ นาทีหรือในฤดูฝนมีน้ำหลาก แม่น้ำโขงกว้างประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร ส่วนในฤดูแล้งร่องน้ำแคบลงต่ำกว่า ๑๐๐๐ เมตร แต่เมื่อมองจากริมฝั่งแม่น้ำโขงของไทย เราก็สามารถมองเห็นประเทศลาวได้เช่นกัน การเสียเงินค่้าเรือข้ามฟาก(ข้ามแม่น้ำโขง)  เราเป็นพระภิกษุเสียค่าเรือโดยสารจากฝั่งไทยไปยังฝั่งลาวคนละ ๓๐ บาท ส่วนขากลับจากฝั่งลาวมาฝั่งไทย ชาวลาวใจดีไม่เก็บค่าโดยสารเรือข้ามฟากกับพระภิกษุสามเณร  เมื่อผู้เขียนออกจากด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าแขกแล้ว เราก็ไปขึ้นรถตู้ที่ติดต่อไว้ก่อนที่จะเดินมาถึงเมืองท่าแขก    สถานที่แห่งแรกที่เราไปศึกษาอารยธรรมของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์   ที่พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มาถึงคือวัดพระธาตุศรีโคตรบองห่างจากท่าเรือเมืองท่าแขกประมาณ ๖ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นสถานที่แสดงอัตลักษณ์ของการมีอยู่ของอาณาจักรศรีโคตรบูรที่เคยรุ่งเรืองในอดีตตั้งแต่ ค.ศ. ๔๕๗ - ๙๕๗ 

          คำว่า พระธาตุศรีโคตรบอง เพี้ยนมาจากคำว่า "ศรีโคตรบรูณ์" มาจากภาษาบาลีว่า "สิริโคตมบุรี" หมายถึง เมืองแห่งโคตมพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เมื่อเวลาผ่านไปทุกสิ่งล้วนอยู่ในอำนาจของกฎไตรลักษณ์แห่งอนิจจัง อาณาจักรแห่งนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ครอบคลุมจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี เป็นต้น ผู้คนแถบนี้จะมีภาษาพูดสำเนียงค่อนข้างคล้ายกัน ส่วนบ้านเรือนอาศัยปลูกสร้างด้วยไม้ ตามภูมิปัญญาของของผู้คนในอาณาจักรศรีโคตรบูร บ้านอยู่อาศัยย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ส่วนที่คงสภาพอยู่ต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปีแทบจะมองไม่เห็น นอกจากแนวคิดซึ่ง เป็นความรู้ของภูมิปัญญาของผู้คนในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ได้ถ่ายทอดสืบกันมายาวนาน   และยังหลงเหลือปรากฏชัดให้พวกเราได้พบเห็นเรื่อยมาถึงยุคสมัยปัจจุบันนั้น 

        มีเพียงแนวคิดจากซากโบราณสถานของเจดีย์พระธาตุศรีโคตรบองเท่านั้น ซึ่งเป็นศาสนสถานของเจดีย์ในพุทธศาสนาซึ่งทิ้งร่องรอยของแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนในยุคนั้นว่าความจริงเกี่ยวกับอุดมคติสูงสุงของชีวิตมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนาคือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ จากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ปรากฎร่องรอยในความคิดของผู้คนยุคนั้นปรากฏในพระธาตุศรีโคตรบองในรูปของเหตุผลของคำตอบที่ผสมผสานความจริงที่สามารถจะอธิบายได้ความจริงได้ เพราะพระธาตุศรีโคตรบองเป็นสถานที่บรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดที่ควรเคารพบูชา คือพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ได้แก่ โคตมะพุทธเจ้า, กัสสะปพุทธเจ้า, กะกุสันโทพุทธเจ้า และโคนาคมโนพระพุทธเจ้า เป็นต้น.  

         เมืองท่าแขกเดิมเป็นชื่อแขวงตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศลาว  เมืองท่าแขกเป็นเมืองท่าทางฝั่งตะวันตกของประเทศลาวหรือฝั่งแม่น้ำโขงตะวันออก เมือเรามองมาจากฝั่งของประเทศไทยคำว่า "ท่าแขก" แปลว่า เมืองอันเป็นสถานต้อนรับแขกบ้านเมืองของฝรั่งเศสในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๖- ๒๔๘๗       ประมาณ ๔๙ ปีหลังจากนั้นญี่ปุ่นก็มายึดครองลาว เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามที่ปกครองประเทศลาวร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแนวคิดของการยึดครองของประเทศฝรั่งเศสคืออาคารบ้านเรือนแบบฝรั่งเศส ที่ได้ก่อสร้างไว้ในช่วงฝรั่งเศสปกครองประเทศลาวที่ตกทอดมาถึงทุกวันนี้ในตัวเมืองท่าแขกรวมทั้งข้าวปิ้งคือขนมปังที่เห็นอยู่กันทั่วไปในประเทศลาว  ปัญหาว่าสาเหตุที่ฝรั่งเศสเข้ามาตั้งอาณานิคมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในเวียดนามและลาวเพราะเมื่อมนุษยชาติพิสูจน์ได้ว่า โลกกลมก่อให้เกิดการท่องเที่ยวและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในดินแดนต่าง ๆ  ออกเดินทางไปค้าขายในต่างแดนที่อยู่ห่างไกลจากประเทศของตน เมื่อมนุษย์ออกไปสู่โลกกว้าง  ก็มองเห็นโอกาสของชีวิตที่จะเจริญรุ่งเรือง ความมั่งคั่งของพวกเขาจากการค้าขายนำไปสู่การล่าอาณานิคม 

         ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นคู่แข่งกัน นำไปสู่ความคิดของผู้นำประเทศฝรั่งเศลที่ล่าอาณานิคมแข่งกับประเทศอังกฤษ โดยพยายามเข้ามามีอิทธิพลในจีนเพื่อต่อต้านอังกฤษ เพื่อลดการปัญหาของการเผชิญหน้าในสมัยนั้นวิธีการคือฝรั่งเศสส่งผู้แทนทางการค้าไปค้าขายในเวียดนามก่อน เมื่อเรียนรู้วิถีชีวิตบุคลิก นิสัยใจคอของผู้คนในเวียดนามและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในดินแดนของเวียดนามและลาว ยุทธวิธีการทำสงครามและอาวุธยุทโธปกรณ์ของประเทศ ๆ เมื่อรู้จุดอ่อนจุดแข็งของผู้นำประเทศหาทางยึดอำนาจของประเทศเหล่านั้น โดยศึกษาอำนาจทางการเมืองของผู้นำประเทศและนโยบายของประเทศนั้น ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเกิดการต่อสู้กับอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งสิทธิในการใช้อำนาจทางกฎหมายนำไปสู่สงคราม หลังจากยึดเวียดนามได้แล้ว ฝรั่งเศสสามารถตั้งแทนทางการค้าไว้ที่เมืองท่าแขก ฝรั่งเศสได้ยกกองทัพมายึดเมืองนี้เป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส เมืองศรีโคตรบูรณ์จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองท่าแขกเพราะเป็นเมืองที่ชาวต่างประเทศมาขึ้นฝี่งที่ท่าน้ำมากที่สุดประเทศฝรั่งเศสจึงเจริญก้าวหน้าทางความคิดและสามารถผลิตอาวุธได้ทันสมัยกว่าคนในท้องถิ่น จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะยึดภูมิภาคนี้  แม้จะไม่มีกำลังพลจำนวนมากก็ตาม.  

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ