The Metaphysical problems about the ancient state of Bagan

บทนำ
ในการศึกษาปัญหาของอภิปรัชญาเกี่ยวกับความเป็นจริงของมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ตามแนวคิดอภิปรัชญานั้น ความจริงจะถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท กล่าวคือ
๑. ความเป็นจริงที่สมมติ (fictitious reality) โดยทั่วไป มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติรอบตัว อาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไปในอากาศ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านั้นจะหายไปจากสายตาของมนุษย์ มนุษย์สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมเหล่านี้ได้ผ่านอายตนะภายในร่างกายตัวอย่างของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม เป็นต้น เมื่อมนุษย์รับรู้สิ่งเหล่านี้แล้ว พวกเขาก็จะเก็บเรื่องราวต่าง ๆของปรากฏการณ์เหล่านั้นไว้เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ อย่างไรก็ตาม จิตใจของมนุษย์ไม่เพียงรับรู้และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นอารมณ์ในจิตใจเท่านั้น แต่ยังมีธรรมชาติของการเป็นนักคิดอีกด้วย เมื่อรับรู้สิ่งไหน จิตใจก็จะคิดจากสิ่งนั้น เป็นต้น
ตัวอย่างเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นได้แก่ เหตุการณ์ที่นักเรียนยิงกันในโรงเรียน คนเหยียบกันตายในสนามฟุตบอล และคนถูกหลอกให้เล่นแชร์จนเสียหายนับสิบล้านบาท เป็นต้น เมื่อจิตใจมนุษย์รับรู้สิ่งเหล่านี้ พวกเขาก็จะเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ของเหตุการณ์ทางสังคมเหล่านั้น ไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ แต่อย่างไรก็ตาม จิตใจของมนุษย์ไม่่เพียงรับรู้และเก็บหลักฐานต่าง ๆ เท่านัั้น แต่ยังมีธรรมชาติของการเป็นนักคิดอีกด้วย เมื่อรับรู้สิ่งไหน จิตใจก็จะคิดจากสิ่งนั้น เป็นต้น
เมื่อธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์ชอบปรุงแต่ง (คิด) จากหลักฐานทางอารมณ์ต่าง ๆ โดยวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอนุมานความรู้หรือการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล เมื่อความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไปในอากาศ ถือว่าเป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัสเท่านั้น ตัวอย่างเช่น อาณาจักรพุกามในสมัยโบราณเป็นชุมชนการเมืองที่ชาวพุกามรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งรัฐอิสระ ที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเองภายใต้ระบอบสัมบูรณาญาสิทธิราชย์ ชาวพุกามโบราณเชื่อในคำสอนของพุทธศาสนามหายานมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อาณาจักรพุกามถูกทำลายและเสื่อมสลายตามกฎของธรรมชาติเพราะถูกยึดอำนาจอธิไตยไป
ดังนั้น อาณาจักรพุกามโบราณ จึงเป็นชุมชนการเมืองที่ก่อตั้งโดยชาวพุกามซึ่งเกิดมาเป็นรัฐอิสระ ดำรงอยู่เป็นรัฐอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วเสื่อมสลายไปตามกฎของธรรมชาติ ตามหลักปรัชญา ถือได้ว่าการดำรงอยู่ของอาณาจักรพุกามโบราณ ถือเป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ อาณาจักรพุกามโบราณจึงเป็นความจริงสมมติ เป็นต้น
๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ (ultimate truth) คือ ความจริงขั้นสูงสุดและลึกซึ้งที่สุดที่ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้ยาก เป็นความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัส
โดยทั่วไป มนุษย์ไม่สามารถรู้ความจริงสูงสุดได้ด้วยตนเอง เนื่องจากอายตนะภายในร่างกายของมนุษย์ มีความสามารถจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ มนุษย์มีอคติต่อผู้อื่น ซึ่งทำให้ชีวิตมืดมนเพราะขาดปัญญาหยั่งรู้ จึงไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ จะสามารถสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหาความรู้เกี่ยวกับความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่านักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความรู้ซึ่งเป็นความจริงขั้นปรมัติได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้พบหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯว่า พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงได้พัฒนาศักยภาพชีวิตตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณในระดับอภิญญา ๖ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ เช่น สภาวะนิพพานของมนุษย์ ผู้ที่หยั่งรู้ความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ต้องเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้น ในการพัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ตามอริยมรรคมีองค์ ๘ พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงใช้เวลาหลายปีกว่าจะบรรลุความจริงในระดับอภิญญาทั้ง ๖
ในปัจจุบัน แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นมาได้ก็ตาม เพื่อช่วยให้มนุษย์ค้นพบความจริงเกี่ยวกับ"เชื้อโรค" โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ พวกเขาจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานดังกล่าว แต่สุดท้ายแล้ว จิตใจของมนุษย์จะเป็นฝ่ายคิดหาเหตุผล เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบอย่างสมเหตุสมผล ตามหลักฐานที่มีอยู่ จิตใจมนุษย์จะใช้ผลของการวิเคราะห์นั้น มาวินิจฉัยและพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับการรักษาโรคต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น ๆ ต่อไป เป็นต้น
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณ เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานตามเว็บไซต์ต่าง ๆและแผนที่โลกของกูเกิล ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าอาณาจักรพุกามโบราณ (Bagan kingdom) เป็นชุมชนการเมืองที่ถือกำเนิดขึ้นและชาวพุกามโบราณได้ก่อตั้งอาณาจักรพุกามโบราณขึ้นในปี พ. ศ. ๑๓๙๒ โดยรักษาเอกราชไว้ได้ ๕๘๘ ปี และอาณาจักรพุกามโบราณก็เสื่อมลงตามกฎธรรมชาติ เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของอาณาจักรพุกามโบราณถูกกองทัพมองโกลเลียยึดอำนาจอธิปไตยไปครองในปี พ. ศ. ๑๘๔๐ เป็นต้นมา เมื่ออาณาจักรพุกามโบราณมีสภาวะการมีอยู่เกิดขึ้น ก็ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงเสื่อมลงไป ตามหลักอภิปรัชญาแล้ว เมื่ออาณาจักรพุกามโบราณเป็นความจริงที่สมมติขึ้น
ดังนั้น เราจึงสามารถศึกษาความจริงเกี่ยวกับรัฐพุกามโบราณตามแนวคิดทางปรัชญาได้ เพราะ การมีอยู่ของอาณาจักรพุกามโบราณเป็นเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ดำรงเอกราชอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไปตามกฎแห่งธรรมชาติ ในการศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณ ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า อาณาจักรพุกามโบราณเป็นรัฐเอกราชโดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ มีขอบเขตที่ชัดเจนของอาณาจักรพุกามโบราณ เป็นชุมชนการเมืองที่มีประชากรหนาแน่น มีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ชัดเจนในการปกครองประเทศ และศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ชาวพุกามนำความรู้ทางพุทธศาสนามาสร้างอารยธรรมของตนเองเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต
แม้ว่าอาณาจักรพุกามจะสูญเสียอธิปไตยไปเมื่อกว่า ๑,๕๐๐ ปีแล้ว แต่อาณาจักรพุกามโบราณก็ได้ทิ้งหลักฐานเจดีย์โบราณหลายพันองค์ไว้ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกและได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติหรือยูเนสโก (Unesco) ว่าเป็นความจริงอันเป็นที่สุด เพื่อแสดงหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองของการดำรงอยู่ของอาณาจักรพุกามโบราณแห่งนี้ และเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า โดยที่พระพุทธองค์ทรงสอนชาวพุกามให้พัฒนาศักยภาพชีวิตให้เข็มแข็งด้วยการทำสมาธิ จนกว่าจิตใจจะผ่องใสปราศจากอคติ จิตใจก็ไม่ขุ่นมัว มีบุคคลิกอ่อนโยนเหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม จึงมั่นคงในอุดมคติของชีวิตและไม่ลังเลในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น เพื่อความมั่นคงของอาณาจักรพุกามและประชาชนมีความสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมาย มันได้กลายเป็นวัฒนธรรมแห่งชีวิตที่งดงาม เมื่อชาวพุกามมีความทุกข์ใจก็จะไปที่เจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอพรจากพระพุทธเจ้า เพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุความหวังในชีวิตและกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งความทรงจำที่ดีมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อโลกปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่นักวิทยาศาสตร์พัฒนาทักษะชีวิต และการทำงานที่ช่วยให้สามารถสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้ ที่สนองความต้องการของมนุษย์มากกว่าวิทยาศาสตร์สมัยในด้านอื่น ๆ ช่วยให้มนุุษย์สะดวกสบายมากขึ้นกว่าเดิม จนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า "อินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์ม" เพื่อให้พื้นที่แก่ผู้คนทั่วโลกศึกษาและหาความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณ เมื่อนักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางมาท่องเที่ยวในอาณาจักรพุกามโบราณ และจะเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านเพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมชาวพุทธและนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเยือนอาณาจักรแห่งนี้
นี่เป็นความจริงที่สมมติขึ้นมาที่ผุดขึ้นมาจากจิตใจของชาวพุกามเอง แม้ว่าอาณาจักรพุกามจะเป็นความจริงที่สมมติขึ้น และอยู่ภายใต้อำนาจของกฎแห่งธรรมชาติที่เกิดขึ้น ซึ่งดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายตามกฎไตรลักษณ์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ภูมิปัญญาของชาวพุกามโบราณ กลับไม่เสื่อมสลายไปตามกฎของธรรมชาติ แม้ว่าจิตวิญญาณของชาวพุกาม จะกลับชาติมาเกิดในโลกมนุษย์หลายร้อยครั้ง แต่จิตวิญญาณของชาวพุกามยังคงสั่งสมภูมิปัญญาไว้เป็นสัญญาในใจตลอดไป ทะเลแห่งพุทธสถูปเหล่านี้ จึงเป็นภูมิปัญญาที่สามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับชาวพุกามได้ ในฐานะเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมของโลกแห่งนี้
เมื่อผู้คนนับล้านทั่วโลก มาสักการะเจดีย์นับหมื่นองค์ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละวรรณะของกษัตริย์ เพื่อทรงผนวชเป็นพระโพธิสัตว์แม้ว่าพระองค์จะทรงเสียสิทธิ และหน้าที่ในการปกครองประเทศไปตลอดชีวิตเพื่อใช้เวลาศึกษา และค้นคว้าความจริงของชีวิตมนุษย์ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ของตน ตามวรรณะที่ตนเกิดมา ตามคำสอนของพราหมณ์อารยันและกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ซึ่งห้ามการแต่งงานระหว่างวรรณะ เมื่อได้ตรากฎหมายแล้ว ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายนั้น ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เมื่อมนุษย์มีตัณหาราคะและมีชีวิตอ่อนแอ จึงไม่มีสติปัญญาที่จะยับยั้งจิตใจของตนเอง
ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะจึงเกิดขึ้น คนในสังคมจึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและลงโทษด้วยการถูกไล่ออกจากถิ่นที่เคยอยู่มาตลอดชีวิต ต้องอยู่อย่างคนเร่ร่อนตามท้องถนนในเมืองใหญ่ เช่น พระนครกบิลพัสดุ์ และพระนครเทวทหะ เป็นต้น เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรพุกามโบราณ ทำให้ชาวพุกามได้เรียนรู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ จะขัดเกลากิเลสในจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากอคติ และอารมณ์ขุ่นมัว สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ด้วยสติและปัญญาของตนเอง และรักษาเอกราชของอาณาจักรพุกาม มาเป็นเวลาหลายร้อยปี ก่อนที่อาณาจักรพุกามโบราณ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกฎไตรลักษณ์ (trinity rule) ซึ่งมีคุณลักษณะร่วมกัน ๓ ประการคือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์และความไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะความประมาทเลินเล่อในชีวิตของชาวพุกามที่ไม่มั่นคงในอุดมการณ์รักษาชาติ พระพุทธศาสนา และมหากษัตริย์ เป็นต้น
แม้คำสอนทางพระพุทธศาสนาจะสอนให้เราไม่ยึดติดเหตุการณ์ในอดีต เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรในอดีตได้อีก ต่อไป แต่มันเป็นบทเรียนที่มนุษย์ควรเรียนรู้และเข้าใจว่าเมื่ออาณาจักรพุกามเป็นสิ่งไม่เที่ยง ส่วนตัวเราเองก็ไม่เที่ยงเช่นกัน เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปยังอาณาจักรพุกามโบราณ (Ancient Bagan) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองมัณฑเลย์ เหตุผลที่ผู้เขียนตัดสินใจไป ก็เพราะเป็นการแสวงบุญครั้งแรกที่เมืองโบราณแห่งนี้ ผู้แสวงบุญส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์กลุ่มใหญ่ จึงไม่รู้สึกเก้อเขินแต่อย่างใด ผู้เขียนเป็น Blogger ที่ต้องการเขียนเรื่องราวใหม่ ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในพม่าบนอินเตอร์เน็ตไว้ เพื่อให้ผู้เขียนได้อ่านเอง
การเขียนฺบทความเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา ทำให้เราตระหนักถึงจุดอ่อนของเราไม่ว่าจะมีความรู้น้อยหรือมากในเรื่องนั้น ที่เราสามารถถ่ายทอดเป็นตัวอักษรลงบนกระดาษดิจิทัล หากเรามีความรู้มากก็ถ่ายทอดข้อความที่ไหลออกมาจากจิตใจของเรา เหมือนแม่น้ำคงคาที่ไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัยที่ไม่เคยเหือดแห้ง ผู้เขียนแทบจะไม่ละสายตาจากข้อความนั้น ถ้าเรามีความรู้น้อย ก็ไม่รู้จะเริ่มเขียนอย่างไร ? เพราะเรายังไม่รู้วิธีสร้างประเด็น (คอนเท็น) ของหัวข้อ โดยเฉพาะการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบหลายครั้ง จนกว่าจะมั่นใจว่าเป็นความรู้แท้จริงและมีความสมเหตุผลที่ถูกต้อง
ในการศึกษายุคใหม่นักศึกษา จะอ่านหนังสือเรียนเพียงเล่มเดียวไม่เพียงพอเพราะทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทุก ๆ วัน มีคนนับล้านแบ่งปันความรู้ผ่านเวปไซด์ ให้เราอ่านและศึกษาด้วยตนเอง ในเวลากลางคืน ผู้คนในประเทศของเรากำลังหลับใหล ท้องฟ้าในซีกโลกตะวันตกสว่างไสว ผู้คนกำลังทำงาน วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสนใจ และแบ่งปันความรู้นั้นทางออนไลน์ ความคิดของเราอาจเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้วก็ได้

การเขียนบทความเชิงปรัชญาเป็นการเสนอประเด็นทางสังคมที่น่าศึกษาในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศของเราและเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้มีส่วนในการสร้างอารยธรรมของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรือง และก้าวหน้าเป็นยอมรับของคนทั่วโลกในการศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณที่ตั้งอยู่ในสหภาพเมียนมาร์มีลักษณะของความเป็นรัฐหรือไม่ ? ในการวิจัยลักษณะของรัฐ จะต้องมีองค์ประกอบของประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตของรัฐนั้น ดินแดนของรัฐนั้นต้องมีอาณาเขตที่แน่นอน มีรัฐบาลของตนเองในการบริหารงานของรัฐ และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองในการปกครองรัฐ เป็นต้น ดังนั้นความเป็นรัฐพุกามโบราณ จะต้องมีองค์ประกอบด้วย
๑.ประชาชนชาวพุกาม เมื่อผู้เขียนศึกษาเกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณ จากหลักฐานในเว็บไซต์ต่างๆ และเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ได้ยินข้อเท็จจริงว่าชาวพุกามมิใช่คนมอญ พวกเขามีเชื้อสายของเผ่า"มรัมมะ (Mramma)" ที่สืบเชื้อสายจากชาวธิเบตและดราวิเดียนซึ่งพากันอพยพมาจากประเทศจีน และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยเฉพาะรัฐพิหารมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนพุกามโบราณ สาเหตุของการอพยพของชาวมรัมมะ น่าจะเกิดจากความเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในชมพูทวีป ได้เสื่อมศรัทธาลงและแนวคิดทางศาสนาฮินดูเริ่มครอบงำจิตใจของผู้คน มหาราชาผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ นับถือศาสนาฮินดูและมีการตั้งค่าหัวในการฆ่าพระภิกษุในพระพุทธศาสนาไว้หลายรูป ทำให้ชาวพุทธเกรงกลัวภัยที่จะมาถึงตน จึงพากันอพยพมาไปอยู่ดินแดนตอนกลางที่แห้งแล้ง และล่องเรือติดตามมาจนถึงลุ่มน้ำอิรวดีพวกมธัมมมะก่อตั้งอาณาจักรพุกามในดินแดนประเทศพม่า
๒.อาณาเขตของอาณาจักรพุกามโบราณ (ancient Bagan) เป็นเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์พม่า เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในแผนที่โลกกูเกิล (google world map) ในสหภาพเมียนมาร์ ผู้เขียนพบคำว่า"พุกาม"(หรือBagan)อยู่ในเขตมัณฑเลย์ ตอนกลางของสหภาพเมียนมาร์ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี (Irrawaddy River)ผู้คนจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานและกลายเป็นชุมชนทางการเมืองของอาณาจักรพุกามโบราณมากว่าสองร้อยปี แต่เป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากที่สุดของสหภาพเมียนมาร์ เมืองพุกามเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรพุกามมาประมาณ ๓๐๐ ปี เมื่อเวลาหลายร้อยปีก่อน ที่ชนเผ่ามรัมมะได้อพยพจากเหนือของจีนและธิเบต เข้ามาตั้งรกรากในที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีและก่อตั้งอาณาจักรพุกามโบราณภายใต้กษัตริย์ปกครองตนเอง
ดังนั้น เมื่อได้ก่อตั้งอาณาจักร"พุกามโบราณ" เป็นชุมชนทางการเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดีมีเมืองหลวงชื่อพุกาม และมีพระมหากษัตริย์ ๕๕ พระองค์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยปกครองอาณาจักรพุกามโบราณ ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราษฎร์มีภาษาเป็นของตนเองประชาชนนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยใช้คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแนวคิดในการดำเนินชีวิตประจำวันของตน หลังจากที่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเสื่อมลง เมื่อแนวคิดของผู้คนในอาณาจักรพุกามโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก เพราะความคิดมนุษย์นั้น ไม่เที่ยงเพราะทุกคนปรารถนาชีวิตที่ดีกว่าเดิมแต่ยังยึดติดในโลกธรรม ๘ จึงมีการสร้างพระเจดีย์ขึ้นในวัดหลายพันแห่ง เพื่ออามิสบูชาแก่โคตมะพระพุทธเจ้า เพื่อให้ชีวิตตนสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาอาณาจักรพุกามโบราณนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งสหภาพเมียนมาร์ในยุคปัจจุบัน และดำรงเอกราชของตนอยู่ระหว่างปี พ.ศ.๑๕๘๗ จนกระทั่ง พ.ศ.๑๗๓๐ เป็นต้น
๓.อำนาจอธิปไตย อาณาจักรพุกามถูกปกครองโดยพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงในการปกครองประเทศ เนื่องจากมีประชากรน้อยมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน มีประชากรนับแสนคน พระเจ้าอนุรุทธหรือพระเจ้าอโนรธามังช่อทรงเป็นกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งอาณาจักรพุกามโบราณ ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน และส่งเสริมการอุปถัมถ์พระพุทธศาสนานิกายมหายานให้ประดิษฐานอย่างมั่งคงในอาณาจักรพุกาม ส่งผลให้มีเจดีย์นับพันองค์ถือกำเนิดในอาณาจักรพุกามจวบจนทุกวันนี้
๔.การปกครองในอาณาจักรพุกามโบราณ สถานบันพระมหากษัตริย์ มีทำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารอาณาจักรพุกามโบราณ ปัจจุบัน พระราชวังโบราณได้รับการอนุรักษ์ไว้ในเมืองพุกามโบราณ เป็นอนุสรณ์สถานที่รำลึกถึงเหตุการณ์การปกครองในยุคนั้นเป็นอย่างดี สะท้อน ถึงความไม่ประมาทในชีวิตตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในการปกครองบ้านเมือง ความเชื่อของชาวมรัมมะที่ศรัทธาพระพุทธศาสนานิกายตันตระ และศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทไปพร้อม ๆ กัน โดยอาศัยความเชื่อจากคำสอนของอาจารย์ที่ว่าชีวิตมนุษย์สามารถบรรลุความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ โดยอาศัยฤทธิ์อำนาจของพระอริยเจ้าเท่านั้น มาช่วยดลบันดาลให้ตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตได้ แต่สิ่งเหล่านั้นคือ ความคิดเท่านั้น แต่ความจริงของชีวิตก็คือ มนุษย์ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยตนเองด้วยการลงมือกระทำทุกอย่างด้วยตนเองทั้งสิ้น ไม่มีใครสามารถช่วยเหลือใครได้

ในยุคแรก ๆ คนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนพม่าคือชาวมอญ ซึ่งมาถึงก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อประมาณ๒๔๐๐ ปีที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมชาวมอญได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการดำรงชีวิตด้วยความหวังที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น ตามอิทธิพลของคำสอนทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่พระธรรมทูตสายต่างประเทศโมริยะในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงตัดสินใจส่งพระธรรมทูต ๙ สาย ไปเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าไปยังทิศต่าง ๆ ส่วนสายที่ ๘ คือพระโสนะและพระอุตตร ถูกส่งมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิหมายถึงดินแดนมอญ ไทย พม่า
ส่วนตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ คำว่า "สุวรรณภูมิ" หมายถึง ดินแดนแหลมทองซึ่งเชื่อกันว่ามีอาณาบริเวณครอบคลุม พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลยเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น การเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐสุวรรณภูมิโดยพระธรรมทูตสายต่างประเทศของอาณาจักรโมริยะในสายที่ ๘ เริ่มต้นด้วยการเดินทางจากเมืองหลวงปัฏตาลีบุตรออกสู่ทะเลที่เมืองท่าของแคว้นกลิงค (galingga country) เพื่อขึ้นเรือสินค้าขนาดใหญ่ไปตามเส้นทางการค้าโบราณโดยเรือ เดินทางข้ามทะเลอันดามันไปตามเส้นทางการค้าโบราณไปสู่ริมฝั่งตะวันตกของเมืองมะริดซึ่งเป็นรัฐมอญปัจจุบัน ส่วนการเดินทางโดยทางบกจากอินเดียไปทางตอนใต้ของประเทศพม่า ในขณะนั้นยากเพราะเส้นทางสายไหมไปจีน ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิเปอร์เชีย จึงไม่ปลอดภัยที่จะเดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามเส้นทางสายไหมชาวมอญส่วนใหญ่ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองท่าทางใต้ของพม่า
เมื่อผู้เขียนพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าอาณาจักรพุกามเป็นรัฐที่อำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง มิได้เป็นประเทศราชหรืือเมืองขึ้นของประเทศใด เป็นชุมชนทางการเมืองที่จัดตั้งขึ้นโดยชาวมรัมมะมีอาณาเขตแน่นอนตั้งอยู่ตอนกลางของสหภาพเมียนมาร์ในปัจจุบัน มีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครอง โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกฎหมาย, อำนาจบริหารในการปกครองประเทศเช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น และอำนาจตุลาการในการพิจารณาและตัดสินอรรถคดีทั้งปวงในอาณาจักรพุกาม เป็นต้น
เมื่อศึกษาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพม่าแล้ว รัฐสุวรรณภูมินั้น คงได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทผ่านมอญเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนอิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถรวาทจากศรีลังกา น่าจะมีขึ้นหลังจากพม่ากับไทยประกาศสงครามเป็นศัตรูกันบ่อยครั้ง ในสมัยอยุธยา จึงไม่่มีอิทธิพลทางความเชื่อในพระพุทธศาสนาที่มีต่อกัน เนื่องจากการตรวจสอบข้อเท็จ และรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับเจดีย์โบราณนั้น จะค้นพบในประเทศพม่ามากกว่าในประเทศไทย เพราะ ชาวพม่เชื่อว่า สร้างพระเจดีย์ขึ้นเพื่อให้คนกราบไหว้บูชาแล้วชีวิตจะจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งอย่างเดียว และไม่เสื่อมคลาย
นอกจากนี้เมื่อพม่าทำสงครามกับราชอาณาจักรอยุธยาบ่อยครั้ง จึงนิยมสร้างพระเจดีย์เพื่อความเจริญรุ่งเรืองเป็นนิจ ส่วนคนไทยนิยมสร้างพระพุทธรูปไว้ในวัด โดยเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตมีชัยเหนือมารและอุปสรรคทั้งปวง เมื่อสิ้นชีวิตไปก็ไม่สูญเปล่าเพราะจิตวิญญาณยังต้องไปจุติในสุคติโลกสวรรค์ ส่วนการสร้างวัดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าเมื่อตนตายไปแล้วจิตก็จะไปจุติจิตในโลกสวรรค์เช่นกัน จึงมีการสร้างวัดมากมายตามเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่าที่กล่าวไว้ เมื่อพระพุทธศาสนามหายานเผยแผ่มาสู่อาณาจักรพุกาม จึงมีการสร้างเจดีย์หลายพันองค์ขึ้นทุกแห่งในตัวเมืองพุกามโบราณ อาณาจักรพุกามโบราณที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณมัณฑะเลย์ ซึ่งอยู่ตรงกลางของประเทศพม่าในปัจจุบัน พื้นที่อาณาจักรพุกามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญของประเทศพม่า
เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานของแผนที่โลก พบว่าอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองมากทั้งทางวัตถุ และจิตใจของชาวพุกาม มีการสร้างเจดีย์ไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ แห่งเพื่อใช้บรรจุสิ่งที่ควรเคารพบูชาส่วนใหญ่ คือ พระพุทธรูปปางชนะมารหรือปางตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ กล่าวคือชีวิตของมนุษย์จะต้องเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับสิ้น ไปจุติจิตในภพต่างๆ มีภพภูมิถึง ๓๑ ภพตามเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาททั่วอาณาจักรพุกาม มีสร้างปรักหักของโบราณวัตถุที่ได้รับการบูรณะไม่ต่ำกว่า ๒๐๐๐ วัดด้วยกัน
ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้น ในปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณนั้น เมื่อวิเคราะห์พยานเอกสาร(documentary evidence) และพยานวัตถุ (material evidence) จากแหล่งโบราณคดี ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่า อาณาจักรพุกามโบราณเป็นชุมชนทางการเมืองที่ก่อตั้งโดยชาวพุกาม อาศัยอยู่ในดินแดนที่กำหนดไว้ชัดเจนในพม่าตอนกลาง มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง มีกษัตริย์หลายพระองค์ ทรงทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ปกครองอาณาจักรพุกามโบราณ มาหลายร้อยปี ก่อนที่อาณาจักรพุกามโบราณจะล่มสลาย เมื่ออาณาจักรพุกามโบราณเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่มาหลายร้อยปี แล้วเสื่อมลงตามกฎธรรมชาติ เช่นเดียวกับชีวิตมนุษย์ เมื่อความคิดของมนุษย์ไม่เที่ยง เพราะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงเป็นความประมาทเล่นเล่อของชาวพุกามเอง ที่ไม่ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะรักษาชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณ จึงเป็นความรู้ในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ จึงถือเป็นความจริงที่สมมติขึ้น
1 ความคิดเห็น:
ท่านพระอาจารย์ ผศ. ดร. เขียนบล็อกได้ดีมากๆ ครับ อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากเลยครับ เช่น เมืองพุกาม เป็นเมืองที่มีเจดีย์มาก ตั้งอยู่ในประเทศพม่า หรือเมียนม่าร์ นับได้ว่าเป็นเมืองมรดกโลกที่ ยูเนสโก ประกาศ พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในสมัยการทำสังคายนาตรั้งที่ ๓ ที่ประเทศอินเดีย โดยมีพระอุตฺตรและพนะโสณะเป็นพระภิษุที่ได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ นะครับ
แสดงความคิดเห็น