Introduction to the ancient Bagan kingdom according to Buddhaphumi's philosophy
๑.บทนำ

ในระหว่างปีค.ศ.๒๐๐๒-๒๐๑๑ ผู้เขียนอาศัยอยู่ในเขตพาราณสี (Varanasi city) รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียเป็นนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู เมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เป็นเวลาหลายปี พระพุทธเจ้าทรงยกย่องเมืองพาราณสีเป็นสังเวชนียสถานแห่งที่๓เพราะเป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ส่งให้พระรัตนตรัย ๓ ประการเกิดขึ้นคือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ เมื่อผู้เขียนตรวจสอบแผนที่โลกของกูเกิลแลังได้ยินข้อเท็จจริงว่า dhamek stupa ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนานั้น ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู ซึ่งผู้เขียนศึกษาและพักอยู่อาศัยในเมืองพาราณสีประมาณ ๑๗.๗ กิโลเมตร ผู้เขียนจึงมีโอกาสเดินทางไปแสวงบุญที่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งปีละหลายครั้ง
แต่ในประเทศพม่า ผู้เขียนมีโอกาสไปแสวงบุญเพียงสามครั้งเท่านั้น ในการแสวงบุญครั้งที่ ๓ คือไปศึกษาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม ณ เมือง มัณฑะเลย์โบราณในภาคกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ความรู้เี่ยวกับเมืองมัณฑะเลย์โบราณ จึงเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้เขียน เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยเดินทางไปศึกษาประวัติศาสตร์ของอาณาจักรพุกามโบราณมาก่อน การได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาณาจักรพุกามโบราณทำให้ผู้เขียนสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสำรวจแนวความคิดทางพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของชาวพุกาม เนื่องจากผู้เขียนมีความสงสัยว่า ทำไมชาวพุกามจึงสร้างเจดีย์สวยงามหลายพันองค์ ที่สูงตระหง่านจนสุดฟ้า และมีคุณค่าสำหรับการศึกษาด้านวิญญาณ การสร้างเจดีย์แต่ละองค์ขึ้นอยู่กับความเชื่อของผู้คนในทุกยุคทุกสมัย
ชาวพุกามต้องการอะไรจากการสร้างเจดีย์ในพระพุทธศาสนา ? แม้ภายหลังพุทธศาสนิกชนจะเสื่อมศรัทธาเพราะติดในโลกธรรม๘ ในเมื่อการกระทำของมนุษย์เป็นความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลแต่เจดีย์นับพันองค์ก็สร้างโดยความคิดเป็นเหตุเป็นผลของคนเช่นกันนั่นคือภูมิปัญญาของชาติในการสร้างเจดีย์ที่รัฐบาลพม่าควรอนุรักษ์ไว้ เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาที่สร้างเจดีย์โบราณไว้ในพระพุทธศาสนานั้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้คนทั่วโลกมาเยี่ยมชมและสร้างรายได้ให้กับชาวพุกามนำเนื้อหาของเรื่องนี้ไปเผยแผ่ให้ผู้คนได้เรียนรู้และเข้าใจชีวิตตามกฎธรรมชาติ การสร้างเจดีย์นับพันองค์ในพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาค้นคว้า ไม่มีอะไรน่าสนใจในโลกนี้ มากไปกว่าชีวิตของผู้คนที่มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา และเดินทางข้ามเวลาในวัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่ที่ไม่สิ้นสุด
ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อความรู้ที่แพร่กระจายผ่านเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ส่วนบุคคลที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อตอบสนองทุกความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ มนุษย์จึงสนใจเรืองราวบนอินเตอร์เน็ตมากกว่าคนรอบข้าง ภาพถ่ายเจดีย์ของวัดหลายล้านภาพในเมืองพุกามโบราณ ที่นักท่องเที่ยวแชร์ภาพถ่ายบนอินเตอร์เน็ต ถือเป็นหลักฐานเพิ่มเติมของประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และมีการแบ่งปันความคิดเห็นนับล้านข้อความบนอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับเจดีย์โบราณนับพันแห่งในอาณาจักรพุกามโบราณ เมื่อผู้คนทั่วโลกเข้ามาค้นคว้าข้อมูลบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตก็ได้กระตุ้นความสนใจของพวกเขา ถูกเชิญโดยปริยายมาเยี่ยมชมเจดีย์อันงดงามแห่งอาณาจักรพุกามโบราณแห่งนี้
เมื่อเจดีย์เหล่านี้ยังเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธหลายร้อยปี ต่อมาเจดีย์เหล่านี้ถูกเรียกว่า "โบราณสถาน" และรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ได้เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมซึ่งเป็นมรดกของชาติ เพื่อสร้างงานและอาชีพให้กับเจ้าของศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ทางวัตถุ จะได้เห็นรอยยิ้มของชาวพุกามที่ค้นพบความสงบในใจด้วยการสวดมนต์ที่วัดพุทธ เพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้มี ศรัทธาในนคำสอนของพระพุทธเจ้า มีความเพียรในการทำสมาธิ มีสติระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา มีสมาธิในการปฏิบัติธรรม และ มีปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิต มีจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากอคติ จิตใจที่ไม่ขุ่นมัว และมีบุคลิกอ่อนโยนไม่หยาบคาย มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหวกับปัญหาหนักในชีวิต การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นที่พึ่งแห่งความสงบโดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยและเหตุผลมากมาย เพื่ออธิบายความจริงของคำตอบเพื่อทำความเข้าใจชีวิต การบูชาเจดีย์นับพันองค์ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชา จะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชีวิตของชาวพุกาม และสร้างรายได้มหาศาลให้กับชาวพุกามในท้องถิ่น เป็นต้น

การสร้างศาสนสถาน (Buddhist Place)เช่น เจดีย์(Stupa)ถือเป็นศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธา ไม่ใช่การลงทุนที่สิ้นเปลือง เพราะเมื่อทำบุญกิริยาวัตถุไปแล้ว อารมณ์แห่งบุญจะสั่งสมอยู่ในจิตใจโดยห่อหุ้มจิตใว้เช่นนั้น เมื่อมนุษย์ตายไปวิญญาณของพวกเขาก็จะไปเกิดในสุคติภูมิที่ดี ส่วนพุทธสถานจะกลายเป็นโบราณสถาน ที่บ่งบอกคุณค่าของภูมิปัญญาของคนแต่ละยุคแต่ละสมัย และกลายเป็นพุทธศิลป์ ที่เชิญชวนให้ผู้คนมาเยี่ยมชม เช่น เจดีย์หลายพันองค์ที่เมืองมัณฑะเลย์โบราณ สร้างขึ้นจากพุทธประวัติ ทำให้พุทธศิลป์ที่น่าสนใจและควรศึกษาอย่างยิ่ง การที่ผู้คนอาศัยอยู่ในโลกแห่งการเดินทางที่สะดวกสบาย การเร่งรีบในการทำงานและมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ความเบื่อหน่ายกับชีวิตและภาวะซึ่มเศร้าได้ การสร้างศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา เช่น เจดีย์หลายพันองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาถือเป็นบุญกุศลประการหนึ่งของชีวิต เมื่อตายไปแล้วจิตวิญญาณจะไปเสวยความสุขในโลกสวรรค์
เมื่อเวลาผ่านไปกว่า๒,๐๐๐ ปีแล้ว เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้เขียนเดินทางจากราชอาณาจักรไทย ไปยังดินแดนแห่งอาณาจักรพุกามโบราณ ตลอดเส้นการเดินทางจากสนามบินนานาชาติมัณฑเลย์ไปสู่เมืองมัณฑเลย์โบราณ ผู้เขียนมองเห็นว่าดินแดนแห่งรัฐโบราณแห่งนี้ เคยอุดมสมบูรณ์เพราะมีแม่น้ำอิระวดีไหลผ่าน ดินแดนนี้มีความแห้งแล้งไม่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เมื่อผู้เขียนคิดย้อนกลับไปเมือ ๑๕๐๐ ปีที่แล้ว ภาคกลางของพม่ายังคงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติจากแม่น้ำอิรวดี เลี้ยงคนนับล้านและปลูกข้าวก็เพียงพอแล้ว มีเวลาพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของจิตวิญญาณมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ทำให้ผู้คนรู้จักวิธีชำระล้างจิตวิญญาณ ให้หายจากความปรารถนาอันน่าเศร้าหมองและหดหู่ที่จำกัดชีวิตของพวกเขา แต่พบความสงบสุขในดินแดนที่แห้งแล้งเพราะการฝึกจิตช่วยให้พวกเขาพอใจกับตัวตนของตน และหวังว่าจะบรรลุเป้าหมายชีวิตได้
วิถีชีวิตของชาวพม่าแม้ว่าสถานะทางเศรษฐกิจ จะไม่สูงเท่ากับตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่การได้เห็นชาวพุทธพม่ายังคงมีรอยยิ้มแห่งความสุขในจิตวิญญาณ ที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้ เพราะความสุขนั้นพบได้ที่ใจ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอะไรเพื่อทำให้ชีวิตของพวกเขามีความสุขได้ แต่การเดินทางไปประเทศพม่าครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนได้รับความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจ ความรู้เกี่ยวกับพม่าที่เคยมีอยู่ในมุมแคบ ๆ ก็หายไปเกือบหมดสิ้น เมื่อผู้เขียนไม่เคยมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรงเกี่ยวกับพม่า แต่ได้รับรู้ผ่านภาพถ่ายและข้อความคิดเห็นที่เขาแชร์ทางออนไลน์เป็นภาษาพม่าเท่านั้น ดังนั้น ความรู้ทางอินเตอร์เน็ตไม่สมบูรณ์เพราะมีแต่ภาพถ่ายและวีดีโอเท่านั้น พวกเรายังไม่เคยสัมผัสกลิ่นอายธรรมชาติของทะเล ภูเขา ท้องทุ่ง ฯลฯ เสียงของผู้คนและสิ่งรอบตัวแต่อย่างใด เป็นต้น การเดินทางสู่อาณาจักรพุกามโบราณ ทำให้ชีวิตของเราได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวพุกามโดยตรง ทำให้จิตใจที่เคยอคติมาก่อนมีทัศนะคติต่อชาวพม่าดีขึ้น การศึกษาพระพุทธศาสนาในดินแดนพุกาม ซึ่ออยู่ใกล้กับสาธารณรัฐอินเดียมากกว่าประเทศไทย จะช่วยให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวิถีชีวิตของชาวพุทธในพุกาม นั่นคือมีความรู้มากขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนสนใจที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับรัฐพุกามโบราณ (the ancient Bagan kingdom) โดยจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้อเท็จจริงตามเว็บไซต์ต่าง ๆ แผนที่โลกกูเกิล พยานวัตถุเช่นโบราณสถานต่าง ๆ และพยานบุคคลเช่นผู้เขียนเอง ที่ได้เคยมาเยือนอาณาจักรพุกามโบราณแห่งนี้ เมื่อได้หลักฐานอย่างเพียงพอก็จะวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้ บทความนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียน และเพื่อให้เห็นองค์ประกอบของรัฐพุกามโบราณอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงอาศัยทฤษฎีปรัชญาการเมืองว่ารัฐและข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ มาอธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นรัฐพุกามโบราณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นต้น บทความในเรื่องจะเป็นประโยชน์ต่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่พระวิทยากรใช้เป็นเนื้อหาบรรยายให้กับผู้แสวงบุญใน พม่า อินเดียและเนปาล เป็นต้น ส่วนกระบวนการวิเคราะห์หลักฐานจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในระดับปริญญาเอกด้านปรัชญาและพระพุทธศาสนา ที่นิสิตจะใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อพิสูจน์ความจริงของในเรื่องที่ตนเองสนใจแสวงหาความรู้ เพื่อให้ผลวิจัยเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำความรู้ทางพระพุทธศาสนาไปบูรณาการกับศาสตร์ใหม่และยุทธศาสตร์แห่งชาติต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น