The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ปัญหาที่มาของความรู้เกี่ยวกับรัฐพุกามโบราณ

  The evidence of the existence of   the ancient Bagan State
ปัญหาที่มาของความรู้เกี่ยวกับรัฐพุกามโบราณ

 บทนำ                   

        โดยทั่วไปแล้ว นักศึกษาปรัชญา  ประวัติศาสตร์ และพุทธศาสนาทั่วโลกจะเคยได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของรัฐพุกามโบราณจากการเรียนในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกและเว็บไซต์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต   หรือจากเพื่อนนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางไปยังเมืองพุกามโบราณ    เมื่อพวกเขาได้ยินข้อเท็จจริงแล้ว ก็จะเชื่อโดยปริยายว่าเป็นเรื่องจริง    แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า    เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจน ถึงปัจจุบัน จากตำราเรียนหรือคัมภีร์ของศาสนา จากคำสอนของอาจารย์ของตนเอง เป็นต้น เราไม่ควรเชื่อทันทีว่ามันเป็นเรื่องจริง เราควรสงสัยก่อน       จนกว่าจะมีการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีพยานหลักฐานเพียงพอ ที่จะวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับความจริงของเรื่องนี้อีกต่อไป   

        เมื่อรัฐพุกามโบราณเป็นรัฐที่มีอำนาจอธิไตยที่เกิดขึ้นแล้ว ดำรงเอกราชเป็นระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไป     เพราะอำนาจอธิไตยถูกอาณาจักรมองโกลยึดไปเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐโบราณพุกามเองอาณาจักรพุกามโบราณถือเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เพราะอาณาจักรพุกามโบราณนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไป  เหลือไว้เพียงซากทางประวัติศาสตร์เท่านั้น เป็นพระราชวังโบราณ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความทรงจำอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรแห่งนี้ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าถือว่าอาณาจักรพุกามโบราณเป็นสิ่งไม่เที่ยง เราไม่ควรยึดติดกับอาณาจักรโบราณพุกามแห่งนี้ แม้เราจะยอมรับความจริงของการมีอยู่อาณาจักรโบราณพุกามโดยปริยาย ตามหลักวิชาอภิปรัชญาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาก็ตาม แต่เมื่อผู้เขียนและมนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ในความเป็นของอาณาจักรโบราณพุกามเพราะผู้เขียนและมนุษย์ทุกคนมีอวัยวอินทรียทั้ง ๖  ของร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอดีตเช่นการเกิดขึ้นของอาณาจักรพุกามโบราณ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นไกลออกไป หรือเหตุการณ์ที่ผู้เขียนไม่รู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  เป็นต้น 

         เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องอาณาจักรโบราณพุกามแล้ว ผู้เขียนสงสัยว่า "เราจะรู้อาณาจักรโบราณพุกามได้อย่างไรว่าเป็นความจริง"   ตามหลักญาณวิทยานั้นสนใจศึกษาปัญหาต้นกำเนิดความรู้  องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์  วิธีการของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ และความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์      ญาณวิทยามีหน้าที่ให้คำตอบว่า "เรารู้ได้อย่างไรว่าเป็นความจริง" ตามหลักญาณวิทยานั้นเราสามารถหาเหตุผลมาอธิบายที่มาของความรู้ของมนุษย์ได้ดังต่อไป กล่าวคือ

          ๑. ปัญหาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปแล้ว ความรู้เรื่องความเชื่อในศาสนาพราหมณ์, พระพุทธเจ้า, นักวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ของมนุษย์    ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจ ปัจจัยทั้งสองมีส่วนทำให้เกิดการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านเข้าในชีวิตได้ เพราะธรรมชาติของมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖  ส่วนในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสิ่งแวดล้อมที่อยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์ เช่น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ชุมชนการเมืองของอาณาจักรพุกามโบราณ  เป็นต้น     เมื่อมนุษย์ได้รับรู้สิ่งใด จิตใจของมนุษย์จะน้อมรับเรื่องราวเหล่านั้น มาสั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจมนุษย์ แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ ที่จะคิดจากหลักฐานทางอารมณ์ที่มีอยู่ในจิตใจ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ถ้าเมื่อผลของการวิเคราะห์หลักฐานในใจยังไม่ชัดเจน เพราะมนุษย์มักมีอคติต่อกัน และมีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ส่วนในร่างกายของตนเอง  ทำให้นักปรัชญาสงสัยข้อเท็จจริงและชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ต่อไป  ก็จะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในเรื่องนั้นให้เพียงพอ มาโดยวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่างเช่นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านั้น เมื่อมนุษย์รับรู้แผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิดแล้ว จิตใจของมนุษย์ก็จะเก็บอารมณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด มาสั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจของตนแล้ว จิตใจของมนุษย์ก็จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานที่มีอยู่ในจิตใจนั้น เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดนั้น แต่หลักฐานไม่เพียงพอ ที่จะอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องเหล่านี้ได้  เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้น  ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมไปจากการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์  นอกจากนี้มนุษย์เกิดมาเพราะความไม่รู้  จึงไม่สามารถอธิบายความจริงของสิ่งเหล่านี้ได้  เป็นต้น    

           ดังนั้น ในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของรัฐโบราณพุกาม ถือเป็นปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยตรงและนักประวัติศาสตร์จะยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรัฐโบราณพุกามโดยปริยายว่าเป็นความจริงก็ตาม แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าเมื่อได้ยินความคิดเห็นที่ได้ยินที่เล่าสืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จากตำราเรียน  หรือเป็นความคิดเห็นของครูบาอาจารย์ของตนเองแล้ว อย่าเชื่อว่าเป็นความจริง จนกว่าตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ  มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องรัฐโบราณพุกาม ถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริง จะรับฟังพยานหลักฐานเพียงปากเดียวว่าเป็นความจริงนั้น มักจะขาดความน่าเชื่อเพราะมนุษย์มีจำกัดของอวัยวะอินทรีย์ ๖  อย่างของร่างกายมนุษย์ในการรับรู้สิ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป หรือไม่เห็นเหตุการณ์ในเรื่องนั้น หรือให้การด้วยอคติที่มีต่อผู้อื่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อป้องกันการโต้แย้งในข้อเท็จจริงว่าจริงหรือเท็จเพื่อให้การตัดสินข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลอย่างถูกต้อง บริสุทธิ์    และยุติธรรมกับทุกฝ่าย      เพื่อแก้ปัญหาในความน่าเชื่อของพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ในเรื่องนี้หรือไม่?นักปรัชญาแก้ปัญหานี้ด้วยการกำหนดทฤษฎีความรู้หลายทฤษฎี เพื่อวิเคราะห์ที่มาความรู้ของมนุษย์ในเรื่องต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ในสังคมมนุษย์ ที่มนุษย์ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงโดยตรงไม่ว่าจะจริงหรือเท็จตลอดเวลา เมื่อผู้ฟังได้ยินข้อเท็จจริงใด ๆ ต้องสืบหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น    เราควรจะเชื่อหรือไม่เชื่อข้อเท็จจริงนั้นแต่ในการเขียนบทความนี้  ผู้เขียนใช้ทฤษฏีความรู้เชิงประจักษ์นิยมซึ่งให้คำนิยามว่า "ความรู้ที่แท้จริงจะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น  จึงจะถือเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น" 

       ตามทฤษฎีความรู้ข้างต้นผู้เขียนตีความว่า บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์เกี่ยวกับความจริงของชีวิตหรือเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์นักปรัชญาจะยอมรับใครเพื่อเป็นพยานว่ามีความรู้จริงในเรื่องนั้นเฉพาะผู้มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมในจิตใจเท่านั้น นักปรัชญาจึงจะอ้างถึงบุุคคลนั้นเป็นประจักษ์พยานที่จะให้การยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบได้ความรู้ของผู้เขียนที่เขียนบทความเกียวกับปัญหาญาณวิทยาของรัฐพุกามโบราณอย่างชัดเจนและน่าเชื่อถือได้ เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมไว้ในจิตใจกล่าวคือมันเกิดขึ้นเมื่อผู้เขียนเดินทางไปในเมืองพุกามโบราณทำให้จิตใจของผู้เขียนอาศัยอวัยวะอินทรีย์ ๖ อย่างเชื่อมโยงกับโบราณสถานซึ่งมีการสร้างเจดีย์หลายพันองค์ทั่วเมืองและสั่งสมอารมณ์ของเจดีย์ไว้เป็นหลักฐานในจิตใจ และนำอารมณ์ทางหลักฐานเหล่านั้นมาเป็นข้อมูลเพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบว่า เป็นเจดีย์ในพระพุทธศาสนาแต่องค์ประกอบของโครงสร้างของความรู้ยังไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถอธิบายเรื่องจริงได้อย่างเต็มที่  โดยเฉพาะแรงจูงใจในสร้างรัฐโบราณล้วนน่าศึกษาหาความจริงทั้งสิ้น  เพราะทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปในวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุดนี้ทำให้ผู้เขียนสงสัยในสิ่งเห็นได้   แม้นักท่องเที่ยวจะเขียนบันทึกหรือบันทึกภาพนิ่งหรือวีดีโอแต่ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานเหล่านี้ ยังขาดองค์ประกอบที่สำคัญหลายอย่างของเหตุการณ์จริงเช่นสภาพของอากาศ อุณหภูมิ วิถีชีวิตของผู้คนและแรงจูงใจในการสร้างโบราณสถานนี้เป็นต้น  ในยุคปัจจุบัน การศึกษาคือการลงทุนเพื่อให้ได้ความรู้ที่สะสมอยู่ในจิตใจโดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและอนุมานความรู้ด้วยการให้เหตุผลเพื่อให้ได้ความจริงที่ลึกที่สุด 

            ผู้เขียนอ้างตนเองเป็นพยานหลักฐานว่า   

เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. ผู้เขียนเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองบินไปถึงท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ในเวลา ๑๒.๓๐ น  หลังจากผ่านด่านตรวจตนเข้าเมือง  จากนั้นคณะของเราก็เดินทางโดยรถบัสไปยังเมือง bagan  ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของอาณาจักรพุกามโบราณ ระยะทาง ๑๘๒.๙ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง ๒๕ นาทีก็ถึงสถานที่พักเวลา ๒๑.๐๐ น. ในช่วงการเดินทางอันยาวนาน ผู้เขียนได้เห็นสภาพของภูมิทัศน์เขตมัณฑเลย์ทั้งสองด้านข้างถนนที่สร้างขึ้นใหม่ สภาพทางภูมิศาสตร์ทั้งสองด้านเต็มไปด้วยทุ่งนาอันกว้างใหญ่ในเขตปกครองมัณฑะเลย์ เมื่อเดินทางสักระยะ รถบัสโดยสารพาคณะท่องเที่ยวของเรา วิ่งไปตามก็ตัดถนนชนบทผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ในชนบทของมัณฑะเลย์ ส่วนใหญ่เป็นนาข้าว มีโรงงานอุตสาหกรรมเพียงแห่งเดียว   ลักษณะสภาพพื้นดินแห้งแล้งแต่มีพืชปกคลุมทั่วไป เป็นป่าโปร่งเห็นดินร่วนปนทรายผู้เขียนเห็นระบบส่งน้ำชลประทานมีคลองส่งน้ำให้เกษตรกรเพื่อใช้ประโยชน์ในเพาะปลูกอันยาวไกลมีทุ่งนาปลูกข้าวรวงข้าวเริ่มจะแก่แล้ว อีกไม่นานก็คงจะเป็นข้าวสารทำให้มนุษย์สามารถนำไปบริโภคได้แสดงให้ว่าสหภาพพม่าสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรม พวกเขามีชีวิตอาศัยน้ำฝนทำการเกษตรเมื่อใกล้มืดค่ำแล้วยังไม่เห็นไฟฟ้าเปิดใช้บรรยายกาศมืดครึ้มมีไฟฟ้าเพียงไม่กี่ดวงติดไว้ในหน้าบ้านของชาวบ้าน เมื่อเปรียบชนบทในไทยของเรากับบ้านเขาทำให้ผู้เขียนเห็นว่าประเทศเรายังน้ำประปาไหลไฟฟ้าสะดวกกว่าประเทศในเอเซียตะุวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน   ผู้เขียนเห็นแม่น้ำอิรวดี  (Irrawaddy River) ทางขวามือของผู้เขียนและรู้ว่ารถบัสกำลังนำกลุ่มของพวกเราเดินทางไปสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพม่า รถบัสวิ่งไปตามถนนลาดยางสักระยะหนึ่ง   คนขับรถก็พารถบัสตัดเข้าสู่ในถนนชนบทที่ยังไม่ได้ลาดยาง ซึ่งเป็นทางลัดไม่ใช่ถนนไฮเวย์สร้างอย่างดีอย่างที่เห็นทั่วไปในประเทศไทย ทำให้ผู้เขียนได้เห็นธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ของท้องทุ่งนา ไม่มีสิ่งปรุงแต่งแต่อย่างใด  ผู้คนใช้ชีวิตอยู่กับชนบทที่เป็นท้องทุ่งตามธรรมชาติที่สวยงามอากาศบริสุทธิ์มากไม่มีปัญหาสุขภาพจากการดื่มกิน  เครื่องดื่มมึนเมาชีวิตเพื่อให้ตนเองลืมความทุกข์จากการใช้ชีวิตเพราะความไม่พอใจในอารมณ์โลกที่มากระทบชีวิตตนเอง  มีการปลูกต้นตาลตามคันนาปลูกข้าวของชาวบ้านภูมิประเทศตรงกลางประเทศพม่า แม้จะมีแม่น้ำอิรวดีหรือเอยาวดี (Ayavati) ไหลผ่านก็ตาม  เขาเล่ากันว่าเมืองนี้ในฤดูร้อนอากาศร้อนมาก และฤดูหนาวปีนี้อากาศไม่หนาวอย่างที่คนอื่นเป็นร่างกายฉันเหนื่อยล้ามาก  เพราะออกจากโคราชแต่เช้าตีสองจำวัดบนรถมาทั้งคืน แต่ไม่รู้สึกว่าตนเองลำบากแต่อย่างใด เพราะเคยลำบากมามากนี้แล้วในสมัยเมื่อหลายปีก่อน ความลำบากบางทีก็เป็นเสน่ห์ของชีวิต ทำให้เราไม่ลืมเป็นอุทาหรณ์สอนจิตเราอย่างดีความอยากรู้ทำให้มนุษย์ข้ามพ้นความกลัวที่จะลำบากไปแม้ชีวิตจะเหนื่อยล้า   เพราะการเดินทางไกลตั้งแต่ตีสองจากจังหวัดนครราชสีมาด้วยความอยากรู้เพื่อที่จะมีความรู้ไปสอนคนอื่นเป็นสิ่งที่หายากไม่น้อยโดยนี้ไม่มีอะไรได้มาโดยง่ายนัก  แม้การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ากว่าจะรู้แจ้งถึงความเป็นไปและเท่าเทียมกันของมนุษย์อย่างแท้จริงนั้นมิใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใดต้องหาวิธีการให้ได้มาซึ่งความรู้ของมนุษย์ด้วยการทดลองหาวิธีการต่าง ๆ ได้มาซึ่งความรู้ต่าง ๆ  

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ