The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ปัญหาความจริงเกี่ยวกับวัดเชตวันมหาวิหารในพระไตรปิฎก

 Epistemological problems:
the construction of Wat Chetawan in Buddhaphumi's philosophy


บทนำ การสร้างวัดเชตวันของอนาถบิณฑิกเศรษฐี 

       ในการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับวัดเชตวันมหาวิหารในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯเป็นปัญหาอภิปรัชญาที่น่าสนใจ และควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง ตามหลักญาณวิทยาเกี่ยวกับที่มาขององค์ความรู้ในการสร้างวัดเชตวัน ปัญหาว่าเราจะรู้การมีอยู่ของวัดเชตวันได้อย่างไร ? ตามหลักปรัชญานั้น เมื่อมีการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ผู้เขียนก็ต้องมีพยานหลักฐานมาสนับสนุนข้ออ้างของตนในเรื่องนั้น จะกล่าวอ้างลอย ๆ ขึ้นมาโดยไม่มีพยานหลักฐานไม่ได้ เพราะมนุษย์ทุกตนมีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายมีความสามารถในการรับรู้จำกัดในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตและมนุุษย์มักจะมีอคติต่อกันโดยมีสาเหตุจากความไม่รู้  ความชอบ  ความกลัวและควมเกลียดชังที่มีต่อกัน มักทำสิ่งไม่ควรทำ  เป็นคำกล่าวอ้างไม่มีความน่าเชื่อถือและไร้หลักฐานข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผล เมื่อเชื่อคำกล่าวอ้างเช่นนั้นทำให้คนในสังคมก่อความวุ่นวายทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ พบข้อมูลของวัดเชตวันมหาวิหารอยู่ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลอารมณ์ที่สั่งสมจากการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ แล้วและเรื่องราวปรากฏขึ้นในใจของผู้เขียนยังไม่ชัดเจนในหลายประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าสาเหตุของการก่อสร้างวัดนี้สถานที่ตั้งของวัดแห่งนี้          เมื่อโลกเปลี่ยนไปเพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการสร้างเทคโนโลยี่ด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สามารถสร้างแผนที่โลกของกูเกิล สามารถตรวจสอบพุทธสถานโบราณโดยเฉพาะวัดเชตวันมหาวิหารนั้นง่ายขึ้น ควรที่ผู้เขียนต้องนำมาอ้างอิงเพื่อให้ข้อเท็จจริงในบทความมีน้ำหนักของเหตุผลน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เป็นต้น  เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นน้องเขยของราชคหเศรษฐีไปค้าขายที่เมืองราชคฤห์และเดินทางไปเยี่ยมบ้านของราชคหเศรษฐี วันนั้นราชคหเศรษฐี กำลังเตรียมสถานที่เพื่อทำพิธีมหายัญก่อนวันงานในวันรุ่งขึ้นจะนิมนต์พระสงฆ์จากวัดเวฬุวันมหาวิหารโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานในการบำเพ็ญกุศลและถวายภัตตาหารเช้า ในเวลานั้นราชคหเศรษฐีกำลังสั่งทาสและคนรับใช้วรรณะศูทร เตรียมข้าวไว้ทำข้าวต้ม หุงข้าว ต้มแกง และสถานที่ทำพิธีมหายัญ ตามพยานหลักฐานจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๗  วินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จูฬาวรรค ภาค ๒ ทุติยภาณวาร  ว่าด้วย อนาถบิณฑิกวัตถุ(ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี) ข้อ๓๐๔....อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงพาราณสีดังนี้ว่า.....เมื่อข้าพเจ้ามาคราวก่อน ท่านทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศัยกับข้าพเจ้าเพียงผู้เดียว เวลานี้ท่านมีท่าทีวุ่นวายสั่งทาสและกรรมกรว่า "พวกท่านจงตื่นแต่เช้า ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม ท่านคงจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญ พิธีหรือทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารในวันพรุ่งนี้กระมั่ง......

         เมื่อได้ยินเสียงของราชคหเศรษฐี สั่งคนรับใช้ของตนให้เตรียมงานใหญ่ในบ้าน อนาถบิณฑิกคหบดีจึงสงสัยว่าราชคหเศรษฐีกำลังตรียมจัดสถานที่เพื่อทำพิธีมหาบูชายัญ อาวาหมงคล วิวาร์หมงคล หรือจะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารและทหารในกองทัพมาร่วมงานเลี้ยง  เมื่อได้สนทนากัน เศรษฐีชาวราชคฤห์ตอบกับอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่าไม่ได้จัดงานอาวารห์มงคล หรือวิวาหมงคลและไม่ได้ทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพร้อมด้วยกองทหารมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้แต่อย่างใด   แต่จะประกอบพิธีมหายัญซึ่งเป็นการนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อบำเพ็ญกุศลในวันพรุ่งนี้  เมื่อได้ฟังดังนั้นอนาถบิณฑิกเศรษฐีสงสัยว่าพระพุทธเจ้าคือใคร เขามีความปรารถนาที่จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันนี้ แต่เขาเห็นว่ามืดค่ำแล้ว เป็นกาลไม่เหมาะสม ควรจะรอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีเกิดดวงตาเห็นธรรม ในวันรุ่งขึ้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่าสีตวันที่ตั้งอยู่นอกพระนครราชคฤห์ ขณะนั้นพระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติกรรมฐาน โดยวิธีการเดินจงกรมและได้ทูลพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ทรงสุขสบายดีไหม พระองค์ทรงตรัสว่าพราหมณ์ผู้ดับทุกข์ได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุขแท้ทุกเวลา ผู้ใดไม่ติดในกามมีใจเย็นไม่มีอุปธิตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่างได้แล้วคลายความร้อนรนสู่ความสงบแห่งจิตใจเป็นผู้สงบระงับแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขพระพุทธเจ้า ตรัสสอนหลักอนุบุฟพิกถาและอริยสัจจ์ ๔ แก่อนาถบิณฑิกคหบดี ทรงบรรยายถึงทาน ศีล สวรรค์ โทษ ความต่ำทรามความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย อนิสงค์ของการออกจากกามแก่อนาถบิณฑิกคหบดี เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบว่าอนาถบิณฑิกคหบดี มีจิตควรอ่อนลงเหมาะสมแก่การทำงาน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน และผ่องใสแล้ว ทรงแสดงอริยสัจจ ๔ เป็นต้น เมื่ออนาถบิณฑิกคหบดี ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตและพิจารณาเห็นความจริงที่แท้ของชีวิตตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จนเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมชาติของชีวิตจนเกิดดวงตาเห็นธรรม จิตของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเกิดความบริสุทธิสามารถชำระล้างอาสวกิเลสได้บางส่วนบรรลุธรรมโสดาบันจิตศรัทธาอยากให้พระพุทธเจ้าเสด็จ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถี ด้วยการจัดสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวาย (ยังมีต่อ)
       


           

           
    

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ