Bodhisattva's determination according to The Epistemology
บทนำ
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์มีความทะเยอทะยานทางจิตใจที่จะบรรลุความฝันที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจของตนเอง แต่ความฝันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนแค่ต้องการความสุข บางคนอยากมีเงินไปเที่ยวแม่น้ำ ทะเล ภูเขา หรือเล่นสกีท่ามกลางหิมะหรือสถานบันเทิง หลายคนต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสระตามความชอบ หลายคนจบการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ได้งานที่ดีและมีเงินมากมาย แต่เมื่อเขาเกษียน เขาใช้ชีวิตเหมือนคนเร่ร่อนในตอนกลางคืน เป็นต้น เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงข้างต้นแล้ว ผู้เขียนก็สงสัยว่า อะไรคือปณิธานที่แท้จริงของมนุษย์ โดยทั่วไป ไม่มีใครรู้ว่าบุคคลนั้นมีแรงบันดาลใจหรือความปรารถนาในใจอย่างไร เพราะเป็นการคิดหรือการปรุงแต่งของจิตซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน จึงไม่มีใครรู้ว่าใครคิดอย่างไรในเป้าหมายของชีวิต จนกว่าเขาจะแสดงเจตจำนงของการกระทำผ่านการกระทำทางกาย การพูดและมโนกรรม ทำให้เกิดผลของการกระทำนั้น เป็นต้น ความรู้เรียกว่า ความสำเร็จ ความสมหวังและความผิดหวัง เป็นลักษณะนามธรรมที่มีอยู่ในจิตใจของมนุษย์ และมีที่มาของความรู้จากอวัยวะอินทรีย์ ๖ของมนุษย์ เมื่อดวงวิญญาณใช้อินทรีย์ ๖ ของร่างกาย เชื่อมโยงกับเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เก็บอารมณ์เหล่านั้นสั่งสมไว้ในจิตใจ และปรุงแต่งอารมณ์เหล่านั้นที่เรียกว่าคิด วิเคราะห์ หรือพิจารณาก็ได้ แต่เมื่อวิเคราะห์อารมณ์เหล่านั้นแล้ว ปรากฏเรื่องราวของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในจิตใจยังไม่ชัดเจน ทำให้นักปรัชญาสงสัยและชอบที่จะศึกษาเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ด้วยการรวบรวมหลักฐานเกี่ยวข้องในเรื่องนั้นเพิ่มเติมเมื่อได้หลักฐานเพียงพอแล้ว ก็นำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลของคำตอบโดยใช้หลักฐานยืนยันความจริงในเรื่องนั้น และเป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าซึ่งสั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ และเป็นสัญญาของความรู้ในเรื่องนั้นๆ มีอยู่ในจิตวิญญาณจะตามจิตวิญญาณไปสู่ที่ต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานที่บ้านหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่เราเดินทางไปท่องเที่ยวไกล ๆ สัญญานี้ก็ทำให้เราระลึกถึงเรื่องต่าง ๆ ในภพชาติปัจจุบันได้ การศึกษาที่มาของความรู้เรื่องปณิธานของพระโพธิสัตว์ เราสามารถศึกษาได้จากหลักฐานดังต่อไปนี้ ผู้เขียนก็ค้นพบพยานหลักฐานเป็นข้อความในพระไตรปิฎกไว้หลายแห่งด้วยกันก่อนเราต้องศึกษาความหมายของคำว่า"ปณิธาน" ก่อนเราศึกษาค้นคว้าความหมายได้จาก ๑. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้คำนิยมคำว่า "ปณิธาน" ว่า (๑.๑) เป็นคำนามให้ความหมายว่า "การตั้งความปรารถนา" "ปรารถนา" ให้คำนิยามว่า มุ่งหมาย, อยากได้, ต้องการ
จากคำนิยามข้างต้น ผู้เขียนตีความได้ว่า จิตใจของมนุษย์มีธรรมชาติของตนเองและอาศัยร่างกายเชื่อมกับเรื่องของโลก ไม่ว่าจะเป็นกรรมของผู้คน มีฐานะยากจน ขาดรายได้ การบันดาลโทสะจนฆ่าผู้อื่น ความโลภอยากได้ของผู้อื่น ประพฤติไม่ชอบในลูกเมียคนอื่น มีจิตริษยาจึงชอบว่าร้ายผู้อื่นชอบมัวเมาในความสุขจากการดื่มสุรายาเมาเพื่อให้ตนจมปลักอยู่ในความสุขได้เท่าที่ใจของตนต้องการ เมื่อรับรู้แล้วจิตก็น้อมมาเก็บไว้ในจิตตนจนกลายเป็นสัญญานอนเนื่องอยู่ในจิตของตนเองในยามที่ตนหลับก็จะนึกเห็นภาพของเรื่องผุดขึ้นมาในจิตของตนเอง เป็นต้น

๒. พระไตรปิฎก เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] ฑีฆนิกาย มหาวรรค ๑.มหาปทานสูตร กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ [๓๑] ๑๕.มีกฎธรรมดาดังนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนอย่างมั่นคงด้วยพระบาททั้งสองที่เสมอพื้นปฐพี ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ขณะหมู่เทวดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จ ทอดพระเนตรไปยังทิศทั้งปวงและทรงเปล่งอภิสวาจาว่า เราคือผู้เลิศของโลก เราคือผู้เจริญที่สุดของโลก เราคือผู้ประสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา บัดนี้ไม่มีภพใหม่อีกต่อไป ข้อนี้เป็นกฎธรรมดา.
เราค้นคว้าพบว่าความนึกเห็นของพระโพธิสัตว์ที่เป็นการเกิดความฝันขึ้นมาเมื่อพระองค์นั้นได้ประสูติออกมาจากครรภ์พระมารดาได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนอย่างมั่นคงด้วยพระบาททั้งสองที่เสมอพื้นดินแห่งสวนลุมพินีอันศักดิ์สิทธิของศากยวงศ์ในเขตแคว้นสักกะทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว ขณะหมู่เทวดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จทอดพระเนตรไปยังทิศทั้งปวงและ ทรงนึกเห็นเป้าหมายของชีวิตพระองค์เกิดขึ้นมา เป็นสิ่งเกิดขึ้นในจิตของพระองค์ ทรงเปล่งอภิสวาจาว่าเราคือผู้เลิศของโลก เราคือ ผู้เจริญที่สุดของโลก เราคือผู้ประสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา บัดนี้ไม่มีภพใหม่อีกต่อไป ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาแล้วจากพยานเอกสารหลักฐานที่ปรากฎในพระไตรปิฎกนั้น ผู้เขียนตีความได้ว่า เมื่อประสูติกาลออกจากพระครรภ์ของพระมารดาแล้วทรงเดิน ๗ ก้าวแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งอภิสวาจาของพระโพธิสัตว์นั้นที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของความฝันของพระโพธิสัตว์ ที่พระองค์ที่นึกเห็นได้ ขณะประทับยืนแสดงให้เห็นเป้าหมายของชีวิตหรือความคิดที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความฝันของพระองค์ เมื่อเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ขึ้นมานั้นพระองค์จะดำเนินชีวิตของพระองค์ให้บรรลุถึงความฝันที่ตั้งไว้คือการพัฒนาศักยภาพของชีวิตพระองค์ ให้บรรลุถึงความรู้ที่ดีที่สุดในโลก ดังปรากฎข้อความในพระไตรปิฎกที่กล่าวว่า "พระองค์ (เรา) คือผู้เลิศของโลก เราคือผู้เจริญที่สุดของโลก เราคือผู้ประสริฐที่สุดของโลกนั้น" เมื่อพระองค์มีความฝันของชีวิตจะเป็นบุคคลที่ดีที่สุดในโลกนั้น พระองค์ทรงมีวิธีการพัฒนาศักยภาพของพระองค์อย่างไรถึงจะบรรลุถึงความฝันดังกล่าวนั้น ได้เป็นเรื่องที่เราหาข้อมูลในพระไตรปิฎกวิเคราะห์ความจริงกันต่อไป
บรรณานุกรม
-พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] ฑีฆนิกาย มหาวรรค ๑.มหาปทานสูตร กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ ๑๖ ประการ [๓๑] ๑๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น