Introduction to the Bodhisattva's resolution according to Buddhaphumi's philosophy

๑.บทนำ
โดยธรรมชาติของชีวิตมนุษย์มีจิตวิญาณที่อาศัยอยู่ในร่างกายของตนเองซึ่งมีลักษณะเป็นถ้ำ เป็นดวงวิญญาณ ชอบการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ และดวงวิญญาณเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง เป็นต้น นอกจากนี้ จิตวิญญาณของมนุษย์มีอารมณ์ของความทะยานอยากซ่อนเร้นอยู่ในจิตวิญญาณนั้น และการแสดงออกของจิตวิญญาณผ่านร่างกาย คือ ความรู้สุข ความทุกข์ ความคิด และความฝันที่อยากจะเป็น, อยากจะทำ หรือแสดงความปรารถนาผ่านร่างกายของตน ดังนั้น ชีวิตมนุษย์จึงมีความทะยานอยากอยู่ในจิตใจ เพราะมนุษย์ยึดติดกับวิตกกังวลโลกธรรม ๘ ประการ (8 Worldly Concerns)ได้แก่ มีลาภ (fortune) เสื่อมลาภ (deteriorate) มียศ (position) วันหนึ่งยศจะเสื่อมลง เมื่อมีคนสรรเสริญ สักวันหนึ่ง คนก็จะนินทาไม่พอใจ มีความสุขเพราะชีวิตมีความสะดวกสบาย ความทุกข์จะเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยแห่งความสุขหมดสิ้นไป เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เมื่อจิตมนุษย์สัมผัสวัตถุแห่งกิเลสและสั่งสมอยู่ในจิตใจแล้วได้แก่ บ้านพร้อมที่ดิน โทรศัพท์มือถือ ก็เกิดความคิดอยากจะเป็นเจ้าของวัตถุแห่งกิเลสเหล่านี้, ความอยากเป็น ตัวอย่างเช่น ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ดีและเงินเดือนสูง เมื่อโดยธรรมชาติแล้ว จิตใจของมนุษย์ชอบจดจำสิ่งต่าง ๆ และมีความทะเยอทะยานเป็นเป้าหมายของชีวิต เช่น เขาอยากเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ทหาร ข้าราชการครู และเก็บความฝันไว้ในใจ และยากที่จะสลัดอารมณ์นี้ออกไปได้ เมื่อมนุษย์ทุกคนมีจิตใจที่มีวิธีคิดตามธรรมชาติหรือจัดการสิ่งที่รับรู้ตลอดเวลา เมื่อคิด ปัญญาย่อมเกิดในจิต เมื่อมนุษย์มีความฝันที่จะเติมเต็มความปราถนาในชีวิตของตนเองแต่ความฝันก็เกิดขึ้นตลอดเวลา ชีวิตมนุษย์จึงเหนื่อยในการแสวงหาสิ่งของต่าง ๆ และคุณค่าของสิ่งสมมติมาสนองความทะยานอยากของตนตลอดชีวิต เป็นต้น
ปัญหาว่า "ประณิธานคืออะไร" เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามศัพท์ของคำว่า "ประณิธาน" หมายถึง การตั้งความปรารถนา" ผู้เขียนตีความว่า มนุษย์ทุกคนมิความทะเยอทะยานในเป้าหมายของชีวิตเช่นพระสิทธัตถะโพธิสัตว์ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า, สุเมธดาบสใช้ร่างกายเป็นสะพานบุญโดยทอดร่างกายของตนเองให้ทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ๔๐๐,๐๐๐ องค์เหยียบร่างกายเข้าสูเมืองปัจจันตชนบท เป็นต้นส่วนประณิธานของพระโพธิสัตว์มีที่มาของความรู้หรือไม่ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๗ พระวินัยปิฏกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์ [๔.จตุตถวรรค] ๗.ลักขณกถา ข้อ ๔๐๑...............พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วเดียวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันราบเรียบ บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือดำเนินไปได้ ๗ ก้าวมีฉัตรกั้นตามไปทรงแลดูทิศทั้งปวงและเปล่งอาสภิวาจาว่า "เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก นี่เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก" ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิประสูติแล้วเดียวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันรายเรียบบ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรกั้นตามไปทรงแลดูทิศทั้งปวงและเปล่งอาสภิวาจาว่า"เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก นี่เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก" ฉันนั้นเหมือนกัน
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงประสูติจากพระครรภ์ของนางมายาเทวี ก็ทรงดำเนินไปได้ ๗ ก้าวและเปล่งอาสภิวาจาแสดงประณิธานของพระองค์ ที่จะพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์ให้เป็นบุคคลที่เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก นี่เป็นชาติสุดท้ายบัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก แม้จะมีหลักฐานยืนยันปณิธานของพระโพธิสัตว์ว่าเป็นความจริง แต่มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ฉบับเดียวยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบ แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่ามิให้ข้อเท็จจริงเพราะตำราหรือคัมภีร์ทางศาสนา ควรตั้งข้อสงสัยไว้กอนจะเชื่อว่าเป็นความจริง และผู้เขียนสงสัยว่าพระโพธิสัตว์สามารถพัฒนาศักยภาพของชีวิตจนสามารถประสบความสำเร็จได้หรือไม่ ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องประณิธานของพระโพธิสัตว์ ด้วยการรวบรวมพยานหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา บทความทางวิชาการ เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลวิเคราะห์หาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบยืนยันความจริงได้ บทความนี้จะเป็นประโยชน์พระธรรมวิทยากรในแดนพุทธภูมิ ใช้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญให้มีเนื้อหาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ที่มาของความรู้จะเป็นประโยชน์ ต่อการค้นคว้าวิจัยของนิสิตในระดับปริญญาเอก เพื่อให้ได้ที่มาของความรู้และความเป็นจริงที่ผ่านกฎเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผลปราศจากข้อพิรุธให้เกิดสงสัยในความจริงอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น