The Metaphysical problem about Angkor Wat being a Hindu temple

๑.บทนำ ความเป็นมาของปัญหาในเรื่องนี้
โดยทั่วไปนั้น นักปรัชญาแบ่งความจริงเชิงอภิปรัชญานั้น ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความรู้ระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ และความรู้เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ กล่าวคือ
๑.๒. ความรู้ในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่เรียกว่า"ความจริงที่สมมติขึ้น คือสิ่งที่มีลักษณะเกิดขึ้น ดำรงสภาวะอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่สิ่งนั้นจะดับสูญไปและหายจากสายตาของมนุษย์ ความรู้ประเภทนี้เป็นความจริงที่สมมติขึ้น เช่น ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ประสูติขึ้นที่สวนลุมพินีในแคว้นสักกะ พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นเวลา ๘๐ ปีก่อน ที่พระองค์จะปรินิพพาน ดังนั้น เมื่อชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่เป็นระยะเวลา ๘๐ ปีแล้วพระองค์ก็ปรินิพพานแล้วพระวรกายของพระองค์ก็หายไปจากโลกมนุษย์ ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น หรือ นครวัดเป็นเทวสถานฮินดู เป็นสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานฮินดู ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไปไม่มีพราหมณ์อาศัยในนครวัดอีกต่อไป เป็นเพียงโบราณสถานที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเท่านั้น เป็นต้น
การค้นคว้าหลักฐานความจริงของนครวัด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความจริงของศาสนาฮินดูเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ นักวิชาการทางปรัชญาและศาสนาหลายท่าน เชื่อว่านครวัดสร้างขึ้นมาตามแนวคิดของปรัชญาฮินดู ในยุคต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงได้ยึดปราสาทนครวัดซึ่งเป็นเทวสถานฮินดูเปลี่ยนเป็นวัดพุทธนิกายมหายาน เมื่อผู้เขียนได้ฟังความเห็นทางวิชาการจากการศึกษาหลักฐานในนครวัด
ผู้เขียนสงสัยว่านครวัดสร้างขึ้นตามความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือไม่ มีเหตุผลยืนยันความจริงได้มากน้อยเพียงใด สอดคล้องกับคำนิยามคำว่า "ศาสนา" ของพจนานุกรมราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ว่าลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์ อันมีหลักคือแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อนั้นเดิมในยุคก่อนพุทธกาลนั้น พวกพราหมณ์เชื่อในเทพเจ้าหลายองค์คือ พระอิศวรและพระพรหมเป็นเทพจริงเป็นเทพเจ้าผู้สร้างมนุษย์และมีการประกอบพิธีกรรมบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์และมนุษย์ มีการบัญญัติกฎหมายแบ่งคนเป็น ๔ วรรณะทำให้คนถูกจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการศึกษาและการประกอบอาชีพโดยเลือกปฏิบัติ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาคนจัณฑาล ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังยากจน อาศัยอยู่ข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์อย่างคนไร้บ้าน พระราชประสงค์ของพระองค์ที่จะปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะเพื่อให้คนทุกวรรณะ มีสิทธิเท่าเทียมกันในการประกอบอาชีพและเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของตน มีอิสระมีสิทธิเสรีภาพอย่างเทียมกันตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่ามนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นแก่นแท้อาศัยอยู่ในร่างกายชั่วคราว เมื่อชีวิตหมดอายุขัยจำเป็นต้องททิ้งร่างกายไปจุติในโลกอื่น ส่วนจะไปไหนอยู่ที่กรรมที่ทำไปแล้วหากคุณค่าเป็นกุศลกรรมไปจุติในโลกสวรรค์หรือกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ ถ้ามนุษย์ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิต จนมีอินทรีย์แก่กล้าจนมีความรู้ในขอบเขตเหนือประสาทสัมผัสของตนขึ้นไป ทรงเห็นกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ และเห็นวิญญาณของร่างกายไปจุติจิตตามภพภูมิต่าง ๆ ได้ ตามคำสอนของพระองค์ได้จริงจึงเป็นที่ศรัทธาของผู้คนทุกวรรณะยินดีสละบ้านเรือนออกบวช และมีลาภสักการะในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาก ผู้เข้าบวชในยุคหลังเป็นผู้เสวยสุขขาดความเพียรในการประพฤติวัตรและปฏิบัติธรรม ทำให้ศาสนาฮินดูขนเองขึ้นมาได้พัฒนาศักยภาพของความคิดของพวกพราหมณ์ที่ต้องการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ให้เป็นศาสนาฮินดู นักปรัชญาศาสนาฮินดู จึงได้วิเคราะห์ข้อมูลในของข้อเท็จจริงในแสดงออกทางพฤติกรรมของผู้คนในสังคมวิถีชาวพุทธขณะนั้นมีแนวคิดในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างไร นำมาสู่การวางระเบียบแบบ แผนปฏิรูปความคิดของผู้คนในสังคม ให้มีความเห็นคล้อยตามแนวคิดของตนได้ให้เห็นดีเห็นงาม แนวคิดของตนแล้วและนำวิธีการนั้นไปใช้ในดำเนินชีวิตในสังคมสถานการณ์ ส่วนความศรัทธาในวิถีชาวพุทธเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อพระอริยบุคคลผู้เก่งวิธีปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ได้ร่วงโรยไปตามอำนาจของกฎธรรมชาติและนิพพานไปเกือบจะหมดสิ้นแล้ว
มนุษย์ผู้เวียนว่ายเกิดมาในยุคต่อมานั้น ยังคงใช้ชีวิตไปตามตัณหาที่ตนพอใจ เมื่อตนเป็นผู้เสวยผลของความเพียร และความอดทนที่บรรพบุรุษได้จับจองที่ดิน ทรัพย์สมบัติอื่นๆ ไว้รอแล้ว เมื่อมาอุบัติในครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์ด้วยโภคะทรัพย์แล้วชีวิตจึงติดแต่ในความสะดวกสบายมากนั้น ไม่ต้องดิ้นรนสิ่งแสวงหาสิ่งใดที่ยุ่งยากลำบากในการใช้ชีวิตอีกต่อไป เพราะพ่อแม่มีฐานะร่ำรวยมั่นคงอยู่แล้วจึงใช้ชีวิตไปด้วยประมาท เพราะมัวเมาในความสุขที่ตนพอใจและแสวงหาความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยไม่รู้จักเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิตแบบนั้น ตลอดทั้งชีวิตจึงใช้ชีวิตตามตัณหาตนมากกว่าจะนึกคิดหวิธีทางหลุดพ้นทุกข์ที่ต้องผจญภัยในวัฏสงสารนั้น เดิมมนุษย์มีความโง่เขลาหรือมีอวิชชาในไม่รู้ในความจริงของชีวิตว่า มนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง เพราะความเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาจากพระพรหมและลิขิตโชคชะตาแก่มนุษย์ ด้วยการสร้างระบบวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์สร้างขึ้นมา ให้ทำงานตามหน้าที่ของตน
ส่วนคนในวรรณะต่าง ๆ นั้นไม่เชื่อในอำนาจของพระพรหม เพราะใช้ชีวิตตามอำเภอใจจึงถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคม เป็นต้น มนุษย์จึงมีประสบการณ์ชีวิตผ่านอินทรีย์ ๖ อันเป็นที่มาของความรู้ในจิตมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดว่าชีวิตตัวเองไม่มีก้าวหน้า เพราะมีเหตุปัจจัยขัดขวาง ทำให้การดำเนินชีวิตตัวเองไม่เป็นตามที่ตนคาดหวัง เมื่อมนุษย์คิดเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับชีวิตผู้อื่นในรุ่นเดียวกัน เกิดความรู้ว่าความก้าวหน้าของชีวิตตัวเองนั้น ห่างไกลจากความก้าวหน้าในการใช้ชีวิตเช่นเดียวกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหน้าที่ทางการงานรายได้ คิดเป็นจำนวนเงินต่อปีและทรัพย์สินที่ตนสะสมไว้ ดังนั้นเมื่อไม่มีความรู้ทำให้มนุษย์ไม่เข้าใจชีวิตจึงคิดหา วิธีการขอใช้อำนาจของเทพเจ้าที่ตนเองเชื่อว่ามีอยู่จริงและที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสตัวเองขึ้นไป เพื่อช่วยเหลือให้ตนเองประสบความสำเร็จในชัยชนะในการทำสงครามกับศัตรูเป็นต้น อำนาจเหนือประสาทสัมผัสของเทพเจ้านั้น ได้แก่ อำนาจของพระวิษณุ และพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่พวกเขาเชื่อว่ามีอยู่จริงตามคำสอนของปรัชญาศาสนาพรหม และฮินดูก่อนออกรบพวกเขาจะประกอบพิธีบวงสรวงเพื่อติดต่อกับเทพเจ้า เพื่อช่วยเหลือให้พวกเขาประสบความสำเร็จในการทำสงคราม เมื่อประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนามนุษย์ ย่อมเกิดความเชื่อและศรัทธาในเทพเจ้าองค์นั้นยิ่ง ๆ ขึ้น และยกความดีนี้ให้เทพเจ้า เพราะมนุษย์คิดว่าเป็นจริง และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของตนเช่นเดียวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ทรงมีความเชื่อว่าพระวิษณุเทพเจ้า มีส่วนให้พระองค์ได้รับชัยชนะจึงอยากทำความดีแก่พระวิษณุด้วยการสร้างปราสาทนครวัด เป็นเทวสถานอันยิ่งให้สมกับพระเกียรติของพระองค์

ชาวเขมรโบราณเชื่อว่าพระศิวะเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรม เพราะช่วยอำนวยให้พืชผลทาง การเกษตรนั้น อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีในยามบ้านเมืองเกิดความไม่สงบ เพราะกิเลสตัณหาของมนุษย์ที่ก่อไฟสงครามขึ้นมาในจิตใจ ก่อให้เกิดสงครามในกลางเมือง เมื่อชาวเขมรโบราณมีความเชื่อว่าเทพเจ้าองค์นี้ จะเป็นผู้นำชีวิตพวกเขาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งของประเทศ จึงอัญเชิญพระองค์ไปร่วมรบทำสงคราม เพื่อปราบศัตรูให้แพ้พ่ายไปการปกป้องรักษาประเทศ เป็นการต่อสู้กันมายาวนานระหว่างชนในชาติ ทำให้เกิดแนวคิดของปรัชญาเมืองมากมาย โดยเฉพาะการทำสงครามที่อาศัยปัจจัยภายนอกคือ พระวิษณุมาช่วยทำสงครามโดยดลบันดาลให้ได้รับชัยชนะเหนือศัตรู เป็นเรื่องที่เราควรสนใจใฝ่ศึกษาที่มาความรู้ของปราสาทหินนครวัดที่เราจะได้ศึกษาการเชิงวิเคราะห์ เพราะมนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับตัณหาในความทะยานอยาก และจิตมุ่งมั่นที่จะเดินทางต่อไป ให้บรรลุความฝันของตนเองปราสาทหินนครวัดไม่ได้สร้างขึ้นมาลอยๆปราศจากแนวคิดของปรัชญาและศาสนา เพื่อแค่สนองความอยากของมนุษย์แต่มาจากความเชื่อของมนุษย์ที่ฝังรากลึกในจิตใต้สำนึกมายาวนานว่าในเทพเจ้าว่ามีอยู่จริงของพระวิษณุ และเชื่อว่าพระวิษณุเป็นผู้บันดาลให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา จากเทพเจ้าแห่งเกษตรกรรมมาสู่เทพแห่งการปกป้องรักษา ให้มนุษย์มีชัยชนะเหนือสิ่งอื่นใดเมื่อเชื่อแล้วย่อมอยากทำความดีจึงศรัทธาสร้างปราสาทหินนครวัดเป็นคุณความดีของมนุษย์ถวายแด่พระวิษณุ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเราจะได้วิเคราะห์ในรายละเอียดกันอีกต่อไป
ตามแนวคิดทางอภิปรัชญาศาสนาฮินดูในราชอาณาจักรขอมโบราณนั้น เป็นแนวคิดทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอีกศาสนาหนึ่งแม้จะเกิดขึ้นสมัยพุทธกาล ๑,๕๐๐ ปี ก็ตาม เป็นศาสนาเทวนิยมมีแนวคิดที่เป็นความเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุดได้อวตารแยกร่างออกเป็น ๓ องค์ที่เรียกว่า"ตรีมูรติ" คือ
๑. พระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์ และเป็นให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท
๒. พระศิวะเทพเจ้าผู้ทำลายด้วยไฟบรรลัยกัลป์เผาล้างโลก และ
๓. พระวิษณุผู้รักษาและปกป้อง ๓ โลก
พวกพราหมณ์ฮินดูได้เดินทางข้ามมหาสมุทรอินเดียมาเผยแผ่คำสอนศาสนาฮินดู ในเมืองพระนครแห่งอาณาจักรขอมโบราณ เดินทางตามเส้นทางการค้ามาพร้อมเรือสินค้าโบราณ ผ่านช่องแคบมะละกา เข้าสู่อาณาจักรจามในดินแดนเวียดนามปัจจุบัน นั่งเรือสินค้าลัดเลาะมาตามสายแม่น้ำโขง เข้าสู่อาณาจักรขอมที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิอันเหมาะสมเพราะตั้งอยู่ริมทะเลสาบเขมรอันกว้างใหญ่ไพศาลเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว ใช้เลี้ยงประชาชนได้ทั้งประเทศ แม้บางปีฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาลก็ตามแต่กระแสน้ำของแม่น้ำโขงที่ไหลมาจากที่ราบสูงธิเบต ที่มีหิมะปกคลุมภูเขาสูงทั้งปีไม่เคยที่จะเหือดแห้งแต่อย่างใด แต่ทะเลสาบเขมรจึงเหมาะแก่ตั้งบ้านเรือน จึงมีการสร้างอาณาจักรขอมโบราณขึ้นมาพวกพราหมณ์ได้นำความเชื่อเรื่องพระวิษณุ เทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรมมาเผยแผ่พร้อมกับการบวงสรวงบูชายัญพระวิษณุเทพเจ้า ช่วยบันดาลให้ท้องฟ้าตกต้องตามฤดูกาลทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ จึงไม่เป็นเรื่องยากที่พระวิษณุเทพจะประทานน้ำให้ในเมื่อเหตุปัจจัยของสถานที่ของอาณาจักรขอมโบราณนั้นตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมอยู่แล้วและอุดมสมบรูณ์ไปด้วยน้ำตลอดทั้งปีแล้ว

กระแสของแม่น้ำโขงได้ไหลจากที่ราบสูงธิเบตบนเทือกเขาหิมาลัย ไหลลงสู่ที่ราบลุ่มเบื้องต่ำเป็นกระแสน้ำไหลมายาวไกล จากเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ กิโลเมตร เขมรเมืองต่ำจึงเป็นที่ราบลุ่มต่ำตามธรรมชาติเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว นอกจากนี้อาณาจักรขอมโบราณ มีทะเลสาบเขมรหรือรู้จักกันนามของโตนเลสาบขนาดใหญ่ เหมือนแก้มลิงไว้เก็บน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรกรรมได้ตลอดทั้งปี ในฤดูฝนที่น้ำขึ้นสูงกินเนื้อที่เข้าไปถึงเขตเมืองใหญ่ ๕ เมืองด้วยกัน ทำให้อาณาจักรขอมโบราณนี้อุดมสมบรูณ์ไปด้วยธัญญพืชเพราะมีน้ำใช้เพาะปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี พวกพราหมณ์เป็นพวกฉลาดเพราะได้ศึกษาคัมภีร์พระเวทมาเป็นอย่างดี จึงได้เดินทางมาเผยแผ่ความเชื่อว่า ด้วยความเป็นจริงสูงสุดคือพระวิษณุซึ่งเป็นเทพแห่งการ เกษตรกรรม ที่ชาวขอมควรเคารพบูชาซึ่งสอดคล้อมกับความต้องการพวกเขาพอดี วิธีการเผยแผ่คำสอนของพวกพราหมณ์เมื่อก่อนดินแดนแถบนี้เคยนับถือผีมาก่อนผี เป็นสิ่งที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสขึ้นไปที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปจะรับรู้ได้ด้วยจิตของตนเอง เว้นแต่ร่างทรงหรือคนที่เป็นหมอผีที่ประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีนั้น เมื่อดินแดนแห่งนี้ผู้คนยังอยู่กับธรรมชาติ มีความเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงของอำนาจของสิ่งภายภายนอกที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสตนขึ้นไป มีอำนาจดลบันดาลให้มนุษย์พบภัยวิบัติต่าง ๆ ได้หากผู้มีอำนาจนั้น ไม่พอใจเช่นเดียวกับพวกพราหมณ์ฮินดูมีความเชื่อว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งเกษตรกรรม มีอำนาจบันดาลให้ชาวขอมเจริญรุ่งเรือง สามารถเพาะปลูกข้าวได้ผลอุดมสมบูรณ์หากประกอบพิธีกรรมบวงสรวงให้พระวิษณุเทพพอใจหากชาวขอมไม่เชื่อศรัทธาในพระวิษณุเทพ อาจทำให้พระวิษณุเทพไม่พอใจ ก็บันดาลให้ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลปลูกข้าวไม่ได้ผลิตผลน้อย ย่อมพบภัยพิบัติเพราะข้าวหายากหมากก็แพง เมื่อพวกพราหมณ์ฮินดูเคารพบูชาพระวิษณุ ซึ่งเป็นความจริงสูงสุดตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทพวกพราหมณ์เป็นนักคิด และหาเหตุผลทางตรรกได้ดีกว่าชาวขอมไม่นานนักก็สามารถเปลี่ยนจิตใจของเจ้าเมืองน้อยใหญ่ในอาณาจักรขอม หันมานับถือพระวิษณุเทพเจ้าแห่เกษตรกรรมตามคำสอนของพวกพราหมณ์ประกอบกับ เมืองพระนครเป็นเมืองตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำจากโตนเลสาบ ชาวเมืองเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรกรรมได้ผลดีตามฤดูกาลประชาชนมีอยู่มีกิน และในน้ำของโตนเลสาบมีปลาชุมชุม ในทุ่งนาอันกว้างมีข้าวเพาะปลูกได้งามตามฤดูกาล ไม่อดไม่อยากขาดแคลนอาหารประชาชนชาวขอมอยู่เย็นเป็นสุขอยู่เสมอ ย่อมสนใจในปรัชญาศาสนาฮินดูที่พวกพราหมณ์นำมาเผยแผ่และได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตให้คำปรึกษาแก่ชนชั้นปกครอง พวกนี้มีการศึกษาด้านโหราศาสตร์สามารถคาดคะเน เหตุการณ์บ้านเมืองที่ไม่แน่นอนได้อย่างแม่นยำและเผยแผ่คำสอนตามนอกคัมภีร์พระเวท จึงเป็นปุโรหิตที่ปรึกษาคนสำคัญสำหรับชนชั้นปกครองในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ในสังคมเจ้าเมืองน้อยใหญ่ ต่างมีความคิดความมักใหญ่ใฝ่สูงตลอดเวลาเพราะฉะนั้นเมื่อสิ้นรัชกาลของกษัตริย์พระองค์ใดบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ มักจะประกาศตนเป็นอิสระจากการปกครองของอาณาจักรขอม พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ แห่งเมืองพระนครจึงต้องยกทัพเข้าปราบปรามได้ทำสงครามกลางเมืองในราชอาณาจักรเป็นประจำ
ก่อนยกทัพไปทำสงครามแต่ละครั้ง ผู้นำทัพต้องทำพิธีบวงสรวงพระวิษณุให้คุ้มครองรักษาชีวิตให้รอดปลอดภัยได้รับชัยชนะกลับมา ดังนั้น เมื่อได้ไปทำสงครามกลางกับเมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศคืออาณาจักรจาม จนได้รับชัยชนะเหนือเจ้าเมืองต่าง ๆและอาณาเขตต่างประเทศ จนพ่ายแพ้กลับไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพ และสัญญาลักษณ์แห่งชัยชนะของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ และเป็นถวายคุณความดี แด่พระวิษณุเทพจึงทรงสร้างปราสาทหินนครวัด เป็นสถานที่ประทับของวิษณุเทพด้วยปราสาทแห่งนี้ใช้เวลาสร้าง ๑๐๐ ปี ใช้แรงงานทาสจำนวนหลายหมื่นคนที่เป็นพลเมืองของประเทศราช ที่แพ้สงครามได้ถูกจับมากวาดต้อนมาจากเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรขอมมาทำการก่อสร้างปราสาทหินนครวัด เป็นเทวสถานสำหรับบำเพ็ญสมาธิ เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์บรรลุถึงโมขษของพระมหากษัตริย์ ในยุคสมัยต่าง ๆตรงปราสาทหินซึ่งเป็นประธานสูงสุด เปรียบเสมือนเขาไกรลาส ที่ประทับของพระวิษณุเทพมีระเบียงเดินได้โดยรอบแสดงถึงเขตพระราชฐานชั้นในที่บำเพ็ญเพียรสมาธิของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระรายณ์อวตารมาจากสรวงสวรรค์ให้ผู้คนเคารพบูชาส่วนเขตพระราชฐานชั้นนอก เป็นที่สวดมนต์ของพวกพราหมณ์ปุโรหิตด้วยคัมภีร์พระเวทต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันจึงมีการสร้างห้องเป็นสถานที่เก็บคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ เรียกว่า "บรรณาลัย" ใกล้ปราสาทหินซึ่งเป็นองค์ประธานไว้ด้วย เมื่อพระวิษณุเทพได้ถูกยกขึ้นเป็นเทพรักษาคุ้มครองนักรบให้แคล้วคลาดปลอดภัย จากการทำสงครามได้รับชัยชนะกลับมาก็ได้รับการบูชาต่อไป แต่เมื่อกองทัพพ่ายแพ้สงครามกลับย่อมนำมา ซึ่งความเสื่อมศรัทธาต่อเทพองค์นั้น พวกพราหมณ์ก็ยกเทพองค์ใหม่ขึ้นมาบวงสรวงบูชาต่อไป เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่กษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมืองให้ร่วมเย็นเป็นสุขต่อไป
๒.แนวความเชื่อว่าพระวิษณุเป็นเทพที่มีอยู่จริง
ปัญหาทางปรัชญาควรมีการตั้งคำถามว่า ทำไมชาวพระนครจึงศรัทธาในพระวิษณุเทพมาก จนพวกเขาพากันทำความดีด้วยการสร้างปราสาทหินนครวัดถวายแด่พระวิษณุเทพนั้น ปราสาทหินนครวัดสร้างขึ้นมาด้วยความปราณีตสวยสดงดงาม จนกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ๑ ใน ๗ แห่งของโลกทางด้านวัฒนธรรมที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาและมีอนิสงค์ของการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก ทำให้มีการจำหน่ายตั๋วเข้าชมมรดกในราคาแพงมาก ในแง่ของความเชื่อในปรัชญาศาสนาฮินดู มีทัศนะเชื่อว่าพระวิษณุเป็นเทพเจ้ามีอยู่จริงจึงได้ทำความดีถวายแด่พระวิษณุเพราะเป็นเทพเจ้า ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลให้มนุษย์ให้รอดปลอดภัยให้พ้นจากความทุกข์ จากพวกหมู่มารทั้งหลาย เพราะในสมัยโบราณอาณาจักรขอมมีการทำสงครามเป็นประจำ แค่นี้คงยังไม่เหตุผลเพียงพอที่จะให้เกิดศรัทธาได้มากมายขนาดนั้น เมื่อเราศึกษาถึงภูมิหลังของการบูชาพระวิษณุแล้ว เราพบหลักฐานที่เป็นข้อความหลายแห่งของนักวิชาการว่าในสมัยก่อนพุทธกาล ที่พวกอารยันจะเดินทางเข้าสู่ชมพูทวีปนั้น ดินแดนแห่งนี้มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ คือชาวดราวิเดียนมีแนวคิดในความเชื่อว่าพระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรม เพราะอาชีพหลักของชาวชมพูทวีปคือการทำเกษตรกรรมพวกเขายังไม่มีความรู้ เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาที่สงวนไว้เฉพาะคนในวรรณะพราหมณ์ พวกเขาจึงพากันบูชาพระวิษณุตามคำสอนของพวกวรรณะพราหมณ์ เพื่อให้พวกตนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ และให้พระวิษณุบันดาลให้มีฟ้าฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล มีน้ำท่าใช้ในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ ไม่เกิดภาวะฝนแล้งขาดแคลนน้ำ และในสมัยก่อนพุทธกาลดินแดนชมพูทวีปจึงอุดมสมบรูณ์ไปด้วยน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัย จนเกิดแม่น้ำหลายสายทำให้ชาวชมพูทวีปทำการเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมได้ผลดีมากมายเพราะมีเทือกเขาหิมาลัยอันยาวไกล เป็นม่านกั้นหมอกให้กลั่นตัวจากเมฆหมอกกลายมาเป็นหยดน้ำฝนไหลลงสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ยมุนา มีอาณา เขตกว้างใหญ่

เมื่อแนวคิดทางปรัชญาศาสนาฮินดูได้เผยแผ่สู่ดินแดนอาณาจักรขอมโบราณ ซึ่งตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำจากโตนเลสาบน้ำจืด มีเนื้อที่กว้างไกลไม่น้อย ๗,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมมาก และทำได้ตลอดทั้งปี และพวกเขาดำรงชีวิตอยู่กับความไม่แน่นอนของชีวิตเช่นเดียวกันเพราะผลจากการเกิดสงครามบ่อยครั้ง จึงเป็นเรื่องง่ายที่พวกพราหมณ์ได้เดินทางมาเผยแผ่คำสอนปรัชญาศาสนาฮินดูที่จะเปลื่ยนวิธีคิดของการใช้ชีวิตของชาวขอมโบราณ เมื่อพวกพราหมณ์ได้ประกอบพิธีกรรมบูชาพระวิษณุให้ฟ้าฝนตกถูกต้อง ตามฤดูกาลปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมได้งอกงามดี อุดมสมบรูณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญหารนาน ๆ ชนิดสมกับความปรารถนาทุกประการ จึงไม่เป็นการยากที่จะได้รับความศรัทธามากมายจากชาวขอมโบราณเมื่อแนวความคิดปรัชญาศาสนาฮินดูเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ทำให้พระวิษณุได้รับการบูชาในฐานะเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางเกษตรกรรมไปด้วย
แต่ในทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า ในความเชื่อศรัทธาในพระวิษณุเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงนั้น เพราะมีเหตุปัจจัยที่สำคัญมาสนับสนุนความเชื่อดังกล่าวคือเมืองพระนครเป็นดินแดนที่ราบลุ่มต่ำมีแม่น้ำโขงไหลลงมาจากที่ราบสูงธิเบตตลอดทั้งปี ทำให้เมืองพระนครนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำซึ่งซึ่มซับจากแม่น้ำโขงทำให้เมืองพระนคร มีน้ำทำการเกษตรกรมได้ตลอดทั้งปี ไม่มีเหตุผลใดจะอธิบายว่าจะไม่มีน้ำจากแม่น้ำโขงทำการเกษตรกรรม ได้การประกอบพิธีกรรมบูชาพระวิษณุในแต่ละปี ทำให้พืชผลของทำการเกษตรอุดมสมบูรณ์เรื่อยมาทุกปี เกษตรกรชาวพระนครจึงเกิดความเชื่อว่า พระวิษณุเป็นเทพเจ้าที่มีอยู่จริง ช่วยให้ชาวพระนครเจริญรุ่งเรืองด้วยการทำเกษตรเพราะมีน้ำจากแม่น้ำโขงทำการเกษตรกรรมตลอดทั้งปีพระวิษณุเป็นเทพเจ้าผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์ในพืชผลทางการเกษตร ทำให้เมืองพระนครอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตรไม่เคยขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อทำ การเกษตร จึงไม่มียุคใดที่ข้าวหายากหมากมีราคาแพงเพื่อระลึกถึงความดีของพระวิษณุเทพ ชาวขอมโบราณจึงพาทำความดีถวายแด่พระวิษณุเทพที่บันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลชาวนาทำนาได้เพราะน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งเมือง
เมื่อประชาชนชาวขอมแห่งอาณาจักรขอมโบราณประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขผู้คนดำรงชีพด้วยความเมตตากรุณาต่อกันจึงเกิดศรัทธา ก่อสร้างเทวสถานปราสาทหินนครวัด เพื่อใช้เป็นที่สวดมนต์สรรเสริญคุณบูชาพระวิษณุตามความเชื่อของศาสนาฮินดูนิกายไศวะเป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นบนเนื้อที่ ๑๒๕๐ ไร่ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสสร้างเป็นคูน้ำล้อมรอบองค์ปราสาทเฉพาะความกว้างของคลองน้ำประมาณ ๕๐ เมตร คูน้ำเกิดจากการใช้แรงงานทาสมนุษย์ขุดขึ้นมา ทำให้มีน้ำไหลออกมาและขังตลอดทั้งปี เพราะดินแดนอาณาจักรขอมโบราณเป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในดินแดนที่มีพื้นที่ตั้งเมืองเป็นสถานที่ต่ำกว่าอาณาจักรล้านช้างถึงถูกเรียกว่า "เขมรเมืองต่ำ" เมื่อเป็นดินแดนเมืองต่ำทำให้มีน้ำจากแม่น้ำโขงซึ่มซับ ในพื้นที่เกษตรกรรมอันกว้างใหญ่ ใช้ทำการเพาะปลูกตลอดทั้งปีดังนั้นแนวคิดว่าด้วยความจริงสูงสุดทางอภิปรัชญาในปรัชญาศาสนาฮินดู คือพระวิษณุภายในปราสาทหินนครวัดมีกลุ่มปราสาท ๕ องค์คือปราสาทสูงสุด สมมติเป็นยอดเขาพระสุเมรุเป็นที่อยู่ของเทวดา และสวรรค์ชั้นต่าง ๆ โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองอาณาจักรขอมโบราณ เป็นผู้ก่อสร้างปราสาทนครวัดแห่งนี้ เมื่อประมาณพ.ศ.๑๖๕๐ ถึง พ.ศ.๑๗๒๐ โดยถวายหอแห่งนี้น่าจะเป็นเทวสถาน เพื่อใช้สวดมนต์และปฏิบัติบูชาเทพเจ้าของพวกเขาเพราะจะมีบรรณาคาร ใช้เป็นสถานที่เก็บบทสวดมนต์ของพวกพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมในเทวสถานแห่งนี้ ความยิ่งใหญ่ของสถานที่แห่งนี้ อยู่ที่ก้อนหินทุกก้อนล้วนทรงคุณค่าที่แลกมาด้วยชีวิตของพวกทาสทั้งชายและหญิงจำนวนมหาศาลที่ขนก้อนหินเหล่านี้
มูลเหตุที่สร้างปราสาทหินนครวัด น่าจะมีมูลเหตุจากการทำสงครามแย่งอำนาจอธิปไตยในการปกครองอาณาจักรขอมโบราญหลังจากยุคสมัยรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ผ่านพ้นไป บรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่เคยเป็นเมืองขึ้น ก็ตั้งตนเป็นใหญ่หลายเมืองไม่ยอมส่งเครื่องบรรณาการอีกต่อไป เวลาไม่น้อยกว่าครึ่งศตวรรษ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทำการปราบปรามบรรดาเจ้าเมืองเหล่านั้นรวมทั้งอาณาจักรจามที่อยู่ในประเทศเวียมนามปัจุบันด้วย เมื่อได้รับชัยชนะแล้วทรงสร้างสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของพระองค์เหนืออาณาจักรต่าง ๆ และถวายคุณความดีแก่พระวิษณุเทพรักษาปกป้องคุ้มครองปลอดภัยจากการทำศึกสงคราม ทำให้พระองค์ได้รับชัยชนะเหนือเมืองอื่น ๆ ที่ประกาศตนเป็นอิสระ ทรงเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรขอมนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะยกย่องพระวิษณุให้เทพแห่งปกครองคุ้มครองพระองค์ ให้ปลอดภัยในยามออกศึกสงครามต่อสู้กับเจ้าเมืองต่างๆ ดังนั้นก่อนยกทัพออกไปศึกสงคราม ก็ประกอบพิธีกรรมบวงสรวงบูชาพระวิษณุเพื่อเทพปกป้องคุ้มครองตน เมื่อทำสงครามได้รับชัยชนะกลับมาจึงสร้างปราสาทนคร เพื่อเป็นความดีถวายแด่พระวิษณุอิทธิพลแนวคิดการใช้ชีวิตตามปรัชญาศาสนาฮินดูนิกายไศวะ ได้แผ่อิทธิความคิดการใช้ชีวิตมาสู่กษัตริย์และประชาชนในดินแดนแถบนี้ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในดินแดนแถบนี้โดยเฉพาะกษัตริย์ผู้ปกครองประเทศได้เปลื่ยนแปลงไป เพราะจิตเป็นผู้รู้คำสอนในศาสนาฮินดูว่าความจริงสูงสุดในปรัชญาศาสนาฮินดู คือเทพเจ้าพระวิษณุ
ที่มาของความรู้ในญาณวิทยา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาเป็นความรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของพระองค์ ในการศึกษาคัมภีร์พระเวทตามคำแนะนำของพราหมณ์เมื่อพระองค์เกิดความรู้ความเข้าใจในคำสอนในคัมภีร์พระเวทแล้วเกิดพระราชศรัทธาในพระหฤทัยของพระองค์ด้วยจิต คิดลงมือทำความดีด้วยการกระทำ ด้วยการสร้างปราสาทหินนครวัดดังนั้นพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงศรัทธาในพระวิษณุทรงปราสาทปราสาทนครวัดขึ้นมา เพื่อถวายแด่พระวิษณุเป็นความดีที่สั่งสมในจิตของตนให้แก่พระวิษณุขึ้นมา ปราสาทนครวัดความงดงามสะท้อนผืนน้ำปราสาทหินนครวัดเป็นปราสาทที่มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนปราสาททั่วไป กล่าวคือการสร้างปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ในช่วงเวลาบ่ายแสงอาทิตย์ก็สาดส่องแสงสว่างมากระทบที่ตัวปราสาทอย่างร้อนและแรงจัด จิตของผู้เขียนเห็นความงดงามหาที่ติไม่ได้ของตัวปราสาทนครวัดที่ได้สะท้อนภาพลงไปผืนน้ำอันกว้างใหญ่หน้าปราสาทนครวัดผืนน้ำ ดังกล่าวเปรียบเสมือนกระจกใบใหญ่ทีส่องเงาปราสาทกอันกว้างใหญ่ในยามบ่ายของทุกวันบุคคลผู้มีความละเอียดอ่อนไหวไปตามอารมณ์ และความคิดลึกซึ้งแห่งจิตวิญญาณเท่านั้น ที่จะมองเห็นมโนภาพของความงดงามในตัวปราสาทนครวัด บนพื้นน้ำอันสงบตลอดปีตลอดชาติเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วเป็นเพราะมโนทัศน์อันลึกซึ้งกว้างไกลของผู้ปฏิบัติธรรมภาวนาถึงได้สร้างปราสาทให้มีความละเอียดละออหาที่ติไม่ได้ เลยบริเวณหน้าปราสาททางทิศตะวันจะมีสระน้ำสร้างขึ้นมา เทวสถานหลวงประจำรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ เป็นใช้สถานที่สวดมนต์เป็นประจำของพระองค์ บนปราสาทกลางขนาดใหญ่สูงโดดเด่นกว่าปราสาทหินหลายองค์ ผู้เขียนเดินรอบมีระเบียงวิหารคตแสดงถึงเขตพระราชฐานชั้นในสำหรับพระมหากษัตริย์ เพื่อชมวิวที่มองเห็นได้ทุกจุดของระเบียงวิหารคตแห่งนี้ ผู้เขียนมองลงมาจากบนปราสาทนครวัด อันเป็นสถานที่สวดมนต์ชมรูปสลักนางอัปสรนับหมื่นองค์ชมภาพแกะสลักนูนต่ำการกวนเกษียรสมุทรซึ่งเป็นพิธีกรรมโบราณอันศักดิ์สิทธิ์และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น