The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทนำ ปราสาทหินนครวัด เทวสถานในปรัชญาศาสนาฮินดู



Introduction to Angkor Wat in Hinduism (Pengantar Angkor Wat dalam agama Hindu)
吴哥窟简介印度教中的圣殿

ปราสาทนครวัด
ปราสาทนครวัด ๒๕๕๙ 

คำสำคัญ ปรัชญาพราหมณ์, ปรัชญาฮินดู, ปราสาทหินนครวัด

๑.บทนำ 
๒.แนวคิดปรัชญพราหมณ์-ฮินดู 
๓.ปราสาทหินนครวัด 

๑.บทนำ  
    
           ในสมัยก่อนพุทธกาล ชาวอารยันและดราวิเดียนแห่งอนุทวีปอินเดีย เชื่อในคำสอนของพราหมณ์ว่า มีเทพเจ้าหลายองค์ที่ช่วยให้ผู้คนประสบความสำเร็จในชีวิตและลงโทษผู้ที่ไม่เชื่อในเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์ ส่วนชาวดราวิเดียนถือว่าน้ำเป็นเทวดา ส่วนชาวอารยันถือว่าพระอิศวรและพระพรหมเป็นเทพเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่าเทวดาของชาวดราวิเดียน เพราะพระพรหมทรงสร้างมนุษย์จากพระกายของพระองค์  แต่การบูชาด้วยของมีค่าต่างๆ ต่อเทพเจ้าหลายองค์นั้น สร้างความร่ำรวยให้กับพราหมณ์ทุกนิกาย เพื่อรักษาศรัทธาและผูกขาดการบูชาเทพเจ้าในนิกายของตนเอง เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต (priesthood)  จึงเสนอตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ โดยอ้างพระพรหมสร้างวรรณะให้มนุษย์ทำหน้าที่ตามวรรณะ เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ในการทำงานให้กับมนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นมานั้น โดยกำหนดสาระสำคัญของกฎหมายวรรณะมีข้อห้ามในการแต่งงานข้ามวรรณะ และห้ามทำงานข้ามวรรณะซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ของคนวรรณะอื่น รวมทั้งการศึกษา การปกครองประเทศ และประกอบพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ หากฝ่าฝืนกฎหมายต้องสละวรรณะ   และกลายเป็นจัณฑาลไม่มีสิทธิและหน้าที่ในการทำงานตามวรรณะที่เกิดอีกต่อไป ส่งผลให้ลูกที่เกิดมาพร้อมวรรณะไม่บริสุทธิ์ทำให้เกิดปัญหาสังคมเพราะอคติของมนุษย์ที่ชอบดูหมิ่น เกลียดชังและรังแกคนวรรณะต่ำหรือคนตระกูลต่ำ เป็นต้น 

        ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของระบบวรรณะถูกทำลายหลังจากพระพุทธศาสนาถือกำเนิดและดำรงอยู่มานานกว่า ๑,๕๐๐ ปีและศาสนบุคคลในพระพุทธศาสนาเสื่อมจากอนุทวีปอินเดียเพราะการไม่ปฏิบัติตามพระธรรมและพระวินัยของชาวพุทธในอนุทวีป  แต่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนของรัฐสุวรรณภูมิ  เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรโมริยะมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตชาวสุวรรณภูมิให้มีชีวิตที่เข้มแข็ง ชำระล้างกิเลสจนจิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว มีบุคคลิกที่อ่อนโยนเหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีจิตใจมั่นคงในอุดมการณ์ และไม่อ่อนไหวต่อปัญหาหนักในชีวิตของตนเองจนเกิดสติปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองได้ ยุคต่อมาชาวพุทธดำเนินชีวิตอย่างประมาทเลินเล่อ ไม่ศึกษาด้านปริยัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น จึงไม่เป็นศรัทธาของชาวบ้านอีกต่อไป เป็นโอกาสสำหรับพราหมณ์ที่ปฏิรูปตัวเองโดยนำคำสอนของพุทธศาสนาประยุกต์ใช้ในศาสนาพราหมณ์ และนักวิชาการสมัยใหม่จึงเรียกศาสนาพราหมณ์ใหม่ว่า "ศาสนาฮินดู" และยกเลิกการบูชายัญด้วยฆ่าสัตว์นำไปสู่การบริโภคมังสวิรัติโดยเจตนา เพื่อชำระร่างกายและจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ นักวิชาการสมัยใหม่จึงเรียกศาสนาพราหมณ์ใหม่ว่าศาสนาฮินดู พวกพราหมณ์ได้เผยแผ่ศาสนาฮินดูไปยังดินแดนต่างๆ ตามเส้นทางการค้าในสมัยโบราณและเดินทางไปเผยแผ่คำสอนศาสนาฮินดูในอาณาจักรเขมรโบราณ จนกลายเป็นความเชื่อของคนในสมัยนั้นและมีการสร้างเทวสถานในศาสนาฮินดู เช่น ปราสาทหินนครวัดและปราสาทอื่น ๆ เป็นเทวสถานที่ประทับของเทพเจ้าทั้ง ๓ 

          ปราสาทนครวัดสร้างขึ้นโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แห่งอาณาจักรเขมรโบราณเพื่อเป็นเทวสถานที่ประทับของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู  พระองค์ทรงถวายคุณความดีแด่พระวิษณุโดยทรงเชื่อว่า  พระวิษณุเทพช่วยพระองค์ทรงชนะสงครามเหนืออาณาจักรเจนละ และประกาศว่าอาณาจักรเขมรโบราณเป็นรัฐอิสระจากอาณาจักรชวา พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ทรงนับถือศาสนาฮินดูนิกายไวษณพที่เชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่าพระวิษณุ พระอิศวรและพระพรหม เป็นเทพเจ้าที่แท้จริง พวกพราหมณ์นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องวัฏจักรแห่งความตายและกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ และความรู้ที่อยู่ระดับเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์นำไปสู่การพัฒนาแนวคิดโดยตีความว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพเจ้าที่อวตารมาในโลกมนุษย์ เพื่อดูแลทุกข์สุขของประชาชน ดังนั้นเมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงต่อสู้สงครามนี้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕๐ ปี พระองค์จึงได้รับชัยชนะโดยเชื่อว่าเทพเจ้าช่วยให้ได้รับชัยชนะเหนืออาณาจักรเจนละ mเมื่อพระองค์ทรงชนะสงครามและทรงมอบคุณงามของความดีให้กับพระวิษณุเทพ เพราะพระองค์คิดว่าพระวิษณุอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของชัยชนะเหนือเจ้าเมืองเจนละในครั้งนี้ 

      ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงสนใจศึกษาปราสาทนครวัด เทวสถานในศาสนาฮินดูโดยรวบรวมหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎก และเอกสารวิชาอื่นๆ เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ คำตอบในบทความที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูล จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาปรัชญาศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากโบราณสถานของนครวัดที่ยังหลงเหลืออยู่ในยุคปัจจุบัน น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาปรัชญาที่มุ่งสอนให้มนุษย์คิดอย่างมีวิจารณญาณและมีความคิดอย่างเป็นระบบในการตัดสินความรู้ที่ถูกต้อง เป็นต้น
.

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ