Introduction to Prasat Hin Phanom Wan in Hindu philosophy
บทนำ ปราสาทพนมวันเทวสถานในปรัชญาฮินดู
โดยทั่วไป ชีวิตมนุษย์ทั่วโลกเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้เรื่องชีวิตว่าเต็มได้วยความทุกข์จากการฆ่ากัน ลักทรัพย์หรือฉ้อโกงให้ได้มาซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น ประพฤติผิดในกาม การดูหมิ่นผู้อื่น การดื่มสุราและยาเสพติด เป็นต้น สาเหตุมาจากตัณหาซึ่งเป็นอารมณ์ที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจของผู้อื่น มักจะแสดงออกมาในยามที่จิตใจของพวกเขาขาดสติ ไม่สามารถคิดก่อนลงมือกระทำกรรมว่า การกระทำนั้นผิดหลักศีลธรรมและกฎหมาย เมื่อลงมือกระทำโดยเจตนา ผลการกระทำที่ผิดศีลธรรมนั้น ก่อนอารมณ์กรรมจะสูญหายไปจากสายตามนุษย์ มนุษย์ก็เก็บอารมณ์กรรมของตนเองไว้ในจิตใจ เมื่ออารมณ์กรรมเหล่านั้นมีค่าเป็นกุศลเพราะเกิดจากกายสุจริต วจีสุจิตและสมโนสุจริตแล้ว ดวงวิญญาณผู้นั้นจะไปเกิดบนโลกสวรรค์ หรือกลับมาเกิดในโลกมนุษย์ หากอารมณ์กรรมเหล่านั้นมีค่าเป็นอกุศล เพราะเกิดจากกายทุจริต วจีทุจิตและสมโนทุจริตแล้ว ดวงวิญญาณผู้นั้นจะไปเกิดบนทุคติ อบายและนรก เป็นต้น
เมื่อมนุษย์มีความกลัวซ่อนอยู่ในจิตใจของทุกคน มักเป็นคนขึ้ขลาดที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริงของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต เพราะยึดติดกับความสุขที่เคยมี พอใจในสิ่งที่ตนเคยได้ และกลัวความผิดพลาดจะที่เกิดขึ้นในชีวิต มนุษย์ทุกคนต้องแสวงหาที่พึ่งอันประเสริฐเมื่อได้ยินความคิดเห็นว่าเทพเจ้าองค์ใดดีก็จะแห่กันไปพึ่งด้วยการบูชาและขอพรจากเทพเจ้าองค์นั้น จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต เมื่อใครบูชาเทพเจ้าองค์ใดแล้วไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ก็จะแสวงหาเทพเจ้าองค์ใหม่มาบูชา และขอพรจากเทพเจ้าองค์นั้นเพื่อให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
เมื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เคยเป็นดินแดนที่ถูกปกครองโดยรัฐสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นรัฐอธิปไตยที่ได้รับเอกราชมาหลายร้อยปี ก่อนรัฐสุวรรณภูมิที่จะล่มสลายตามกฎธรรมชาติ ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะประกาศตนเป็นรัฐเอกราช สถานที่แห่งนี้ มีโบราณสถานเก่าแก่มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี หลายแห่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของปรัชญาฮินดูที่เผยแผ่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ก่อนที่แนวคิดปรัชญาฮินดูจะเสื่อมถอยลงตามกฎธรรมชาติ เหลือเพียงร่องรอยอารยธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดของตนเองเท่านั้น ผู้เขียนได้เดินทางไปที่วัดปราสาทหินพนมวันหลายครั้ง และรับรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองว่า ปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้คนเชื่อว่าปราสาทแห่งนี้เป็นวัดฮินดูอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
ผู้เขียนเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญา และเคยนำนิสิตคณะพุทธศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ ภาควิชาพระพุทธศาสนา ทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาศาสนาพราหมณ์และฮินดู ปราสาทหินพนมวันเป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นเป็นวัดเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมบูชายัญแบบฮินดู เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต ของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ผู้ปกครองอาณาจักรขอมโบราณ พระองค์ทรงศรัทธาในคำสอนของศาสนาฮินดู ปราสาทหินพนมวัน จึงเคยเป็นวัดในนิกายไศวะของศาสนาฮินดูมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เขียนได้รับรู้ถึงการมีอยู่จริงของปราสาทหินพนมวันและยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริง อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์ที่มีอยู่ในจิตใจนั้น ประวัติความเป็นมาของปราสาทแห่งนี้ยังไม่ชัดเจน ประมาณปี พ.ศ. ๑๓๓๑ - ๑๓๖๓ ในดินแดนอนุทวีปอินเดีย นักปราชญ์ฮินดูนามว่า "ศังกาจารย์" ก่อตั้งลัทธิอทไวตเวทานตะ เพื่อทำลายความเชื่อของชาวพุทธในอนุทวีปอินเดียนักปรัชญฮินดูชื่อ"ศังกาจารย์" ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดพื้นฐานของปรัชญาพุทธศาสนามหายานเนื่องจากศังกาจารย์ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนาลันทาโบราณ เมืองนาลันทา แคว้น มคธ เขาจึงสนใจวิชา "ตรรกศาสตร์" ซึ่งอธิบายวิธีการใช้เหตุผล การตีความปรัชญาพุทธมหายาน และการประยุกต์ใช้ปรัชญาพุทธมหายานเพื่ออธิบายปรัชญาพราหมณ์ เพื่อพัฒนาคำสอนของศาสนาพราหม์ให้เป็นคำสอนของศาสนาฮินดูจนถึงทุกวันนี้ พวกพราหมณ์ได้นำคำสอนของศาสนาฮินดู มาเผยแผ่คำสอนในรัฐสุวรรณภูมิ ตามเส้นทางการค้าโบราณมาสู่อาณาจักรขอมโบราณ มีพื้นที่ครอบคลุมเขตอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์และอำเภอพิมาย อำเภอเมืองนครราชสีมา ในช่วงปีพ.ศ.๑๕๔๓-๑๖๔๓ ก่อนจะตกเป็นอาณานิคมของราชอาณาจักรสุโขทัยและราชอาณาจักรอยุธยา

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนจึงสงสัยในประวัติของปราสาทหินพนมวัน เป็นวัดในศาสนาฮินดูหรือไม่? แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตัดสินใจสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ จากเอกสารของกองโบราณคดีศิลปากร และพยานวัตถุของจารึกปราสาทหินพนมวัน ตัวปราสาทหินพนมวัน และพยานบุคคลได้แก่ ความเห็นของเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี ที่ได้แปลอักษรขอมจารึกปราสาทพนมวัน เพื่อหาเหตุผลของคำตอบในปราสาทหินพนมวันนี้ บทความเรื่องปราสาทหินพนมวัน นี้จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตในการศึกษาปรัชญาศาสนาพราหมณ์ฮินดู เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้การพัฒนาความคิดของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ที่มาของความรู้จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย ในการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านศาสนาและวัฒนธรรมต่อไป รวมทั้งการนำพิธีกรรมบูชายัญนั้น มาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น