The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

บทนำ: แคว้นโกศลในพระไตรปิฎกตามปรัชญาพุทธภูมิ

Introduction: The Kosol region in Tripitaka according to  Buddhaphumi's philosophy

๑.บทนำความเป็นมาและความสำคัญ  

     แคว้นโกศล(Kosol country)ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณเรียกว่า  "แคว้นโกศล" ถือเป็นประทศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เป็นฉากหลังและบริบทสำคัญของเหตุการณ์และเรื่องราวต่าง ๆมากมายเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า และเป็นบ้านเกิดของบุคคลสำคัญหลายท่านในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา   ราชวงศ์ที่ปกครองประเทศในสมัยพุทธกาลคือวงศ์อิกษวากุ(โอกกากะ)  เป็นราชวงศ์ที่มีอำนาจและอิทธิพลปกครองแคว้นโกศลมายาวนาน

๒.ความเป็นของประเทศ

      โกศลเป็นหนึ่งในมหาอำนาจ  ๑๖ ประเทศในสมัยพุทธกาลของอนุทวีปอินเดีย ซึ่งตั้งอยู่ตอนเหนือของประเทศอินเดียในปัจจุบันมีเมืองสาวัตถีเป็นเมืองหลวงของประเทศโกศล  ดินแดนของประเทศโกศลนั้น   มีอาณาเขตกว้างขวางหลายจังหวัดในสาธารณรัฐอินเดีย โดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบน  ลักษณะของภูมิประเทศเหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้แคว้นโกศลมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยการเกษตรกรรม  เป็นแหล่งผลิตข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศโกศลเจริญรุ่งเรือง  

๓.ความสำคัญของประเทศโกศลในพระไตรปิฎก 

     ๓.๑ ฉากหลังของเหตุการณ์สำคัญมีหลายเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติเกิดขึ้นในประเทศโกศลเช่น การเสด็จไปโปรดพุทธมารดา การสร้างวัดเชตวันมหาวิหารการสร้างวัดบุพพาราม พระพุทธองค์ทรงจำพรรษานานถึง ๒๕ ปี  เป็นต้น   การที่เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้ เกิดขึ้นในประเทศโกศล ทำให้ประเทศโกศล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา  
     ๓.๒ ศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โกศลเป็นหนึ่งในประเทศที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามากที่สุด  และสอนให้ชาวโกศลรู้จักการพัฒนาชีวิตตามหลักปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อพัฒนาชาวโกศลได้เห็นสัจธรรมของชีวิต เห็นดวงวิญญาณของคนชั่วไปชดใช้กรรมในนรก  หรือไปสถิตย์บนโลกสวรรค์ ทำให้พระภิกษุ พระภิกษุณี  อุบาสถและอุบาสิกา  เกิดขึ้นมากมาย  ทำให้ประเทศโกศลกลายเป็นศูนย์กกลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญ มีการสร้างวัดวาอารามและสถานที่ปฏิบัติธรรมมากมาย
     ๓.๓ บ้านเกิดของบุคคลสำคัญ   ประเทศโกศลเป็นบ้านเกิดของบุคคลสำคัญหลายท่านในพุทธประวัติ เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นกษัตริย์ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา     อนุโมทนาในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง พระองคุลีมาล  พระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีพระอานนท์   พระสารีบุตรรและพระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นพระสาวกสำคัญของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศโกศล          ๓.๔ สะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในสมัยพุทธกาล    เมื่อพระไตรปิฎกที่กล่าวถึงประเทศโกศลสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต  สังคมและวัฒนธรรมของคนในสมัยพุทธกาล เช่น     ระบบการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและความเชื่อซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี   

       ดังนั้น ประเทศโกศลในพระไตรปิฎกมีความสำคัญอย่างยิ่งในด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและการศึกษา      การศึกษาเกี่ยวกับประเทศโกศล     ช่วยให้เราเข้าใจบริบทของประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สังคม และวัฒนธรรมในสมัยพุทธกาลได้ดียิ่งขึ้นและยังช่วยให้เราเข้าใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย        

       เมื่อปีค.ศ.๒๐๐๒ผู้เขียนและคณะผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปแสวงบุญที่อำเภอสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียเป็นครั้งแรก ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศโกศลที่เคยเจริญรุ่งเรืองในอดีตในปีนั้น  ผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธเกือบ ๓๐ คนส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาปริญญาโท    และปริญญาเอกกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียในสมัยนั้น      เมืองสาวัตถีถูกปกคลุมด้วยหมอกและอากาศก็หนาวเย็นมาก เมืองยังไม่เจริญมากนักมีผู้แสวงบุญเพียงไม่กี่คน    แต่ผู้แสวงบุญอย่างพวกเรามีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า    และพร้อมที่จะวิธีปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยความพากเพียรอยู่แล้ว   และมีสตินึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้านำมาใช้ในชีวิตประจำของตนเอง 

     เมื่อรำลึกถึงชีวิตของผู้เขียนเมื่อ ๑๘ ปีที่แล้ว   ผู้เขียนและผู้แสวงบุญอีก ๓๐ คน ขึ้นรถบัสจากวัดมายาเทวี    จังหวัดลุมพินีในท่ามกลางสายลมหนาวที่พัดมาจากเทือกเขาหิมาลัย หลังจากผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองสิทธัตถะในด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศเนปาล และเมืองโสเนารีในสาธารณรัฐอินเดีย   ลมหนาวพัดความหนาวเย็นจากเทือกหิมาลัยมายังจุดหมายปลายทางของเราที่เมืองสาวัตถี   รัฐอุตตรประเทศ  เมื่ออากาศหนาวเย็นขึ้น ก็เริ่มมีหมอกหนาปกคลุมขึ้นเรื่อย ๆ แผ่ขยายไปยังที่ราบกว้างใหญ่ที่ล้อมรอบแคว้นโกศลทั้งหมด ผู้คนทุกวรรณะต่างรู้สึกถึงความหนาวลึกๆในใจ  ผู้แสวงบุญแต่ละคนนั่งเงียบ  ๆ กอดหน้าอกตัวเองไว้ด้วยความหนาวเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีใครหนีพ้นความหนาวได้   เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เหวี่ยงโลกให้ไกลออกไปที่สุดในระบบสุริยจักรวาล  ทำให้ความร้อนบนโลกลดลงน้อยลง เพราะความเย็นแทรกซึ่มเข้าแทนที่ความรู้อนเป็นกฎธรรมชาติที่ทุกชีวิตไม่อาจหลีกไปได้
บ้านของอนาถบิณฑิกคหบดี๒๕๖๓  

    ในปีพ.ศ.๒๒๒ เมื่อถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโมริยะ  เมื่องสาวัตถีแห่งแคว้นโกศลกลายเป็นเมืองร้าง เหลือเพียงวัดเชตวันมหาวิหารซึ่งมีอยู่เกือบพันปีแล้ว และก็เสื่อมสลายลงไปตามกาลเวลาการแสวงบุญของผู้เขียนและผู้แสวงบุญเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีนั้นรู้เพียงว่าเมืองสาวัตถีโบราณนั้น  มีเพียงซากปรักหักพังของโบราณสถานเช่นวัดเชตวันมหาวิหาร  สถูปบ้านของปุโรหิตซึ่งเป็นบิดาของโจรองคุลีมาร และสถูปของบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเท่านั้น เมื่อรถบัสที่นำผู้เขียนและผู้แสวงบุญ ๓๐  คน รถก็วิ่งไปตามถนนแคบ  ๆ ผ่านหมู่บ้านหลายแห่งไม่เหลือวัดพุทธให้เห็นอีกเลย  มีเพียงเทวสถานซึ่งเป็นสถานที่สถิตย์อยู่ของเทพเจ้า ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูโดยส่วนใหญ่ทาสีแดงแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน ซึ่งยังคงยึดมั่นในเจตนารมณ์ของพิธีบูชาและขอพรให้ประสบความสำเร็จในชีวิต  ซึ่งสามารถมองเห็นได้ตลอดทาง  สองข้างทางแคบๆ ผู้เขียนได้เห็นทุ่งนาในฤดูฝน และถั่วที่ปลูกเป็นอาหารมังสิวิรัต เพื่อความบริสุทธิ์ของกายและจิตวิญญาณตามแนวคิดของศาสนาฮินดู หน่วยงานราชการและโรงเรียนเปิดสำนักงานตลอดเส้นทาง การมีอยู่ของแคว้นโกศลนั้น    แม้ว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ของเมืองสาวัตถีของแคว้นโกศลจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่สถานะของแคว้นโกศลยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการศึกษาและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้คน แม้ระยะทางจะไม่ไกลมากนัก แต่สภาพถนนไม่เอื้ออำนวยต่อการเร่งความเร็วของรถบัสมากนัก จะใช้เวลาเดินทางไม่น้อยกว่า ๗ - ๘ ชั่วโมง จึงจะถึงวัดไทย ที่เราจะพักในคืนนี้ซึ่งน่าไม่เกิน ๒๑ นาฬิกาและเวลา ๖.๐๐  น ของเช้าวันใหม่ เราจะเดินทางเข้าสู่วัดเชตวันมหาวิหารกันต่อไป(ยังมีต่อ) 

       พวกเราเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอยู่แล้วทรงค้นพบกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณมนุษย์ เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะเกิดจากกรรมของตนเองทรงเห็นวิญญาณออกร่างกายไปจุติจิตในภพภูมิต่าง ๆ เป็นต้นการได้กลับบ้านมาสู่ดินแดนของพระพุทธศาสนา ที่เคยเจริญรุ่งเรืองก่อนจะเสื่อมสลายไป  เพราะอวิชชาของผู้เวียนว่ายตายเกิดในยุคหลังตั้งอยู่ในความประมาทใช้ชีวิตตนมัวเมาในสิ่งภายนอกมากกว่า การค้นหาอริยทรัพย์ภายในของชีวิตตนหลายชีวิตเหนื่อยล้าจากการทำงานตลอดทั้งปี เพื่อนำรายได้มาแลกเปลี่ยนเป็นโภคทรัพย์ภายนอกที่ไม่สามารถนำติดตัวไปได้  เมื่อสิ้นชีวิตลงไปหรือมัวเมาใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะไม่มีวันสิ้นสุด เพราะยึดติดในอารมณ์เหล่านี้จึงพากันสั่งสมอารมณ์เครียดจากการทำงานตลอดไป       

      โดยทั่วไปชาวพุทธทั่วโลกเคยได้ยินข้อเท็จจริงเรื่อง "แคว้นโกศล (Kosala country)  "จากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานในวันธรรมสวนะ   วันวิสาขบูชาและวันมฆบูชาว่า    แคว้นโกศลไม่ใช่สถานที่จาริกแสวงบุญ ๔ แห่งที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องให้เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา  แต่อย่างใด   ตามประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษานานที่สุดถึง ๒๕  พรรษา ปัญหาว่าเมืองเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองได้แก่เมืองใดบ้าง     เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ  และได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว    พระสาวกทั้งหลายไม่มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระองค์อีกต่อไปควรจะทำอย่างไร    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า  เมื่อพระสาวกทั้งหลายยังมีศรัทธาต่อพระองค์  ให้เดินทางไปแสวงบุญยังสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งเพื่อปฏิบัติบูชาและพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามแนวมรรคมีองค์   ๘ จนบรรลุความรู้ขั้นอภิญญา ๖  ดังมีหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯเล่มที่ ๑๐พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกายมหาวรรค ๓ มหาปรินิพพานสูตรเรื่องคำถามพระอานนท์ ข้อ.๒๐๒ พระอานนท์กราบทูลว่า  "ข้าพระองค์ผู้เจริญเมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลาย  มาเฝ้าพระตถาคตข้าพระองค์ทั้งหลาย     ย่อมได้พบได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจก็    เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไม่ได้พบไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจอีก  "พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อานนท์ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่(เป็นศูนย์รวม)ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งอะไรบ้าง คือ 
     ๑.สังเวชนียสถาน  ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า "ตถาคตประสูติในที่นี้"   
     ๒.สังเวชนียสถาน  ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า "ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้"
     ๓.สังเวชนียสถานที่กุลบุตร  ผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า "ตถาคตทรงประกาศธรรม จักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้" 
     ๔.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู  ด้วยระลึกว่า "ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้"
     อานนท์ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู  ภิกษุ ภืกษุณี อุบาสถ อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดูด้วยระลึกว่า"ตถาคตประสูติในที่นี้".....ว่า"     ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้"..ว่า"ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้"ว่า     "ตถาคตได้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ "อานนท์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใสตายไปชนเหล่านั้น  ทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์"

แม่น้ำอจิรวดี  แห่งพระนครสาวัตถี๒๕๖๓ 
     เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เช่นพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  แผนที่โลกกูเกิลและผู้เขียนเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองสาวัตถีด้วยตนเองครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๐๐๒  ในเวลาต่อมาอีกหลายครั้งได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า   ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน  พระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าในอดีต พระภิกษุผู้จำพรรษาในทิศทัั้งหลายเคยได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความปิติ   แต่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว    ก็ไม่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าอีกจะทำอย่างไร ?  พระพุทธเจ้าทรงตอบว่าพระภิกษุทั้งหลาย ควรไปสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง จุดประสงค์ของการจาริกแสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกที่ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าก็คือชีวิตมนุษย์มีวิญญาณซึ่งเป็นตัวตนที่แท้จริง       สถิตย์อยู่ในร่างกายชั่วระยเวลาหนึ่งแล้วก็ดับไป วิญญาณจะออกจากร่างกายแล้วไปเกิดในภพอื่นในวัฏจักรแห่งการดำรงอยู่นี้อย่างไม่สิ้นสุดเพราะอารมณ์แห่งกรรมนั้นสั่งสมอยู่ในจิตใจ

      โดยทั่วไปแล้ว    องค์ประกอบของชีวิตทุกคนล้วนเกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจ  เมื่อจิตใจใช้อายตนะภายในของร่างกาย รับรู้อารมณ์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นและเก็บอารมณ์เหล่านั้นมาสั่งสมอยู่ในจิตใจ    การฆ่าคน  การลักขโมยของผู้อื่น  การร่วมประเวณีกับคนในครอบครัวของผู้อื่น  การดูหมิ่นผู้อื่น   การแสวงหาความสุขในทางที่เสื่อมโดยดื่มสุราและยาเสพติดนั้น  ตามตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นกรรมชั่วบุคคลนั้นจะต้องไปเกิดในนรกที่เรียกว่า"ทุคติภูมิ" ในช่วงที่มนุษย์ยังไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงมีชีวิตที่อ่อนแอเมื่อร่างกายและจิตใจถูกละเมิด ย่อมเกิดอารมณ์โกรธ  อารมณ์เกลียดชัง  อารมณ์รักและความโง่เขลาจะเข้ามากระทบจิตใจย่างรุนแรงจนสูญเสียสติสัมปชัญญะไม่สามารถระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจว่าการฆ่าคนตาย  การลักขโมยของผู้อื่นการประพฤคิผิดต่อบุคคลในครอบครัวของผู้อื่น  การใช้ถ้อยคำดูหมิ่นคนอื่น  การแสวงหาความสุขในทางที่เสื่อมด้วยการดื่มสุราและยาเสพติดซึ่งถือว่า      เป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลของประชาชนทำให้สังคมไม่มีความสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรม  และกฎหมายการฆ่าคนตายทำให้ประชาชนไม่รู้สึกปลอดภัยในชีวิต  และทรัพย์สินขณะเดียวกันค่าของกรรมของการฆ่าคนย่อมผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอีกอาจต้องโทษประหารชีวิตหรือความผิดฐานอื่นด้วย  หากเป็นการกระทำความผิดต่อชีวิต ทรัพย์ของผู้เสียหายโดยกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ฆ่าผู้อื่นโดยประมาท เป็นต้น

    ดังนั้นอกุศลกรรมที่มนุษย์กระทำไปมิได้สูญหายไปไหน ยังแสดงเจตนาแฝงอยู่ในจิตของผู้กระทำอยู่เสมอสักวันใดวันหนึ่ง  ย่อมจะแสดงเจตนารับผิดมาจนได้เมื่ออารมณ์ของการ กระทำมิได้สูญหายไปไหน ยังสั่งสมอยู่ในจิตของมนุษย์ทุกคนผู้ทำกรรมนั้นมนุษย์จำเป็นต้องเผชิญชะตากรรมจากผลของการกระทำของตนอยู่เสมอ  แม้จะมิให้ผลในขณะนั้นสักวันใดสักวันหนึ่งต้องรับผลของการ กระทำนั้น การเดินทางไปแสวงบุญกุศลสั่งสมอยู่ในจิตตน ยังเป็นสิ่งที่ต้องกระทำต่อไป  เพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้เห็นผลของกระทำขณะจิตเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ  โดยปกติการแสวงบุญนิยมกันไปเฉพาะสังเวชนียสถานทั้ง ๔   เป็นหลักแต่ก็มีผู้แสวงบุญอีกหลายหมู่คณะได้เดินทางมาสู่เมืองสาวัตถี  แม้จะมิใช่เมืองสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ก็ตาม แต่เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษานานที่สุดถึง ๒๕  พรรษา และทรงแสดงธรรมเรื่องมงคลพระสูตรที่วัดเชตวันมหาวิหารแต่เป็นเมืองที่ได้รับความนิยมมาแสวงบุญไม่น้อย

       ปัญหาการมีอยู่ของแคว้นโกศล ตามทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยม เป็นทฤษฎีหนึ่งที่นิยมใช้วิเคราะห์การมีอยู่ของโลก     มนุษย์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ    ตั้งทฤษฎีความรู้ไว้ว่าที่มาของความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์เท่านั้นจึงถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นพยานที่สามารถยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้  ถ้าบุคคลไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง    เขาก็ไม่สามารถเป็นพยานยืนยันความจริงในเรื่องนี้ได้กล่าวคือผู้เขียนเห็นถึงการมีอยู่ของเมืองสาวัตถีแห่งนี้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียนเอง  
     

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ