The Metaphysical problems related to Kosol country inBuddhaphumi's philosophy
โดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนทั่วโลกคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ "แคว้นโกศล" มาจากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และจากการศึกษาพระพุทธศาสนาในสถานการศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย ซึ่งล้วนยอมรับโดยปริยายว่าแคว้นโกศลมีอยู่จริง โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความจริงเรื่องนี้อีกต่อไป
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อเราได้ยินความจริงของเรื่องใดเรืองหนึ่งที่เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ถูกปฏิบัติกัน อย่างกว้างขวางจนกลายเป็นแบบอย่างประเพณี ตำราหรือคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น เราไม่ควรเชื่อทันที่ เราควรสงสัยก่อน จนกว่าเราจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอ ที่จะเป็นข้อมูลใช้ในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลในการพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้หรืออธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้
หากไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ความจริง นักปรัชญาถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียว ไม่น่าเชื่อถือและไม่ยอมรับข้อเท็จจริงนั้นเป็นความจริงเพราะโดยทั่วไป มนุษย์เป็นพวกเห็นแก่ตัว มักมีอคติต่อผู้อื่น ซึ่งเกิดจากความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชัง และความรักใคร่ เป็นต้น นอกจากนี้มนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ อย่างในร่างกายที่จำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งเหล่านี้ดำรงอยู่เป็นสภาวะชั่วคราวเป็นระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไปในอากาศ แต่ก่อนที่สิ่งเหล่านี้จะหายไปจากสายตาของมนุษย์ มนุษย์รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมเป็นความรู้อยู่ในจิตใจของตนเอง
๑.หลักอภิปรัชญา แต่ปัญหาของความจริงที่มนุษย์สนใจศึกษาและแสวงหาความรู้นั้น เมื่อรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะคิดจากสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นหลักฐานทางอารมณ์มีอยู่ในจิตใจตนเอง แต่เมื่อวิเคราะห์แล้ว ผลการวิเคราะไม่สามารถให้คำตอบที่ไม่ชัดเจนว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นอย่างไร? แต่บรรดานักปรัชญานั้นชอบที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็จะใช้เป็นข้อมูล เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หาเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ต่อไป เมื่อนักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาของความจริง ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ และปัญหาของความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ ดังนั้น ความจริงของปรัชญา จึงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๖ ๒.สัจธรรม ตามหลักการของปรัชญา เราสามารถอธิบายความจริงได้ดังนี้
๑.๑.ความจริงที่สมมติขึ้น โดยทั่วไป มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติรอบตัว หรือเหตุุการณ์ทางสังคมการเมืองมนุษย์สร้างขึ้นที่เกิดขึ้น ตั้งสถานะอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็เสื่อมสลายสภาวะไปในอากาศ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะหายไปจากสายตาของมนุษย์ จิตใจมนุษย์สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมการเมืองที่เกิดขึ้นผ่านอายคนะภายในร่างกายเมื่อรับรู้ผ่านอายตนะภายในของร่างกายแล้ว จิตจะเก็บอารมณ์เหล่านั้นมาสั่งสมไว้ในจิตใจของตน แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ทุกคนไม่ใช่เพียงการรับรู้และเก็บอารมณ์ต่าง ๆ เท่านั้น แต่จิตใจมนุษย์ยังมีหน้าที่คิดจากสิ่งที่รู้ เมื่อรู้สิ่งไหนก็คิดจากสิ่งนั้น โดยการวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ หากคำตอบยังไม่ชัดเจนก็จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นต่อไป ดังนั้น เมื่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมการเมืองที่เกิดขึ้น ก่อตัวขึ้นชั่วขณะหนึ่งแล้วหายไปในอากาศถือว่าเป็นความรู้ในระดับประสาทสัมผัส เมื่อวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์ ข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจน จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว เราก็จะใช้เป็นข้อมูล เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หาเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เมื่อคำตอบของความจริงที่สมมติขึ้น ถือว่ายังไม่เป็นความจริงอันเป็นที่สุด ข้อเท็จจริงนั้น อาจเปลี่ยนแปลงไปตามหลักฐานใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบก็ได้ เมื่อข้อเท็จจริงในระดับประสาทสัมผัสยังไม่แน่นอน ถือว่าเป็นความจริงที่สมมติขึ้น ตัวอย่างเช่น อาณาจักรโกศลในสมัยโบราณ เป็นชุมชนทางการเมืองที่ก่อตั้งรัฐโกศล เป็นรัฐอิสระที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเองภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พวกเขาเชื่อในคำสอนพราหมณ์เกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ที่ช่วยให้พวกเขาบรรลุความฝันในชีวิตผ่านการบูชาของพวกพราหมณ์ อาณาจักรโกศลเป็นรัฐอิสระมานับร้อยหลายปี ก่อนที่จะเสื่อมสลายไปตามกฎธรรมชาติคือเมื่ออาณาจักรโมริยะในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้ยึดอำนาจอธิปไตยในการปกครองแคว้นโกศลเป็นของตนเอง ดังนั้นอาณาจักรโกศลจึงเป็นชุมชนทางการเมือง ที่ถูกสร้างขึ้นโดยชาวแคว้นโกศล รักษาสถานะของความเป็นรัฐไว้เป็นเวลาหลายร้อยปี และดับสูญของความเป็นอาณาจักรโกศลไป ตามหลักปรัชญาถือว่าการมีอยู่ของอาณาจักรโกศลโบราณเป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจมนุษย์ก่อนจะถูกถ่ายทอดเป็นตัวอักษรในพระไตรปิฎก ถือเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น
๑.๒.ความจริงขั้นปรมัติ(ultimate Truth) คือความจริงขั้นสูงสุดที่ลึกซึ้งที่สุดยากที่คนธรรมมดาทั่วไปจะเข้าใจได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น คือความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตของการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองโดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงอันเป็นที่สุดด้วยตนเอง เนื่องจากอายตนะภายในของมนุษย์ มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ มนุษย์มักเห็นแก่ตัว และมักอคติต่อผุู้อื่น ซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ความเกลียดชัง ความรักใคร่ และความกลัว ทำให้ชีวิตพวกเขามืดมน ในปัจจุบัน แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความจริงขั้นปรมัตถ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบความจริงขั้นปรมตถ์ โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แม้มนุษย์จะสามารถส่งข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของตนเองผ่านอินเตอร์เน็ตได้ แต่ผู้เขียนได้ค้นพบหลักฐานของความจริงขั้นปรมัตถ์ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ว่าพระโพธิสัตว์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์ตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เช่น ญาณทิพย์เหนือมนุษย์ทั้งปวง สภาวะนิพพาน เป็นต้น ซึ่งตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ตามหลักปรัชญาถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ มีเพียงพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถรู้สัจธรรมสูงสุดได้ เป็นต้น(ยังมีต่อ)
๒.การตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานเอกสาร หลักฐานวัตถุและหลักฐานดิจิทัล ได้ฟังข้อเท็จจริงในเบื้องต้นได้ว่า เมืองสาวัตถีซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐโกศล ไม่ใช่เมืองศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา (The four Buddhist holy places) ที่เรียกว่าสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนก่อนที่พระองค์ปรินิพพานไว้ว่า หากพระสาวกยังระลึกถึงพระองค์ ให้เดินทางไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองด้วยศรัทธาในพระธรรมวินัยของพระองค์แล้ว เมื่อตายลง ดวงวิญญาณของพวกเขาจะไปเกิดในโลกสวรรค์ อย่างไรก็ตาม เมืองสาวัตถีแห่งแคว้นโกศลก็มีความสำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะเมืองสาวัตถีแห่งแคว้นโกศลซึ่งเป็นดินแดนที่พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๒๕ พรรษา
แม้ว่าการมีอยู่ของแคว้นโกศลนั้น ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกหลายเล่มแต่ก็ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ที่จะให้เข้าใจได้ว่าในปัจจุบัน ดินแดนแห่งแคว้นโกศลในอนุทวีปอินเดียตั้งอยู่ที่ไหน ? และแผนที่โลกกูเกิลซึ่งเป็นหลักฐานดิจิทัลนั้น บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของแคว้นสาวัตถีในแคว้นโกศล ระบอบการปกครองของแคว้นโกศล และพยานวัตถุซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดี เช่น วัดเชตวันมหาวิหาร ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเอง เมื่อผู้เขียนค้นรายชื่อสมาชิกองค์การสหประชาชาติก็ไม่พบรายชื่อแคว้้นกโกศล แสดงว่ารัฐนี้สูญเสียอำนาจอธิปไตยไปแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของแคว้นโกศลยังไม่ชัดเจน เพราะหลักฐานที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะใช้วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หาเหตุผลเพื่ออธิบายความจริงในเรื่องนี้ อย่างสมเหตุสมผล แต่อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ของความรู้ของความเป็นรัฐโกศลยังไม่ชัดเจน
ผู้เขียนจำเป็นสร้างองค์ความรู้ในเรื่องนี้ขึ้นมาโดยใช้คำนิยามคำว่าประเทศจากพจนานุกรมแปลไทย-ไทยราชบัณฑิตยสถานได้นิยามคำว่า "ประเทศ"หมายถึง แว่นแคว้น บ้านเมือง และอีกความหมายหนึ่งกล่าวว่า ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยให้ใช้อย่างเสรี และมีการปกครองเป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น เป็นต้น ตามนิยามดังกล่าวข้างต้น เราสามารถแยกองค์ประกอบของความรู้เกี่ยวกับประเทศได้ดังต่อไปนี้ กล่าวคือ
(๑) ชุมนุมของมนุษย์
(๒) อาณาเขตแน่นอน
(๓) มีอำนาจอธิปไตย
(๔) มีการปกครองที่เป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกัน
๒.๑.ประเทศเป็นที่ชุมนุมของมนุษย์
มนุษย์โดยทั่วไป มีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงแยกแยะความจริงหรือความเท็จไม่ออก จึงเกิดความหวาดกลัวต่อสิ่งเหล่านั้น อาจเป็นภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคม ที่ไม่สามารถคิดหาเหตุผล เพื่ออธิบายความจริงที่เกิดขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล ทำให้ชีวิตมนุษย์ทุกคนมืดมน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ มนุษย์จึงชอบอยู่ร่วมกันในสังคมใหญ่ ๆ จนกลายเป็นชุมชนการเมืองและมีอำนาจอธิไปไตยในการปกครองตนเอง การจะสร้างประเทศที่มีอธิปไตยขึ้นในโลกได้ ต้องมีประชาชนอาศัยอยู่ในดินแดนนั้น ตั้งรกรากจนกลายเป็นชุมชนการเมือง จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนนั้น จะมีจำนวนมากหรือน้อยมิใช่เป็นเรื่องสำคัญเช่น เมืองสาวัตถีในแคว้นโกศล เป็นชุมชนของชาวโกศลที่อาศัยอยู่รวมกันจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ฉบับมหาจุฬา ขุทททกนิกาย อปทาน [๔๙.บังสกุลวรรค] ธัมมรุจิเถรปทานข้อที่ [๒๖] บัดนี้เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี ที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถีนั้น และพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ ฉบับมหาจุฬา มหาวิภังค์ภาค ๒ [๕.ปาจิตตยกัณฑ์] ธัมมรุจิเถรปทานข้อที่ [๒๖] บัดนี้เป็นภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลเศรษฐี ที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถีนั้น
เมื่อผู้เขียนศึกษาได้หลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ แล้ว รับฟังข้อเท็จจริงได้ข้อยุติว่า แคว้นโกศลมีเมืองหลวงชื่อพระนครสาวัตถี เป็นชุมชนที่ผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากเต็มไปด้วยผู้คนร่ำรวย มีทรัพย์สมบัติมากมาย มีอำนาจทางการเงินเพราะเมืองตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มใกล้เชิงเขาหิมาลัย มีแม่น้ำอจิรวดีไหลผ่านเมืองสาวัตถีไปยังทิศตะวันออก ประชาชนปลูกพืชผลได้มากโดยข้าว เมืองสาวัตถึมีเนื้อที่กว้างขว้างมากและระบบเศรษฐกิจการค้าที่ดี เนื่องจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี ส่งข้าวและพืชผลทางการเกษตรไปขายในเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ ทำให้แคว้นโกศลมีรายได้มหาศาลมาสู่เมืองสาวัตถีแห่งนี้ ดังนั้น หลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา จึงแสดงถึงการมีอยู่ของแคว้นโกศลที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกรองตนเอง ดำรงเอกราชเป็นเวลาหลายร้อยปีตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลแล้ว
๒.๒.ตั้งอยู่ในอาณาเขตแน่นอน เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพยานเอกสารดิจิทัล คือ แผนที่โลกของกูเกิล ได้ค้นพบหลักฐานเบื้องต้นนั้นว่าชื่อเมืองสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล ปรากฏอยู่บนแผนที่โลกของกูเกิล (Google) อย่างชัดเจน เมืองสาวัตถีตั้งอยู่ไม่ไกลจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคา และอยู่ติดกับเมืองกบิลพัสดุ์โบราณ แสดงให้เห็นว่าเมืองสาวัตถี เป็นเมืองที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและของโลก อย่างไรก็ตาม แผนที่โลกของกูเกิล ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขตของแคว้นโกศล จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลจากแผนที่โบราณของแคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียในสมัยพุทธกาลต่อไป เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งของความรู้ในแผนที่โบราณ ซึ่งระบุที่ตั้งของแคว้นโกศลที่แชร์ บนอินเตอร์เน็ตแล้ว พบว่าทางทิศเหนือของแคว้นโกศลมีอาณาเขตติดกับแคว้นสักกะ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของแคว้นโกศลและบางส่วนของอาณาเขตติดกับเทือกเขาหิมาลัยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศเนปาล ทางทิศตะวันออกของแคว้นโกศลมีอาณาเขตติดกับแคว้นมัลละและแคว้นกาสี ซึ่งเชื่อมต่อกับแคว้นมคธ ทางทิศตะวันตกของแคว้นโกศลนั้นมีอาณาเขตติดกับแคว้นปัญจาละและแม่น้ำคงคา ทางทิศใต้ของแคว้นโกศลนั้นมีอาณาเขตติดกับดินแดนของแคว้นวังสะ เป็นต้น

๒.๓. มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้อย่างอิสระ เมื่อผู้เขียนศึกษาความหมายของคำว่า "อธิปไตย" จากแหล่งความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามว่า "อำนาจอธิปไตยคืออำนาจสูงสุดของรัฐ ที่จะบังบัญชาภายในอาณาเขตของตน" จากคำนิยามดังกล่าวอำนาจสูงสุด ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติในการตรากฎหมาย มีสภาพบังคับใช้ในรัฐของตน อำนาจบริหารในการดำเนินการจัดการปัญหาของประเทศตามระเบียบที่ได้วางไว้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอำนาจตุลาการในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดีทั้งปวงในรัฐนั้น เป็นต้น เมื่อแคว้นโกศลเป็นรัฐเอกราช มีอำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชาในแคว้นโกศลของตน และแคว้นนี้มีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพียงผู้เดียวคือ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นกษัตริย์ ผู้มีอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียวในการปกครองประเทศ ดังนั้นในยามทำสงครามกับแคว้นมคธ ที่ยกทัพเข้ามารุกราน พระองค์ก็ทรงใช้อำนาจอธิปไตยสั่งการยกทัพป้องกันประเทศ ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓.โกศลสังยุต] ๒.ทุติยวรรค ๕.ทุติยสังคามสูตร[๑๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูเทเวหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุคินีเสนายกทัพไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า "พระเจ้าอชาตศัตรูเทเวหิบุตรผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุคินีเสนา ยกทัพมารุกรานเราทางแคว้นกาสี" จึงทรงจัดจตุคินีเสนายกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาตศัตรูเทเวหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธป้องกันแคว้นกาสีครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูเทเวหิบุตรผู้ครองแคว้นมคธกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทำสงครามต่อกัน เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้จากเอกสารดิจิทัลของพระไตรปิฎกออนไลน์ ได้รับฟังข้อเท็จจริงว่าในยามมีสงครามพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตัดสินพระทัย ใช้พระราชอำนาจอธิปไตยปกป้องดินแดนของแคว้นโกศล โดยการยกทัพไปทำสงครามเพื่อปกป้องประเทศด้วยพระองค์เอง เมื่อไม่มีหลักฐานอื่นใดมาหักล้าง ผู้เขียนเห็นว่าแคว้นโกศลเป็นรัฐอิสระ ที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นตนเองในรัชกาลนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และใช้อำนาจบริหารปกครองประเทศ ด้วยการยกทัพด้วยพระองค์ไปต่อสู้ทำสงคราม กับพระเจ้าอชาตศัตรูเทเวหิแห่งแคว้นมคธ เป็นต้น
(๔) มีการปกครองที่เป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของราษฎรอยู่ร่วมกัน

เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยสิทธิขาด เพียงแต่พระองค์เดียวในการปกครองแคว้นโกศล ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ นับถือศาสนาพราหมณ์และบูชายัญเทพเจ้าหลายองค์จึงเป็นศาสนาประจำชาติแห่งแคว้นโกศล ดังปรากฏหลักฐานเรื่องการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์และมนุษย์ ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฏกออนไลน์ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ๙.ยัญญสูตรว่าด้วยการบูชายัญ [๑๒๐] กล่าวว่าเรื่องเกิดที่กรุงสาวัตถีพระเจ้าปเสนธิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญ คือโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว แกะ ๕๐๐ ตัว แม้ข้าราชบริพารประเจ้าเสนธิโกศลนั้น ผู้เป็นทาสคนใช้หรือกรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคามถูกภัยคุกคามร้องไห้น้ำตานองหน้าขณะบริกรรมอยู่"
เมื่อศึกษาข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียน จากแหล่งความรู้ในเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกนั้น ได้ยินข้อเท็จจริงได้ว่าพิธีมหาบูชายัญ เป็นการบูชาอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์เป็นการพิธีบูชายัญโดยการฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา จากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ นั้น พระเจ้าปเสนธิโกศล ทรงได้เตรียมพิธีมหาบูชามต่อเหล่าเทพในศาสนาพราหมณ์ด้วยเครื่องบูชาได้แก่สัตว์ต่าง ๆ พวกทาส คนรับใช้หรือ กรรมกรไว้ฆ่า เพื่อบูชายัญเทพเจ้าช่วยดลบันดาลเพื่อให้พระองค์ทรงปลอดภัยจากอันตราย ที่อาจประทุษร้ายชีวิตของพระองค์ เมื่อไม่มีหลักฐานในคัมภีร์อื่นใดที่จะหักล้าง และแย้งข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนเห็นว่า เหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในแคว้นโกศลภายใต้การปกครองพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ประชาชนมีความเชื่อในศาสนาพราหมณ์อย่างแท้จริง ปัญหาที่ต้องวิเคราะห์ต่อไปคือ ประชาชนในแคว้นโกศลมีความเชื่อในศาสนาพราหมณ์นั้น มีการแบ่งวรรณะในแคว้นโกศลหรือไม่ มีเหตุผลสนับสนุนความจริงข้อนี้กี่ประการ
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ พบข้อความว่า"แม้ข้าราชบริพารพระเจ้าเสนธิโกศลนั้นซึ่งเป็นทาส คนใช้ หรือกรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคามร้องไห้น้ำตานองหน้าขณะบริกรรมอยู่" เมื่อศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกแล้วผู้เขียนรับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นข้อยุติว่า ข้าราชบริพารของพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพวกทาส คนใช้ เป็นกรรมกร หมายถึงคนในวรรณะศูทร เมื่อพระองค์ทรงฝันร้าย เพราะได้ยินสัตว์นรกร้องโหยหวน ทำให้พระองค์ทรงทุกข์ทรมาน จึงทรงปรึกษาหารือพวกพราหมณ์ปุโรหิตว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ชีวิตปลอดภัย พราหมณ์ถวายคำแนะนำต่อพระองค์ ทรงบูชายัญเพื่อจำกัดฝันร้ายนั้นสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าแม้แคว้นโกศลจะปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นกษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพียงผู้เดียวและ แบ่งประชาชนเป็นวรรณะ ๔ พวกเช่นเดียวกับแคว้นแคว้นอื่น ๆ อย่างไรก็าม บทบาทชนวรรณะกษัตริย์ คือ สิทธิและหน้าที่ในการปกครองประเทศ วรรณะพราหมณ์มีหน้าที่สวดพระเวทและทำพิธีบูชายัญโดยการฆ่าสัตว์และคน วรรณะแพศย์มีหน้าที่ทำการเกษตร และค้าขาย วรรณะศูทรมีหน้าที่รับใช้วรรณะทั้ง ๔ เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก อรรถกถา พยานวัตถุได้แก่ วัดเชตวัน สถูปบ้านปุโรหิตพ่อองคุลีมาล และสถูปอนาถบิณฑิกคหบดี นอกจากนี้ยังมีพยานเอกสารดิจิทัลได้แก่แผนที่โลกกูเกิลได้แสดงที่ตั้งของรัฐโกศลไว้อย่างชัดแจ้ง และได้ระบุอำเภอสาวัตถี คือพระนครสาวัตถีเมืองหลวงของแคว้นโกศลในอดีตอันเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจของชมพูทวีปมีเศรษฐีมากมายทำการค้าขายส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศหารายได้เข้าสู่ประเทศในสมัยพุทธกาล และมีการบันทึกเรื่องราวไว้ในพระไตรปิฎกให้อนุชนรุ่นหลังได้ ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าเมื่อหลักฐานในพยานเอกสารพยาน, วัตถุพยานบุคคล, พยานวัตถุ และพยานเอกสารดิจิทัล ยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องรัฐโกศล เป็นชุมชนทางการเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่จริง มีอาณาเขตแน่นอน มีระบอบการปกครองเป็นของตนเองจริง มีพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นกษัตริย์ปกครอง มีข้อเท็จจริงในเอกสารสอดคล้องต้องกัน ปราศจากข้อสงสัยเหตุผลของคำตอบในความมีอยู่จริงของรัฐโกศลในพระไตรปิฎก ถือว่าว่ารัฐโกศลเป็นแคว้นอธิปไตยมีอยู่จริงในสมัยพุทธกาล ด้วยเหตุผลข้างต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น