Introduction: The reason why the Lord Buddha passed away at Kusināra in the philosophy of the Buddhaland

โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกคงเคยได้ยินความจริงเรื่องการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา เมืองหลวงแห่งแคว้นมัลละ จากพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทและมหายาน เนื่องในวันวิสาขาบูชา หรือ จากการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วโลก เมื่อพวกเขาได้ยินข้อเท็จจริงแล้ว ก็ยอมรับโดยปริยายว่าพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินาราซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละ เป็นความเชื่อทันทีโดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆได้แก่พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ อรรถกถา และเอกสารทางวิชาการอื่น ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ พวกเขาก็ใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือการคาดคะเนความจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ หรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบว่าเหตุใดพระพุทธองค์จึงเสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ?
ซึ่วิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและวิญญาณ รวมกันในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือนก็เกิดเป็นมนุษย์ และสมมติชื่อเป็นมนุษย์คนใหม่ ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและก็ตายไป ตามกฎธรรมชาติที่ไม่เที่ยงแท้และแน่นอน จิตหรือวิญญาณของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้เช่นฝนตกแดดออก ข่าวลือต่าง ๆ การฆาตกรรม การนินทาผู้อื่น แม้มนุษย์จะมีความสามารถในการรับรู้แต่มีขอบเขตการรู้ที่จำกัด ทำให้เกิดการรับรู้ที่ผิดบ้างถูกบ้าง นอกจากนี้มนุษย์ยังมีอคติต่อผู้อื่นทำให้ชวิตของพวกเขามืดมน ไม่สามารถรู้แจ้งในต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้
ผู้เขียนได้วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์ที่อยู่ในจิตใจของผู้เขียน แต่ไม่สามารถเหตุผลอธิบายเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน ถึงสาเหตุที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองกุสินารามีความเป็นมาอย่างไร ? แม้ว่านักเขียนหลายคนจะแบ่งปันความรู้ของตนก็ตามบนเว็บไซต์หลายแห่ง แต่ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนให้ผู้เขียนคลายข้อสงสัยได้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้ เพื่อค้นหาเหตุผลและคำตอบของเจตนารมย์ที่หยั่งรากลึกในพระทัยของพระพุทธเจ้าและวางยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน เพราะพระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นปัญหาการเผยแผ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และอรรถกถาเป็นข้อความที่บันทึกไว้ค่อนข้างสั้นกระชับ แต่เราสามารถตีความข้อมูลในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เพื่อชี้แจงเนื้อหาพระประสงค์ของพระพุทธองค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะแก่นแท้ของคำสอนของพระพุทธศาสนาคือเรื่องชีวิตเกี่ยวกับมนุษย์ทั้งหมดไม่มีเรื่องอื่นใดที่สำคัญเท่ากับชีวิตมนุษย์
เมื่อผู้เขียนเรื่องเมืองกุสินาราจากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอานนท์เธออย่ากล่าวอย่างนั้นว่ากรุงกุสินาราเป็นเมืองเล็กเมืองดอนเมืองกิ่งอานนท์เรื่องเคยมีมาแล้วว่าได้มีพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามหาทัสสนะผู้ทรงธรรมครองราชย์โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทรทั้ง๔ เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะมีพระราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ไปด้วยรัตนะ เจ็ดประการ กรุงกุสินารานี้มีนามว่ากุสาวัตถีได้เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว ๑๒ โยชน์ ทิศเหนือและทิศใต้กว้าง ๗ โยชน์ กรุงสาวดีเป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรืองมีประชากรมากมีพลเมืองหนาแน่น เศรษฐกิจดี เหมือนกรุงอาฬกมันทาซึ่งเป็นราชธานีของทวยเทพที่เจริญรุ่งเรือง มีประชากรมาก มียักษ์หนาแน่น เศรษฐกิจดี อานนท์กรุงสาวดีเป็นราชธานีอึกทึกครึกโครม เพราะเสีย ๑๐ ชนิดทั้งวันทั้งคืนได้แก่ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิน เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคมดนตรี และเสียงว่า "ท่านทั้งหลายโปรดบริโภค ดื่ม เคี้ยวกิน"
ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในอดีตดวงวิญญาณของพระพุทธเจ้าทรงได้จุติเป็นพระเจ้าหาสุทัศนะ ทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ปกครองเมืองกุสาวดี ปัจจุบันคือเมืองกุสินารา ที่ครั้งหนึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองและประชากรหนาแน่น ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณ มีการขนส่งสินค้าตลอดทั้งวัน สะดวกและง่ายต่อการเดินทางไปมาระหว่างกัน เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงสาลวโนทยานแห่งเมืองกุสินาราของกษัตริย์มัลละ พระอานนท์ทรงเห็นว่าเมืองกุสินาราเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่ไม่มีความมั่นคงทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ เนื่องจากประชาชนไม่ว่าจะเป็นวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ มีจำนวนน้อยกว่าแคว้นอื่นๆ ไม่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ หากกษัตริย์มัลละเป็นเจ้าภาพจัดงาน ก็คงไม่มีงบประมาณเพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ให้สมพระเกียรติพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวง พระอานนท์ทรงให้เหตุผลอีกว่ายังมีพระมหาราชาแห่งแคว้นอื่นๆ พระองค์ทรงศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอันมากและทรงเป็นมหาอำนาจในด้านการเมือง การปกครองและเศรษฐกิจ พระมหาราชาทรงมีทรัพย์สมบัติมหาศาล และทรงมีอำนาจทั้งในด้านการทหาร การเมืองและสังคม สามารถประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระพุทธสรีระ เพื่อถวายเกียรติแด่พระพุทธองค์ในฐานะศาสดาเอกของโลก พระอานนท์จึงทรงขอพระราชทานทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองอื่น เช่น เมืองราชคฤห์ เมืองพาราณสี เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่อง สาเหตุที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่ตามคำสอนของพระพุทธเองค์ตรสสอนว่า อย่าเชื่อข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ว่าเป็นจริง เราควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ได้เพียงพอ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ และหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้อย่างสมเหตุสมผล กระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าจะเป็นต่อการศึกษารับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อเป็นแนวทางในการวิจัยในปัญหาที่น่าสงสัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนี้อย่างสมเหตุสมผลต่อไป เป็นต้น
บรรณานุกรม
-พระไตรปิฎกเล่มที่๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ) ทีฆนิกายมหาวรรค ๓.มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยปรินิพพาน
[1] http://dictionary.sanook.com/นิพพาน
[2] http://dictionary.sanook.com/ปรินิพพาน
๑.http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=4#มหาสุทสฺสนสุตฺตเทสนาวณฺณนา
๒.http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=4#มหาสุทสฺสนสุตฺตเทสนาวณฺณนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น