Introduction to Ramabhar Stupa according to Buddhaphumi's philosophy

บทนำ
ความเป็นมาของมกุฏพันธเจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
โดยทั่วไป การแสวงบุญของชาวพุทธไปยังสังเวชนียสถานแห่งที่ ๔ หรือสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย มีสถานที่สำคัญ ๒ แห่ง ที่ชาวพุทธทั่วโลกนิยมไปสักการะคือ "สาลวโนทยาน" ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าศากยะมุนีปรินิพพาน ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวัดที่สาลวโนทยานและสถูปขึ้น ปัจจุบันเรียกว่า "วัดมหานิรวารณา" เป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษูสงฆ์จำพรรษา เนื่องจากได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณภายใต้การดูแลและควบคุมของกรมศิลปกรแห่งสาธารณรัฐอินเดีย มีโบราณอีกแห่งหนึ่งไม่ไกลออกไป เรียกว่า "มกุฏพันธเจดีย์" (Ramabhar Buddhist stupa) ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าศากยมุนี
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นเวลาผ่านไปกว่า ๒๕๔๕ ปีหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ผู้เขียนและนักศึกษาไทยจำนวน ๓๐ คนจากมหาวิทยาลัยเมืองพาราณสีได้เดินทางไปที่ "มกุฏพันธเจดีย์" เป็นครั้งแรก เราได้เห็นเจดีย์โบราณรูปร่างเหมือนชามคว่ำตั้งตระหง่านอยู่กลางอากาศทำด้วยอิฐ์โบราณ มีฐานเป็นทรงกลมและมีลานรอบมกุฏพันธนเจดีย์ ผู้เขียนได้เห็นกลุ่มพุทธศาสนิกชนหลายกลุ่ม สวดมนต์ และนั่งภาวนาอยู่ในลานรอบมกุฏพันธนเจดีย์
ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับมกุฏพันธเจดีย์ จากนักศึกษารุ่นพี่ ซึ่งได้บรรยายความเป็นมาของเจดีย์เป็นสถานที่ให้ผู้เขียนและคณะของเราทราบว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์พระเจ้ามัลละกษัตริย์แห่งแคว้นมัลละทรงได้นำพระสรีระสังขารของพระพุทธเจ้าไปประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าที่มกุฎพันธเจดีย์ จากนั้นผู้เขียนและคณะสงฆ์ได้สวดพระอภิธรรม ๗ คาถาและเจริญสมาธิภาวนา เพื่อบูชาคุณของพระพุทธเจ้า เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดำเนินชีวิตให้เข้มแข็งทำจิตใจให้บริสุทธิ์และปราศจากอคติต่อผู้อื่น อย่าปล่อยให้อารมณ์ขุ่นมัวเพราะกิเลสที่สั่งสมอยู่ในจิตใจมาช้านานในสังสารวัฏ มีบุคลิกภาพที่อ่อนโยนเหมาะสมกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมยึดมั่นในอุดมคติ อันเป็นเป้าหมายของชีวิตไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น และประเทศชาติด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม มีสติที่สามารถระลึกรู้จากประสบการณ์ผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมอยู่ในจิตใจสามารถใช้ความรู้นั้นในการแก้ไขปัญหาของตนเองได้
แม้ว่า ผู้เขียนจะเคยได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นมาจากพระธรรมทูตไทยที่บรรยายไว้ว่า "มกุฏพันธนเจดีย์" ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Ramabhar Stupa" ซึ่งเป็นสถานที่ที่เจ้าชายมัลละกษัตริย์แห่งแคว้นมัลละ ทรงประกอบพิธีประชุมเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๗ วัน แม้ว่าผู้เขียนและผู้แสวงบุญคนอื่น ๆจะยอมรับโดยปริยายว่าคือ มกุฏพันธเจดีย์ซึ่งเป็นสถานที่ที่เจ้าชายมัลละกษัตริย์แห่งแคว้นมัลละทรงจัดประชุมเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าจริงก็ตาม
แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หรือสิ่งที่ยึดถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อ ๆ จนกลายเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี หรือจากตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น เราไม่ควรตกลงใจเชื่อข้อเท็จจริงเหล่านั้นทันที่ เราควรสงสัยเสียก่อนจนกว่าจะไ้ด้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอที่จะวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงหรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ เป็นต้น
เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังน่าสงสัยและ ผู้เขียนชอบศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมกุฏพันธเจดีย์ เป็นสถานที่กษัตริย์แห่งแคว้นมัลละทรงประกอบพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าต่อไป ก็จะสืบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาฯ อรรถกถา พยานเอกสารดิจิทัล เช่น แผนที่โลกของกูเกิลพยานวัตถุ เช่น มกุฎพันธนเจดีย์เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ผู้เขียนวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ และคำตอบที่ได้จะเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผล และไม่สงสัยในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพุทธสถานโบราณนี้อีกต่อไป
บทความที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงอย่างสมเหตุสมผล จะเป็นประโยชน์ต่อพระวิทยากรที่อุทิศตนทำงานในดินแดนกำเนิดแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นความรู้ในการบรรยายให้กับผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธฟัง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน กระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาระดับปริญญาเอกทางพระพุทธศาสนาและปรัชญา เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาและปรัชญา ให้ได้ความรู้ความเข้าใจในการแสวงหาความจริงอย่างสมเหตุสมผล โดยไม่มีข้อสงสัยใด ๆ อีกต่อไปเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องพิธีถวายเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้าที่มกุฏพันธนเจดีย์อีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น