Metaphysical problems regarding Salwanodhayan is the place of Buddha's Nirvana

บทนำ
๑.ความมีอยู่ของกุสินารา
๒.สถานที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าปรินิพพาน
บทนำ สาลวโนทยานเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
โดยทั่วไป นักปรัชญาศึกษาปัญหาทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับมนุษย์ โลก จักวาล ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักปรัชญามีชีวิตประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ แต่ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้น มีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และมีความลำเอียงต่อผู้อื่นเนื่องจากความโง่เขลาของตนเอง ความเกลียดชังต่อผู้อื่น มีความกลัวต่อผู้อื่นที่มีอำนาจทางสังมากกว่าตนเอง และมีความรักชอบผู้อื่น จึงมักจะใช้เหตุผลยืนยันความจริงเข้าข้างผู้อื่น ทำให้ข้อโต้แย้งทางสังคม หรือคดีความในศาลขาดความบริสุทธิยุติธรรม ดังนั้น ชีวิตของพวกเขาจึงเต็มไปด้วยความมืดมน จึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม มนุษย์สามารถคิดโดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญานั้น อธิบายความจริงของคำตอบตามปฏิภาณและคาดคะเนความจริงของสิ่งต่าง ๆ ตามหลักเหตุผล เมื่อนักปรัชญาแสดงทัศนะเกี่ยวกับความจริงของสิ่งต่าง ๆ เช่น มนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น มักจะแสดงทัศนะของตนเองโดยการคาดคะเนความจริงของสาลวโนทยานซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้น
โดยทั่วไป ชาวพุทธทั่วโลกมักได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาลวโนทยานจากการฟังตาม ๆ กันมา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ ปี จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่ใช้ในหลักสูตรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วโลก หรือจากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุทั้งนิกายเถรวาทและมหายานทั่วโลก หรือจากตำราที่มีนักวิชาการแต่งไว้ในห้องสมุดทั่วโลก หรือบนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงนี้ ชาวพุทธทั่วโลกก็ยอมรับความจริงนี้โดยปริยายและไม่คิดสงสัยในข้อเท็จจริงที่ได้ยินมา อย่างไรก็ตาม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราไม่ควรเชื่อในทันที เราควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักกฐานเพียงพอ ก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น
ดังนั้น เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าสาลวโนทยานเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ปรินิพพาน ผู้เขียนจึงไม่เชื่อทันทีและสงสัยข้อเท็จจริงเสียก่อน จนกว่าจะได้การตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ไว้ เมื่อมีพยานหลักฐฐานเพียงพอ ก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ ถือเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลและไม่ข้อสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป หากผู้เขียนไม่มีหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียวก็ไม่มีความเชื่อถือ เพราะมนุษย์มีอายตนะภายในของร่างกายมีความสามารถในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจำกัดและมักมีอคติต่อผู้อื่น พวกเขาจึงทำในสิ่งไม่ควรทำ เป็นต้น
โดยหลักทั่วไป อภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาและมีความสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ โลกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเทพเจ้า เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่นมนุษย์ โลก และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น ส่วนความรู้อีกประเภทหนึ่งเป็นความรู้อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่น การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น เมื่อปัญหาความจริงของอภิปรัชญามีจำนวนมากจำเป็นต้องสร้างองค์ประกอบความรู้ขึ้นมา เพื่อให้เข้าใจความจริงทางอภิปรัชญาเหล่านั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยแบ่งความจริงออกเป็น ๒ ประเภท กล่าวคือ ๑. ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.สัจธรรมหรือความจริงขั้นปรมัตถ์ ซึ่งเราสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลดังนี้
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบตัว เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว คงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไป แต่ก่อนที่มันจะสูญหายไปจากสายตาของมนุษย์นั้น แต่มนุษย์มีอายตนะภายในของร่างกายเป็นสะพานเชื่อมต่อกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ตัวอย่างปรากฏกรณ์ทางธรรมชาติ เช่น หิมะที่ตกลงมาทางตอนเหนือของเวียดนาม หรือฝนตกในพื้นที่ทะเลทรายในตะวันออกกลาง หรือดินถล่มทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นต้น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น มีอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไป ถือว่าเป็นความจริงที่สมมติขึ้น ส่วนเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่นเจ้าชายสิทธัตถะทรงมองเห็นปัญหาจัณฑาล ที่ถูกสังคมลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากบ้านเกิดไปตลอดชีวิต พวกเขาต้องใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน แม้ในวัยชรา เจ็บป่วยและตายข้างถนน เป็นต้น พระองค์ทรงมีเมตตากรุณาที่จะช่วยจัณฑาลทั้งหลาย ให้พ้นจากความทุกข์ พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร และได้รวบรวมพยานหลักฐานจากคำให้การของปุโรหิต ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า แม้พวกพราหมณ์จะให้การยืนยันการมีอยู่ของเทพเจ้า แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสถามความเป็นมาพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีใครตอบพระองค์ได้ทำให้พระองค์ทรงสัยความมีอยู่ของเทพเจ้า ดังนั้นการมีอยู่ของเทพเจ้าจึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น
สาลวโนทยานเป็นสถานที่ปรินิพานของพระพุทธเจ้า เมื่อเกิดขึ้น ก็มีอยู่เป็นอุทยานสาลวโนทยานมาระยะเวลาหนึ่งแล้วก็เสื่อมสลายไป เพราะสร้างขึ้นเป็นวัดมหาปรินิพพานในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และเสื่อมสลายไป สาลวโนทยานคือสิ่งที่เกิด ตั้งสถานะเป็นวัดอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วก็เสื่อมสลายไป สาลวโนทยานจึงความจริงโดยสมมติ ในยุคต่อมา วัดมหาปรินิพพานสร้างเป็นวัดแล้ว ดำรงสถานะความเป็นวัดอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็เสื่อมสลายไป เกิดจากปัจจัยที่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา เพราะกลัวเภทภัยจากสถานการณ์ทางการเมือง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อสาลวโนทยานเป็นอุทยานหลวงของกษัตริย์มัลละ และเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มันคงตั้งสถานะความเป็นอุทยานหลวงอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไปตามกฎธรรมชาติ และบันทึกไว้เป็นหลักฐานไว้ในพระไตรปิฎกหลายฉบับ ตามหลักปรัชญา ถือว่าการมีอยู่ของสาลวโนทยาน เป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัส ที่สั่งสมอยู่ในจิตของมนุษย์ และเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น
๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ คือความจริงอันเป็นที่สุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เป็นความรู้ที่ข้ามขีดจำกัดของประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้งหกในร่างกายของมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของตนเองและมักมีอคติต่อคนอื่น ทำให้มนุษย์ตกอยู่ในความมืดมิด เพราะไมแยกแยะว่าสิ่งไหนดี ทำให้ชีวิตของมนุษย์ แต่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อาจให้การเป็นพยานเท็จ เพื่อยืนยันความจริงของคำตอบ เพื่อแก้ปัญหาการเป็นพยานเท็จจริงตามญาณวิทยาที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า"ทฤษฎีความรู้" ได้กำหนดว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ จะต้องเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจเท่านั้น จึงจะเป็นพยานน่าเชื่อถือได้และให้การยืนยันข้อเท็จจริงนั้น ดังนั้นเมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ต่าง ๆ และบันทึกของพระภิกษุจีนที่เดินทางไปแสวงบุญในอนุทวีปอินเดีย ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพระพุทธเจ้าทรงประทับในฤดูฝนครั้งสุดท้าย ที่พระนครเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี พระพุทธองค์ทรงประชวรหนักและทรงพิจารณาถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอด ๔๕ ปีที่ผ่านมา และทรงเห็นว่าขณะนี้พระพุททธศาสนาได้ฝังรากลึกอยู่ในจิตใจของชาวชมพูทวีปแล้ว สาวกของพระองค์ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์จำนวนมาก ทำหน้าที่พัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้คนในยุคนั้นให้ฟื้นจากความมืดมิด และหาทางออกของชีวิตได้ด้วยการพึงตนเองผู้คนนับล้านคนยอมสละสมบัติของมนุษย์ เพื่อการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุความรู้ระดับอภิญญา ๖ นอกจากนี้การวิเคราะห์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อตีความเนื้อหาทางพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล เพื่อยืนยันความคิดเห็นทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่า เป็นความรู้ที่แท้จริง การให้เหตุผลเป็นเครื่องมือสำคัญของปรัชญาในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปิดเผยความจริงของพระพุทธศาสนา เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่า สาลวโนทยานซึ่งเป็นพระอุทยานของเจ้ามัลละกษัตริย์เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า แต่ปรากฏเรื่องราวขึ้นในใจของผู้เขียนไม่ชัดเ จนเนื่องจากยังไม่ทราบประวัติของสถานที่แห่งนี้ มันทำให้ผู้เขียนสงสัยในเรื่องนี้ว่า เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วกว่า ๒๕๖๔ ปี มีหลักฐานใดที่แสดงว่า เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ การศึกษาข้อมูลสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าที่สาลวโนทยาน มีบ่อเกิดความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ในการเขียนบทความนี้ เราจึงเริ่มด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานเอกสารได้แก่พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา ส่วนพยานวัตถุได้แก่พระพุทธรูปปางไสยาสน์ในวัดนิรวารณาและสถูปโบราณ พยานบุคคลได้แก่ความเห็นของนักโบราณคดีชาวอินเดียทำการขุดค้นโบราณสถาน และพยานเอกสารดิจิทัลได้แก่ แผนที่โลกกูเกิลและแผนที่ ๑๖ แคว้นของอินเดียโบราณ เป็นต้น เพื่อหาเหตุผลของคำตอบในประเด็นที่ผู้เขียนสงสัยและใคร่อยากรู้จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ได้ดังนี้
๑.ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ได้ยินข้อเท็จจริงว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน พระนครกุสินารา แคว้นมัลละ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเวลากว่า ๒๕๖๐ ปีแล้ว และพยานบุคคลที่เห็นการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็เสียชีวิตลงและวิญญาณก็ไปจุติในภพอื่นในสังสารวัฏแล้วเหลือเพียงหลักฐานที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกเถรวาทและมหายาน ที่บันทึกข้อเท็จจริงเป็นลายลักษณ์อักษร และขยายเนื้อความของพระไตรปิฎกมาพัฒนาเป็นตำราพุทธประวัติ บันทึกของนักโบราณคดี และการวิจัยของนักปรัชญ์ชาวพุทธยอมรับฟังข้อเท็จจริงว่า ศากยมุนีพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยา ดังหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก มหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตรตอนเสด็จไปควงไม้สาละคู่ ข้อ [ ๑๙๘] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกพระอานนท์มาตรัสว่า"มาเถิดอานนท์ เราจะข้ามไปยังฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดี ตรงสาลวันของพวกมัลละอันเป็นทางเข้ากรุงกุสินารากัน แล้วรับสั่งเรียกพระอานนท์มาตรัสว่าอานนท์ เธอช่วยตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่ หันด้านศรีษะไปทางทิศเหนือเราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพักพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วตั้งเตียงระหว่างต้นสาละทั้งคู่ หันพระเศียรไปทางทิศเหนือครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวาทรงซ้อนพระบาทเลื่อมพระบาททรงมีสติสัมปชัญญะ"
เมื่อผู้เขียนศึกษาแหล่งข้อมูลในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ ข้างต้นผู้เขียนตีความได้ว่า สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเรียกว่า"สาลวัน" หรือเรียกว่า"สาลวโนทยาน" ตั้งอยู่ในพระนครกุสินารา แคว้นมัลละของมัลละกษัตรย์ แม้ว่าพระไตรปิฎกจะยืนยันข้อความว่าเป็นความจริงและยอมรับว่าสาลวโนทยานเป็นสถานปรินิพพานของศายมุนีพุทธเจ้าแต่ยังมีปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่า ยังมีหลักฐานทางวัตถุเช่นโบราณสถานซึ่งตั้งในสาลวโนทยานที่เหลืออยู่จนถึงปัจจุบันให้เราศึกษาหรือไม่ เนื่องจากตามแนวคิดทางญาณวิทยาเรื่องบ่อเกิดความรู้ที่แท้จริงนั้น ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ผู้ให้เหตุผลของคำตอบเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่เป็นความจริง การรับรู้ความมีอยู่ของเมืองกุสินาราว่าเป็นสถานปรินิพพานของพระพุทธเจ้าต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น การให้เหตุผลของคำตอบจึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะหาพยานวัตถุที่อยู่ในสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเพื่อวิเคราะห์เนื่องจาก ๒,๖๐๐ ปีผ่านไป พยานทั้งหมดที่เกิดในยุคนั้นได้เสียชีวิตไปแล้วแม้จะมีเอกสารหลักฐานเบื้องต้นจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ แต่พยานวัตถุแสดงถึงที่ตั้งของสาลวโนทยานในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ไหน เนื่องจากทุกสิ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และดับไปไม่ได้คงอยู่ในสภาพเดิมเช่นสมัยพุทธกาล เมื่อนึกถึงปัญหานี้ เราจำเป็นต้องหาหลักฐานได้แก่ พยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคลที่เป็นสหวิชาชีพ ความเห็นของนักโบราณคดีมาวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลของคำตอบในเรื่องสถานที่ปรินิพพานนี้
๒.พระเจ้าอโศกมหาราชและคณะผู้แสวงบุญชาวปัฏตาลีบุตร

หลังจากเสร็จสิ้นในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ที่พระนครปัฏตาลีบุตร ในการตรวจสอบพระธรรมวินัยในครั้งนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชทรงศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องการแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งว่า เมื่อพุทธสาวกได้เดินทางไปแสวงบุญที่สังเวชนียสถานทั้ง ๔แห่งด้วยศรัทธาแล้วเมื่อถึงแก่ความตาย จะได้ไปจุติจิตในโลกสวรรค์ต่อไป ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตร ข้อ ๒๐๒. พระอานนท์กราบทูลว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเข้าเฝ้าพระตถาคตข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมได้พบได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นที่เจริญใจก็ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับข้าพเจ้าทั้งหลายจะไม่ได้พบไม่ได้ใกล้ชิด ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจอีกพระผู้มีพระภาคตรัสว่า"อานนท์สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่กุลบุตรควรไปดู สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งอะไรบ้างคือ
๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า "ตถาคตประสูติในที่นี้
๒. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ด้วยระลึกว่า "ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมสัมโพธิญาณในที่นี้"
๓.สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า"ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้
๔. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า "ตถาคตได้เส็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้" อานนท์สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งนี้เป็นสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสถ อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจะมาดูด้วยศรัทธา ด้วยระลึกว่า "ตถาคตประสูติในที่นี้....ว่า "ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมสัมโพธิญาณในที่นี้" ..ว่า "ตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมในที่นี้.......ว่า "ตถาคตได้เส็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้อานนท์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใสตายไปชนเหล่านั้น ทั้งหมดหลังจากตายแล้วจะไปเกิดสุคติโลกสวรรค์นอกจากนี้ยังมีมูลจากพระนางติษยรักษ์พระมเหสีของพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งให้ข้าราชบริพารได้ตัดต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ นั้น จนเหลือแต่ตอไปเป็นมูลเหตุให้พระองค์ทรงเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งเมื่อพระองค์ทรงตั้งระลึกถึงปัญหาของการทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์ และทรงนึกคิดต่อไปอีกว่าจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า และความทรงจำของมนุษย์ในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งและพุทธสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนาจะสูญหายไปพร้อมกับความตายของมนุษย์ เมื่อพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธเจ้า เป็นต้นทุนของชีวิตอยู่แล้วและได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แล้วเมื่อสวรรคต พระองค์ทรงมีความปรารถนาสู่โลกสวรรค์และทรงตั้งปนิธานในการค้นหาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แล้วทรงค้นพบ ๓ แห่งยังคงเหลือเพียงสถานที่ปรินิพพานอีกเพียง ๑ แห่งเท่านั้น
ในปี พ.ศ.๓๑๐ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเสด็จไปแสวงบุญกับข้าราชบริพารและชาวพุทธในเมืองปัฏตาลีบุตร และเป็นคณะแรกที่เดินทางไปยังเมืองกุสินาราโดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เป็นผู้ชี้สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าที่ตั้งอยู่ใต้ต้นสาละ๒ ต้นและทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์สุดท้ายเรื่องความไม่ประมาทของชีวิต ทำให้พระเจ้าอโศกมหาราชสดับรับฟังแล้วทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ปรินิพพานเป็นที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้าตรงบริเวณสถูปนี้เคยที่เป็นตั้งของต้นสาละ ๒ ต้นระหว่างต้นสาละเป็นสถานที่ตั้งเตียงหันศรีษะไปทางทิศเหนือพระพุทธองค์ทรงบรรทมพักผ่อนพระอิริยาบถ เพราะพระพุทธองค์ทรงประชวรหนักหลังจากเสวยภัตตาหารที่นายจุณฑะได้จัดถวาย และพระวรกายเหน็ดเหนื่อยมากจากการเดินทางอันเร่งรีบให้มาถึงสาลวโนทยานให้ทันก่อนที่พระองค์จะเสด็จสู่ปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยาสโดยพระปรัศว์เบื้องขวาทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาททรงมีสติสัมปชัญญะและสร้างเสาหินพระเจ้าอโศกไว้เป็นเครื่องระลึกถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์
๓.วัดนิรวาณา

ในสมัยพุทธกาลเมืองกุสินารา เป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละ ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าสมัยโบราณระหว่างแคว้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแคว้นสักกะ แคว้นโกฬิยะ แคว้นมัลละ แคว้นกาสีไปสู่แคว้นมคธ เมื่อเป็นเส้นทางการค้าสายที่สำคัญของชมพูทวีป พ่อค้าเมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสี ก็ขนส่งผ้าไหมกาสีไปขายที่แคว้นสักกะให้ชนวรรณะกษัตริย์ได้ใช้สวมใส่ผ้าแพรภัณฑ์ชั้นเลิศที่สุดแห่งยุคนั้น เส้นทางการค้านี้จึงมีชนวรรณะแพศย์ เป็นพวกเศรษฐีและมหาเศรษฐีส่งกองคาราวานส่งสินค้าไปขายต่างแคว้น ต้องใช้เส้นทางผ่านพระนครกสินาราไปมาหลายหมื่นเที่ยว ในแต่ละวันเมื่อมีคนพำนักอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เพื่อทำธุรกิจย่อมนำมาซึ่งเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้เมืองนี้ มีรายได้จำนวนมหาศาล จากการใช้จ่ายของนักเดินทางแสวงหาโชคกองคาราวานเกวียนขนส่งสินค้าและค่าธรรมของสินค้า เป็นต้นพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานในเมืองแห่งนี้ เพื่อมัลละกษัตริย์ได้แบ่งพระบรมสาริกธาตุไปยังเมืองทั้ง ๘ แห่งและทรงยกพุทธสถานทั้ง ๔ แห่ง ที่เรียกว่าสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เป็นสถานที่ชาวพุทธทั่วโลกควรเดินทางไปแสวงบุญด้วยศรัทธาสักครั้งหนึ่งของชีวิต เมื่อปฏิบัติบูชาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ วิญญาณจะไปเกิดในโลกสวรรค์ ในสมัยปัจจุบันนั้น สาลวโนทยานกลายเป็นโบราณสถานวัดนิรวารณา (Nirvana temple) ที่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาแต่อย่างใด แต่กลายเป็นสถานที่ปฏิบัติบูชาของชาวพุทธทั่วโลก ที่เดินทางมาเป็นจำนวนไม่น้อยหลายหมื่นคนต่อปี ความสำคัญของเมืองกุสินารานี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือ
๑) เป็นที่ตั้งของสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าจัดเป็นสังเวชนียสถานแห่งที่ ๔
๒) เคยเป็นเมืองที่พระโพธิสัตว์เคยเวียนว่ายตายหลายครั้ง
๓) เคยเป็นเมืองปรินิพพานของผุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔) เคยเป็นเมืองที่นามว่ากุสาวดี เป็นเมืองหลวงของพระเจ้ามหาสุทัสสนะปรากฎหลักฐานในสุทัสสนะสูตร
๕) เมืองแห่งนี้ค้นพบ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชและพระอุปครุตติสสะเถระ และเป็นผู้แสวงบุญกลุ่มแรกที่เดินทางมาสู่เมืองกุสินารา
๖) เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงปรารถนาพุทธสาวกในยุคหลัง เดินตามรอยบาทพระศาสดาไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ไปปฏิบัติบูชา ณ.เจดีย์ปรินิพพานสักครั้งหนึ่งในชีวิตของตนพระพุทธเจ้าหวังว่าเมื่อพุทธสาวกได้เดินทางไปด้วยศรัทธาและปฏิบัติบูชาแล้วจิตของตนจะได้น้อมออกไปรับอารมณ์เรื่องราวของการปฏิบัติบูชาผ่านอินทรีย์ ๖ เก็บสั่งสมไว้ในจิตของตนและเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตจิตของพุทธสาวกได้ไปจุติจิตในโลกแห่งสวรรค์.
๔. ความหมายของปรินิพพาน
การสิ้นสุดชีวิตของคนทั่วไปเรียกว่า "ตาย" ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ได้ให้คำนิยามของคำ"ตาย " หมายถึงสิ้นชีวิต สิ้นใจ ไม่เป็นอยู่อีกต่อไป สิ้นสภาพการมีชีวิตเช่นสภาวะสมองตายเป็นต้นนอกจากนี้ยังหมายถึงเคลื่อนไหวไม่ได้ เช่นมือตาย ตีนตายนี้คือความตายของมนุษย์ ผู้ที่ยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพทางจิต เพื่อให้จิตใจของตนมีความบริสุทธิ์ ปราศจากความเศร้าหมองเพราะกิเลสนั้น ผ่านประสาทสัมผัสเข้ามาสู่จิตของตนทำให้เกิดความโกรธ ความโลภและความหลง เป็นต้น
๔.๑ ส่วนคำว่า "นิพพาน" ตามพจนานุกรมแปลไทย - ไทย ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่าคือความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ ในแง่ของคำกิริยาดับกิเลสและกองทุกข์[1] ตามความหมายของพจนานุกรมแปล-ไทย ของ อ.เปลื้อง ณ นคร ให้คำนิยามคำว่านิพพานว่า เป็นคำนามพระพุทธเจ้าทรงค้นพบว่าจิตของเรานี้ห่อหุ้มกิเลสอย่างหนาแน่นคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฯลฯ และได้ทรงค้นพบว่ามีวิธีการอย่างหนึ่งที่จะสำรอกกิเลสออกจากจิตได้คือมรรค๘ ถ้าใครปฏิบัติมรรค ๘.
๔.๒ ส่วนคำว่า"ปรินิพพาน" ตามความหมายของพจนานุกรมแปลไทยเป็นไทยฉบับราชบัณฑิตให้คำนิยามว่า "การดับรอบ การดับสนิทการดับไม่เหลือ เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เป็นต้น [2] จากคำนิยามศัพท์ดังกล่าวเราแยกการตายมนุษย์ได้ดังนี้ความตายของบุคคลเรียกว่า "ตาย" เพราะเป็นการสิ้นชีวิตของบุคคลทั่วไป ที่ยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพทางชีวิตขึ้นสู่จิตของพระอริยบุคคลการตายของพระพุทธเจ้าเรียกว่า "ปรินิพพาน" เป็นต้น เมื่อศึกษาข้อมูลจากพยานเอกสารจากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณ ฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ นั้นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทรงค้นพบว่าความเป็นไปของชีวิตมนุษย์นั้น จิตของมนุษย์ห่อหุ้มด้วยกิเลสอย่างหนาแน่นคือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง พระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีการปฏิบัติธรรมที่จะสำรอกกิเลสออกจากจิตจนหมดสิ้นได้ กล่าวคือการปฏิบัติตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ เป็นหลักคำสอนที่ทรงค้นพบที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ส่วนคำว่า "ปรินิพพาน" แปลว่าการดับสนิท การดับรอบการดับไม่เหลือเรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ คำว่าการดับสนิท มีหมายความว่ากิเลสที่ห่อหุ้มจิตไว้อย่างหนาแน่นแล้ว ถูกสำรอกออกมาด้วยวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘จนหมดสิ้นไปไม่เหลือกิเลสห่อหุ้มจิตอีกต่อไปแต่อย่างไร เป็นต้น ในทัศนะของผู้เขียนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้มนุษย์รู้ว่า ตนเองมีความไม่รู้ครอบงำจิต ทำให้ไม่รู้ว่าชีวิตของตนตายแล้วไปมีชีวิตหลัง ความตายว่าชีวิตไม่ได้ตายแล้วสูญ เพราะนอกจากมีร่างกายเป็นปัจจัยทำให้เกิดชีวิตมนุษย์แล้ว แต่มนุษย์ยังมีจิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เมื่อร่างกายของมนุษย์หมดสภาพการใช้งานไม่อาจดำรงธาตุขันธ์ให้มีชีวิตยืนยาว เพื่อประโยชน์ในการบำเพ็ญบารมีของจิตอีกต่อไปจิตก็จะออกจากร่างกายไปจุติจิตในภพภูมิต่อไป ซึ่งมีหลายภพภูมิด้วยกันส่วนว่าใครจะไปอยู่ในภพภูมิไหนแล้ว แต่กรรมของผู้นั้นเป็นกรรมที่ห่อหุ้มจิตตนเองไว้มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพจิตของตนเองได้โดยอาศัยร่างกายนี้ โดยเฉพาะศักยภาพของจิตให้บรรลุถึงความรู้ขั้นสูงสุดของชีวิตได้ที่เรียกว่า "อภิญญา๖" ได้

๕. ที่มาของความรู้สำหรับผู้เขียน ตามทฤษฎีความรู้"ทฤษฎีประจักษ์นิยม" ว่าด้วยบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์เรื่องความมีอยู่จริงของสาลวโนทยานนั้น มีแนวคิดว่ามนุษย์ต้องรับรู้จากประสาทสัมผัสของมนุษย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นถึงจะถือว่าเป็นความจริงเมื่อศึกษาทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนตีความได้ว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์คือประสาทสัมผัสของมนุษย์ถ้ามนุษย์รับรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ โดยมิได้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์แล้วให้เหตุผลของคำตอบถือว่า เป็นความรู้ที่เป็นเท็จได้เพราะไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงได้ ธรรมชาติของมนุษย์นั้น มีจิตเป็นผู้นึกคิดหาเหตุผลของคำตอบเองได้ ไม่จำเป็นต้องผ่านประสาทสัมผัสของตนเองได้แต่การคิดหาเหตุผลตามอำเภอใจของตนนั้น อาจได้ข้อมูลที่เป็นเท็จเป็นปรักปร่ำผู้อื่นให้ได้ความเสียหายต่อเกียรติยศชื่อเสียงได้เป็นเหตุผลของคำตอบไม่น่ารับฟังได้
เมื่อปีพ.ศ.๒๐๐๒ ผู้เขียนยอมรับว่าอำเภอกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียว่า เป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนเอง เมื่อผู้เขียนได้เดินทางไปแสวงบุญเป็นครั้งแรก และได้รับทราบถึงประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้ ฟังจากคำบรรยายของนิสิตปริญญาเอกรุ่นพี่ ในมหาวิทยาลัยแห่งเมืองพาราณสี เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยทำให้ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจอยากศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องเมืองกุสินารา เดิมผู้เขียนมีความรู้เรื่องเมืองกุสินาราว่าเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ของพวกมัลละกษัตริย์ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลพวกมัลละกษัตริย์ได้หมุนเวียนกันเปลี่ยนกันเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นมัลละแห่งนี้ สืบเนื่องติดต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยปัจจุบันนี้ แต่เมื่อ ๖๐ กว่าปีที่ผ่านมานี้แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีปได้รับเอกราชจากอังกฤษมหาราชาที่ปกครองในแคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปได้ร่วมประชุมตกลงกันยอมสละอำนาจอธิไตยในด้านนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการให้กับรัฐบาลกลางของประเทศ จัดตั้งประเทศขึ้นมาใหม่เรียกประเทศตนเองว่า "สาธารณรัฐอินเดีย" เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปในการบัญญัติกฎหมาย อำนาจตุลาการและอำนาจบริหารแคว้นมัลละกลายเป็นอำเภอเล็ก ๆ ใน ๗๒ ของรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียต่อไป
๖.บทวิเคราะห์ความมีอยู่จริงของสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเมื่อศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ฉบับมหาจุฬา ฯ ฑีฆนิกายมหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรในข้อ ๑๗๗ ว่า อานนท์เมื่อมารบอกเล่าอย่างนี้ว่า เราได้ตอบมารผู้มีบาปอย่างนี้ว่า มารผู้มีบาปท่านอย่างกังวลเลยอีกไม่นาน ปรินิพพานของตถาคตจากนี้ไปอีก๓เดือนตถาคตจะปรินิพพานอานนท์เมื่อวันนี้เมื่อกี้นี้เองเรามีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์และในข้อ๑๙๐. กล่าวว่าหลังจากเสวยกระยาหารของนายจุนทกัมมารบุตร มาเถิดอานนท์เราจะไปเมืองกุสินารากัน" เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้จากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกยืนยันว่า พระพุทธเจ้านั้นปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ส่วนพยานวัตถุในยุคต่อมา พระเจ้าอโศกมหาราช และคณะผู้แสวงบุญได้เดินทางมาแสวงบุญที่เมืองกุสินาราเป็นครั้งแรก และทรงสร้างวัดนิรวารณาไว้เป็นอนุสรณ์สถานขึ้นมาไว้ เป็นพยานวัตถุในพระพุทธศาสนาและมีการขุดค้น และค้นนักโบราณคดีชาวอังกฤษมีการบันทึกความเห็นว่า ไว้อย่างชัดเจนปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไป เมื่อไม่มีพยานเอกสารอื่นใดได้ทำความเห็นแย้งให้เกิดข้อพิรุธสงสัยให้เป็นอย่างอื่นอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าวัดนิรวารณาคือสาลวโนทยานอันเป็นสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าจริง จากข้อความในพระไตรปิฎกเราวิเคราะห์ได้ต่อไปอีกว่าพระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า พระองค์เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินาราการตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ทำให้พระองค์ทรงค้นพบว่าจิตของพระองค์เคยไปจุติจิตในภพภูมิต่าง ๆ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ อสงไขย ๒ แสนกัปดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๒๕ สุเมธกถาสูตร ได้กล่าวว่าสี่อสงไขยหนึ่งแสนกัป....เราเป็นพราหมณ์นามว่าสุเมธะ...เกิดในกรุงอมรวดี. จากข้อความดังกล่าวยืนยันว่าชีวิตของพระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิดแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่อสงไขยหนึ่งแสนกัป และเมืองกุสินาราเป็นสถานที่สุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทิ้งร่างกายไว้เป็นครั้งสุดท้ายหลังจากที่พระองค์เวียนว่ายตายเกิดมายาวนาน ไม่มีภพใหม่ของพระพุทธองค์จะปฏิสนธิวิญญาณ หรือกลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งเป็นเวลา ๔๕ พรรษาที่พระองค์เสด็จไปเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาสู่แคว้นต่างๆ เพื่อวางรากฐานคำสอนให้พุทธสาวกดำรงตนในพระธรรมวินัยของพระองค์ ให้อิสระจากความคิดทำให้ตนมีความทุกข์พระองค์ ทรงให้ความรู้เกี่ยวกับหลักพุทธธรรมคือมรรคมีองค์ ๘ เพื่อสร้างโอกาสคนมีความทุกข์ทรมาณ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น เพราะอวิชชาครอบงำจิตใจของพวกเขาทำให้จิตใจของพวกเขาไม่สามารถรู้ได้ของวิถีชีวิตในสังสารวัฏ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น