Introduction: Salwanodhayan, the place of death at Kusinara in the Buddhaphumi's philosophy

คำสำคัญ ปรินิพพาน เมืองกุสินารา
๑.บทนำ
๒.ความหมายของปรินิพพาน.
๓.เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาปรินิพพานที่เมืองนี้
๔.พิธีบำเพ็ญกุศลพระบรมศพของพระพุทธเจ้า
๕.การประชุมเพลิงพระบรมศพ
๖.การแบ่งพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า.
๗.วิธีปฏิบัติบูชาในวัดมหาปรินิพพาน (จริยศาสตร์)
๑.บทนำ
ในสมัยพุทธกาล (Buddha era) อาณาจักรมัลละเป็นรัฐอิสระเป็น ๑ใน ๑๖ มหาอำนาจ ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายฉบับซึ่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนายอมรับว่า มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในสมัยนั้น เมื่อผู้เขียนค้นคว้าแผนที่โบราณของอินเดีย ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในอนุทวีปโบราณประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ มากมายดินแดนของอาณาจักรมัลละ มีอาณาจักรเขตติดกับอาณาจักรวัชชีทางทิศตะวันออก โดยมีแม่น้ำมหิ(คันธกะ)แบ่งเขตแดน ทิศตะวันตกติดต่อกับแคว้นโกศล โดยมีแม่น้ำอจิรวดีกั้นเขต แดน ทิศเหนือมีพรมแดนติดต่อกับแคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะ ส่วนทิศใต้ติดกับเขตแดนแคว้นกาสี เป็นต้น
อาณาจักรมัลละมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ แบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น โดยวรรณะกษัตริย์หรือที่เรียกว่า "ราชวงศ์มัลละ" มีหน้าที่ปกครองอาณาจักรมัลละ และผลัดกันขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรมัลละแห่งนี้ เมืองหลวงของแคว้นมัลละมีสองแห่งคือพระนครกุสินารา และมีอีกที่หนึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามเรียกว่า "เมืองปาวา" อาณาจักรมัลละนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าโบราณจากพระนครกบิลพัสดุ์แห่งรัฐสักกะ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าผ่านแคว้นโกลิยะ แคว้นมัลละ แคว้นกาสี สู่ปลายทางสุดท้ายคือแคว้นมคธ ในพระนครกุสินาราเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมัลละ มีสาลวโทยานเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์มัลละ ที่อุดมด้วยป่าสาละที่ดอกสาละกำลังเบ่งบานในพฤษภาคมของทุกปี และพระพุทธเจ้าได้ใช้สาลวโนทยานเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานและทรงพระราชทานอริยทรัพย์เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมอันสูงส่งแก่มวลมนุษยชาติ โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าจะเป็นชาติใด นับถือศาสนาใดและฐานะทางสังคมเป็นอย่างไร ทุกคนสามารถเข้าถึงอริยทรัพย์ได้เพียงยึดถือตามปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อเดินเข้าไปเอาอริยทรัพย์มาสั่งสมไว้ในจิตของตนเองได้ โดยไม่มีผู้ใดแย่งอริยทรัพย์ที่สั่งสมอยู่ในจิตไปจากการครอบครองของตัวเองได้เป็นมรดกธรรมอันล้ำค่าที่หายากยิ่งมีได้เฉพาะผู้ปฏิบัติบูชาเท่านั้น เมื่อนำไปใช้ปฏิบัติบูชาผู้นั้นจะบรรลุสู่สภาวะของความเป็นพุทธะเสมือนหนึ่งว่าจิตของพุทธสาวกผู้ปฏิบัติบูชา ได้ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ตลอดเวลาและเป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในการใช้ชีวิต
ในปัจจุบัน พระนครกุสินารา เมืองหลวงของอาณาจักรมัลละคืออำเภอกุสินาราเป็นเขตเล็ก ๆ ที่อยู่ในสังกัดรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ส่วนกษัตริย์แห่งราชวงศ์มัลละนั้นสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์มัลละ มาช้านานตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน เจ้ามัลละกษัติย์ทรงสละอำนาจอธิปไตยของประชาชนในการปกครองประเทศและอาณาเขตของประเทศมัลละถูกผนวกเข้ากับหลายแคว้นในอนุทวีปอินเดียเพื่อจัดตั้งประเทศใหม่ที่เรียกว่า "สาธารณรัฐอินเดีย" นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรอังกฤษ ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๑๙๔๗ (พ.ศ. ๒๔๙๐) และในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๙๓ (๑๙๕๐) ได้มีประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสาธารณรัฐอินเดีย และมีเงื่อนไขที่กำหนดไว้กับชาวอินเดียทุกคน กล่าวคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักราชอปริหานิยธรรมของประเทศ แสดงถึงความเป็นอิสระของรัฐเอกราชมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง การดำรงอยู่ของ ๑๖ รัฐมหาอำนาจและอีก ๕ รัฐในชนบทได้สิ้นสุดลง ชนวรรณะกษัตริย์ซึ่งใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองแคว้นของตนมาเป็นเวลาอย่างน้อย ๔,๐๐๐ ปีก็สิ้นสุดลงเช่นกัน เพราะมหาราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ นั้น พระองค์ทรงสละอำนาจอธิปไตยให้กับรัฐบาลกลางแล้ว คำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ซึ่งบัญญัติขึ้นจากความเชื่อที่ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสร้างระบบวรรณะเพื่อให้สิทธิและหน้าที่ในกา่รทำงานตามวรรณะที่เกิดมานั้นได้สิ้นสุดลงไปโดยปริยาย ไม่ต้องบัญญัติกฎหมายยกเลิกวรรณะเพื่อให้ขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี (ธรรมของกษัตริย์หรือ (หลักอปริหานิยธรรม) ) อีกต่อไป
ดังนั้น เมื่อแคว้นต่าง ๆ รวมตัวกันจัดตั้งเป็นประเทศขึ้นใหม่เมื่อกว่า ๖๐ปีที่ผ่านมา อำนาจอธิปไตยของชนวรรณะกษัตริย์แห่งแคว้นมัลละ ได้ถูกถ่ายโอนอำนาจจากพระราชวงศ์มัลละไปให้รัฐบาลกลางของสาธารณรัฐอินเดียทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองประชาชน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๙๓ ที่แคว้นต่าง ๆ ร่วมมือกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ เพื่อจัดตั้งประเทศขึ้นมาใหม่ เพื่อรวบรวมแผ่นดินของแคว้นต่าง ๆ แห่งชมพูทวีป ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ และ มั่นคงด้วยอริยทรัพย์ภายในจิตติดต่อกันยาวนานตั้งแต่สมัยพุทธกาลจิตวิญญาณแห่งสันติของมนุษย์กลับมาฟื้นฟู้อีกครั้งหนึ่งหลังจากมิจฉาทิฐิไปหลายร้อยปี

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนสงสัยว่าเมื่อรัฐมัลละได้ล่มสลายแล้วไม่เป็นรัฐอธิปไตยบนแผนที่โลกอีกต่อไปและสาลวโนทยาน ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธทรงตัดสินพระทัยมาปรินิพพานนั้น ในปัจจุบันนี้ตั้งอยู่ที่ไหนในสาธารณรัฐอินเดีย ผู้เขียนจึงตัดสินใจค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความจริงของสาลวโนทยาน สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าในเมืองกุสินารา (Nirvarana Of Buddha in Kushinagar) เพื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพยานเอกสาร พระไตรปิฎก อรรถกถา และบันทึกของพระภิกษุชาวจีนหลายรูปฯลฯ ส่วนพยานวัตถุได้แก่สถูปที่บรรจุพระบรมสารีกธาตุของพระพุทธเจ้า พยานบุคล และพยานเอกสารดิจิทัลเช่นแผนที่โลกของกูเกิล เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลของพยานวัตถุ พยานบุคคล และพยานเอกสาร ใช้วิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันความจริงของสาลวโนทยานสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเป็นความรู้แท้จริงอย่างสมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยในความเป็นจริงอีกต่อไปและบทความในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรรุ่นหลังได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในบรรยายเรื่องราวของสถานที่ปรินิพพานให้มีเนื้อหาไปในแนวทางเดียวกัน และกระบวนการวิเคราะห์จากหลักฐานจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยของนิสิตในระดับปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนาทำให้เกิดการพัฒนาความรู้ในพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น