The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับสถูปเกสรียาเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตรในพระไตรปิฎก

  Metaphysical Problems Concerning the Kesariya Stupa 


ภาพโดยก้าวตามธรรม(follow dhrmma)
๑.บทนำ
   
        โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมเรื่องราวเหล่านั้นเป็นอารมณ์ในจิตใจตลอดเวลา    แต่ชีวิตมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้  ดังนั้นเขาจึงไม่รู้จะแยกแยะระหว่างเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างไรว่าเรื่องไหนจริงและเรื่องไหนเท็จ ?  เนื่องจากมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ (organic)  ทั้ง ๖ อวัยวะในร่างกายของตัวเอง ซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้ความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัตถ์     นอกจากนี้ มนุษย์ยังชอบมีคติต่อผู้อื่นเนื่องจากความโง่เขลาของตนเอง   ความชอบเป็นการส่วนตัว    ความเกลียดชังและความกลัวของตนเอง  เป็นต้น      เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงของมนุษย์เช่นนี้  การได้ยินความคิดเห็นของพยานเพียงคนเดียวก็จะขาดความน่าถือเพราะมนุษย์อาจกระทำในสิ่งไม่สิ่งไม่ควรทำได้      ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงไม่สามารถยอมความคิดนั้น  เป็นความจริงในเรื่องนั้นได้

             ๒.อภิปรัชญาสาขาหนึ่งของปรัชญาที่สนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของมนุษย์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ โลก  และการมีอยู่ของเทพเจ้า  เป็นต้น     เมื่อธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาพร้อมความไม่รู้และความกลัวในจิตใจ       จึงชอบอยู่ร่วมกันเป็นสังคมการเมืองเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง   และหาที่พึ่ง (สรณะ) ของตนเองในอดีดชาวสักกะมักแสวงหาความรู้จากผู้อาวุโสของประเทศ เช่น พระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แห่งราชวงศ์ศากยะ  มักสอนเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าซึ่งเป็นที่พึ่ง (สรณะ) ของผู้คนในยุคนั้นโดยใช้เหตุผล มาอธิบายความจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้าเหล่านี้      เมื่อคนในสังคมได้ยินคำอธิบายเรื่องนี้มาเป็นเวลานาน จนสั่งสมฝังลึกอยู่ในจิตใจ   พวกเขาจึงเชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้าโดยให้เหตุผลว่า      พราหมณ์ปุโรหิตในกาลก่อน เคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อน  หากไม่มีเทพเจ้าอยู่จริงมนุษย์จะอ้างได้อย่างไรว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์เองและวรรณะให้คนทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา  เป็นต้น  

                  ตามหลักปรัชญานั้น เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น       ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริง       ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นถือว่าไม่น่าเชื่อถือ  และไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นจริงในเรื่องนั้น     เพราะพยานในเหตุการณ์นั้นมีอคติต่อผู้อื่นและอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖    ในร่างกายของเขามีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านประสาทที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของพวกเขา   ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาจึงไม่ถือว่าเป็นความจริงในเรื่องนั้นได้ ตัวอย่างเช่น ในสมัยพราหมณ์รุ่งเรือง    พวกพราหมณ์อารยันได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบวชที่ถูกต้องตามกฎหมาย  คำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี  เมื่อเป็นกฎหมายแล้ว ย่อมมีสภาพบังคับใช้   โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะ  และห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น ๆ แต่คนในยุคนั้นไม่สามารถระงับกิเลสของตนได้       พวกเขาจึงกระทำความผิดข้อหาฐานละเมิดคำสอนของศาสนาและกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง      จึงถูกคนในสังคมสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอ     เป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานและหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบตามข้อหล่าวหานั้น    เมื่อพยานหลักฐานพิสูจนน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริง     ก็จะถูกคนในสังคมลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นที่อยู่เดิม ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อน บนท้องถนนแม้ในวับชรา เจ็บป่วยและนอนตายอยู่ข้างถนน   

                เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นปัญหาเรื่องจัณฑาล พระองค์ทรงสงสัยประวัติความเป็นมาของจัณฑาลจึงทรงตัดสินพระทัยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ      อย่างเพียงพอด้วยพระองค์เอง     มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบ      พวกปุโรหิตยืนยันข้อเท็จจริงต่อเจ้าชายสิทธัตถะว่า พระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์จริงและพราหมณ์รุ่นก่อน ๆ   เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรในแคว้นสักกะมาก่อน     แต่เมื่อพระองค์ตรัสถามประวัติความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวร    ก็ไม่มีพราหมณ์คนใดตอบคำถามได้  เมื่อผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง    และวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้แล้วหลักฐานไม่เพียงพอที่จะหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงได้    ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่เชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้า     พระองค์ทรงดำริปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ       ทรงเสนอตรากฎหมายยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ           แต่ก็ทำไม่ได้เพราะการเสนอยกเลิกกฎหมายประกาศบังคับใช้แล้ว   ต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประพณีสูงสุดของประเทศ   เป็นต้น 

            ๓.ประเภทของความจริงตามหลักอภิปรัชญา เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา      เมื่อเราแยกแยะข้อเท็จจริงของเรื่องราวเหล่านั้น      ก็มีทั้งข้อเท็จจริงที่สามารถรับรู้ได้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส         เช่น   ชีวิตมนุษย์  โลก  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสังคม เป็นต้น    และข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถรับรู้ได้       เพราะเป็นความรู้นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์   เช่น   การมีอยู่ของเทพเจ้าที่มนุษย์สามารถอธิบายได้จากการได้ฟังความคิดเห็นของนักปรัชญา เป็นต้น   ตามหลักปรัชญาเราสามารถแบ่งปัญหาเกี่ยวกับความจริงของสรรพสิ่ง   ตามการรับรู้ของอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของมนุษย์ออกเป็น  ๒ ประเภท คือ ๑.ความเป็นจริงสมมติ     ๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์เรียกว่า "สัจธรรม" 

          ๓.๑ ความจริงที่สมมติขึ้น  (Appearance) โดยทั่วไปแล้ว  เรื่องราวต่าง ๆ  ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของมนุษย์นั้น      ดูเหมือนว่ามันจะเกิดขึ้นแล้ว    กำหนดเงื่อนไขเป็นระยะเวลาหนึ่ง    และสลายไปในอากาศ  แต่ก่อนที่สภาพนั้น จะหมดไปจากสายตายของมนุษย์     มนุษย์มีอวัยะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของตัวเอง สามารถรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ  ได้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเอง        และมนุษย์ก็เก็บอารมณ์เหล่านั้นไว้ เป็นหลักฐานอยู่ในจิตใจเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น    เช่น  ในสมัยอินเดียโบราณ      นักปรัชญาพราหมณ์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องการมีอยู่ของพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์   โดยอ้างพยานหลักฐานเป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์    มายืนยันคำให้การของข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่า  พราหมณ์ในรุ่นก่อน ๆ จะเคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อน          แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวรแล้วก็ไม่มีใครตอบพระองค์ได้คำให้การของปุโรหิตขาดความน่าเชื่อ     เพราะไม่มีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของพวกเขา จึงไม่สามารถอธิบายความจริงในเรื่องนี้ได้  หรือการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ด้วยกันสามารถรับรู้ได้ จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส  และสั่งสมเป็นอารมณ์อยู่ในจิตใจของตนเอง   แต่มนุษย์เป็นสิ่งไม่เที่ยงเกิดขึ้นจากครรภ์มารดา   ดำรงชีวิตเป็นมนุษย์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนเสื่อมสลายไปด้วยความตาย       ดังนั้นมนุษย์เป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น

           ๓.๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์   โดยทั่วไปแล้ว  ความจริงขั้นปรมัตถ์  เป็นความจริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป  เรียกอีกอย่างว่า "ความจริงขั้นสูงสุด"       ต้นกำเนิดของความรู้เกี่ยวกับความจริงขั้นปรมัตถ์นั้น เกิดขึ้นเมื่อมหาราชาแห่งแคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะ  ทรงเชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์     โดยพระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์     และสร้างวรรณะสำหรับมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา สามารถเข้าถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าและเทวดา      ผ่านการบูชาของพราหมณ์เท่านั้น   แต่ผลประโยชน์จากเครื่องบูชานั้น สร้างรายได้มหาศาลให้กับพราหมณ์นิกายอารยันและนิกายมิลักขะด้วยความละโมบของพราหมณ์อารยันและความมั่นทางการเมืองของพวกอารยัน  เมื่อพราหมณ์อารยันได้การแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิต         บัญญัติคำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์     และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีย่อมมีสภาพบังคับตามกฎหมาย มีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างร้ายแรง  แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยในการมีอยู่ของเทพเจ้าแต่พระองค์ทรงไม่สามารถประกอบพิธีบูชายัญ     เพื่อขอพระองค์ทรงช่วยยกเลิกวรรณะที่พระองค์สร้างขึ้นมานั้นได้  เพราะต้องห้ามตามกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี           ที่มีข้อกำหนดห้ามวรรณะอื่นมิใช่พราหมณ์ประกอบพิธีกรรมบูชายัญได้              เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้น่าสงสัย ทำให้พระองค์ทรงไม่เชื่อข้อเท็จจริงในเรื่อง     การมีอยู่ของพระพรหม  และพระอิศวร   เป็นต้น        มนุษย์สามารถบรรลุความจริงได้ โดยการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นตัวอย่างเช่น ภาวะนิพพานของมนุษย์เป็นความอยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ นั้น           

ภาพโดยก้าวตามธรรม(Follow dharmma)
       ๔.การตรวจสอบความมีอยู่ของสถูปเกสเรีย  โดยทั่วไป ชีวิตมนุษย์ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "ขันธ์ห้า" แม้ว่าจิตใจของมนุษย์จะรับรู้ถึงความมีอยู่ของเรื่องราวต่าง ๆ  ที่เข้ามาในชีวิต และสั่งสมเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในจิตใจของตนเอง เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์นั้น ๆ  เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องการมีอยู่ของสิ่งนั้น  แม้ว่าผู้เขียนจะสัมผัสถึงความมีอยู่ของสถูปเกสเรียแห่งนี้ผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมมาในจิตใจของตัวเองเป็นเวลาหลายปี เพราะตั้งแต่ปี ๒๐๐๒-๒๐๑๑ ผู้เขียนอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี  รัฐอุตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียเป็นเวลาหลายปีในฐานะนักศึกษาต่างชาติ จึงมีโอกาสเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเวสารี  รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดียและไปเยี่ยมชมสถูปแห่งนี้หลายครั้งเนื่องจากตั้งอยู่บนเส้นทางการแสวงบุญ  เป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ ฐานก่อด้วยอิฐิโบราณ ที่ทำจากดินเหนียวในแม่น้ำคงคา วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ยอดเจดีย์มีลักษณะคล้ายทางชามคว่ำที่พบได้ทั่วไปในอินเดีย ระหว่างชั้นต่าง ๆ ของเจดีย์ จะแบ่งออกเป็นช่อง ๆ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีซากปรักหักพังของพระพุทธรูปอยู่หลายแห่ง แสดงให้เห็นว่าสถูปแห่งนี้สร้างขึ้น เพื่อเป็นสถานสักการะบูชาตามศรัทธาของชาวพุทธในยุคนั้น จึงได้จัดสร้างสถูปขึ้นเป็นอนุสรณ์ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตัดสินพระทัยละทิ้งวรรณะกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศากยะไปตลอดชีวิต เสด็จออกผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต ส่งผลให้พระองค์ทรงเสียสิทธิและหน้าที่ในการปกครองแคว้นสักกะตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติ ทรงละทิ้งปราสาททั้งสามหลังที่ประทับอยู่อย่างเป็นสุขและสบายในชีวิต ทรงละทิ้งข้าราชบริพารที่เคยรับใช้พระองค์อย่างน้อย ๔๐,๐๐๐ คนและทรงละทิ้งเจ้าหญิงพิมพาและเจ้าชายราหุล พระราชโอรสของพระองค์และสมาชิกแห่งพระราชวงศ์ศากยะเพื่อพระราชดำเนินไปแสวงหาบุญ เพื่อแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิต เมื่อพระองค์ทรงไม่สามารถปฏิรูปประเทศได้ผ่านสถาบันการเมืองของประเทศได้ และพระองค์ทรงเห็นว่าคำสอนทางศาสนาพราหมณ์ กฎหมายวรรณะจารีตประเพณีและกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปสังคมแต่เมื่อพระองค์ทรงสงสัยในความมีอยู่จริงของพระพรหม แม้ว่าพราหมณ์ปุโรหิตจะเป็นพยานบุคคลที่เชื่อถือได้ เพราะเป็นผู้ประกอบพิธีบูชายัญและติดต่อกับเทพเจ้าเป็นประจำและสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการมีอยู่ของเทพเจ้าได้ โดยยืนยันข้อได้ว่า พราหมณ์รุ่นก่อน ๆ จะเคยเห็นพระพรหมในแคว้นสักกะก็ตาม เป็นต้น

                 ปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่า"เราจะรู้ได้อย่างไรเป็นสถูปเกสเรีย แม้ว่า    ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าสถูปที่อยู่ตรงหน้าของตนเองและรับรู้การมีอยู่ของสถูปเกสรียาผ่านประสาทสัมผัส   และเป็นมโนภาพสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง  แต่มีหลักฐานไม่เพียงพอ      ที่จะเป็นข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้       จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องความเป็นมาของสถูปแห่งนี้อีกต่อไป   
                 แต่เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องที่พระพุทธองค์พร้อมพระอริยสาวก         ได้เสด็จพระดำเนินจากเมืองเวสารีไปที่เมืองกุสินารา โดยมีชาวเมืองเวสารีส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก     แต่เมื่อถึงเขตชายแดน     ทรงตรัสแก่ชาวเวสารีให้เดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนให้ตามส่งเสด็จเพียงแค่เขตแดนนี้    ชาวเวสาลีจำนวนมาก ก็พากันร้องไห้ด้วยความเสียใจ    เพราะจิตของพวกเขาอาลัยในคุณของพระพุทธองค์จึงไม่อยากกลับไป      เพราะพวกเขาตั้งใจจะส่งเสด็จถึงสาลวโนทยานของมัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราให้ได้     เมื่อพระพุทธองค์ได้ยินข้อเท็จจริงถึงความตั้งใจของพวกเขา  และทรงเห็นว่าชาวเวสาลีศรัทธาในพระองค์มาก        ทรงตัดสินพระทัยมอบบาตรไว้เป็นที่ระลึกให้กับชาวเวสารี     เมื่อเห็นบาตรของพระพุทธองค์ครั้งใด   ชาวลิจฉวีเมืองเวสารีจะได้ตั้งพุทธานุสสติเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเสมอ  เพื่อจะได้นำธรรมะของพระพุทธองค์ไปใช้ประพฤติวัตร    และปฏิบัติธรรมให้เกิดความสงบสุขในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ  

         ๔.๑ การเผยแผ่ศาสนาในแคว้นโกศล นอกจากพระพุทธเจ้าจะทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นโกศลแล้ว   ผู้นำศาสนาอื่น ๆ ยังได้ออกไปเผยแผ่หลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ว่า  แก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ มาจากพระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์สู่แคว้นโกศลเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า ดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจทัลพระไตรปิฎกไทย ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๒๕๕ ข้อ ๖๖. กล่าวว่า สูตรที่ ๕  เกสปุตติสูตร (กาลามสูตร) ว่าสมัยพระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปแคว้นโกศล    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงตำบลพวกกาลามะชื่อว่า "เกสปุตตนิคม" 
เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ที่กล่าวข้างต้นนั้นข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังแคว้นโกศล พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากมาถึงตำบล "เกสปุตตนิคม"ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของพวกกาลามะ   ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องเกสปุตติสูตร หรือที่เรียกกันว่ากาลามสูตร     เมื่อไม่มีข้อความจากพระสูตรอื่นใดหยิบยกขึ้นมาโต้แย้ง หักล้างข้อเท็จจริงในกาลามสูตรของพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ อีกต่อไป  ไม่ก่อให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความจริงอีกต่อไป  ผู้เขียนมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องกาลามสูตรในแคว้นโกศล มิใช่ที่สถูปเกสริยาซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนแห่งแคว้นวัชชีแต่ประการใด 

         ๔.๒ มีประเด็นที่น่าสงสัยว่า    สถูปเกสริยาอยู่ในแคว้นโกศลหรือไม่ มีเหตุผลมากน้อยเพียงใดที่อธิบายเรื่องนี้ ?              เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในแผนที่โบราณหลายฉบับ    ที่แชร์บนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตและข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า อาณาเขตแคว้นโกศลด้านตะวันออกติดกับเขตแดนแคว้นมัลละ       ด้านตะวันออกของเขตแดนแคว้นมัลละติดกับแคว้นวัชชี           แสดงว่าทั้งสองแคว้นไม่มีอาณาเขตติดต่อกันแต่อย่างใด  เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้เช่นนี้  และไม่มีหลักฐานอื่นใดที่จะนำข้อเท็จจริงขึ้นมา   หักล้างข้อเท็จจริงในแผนที่โบราณ ให้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น       จึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า อาณาเขตของแคว้นโกศลนั้น     ไม่มีส่วนใดของอาณาเขตเชื่อมต่อกับแคว้นวัชชีเพราะมีแคว้นมัลละอยู่ตรงกลางของแคว้นทั้งสอง  และสถูปเกสเรียนั้นตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ      จึงไม่ได้อยู่แคว้นโกศลดั่งที่คนทั่วไปเข้าใจกัน   เมื่อเราศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านGoogle Maps ต่อไป    สถูปเกสริยาห่างจากเมืองกุสินารา ๑๒๖ กิโลเมตรและห่างจากเมืองสาวัตถีของแคว้นโกศล ๓๖๒ กิโลเมตร       เมื่อพระนครสาวัตถีแคว้นโกศล         ไม่มีอาณาเขตทางทิศใด ๆ มีเนื้อที่ติดต่อกับชายแดนของแคว้นวัชชีแล้ว      ผู้เขียนเห็นว่าสถูปเกสริยามิใช่สถานที่แสดงกาลามสูตรแต่อย่างใด   ดั่งนักวิชาการท่านได้วิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบไว้แต่อย่างใด  เพราะมิได้ตั้งอยู่ในแคว้นโกศลแต่อย่างใด  

๕.การปฏิบัติบูชาที่สถูปเกสรียา 
      
    เมื่อผู้เขียนเดินทางมาถึงสถูปเกสริยาเป็นสถานที่ประดิษฐานบาตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาวเวสาลี ที่ได้เดินทางมาส่งถึงชายแดนฝั่งแม่น้ำคัณดักทางทิศตะวันออกแล้วและรับสั่งให้พวกเวสาลีเดินกลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง   แต่ชาววัชชีเหล่านั้นอยากจะเดินทางไปส่ง ถึงสาลวโนทยานพระอุทยานของพวกมัลละกษัตริย์ที่แคว้นมัลละ ก่อนพระองค์จะเสด็จข้ามแม่น้ำคัณดัก พระองค์ประทานบาตรมอบไว้เป็นเครื่องระลึกถึงคุณของพระองค์ ที่ทรงเป็นแบบอย่างของการพัฒนาศักยภาพของชีวิต จนบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖  ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในชีวิตว่า มีจิตวิญญาณเป็นแก่นแท้ของชีวิตทุกคนเมื่อสิ้นชีวิตลงไปร่างกายคืนสู่อ้อมกอดแห่งธรรมชาติอีกครั้งหนึ่งแต่จิตวิญญาณยังท่องเที่ยวต่อไปในสังสารวัฏ แต่จะไปจุจิตในภพภูมิไหนขึ้นอยู่กับกรรมของตนที่เจตนาออกมา เมื่อได้ผัสสะกับอารมณ์แห่งตัณหาของความอยากเป็นในสิ่งที่ที่มนุษย์สมมติในตำแหน่งต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อมอบหมายภาระหน้าที่เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจ มีศักยภาพของความรู้และทักษะความสามารถอย่างชำนาญการอย่างมืออาชีพให้ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ก้าวไปสู่เบื้องหน้าได้จนประสบความสำเร็จ มิใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์โดยเจตนาทุจริต เมื่อลงมือกระทำมีเจตนาเป็นกุศลกรรมบ้าง หรืออกุศลกรรมบ้างย่อมรับผลของกรรมของเจตนาที่สั่งสมอยู่ในจิตของตนเอง เมื่อเรารู้ว่าอารมณ์มัวเมาแห่งกิเลสนั้น สั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณดวงนี้เรามายาวนานที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏซึ่งเป็นกฎธรรมชาติมนุษย์ที่ทุกชีวิตไม่มีใครอาจหลีกเลี่ยงได้ มีวิธีแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ เมื่อนำมาตีความย่อให้เหลือเพียงหลักคำสอนเรียกว่า "ไตรสิกขา" ได้แก่หลักศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง การปฏิบัติบูชา ณ สถานที่แห่งนี้ ผู้เขียนสวดมนต์สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า เพื่อระลึกคุณของพระองค์ ที่ยอมสละวรรณะกษัตริย์ออกบวช เพื่อหาทางหลุดพ้นจากความมืดบอดของชีวิตที่ฝังรากลึกมายาวนานนั้นว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้าผู้สร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์และสร้างวรรณะไว้ให้แก่มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้นเข้าถึงการงานตามวรรณะที่ตนเกิดมานั้น  การตรัสรู้ของพระองค์ทำให้มนุษย์ตรัสรู้ว่า แก่นแท้ชีวิตมนุษย์นั้น มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงที่เวียนว่ายเกิดในสังสารวัฏ หาใช่เทพเจ้าองค์หนึ่งองค์ใดสร้างชีวิตขึ้นมาไม่ทุกชีวิตเป็นไปตามกรรมของตัวเองเท่านั้น หาใช่ใครลิขิตโชคชะตาตนเองแต่เป็นเพราะตัณหาที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตตนต่างหาก เป็นผู้ลิขิตชีวิตให้ตนเป็นไปตามใจปรารถนาของตนทั้งสิ้น ผลกรรมออกมาดีหรือชั่วขึ้นกับเจตนาที่อยู่ในใจตนเอง เมื่อระลึกได้ใช่นี้ มนุษย์ควรฝึกสมาธิเป็นประจำทุกวันเพื่อให้อินทรีย์ตนแก่กล้าขึ้นมีความมั่นคงไม่หวั่นไหวต่อปัญหาการเงิน การงาน โลกธรรม ๘ ของสังคม การดูหมิ่น เกลียดชังซึ่งกันและกัน ที่ผ่านเข้ามาสู่ชีวิตได้อย่างเป็นผู้มีสติ  ระลึกได้ว่าปัญหานี้เกิดขึ้นอีกแล้วมองเห็นวิธีแก้ปัญหาให้หลุดพ้นอย่างไร ทำให้รู้จักปล่อยวางจากการยึดติดในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว แก้ไขอะไรมิได้แล้ว เป็นต้น  

บรรณานุกรม 

1.พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต http:// www.84000.org /tipitaka/ pitaka_item/sutta_name.php?name=เกสปุตตสูตร.
2.พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๒ ฉบับมหาจุฬาฯ อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาตhttp://www.84000.org /tipitaka/pitaka_item/ m_ seek.php? text=B5&book =1&bookZ= 45&option= 1 เกสปุตติสูตร.
3.พจนานุกรมไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน http://dictionary. sanook.com /search/นิคม
4.พจนานุกรมไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน http://dictionary. sanook. com /search/ศรัทธา

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ