The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ปัญหาญาณวิทยาของสถูปเกสรียาเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตรในพระไตรปิฎก

 Epistemological problem of The Kesariya Stupa in Tripitaka  

ภาพโดยก้าวตามธรรมFollow the Dharma
บทนำ            

                  โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกคงเคยได้ยินข้อเท็จจริง    เกี่ยวกับสถูปเกสเรียมาแล้วว่าเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตร          หรือนักปราขญ์ชาวพุทธศาสนาบางคนกล่าวว่า  สถูปเกสเรียเป็นสถานที่ซึ่งนักปรัชญาถูกสร้างขึ้น   เมื่อชาวพุทธส่วนใหญ่ทั่วโลกได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้  พวกเขาเชื่อโดยปริยายว่าเป็นเรื่องจริง      โดยไม่สืบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ    เป็นข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนี้อย่างสมเหตุสมผล         แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่สืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน     สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนกลายเป็นแบบแผน   ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี    เป็นต้นน  แต่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าอย่าเพ่งเชื่อข้อเท็จจริงทันที  เราควรสงสัยก่อนนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอ  มาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นดังนั้นเมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าสถูปเกสเรียว่า            เป็นสถานที่แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องกาลามสูตรแล้ว        ผู้เขียนก็ไม่เชื่อทันที ผู้เขียนสงสัยในตอนแรก       แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสถูปเกสเรียต่อไป    ผู้เขียนก็จะสืบสวนข้อเท็จจริงประวัติความเป็นมาของสถูปแห่งนี้และรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอเสียก่อนเพื่อให้ข้อมูลวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้       เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของเรื่องนั้น   
 ๑.ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา  
                  สนใจศึกษาปัญหาการกำเนิดความรู้ของมนุษย์         องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์     วิธีพิจารณาความริงของพระพุทธเจ้าและความสมเหตุสมผลของความรู้   ญาณวิทยาจึงมีหน้าที่ตอบคำถามที่ว่า "เราจะได้อย่างไรว่าเป็นความจริง"          เมื่อเราศึกษาหลักอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์จากพยานเอกสารเช่น ตำราปรัชญาเบื้องต้น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา  ตำราพระพุทธศาสนาแล้ว  เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์แล้ว  ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ดังนั้น ญาณวิทยาก็เป็นความรู้ของมนุษย์ด้วย  

               ๑.๑ เมื่อญาณวิทยาสนใจที่จะศึกษาปัญหาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ ผู้เขียนสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนี้เป็นจริง ?       เป็นธรรมชาติของมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า    ชีวิตเกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมตัวกันในครรภ์มารดาเป็นเวลา  ๙  เดือนแล้วจึงคลอดออกมาเป็นมนุษย์คนใหม่   ในระหว่างมีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์นั้น  จิตใจอาศัยร่างกายของมนุษย์รับรู้เรื่องราว ทั้งเรื่องดีหรือเรื่องร้าย ๆ  ที่เข้ามาในชีวิตและสั่งสมเป็นหลักฐานต่าง    ๆ ในจิตใจของตนเอง  มนุษย์จะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร ? เมื่อธรรมชาติของจิตใจมนุษย์นอกจากรับรู้และสั่งสมหลักฐานทางอารมณ์แล้ว     ยังมีหน้าที่วิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์ในใจของตนเอง โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงในเรื่องนั้นหรือพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น    เป็นต้น เมื่อมนุษย์รับรู้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งดีและร้ายที่ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเข้าในชีวิตแล้ว  ดังนั้น      ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์คืออวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖  ในร่างกายของมนุษย์นั้นเอง   

                ๑.๒ องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์             โดยทั่วไปแล้ว ธรรมชาติของมนุษย์มีอวัยะอินทรีย์ทั้ง   ๖ อวัยวะในร่างกายของตนเอง มีสามารถจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง    ๆ      ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี  มันเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ     หรือแรงจูงใจในการกระทำ ความผิด  เป็นต้น    นอกจากนี้จิตใจของมนุษย์ยังมีแนวโน้มที่จะมีอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตอยู่ในมืดมิด     จึงไม่สามารถแยกแยะข้อเท็จจริงในเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ผ่านเข้ามาได้     ทำให้เกิดตัดสินใจที่ผิดพลาดทำให้เกิดการละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สิน       ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมไปทั่วโลกได้  ดังนั้น   พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าเมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดสืบทอดกันมายาวนาน  สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี    ตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา   เป็นต้น   เมื่อความรู้คือสิ่งที่สั่งสมในจิตใจของตนเอง  มาจากการศึกษาเล่าเรียน    การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ  เป็นต้น  
           ดังนั้น องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์   เกิดขึ้นเมื่อ(๑) มนุษย์ (๒) ได้รับรู้  (๓) สิ่งสั่งสมอยู่ในจิตใจจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติการและทักษะ เป็นต้น
            ๑.๓ วิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้า      โดยทั่วไปแล้ว จิตใจของมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ      ที่ผ่านเข้าในชีวิตมากมายหลายเรื่องมีทั้งเรื่องจริงหรือเท็จ     ผิดกฎหมายหรือไม่ผิดกฎหมาย   เรื่องที่น่ายินดีหรือไม่น่ายินดี   เรื่องที่ผิดหวังหรือสมหวัง   เป็นต้น   แต่มนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖  ในร่างกายของตนเอง   มีความสามารถจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง   ๆ  เหล่านั้นและมักจะมีอคติต่อผู้อื่น  ทำให้คำให้ของมนุษย์ขาดความน่าเชื่อถือและไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้  เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง        ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความจริงขึ้นมา กล่าว
    
            เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้รับฟังได้ว่า  ในปี ค.ศ. ๒๐๐๒-๒๐๑๑  เมื่อผู้เขียนไปจาริกแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔   แห่งทุกปีเป็นเวลาเกือบ ๙ ปี     ต่อมากองโบราณคดีแห่งรัฐพิหาร  สาธารณรัฐอินเดียได้ค้นคว้าซากปรักหักพังโบราณสถานของพระพุทธศาสนา  ที่ถูกทอดทิ้งร้างให้ฟื้นคืนอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อรัฐบาลของรัฐพิหารเริ่มเปิดสถานที่สำคัญ ๆ    อีกหลายแห่งของพระพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร       เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกเดินทางตามรอยของพระพุทธเจ้าเสด็จไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป    โดยให้ผู้แสวงบุญใช้โบราณสถานของพระพุทธศาสนาในแต่ละแห่งเป็นสถานที่สวดมนต์และภาวนา  เพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตของชาวพุทธในการนั่งสมาธิเพื่อฝึกจิตใจเข้มแข็ง          รักษาจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากอคติต่อผู้อื่นไม่มีความเศร้าที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของพวกเขา   มีจิตใจที่อ่อนโยนเหมาะกับทำงาน   มีความมั่นคงต่ออุดมการณ์ของชีวิต และไม่หวั่นไหวต่อภาระหน้าที่ต้องรับผิดต่อตนเองและผู้อื่น     ด้วยสติ และปัญญาของตนเอง        
ภาพโดยปรัชญา&พุทธภูมิ
           เมื่อมนุษยชาติมีความรู้ความเข้าใจกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์       และปฏิรูปคนในสังคมให้ยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีในแคว้นมคธ      แคว้นสักกะ และแคว้นโกศลเป็นต้น     เมื่อประชาชนได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว   เกิดศรัทธาในการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุความจริงของชีวิต      ตัดสินใจสละวรรณะแม้จะเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิม และหันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก  ในปี ๒๐๐๕-๒๐๑๐   ผู้เขียนเดินทางแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔  ผู้เขียนรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตัวเองถึงความมีอยู่จริงของสถูปเกสเรีย และนำคณะผู้แสวงบุญเยี่ยมชมสถูปเกสเรียแห่งนี้ และเดินทางผ่านสถูปแห่งนี้อีกหลายครั้ง เพื่อไปแสวงบุญที่อำเภอเวสาลี  รัฐพิหาร ของสาธารณรัฐอินเดีย             แม้สถูปเกสรียาจะเหลือซากปรักหักพังของพุทธสถานโบราณ     แต่ยังทรงคุณค่าของความรู้ที่แท้จริงที่ฝังรากลึกลงสู่จิตใจของผู้คนในแต่ละปี จึงมีผู้มาปฏิบัติบูชาที่สถูปเกสรียาจำนวนไม่น้อยเพื่อระลึกคุณของพระพุทธเจ้า  เป็นสถานที่สวดมนต์และภาวนาเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตของชาวพุทธในการนั่งสมาธิ เพื่อฝึกจิตใจเข้มแข็ง       รักษาจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากอคติต่อผู้อื่นไม่มีความเศร้าที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของพวกเขา       มีจิตใจที่อ่อนโยนเหมาะกับทำงาน มีความมั่นคงต่ออุดมการณ์ของชีวิต  และไม่หวั่นไหวต่อภาระหน้าที่ต้องรับผิดต่อตนเองและผู้อื่นด้วยสติและปัญญาของตนเอง   

         ๑.บ่อเกิดของความรู้ของสถูปเกสเรีย         ในการศึกษาปรัชญาแดนพุทธภูมินั้น เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์อวัยวะอินทรีย์ ๖ของมนุษย์มีขอบเขตจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุใช้อธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องต่าง ๆ      ที่ยังเป็นข้อสงสัยของมนุษย์นั้น  พระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ         ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนได้ข้อเท็จจริงเป็นข้อยุติว่า  ในสมัยพุทธกาล ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จสู่ปรินิพพานนั้น  พระองค์ได้เสด็จมาจำพรรษาสุดท้ายที่ตำบลเวฬุคา     เมืองเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี ในระหว่างพรรษาทรงอาพาธอย่างรุนแรงแทบจะปรินิพพาน  ทรงตั้งสติพิจารณาว่ายังมิได้ร่ำลาญาติโยมผู้อุปฐากทั้งหลาย        ทรงตัดสินพระทัยปลงพระชนมายุสังขารว่าอีก ๓  เดือนข้าง  จะปรินิพพานที่เมืองกุสินาราต่อมาเจ้าลิจฉวีกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองนี้  ได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุจากเมืองกุสินาราแล้ว     มาบรรจุไว้ในปาวาลเจดีย์ที่เมืองเวสารีแห่งนี้    ปัญหาผู้เขียนสงสัยว่า "สถูปเกสรียา" เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร     เป็นที่เรื่องที่ผู้เขียนต้องหาพยานหลักฐานของที่มาของความรู้เกี่ยวกับสถูปแห่งนี้   เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูล พยานหลักฐานชิ้นแรกที่เราควรศึกษาคือ 

          ๑.๑.พระไตรปิฎก และอรรถกถา การศึกษาพระพุทธศาสนา พยานหลักฐานชิ้นแรกที่เราควรศึกษา คือพระไตรปิฎกและอรรถกถาออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ   เมื่อกรอกข้อความคำว่า "เกสเรีย" และ"เกสริยา" ในเวปไซต์ไม่ปรากฏเนื้อหาของสถูปเกสเรีย หรือเกสริยาในพระไตรปิฎกออนไลน์แต่อย่างใด ยิ่งเพิ่มความสงสัยใคร่ศึกษาหาความรู้จากพยานหลักฐานชิ้นอื่นอีกต่อไป  เป็นเรื่องท้าทายความสนใจของผู้เขียนต้องค้นหาต่อไป 

        ๑.๒  จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน  เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงความเป็นมาของสถูปเกสเรียอย่างละเอียด ได้บันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรเป็นหลักฐานว่า "ไปจากสถานที่นี้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทาง ๑๒ โยชน์ถึงสถานที่ชาวลิจฉวี  จะติดตามพระพุทธองค์ไปให้ถึงสถานที่ที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพวกเขานั้นไม่เชื่อฟังพระดำรัสของพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาที่จะแยกพวกเขาที่ไม่สมัครใจเหล่านั้นให้พ้นไป จึงทรงบันดาลให้ปรากฎเป็นคลองทั้งใหญ่และลึกขึ้นขวางหน้าซึ่งพวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถข้ามได้แล้ว พระองค์ได้ประทานบาตรของพระองค์ให้แก่พวกเขาเหล่านั้น  เพื่อเป็นความหมายแห่งความเคารพนับถือของตนแล้ว และรับสั่งให้พวกเขาเหล่านั้นกลับคืนไปสู่ครอบครัวของเขาทั้งหลาย ณ ที่นี้ มีเสาหินสร้างไว้ต้นหนึ่งได้แกะสลักตัวอักษรบอกเรื่องราวไว้ที่เสานั้น [1] 
  
          เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา ฯ และจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรแล้ว  เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องสถูปเกสเรียว่า แม้พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ จะไม่มีกล่าวถึงสถูปเกสรียาก็ตาม แต่เราได้ยินข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงตัดสินปลงอายุสังขารว่า จะปรินิพพานที่เมืองกุสินาราในครั้งนั้น ชาวลิจฉวีทราบข่าวจึงพากันตั้งใจติดตามพระพุทธเจ้าเพื่อส่งเสด็จถึงสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ หลังจากติดตามพระองค์มาหลายวันจนถึงแม่น้ำคัณฑัก (Gandak)  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนแคว้นวัชชีกับแคว้นมัลละ  พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้พวกเขากลับคืนไปยังเมืองเวสา เมืองหลวงของแคว้นวัชชี  อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา แต่พวกเหล่านั้นไม่ยอมเชื่อฟังและพยายามติดตามพระพุทธเจ้าต่อไปให้ถึงเมืองกุสินารา แต่เมื่อพระองค์ทรงเห็นเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงตัดสินพระทัยแยกชาวลิจฉวีที่ไม่สมัครใจกลับไปให้พ้นด้วยการทรงบันดาลให้เกิดแม่น้ำขนาดใหญ่ (Gandak River) กั้นไว้ทำให้พวกชาวลิจฉวีข้ามแม่น้ำนี้ไม่ได้ พระองค์ทรงประทานบาตรของพระองค์แก่พวกเขาเหล่านั้น เพื่อเป็นเครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาของพวกเขาต่อพระพุทธเจ้า และทรงรับสั่งให้เขากลับไปสู่ครอบครัวของพวกเขา ณ สถานที่แห่งนี้ พระภิกษุฟาเหียนค้นพบว่า มีเสาหินสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ได้แกะสลักตัวอักษรเรื่องราวไว้ที่เสานั้นเสาหินนี้ 

             ผู้เขียนสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นสถูปเกสรียา ส่วนอักษรที่สลักไว้น่าจะเป็นอักษรพราหมี เช่นเดียวกับสถูปที่สลักไว้ในเสาหินที่เมืองกุสินารา และป่าอิสิปตนผู้เขียนจึงอนุมานความรู้ได้ว่า เป็นเสาหินรุ่นเดียวกันที่สร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่เนื้อหาของจดหมายเหตุบันทึกดังกล่าว  ก็ไม่ได้กล่าวถึงกาลามสูตรที่พระพุทธเจ้าเคยแสดงพระธรรมไว้แต่อย่างใด ดังนั้นผู้เขียนเชื่อได้ว่าสถูปเกสเรียจึงเกิดความสงสัยว่าสถูปเกสเรีย เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานบาตรไว้แก่ชาวแคว้นวัชชี ต่อมาชาววัชชีได้สถูปแห่งนี้เป็นที่บรรจุบาตรของพระพุทธเจ้าไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าส่วนจะเป็นสถานแสดงธรรมในเรื่องกาลามสูตรหรือไม่เพราะพยานหลักฐานที่เป็นคัมภีร์ที่แสดงมาไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎก อรรกถาและจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรนั้นไม่ได้กล่าวถึงแต่ประการใดยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่ทำให้น่าเชื่อว่า สถูปเกสเรียนั้นเป็นสถานที่แสดงกาลามสูตรดังกล่าวแต่ประการใด. 

บรรณานุกรม
1.พระยาสุรินทรฤาชัย.  จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์พิมพ์ครั้งที่ ๒  กรุงเทพ ฯ : หน้าที่ ๑๒๙ 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ