Buddhaphumi's philosophy: An analysis of the existence of a person
บทวิเคราะห์ความมีอยู่ของปัจเจกบุคคล
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยจักรวาล ซึ่งอยู่ในหลุมดำมาเวลาหลายล้านปีแสง มีผู้คนอาศัยอยู่บนโลกถึง๗,๐๐๐ ล้านคน ผู้เขียนเป็นมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลก และมีชีวิตอยู่ชัวระยะหนึ่ง แล้วก็ตายไป มนุษย์สามารถคิดโดยอนุมานหรือคาดคะเนความรู้จากหลักฐานต่าง ๆเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องต่าง ๆ โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา อธิบายความจริงของสิ่งต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล
เมื่อวิเคราะห์หลักฐาน ข้อเท็จจริงของคำตอบนั้น ไม่ชัดเจนว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้เกิดสงสัยเกี่ยวกับปัญหานั้น แต่นักปรัชญาชอบจะศึกษาเรื่องนี้ต่อไป ก็จะสืบหาความจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น ในสมัยอินเดียโบราณ ชาวอนุทวีปอินเดียมีความรู้ที่เป็นความเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน เมื่อได้คำตอบในสิ่งนั้นแล้ว ก็คิดหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยในเรื่องต่อไป ความสงสัยของมนุษย์มักสงสัยว่าตัวเองเป็นปัญหาเป็นใคร? มาจากไหน? แก่นแท้ของผู้เขียนคืออะไร? ตามแนวคิดอภิปรัชญาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในปรัชญานั้นสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของแก่นแท้ของสรรพสิ่ง,และ มนุษย์และเทพเจ้า เป็นต้น
เป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลมาวิเคราะห์ เป็นเรื่องเกินขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษยธรรมดาจะรับรู้ได้เอง เว้นแต่มนุษย์ผู้นั้นจะพัฒนาศักยภาพของชีวิตตนเองให้อยู่ในระดับพระอริยบุคคลให้มีความในระดับอภิญญา๖ เสียก่อน ก็จะเข้าใจชีวิตเป็นอย่างไร ก็สนใจศึกษาหาคำตอบเช่นกัน และยอมรับว่าแก่นแท้ชีวิตมนุษย์แต่ละคือ รูป จิต เจตสิก และนิพพาน เป็นต้น แต่ความจริงของสิ่งเหล่านี้เมื่อย่อส่วนประกอบของชีวิต ให้เหลือแค่ ๒ ส่วนคือร่างกายและจิตให้ง่ายต่อการอธิบายให้เข้าใจง่ายต่อการศึกษายุคใหม่ ที่ศึกษาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตมนุษย์เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย ๒ ส่วนรวมกันคือร่างกายและจิตนั่นเอง มนุษย์ใช้จิตอาศัยร่างกายส่วนที่เรียกว่า "อินทรีย์ ๖ "
วิธีการแสวงหาความรู้ตามแนวคิดทางปรัชญา มีจุดเริ่มต้นจากความสงสัยของมนุษย์ ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่จิตของมนุษย์ได้ผัสสะสิ่งใดผ่านอินทรีย์ ๖ สิ่งนั้นอาจจะเป็นวัตถุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติรอบล้อมตัวมนุษย์ สิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ขึ้นไปเช่น พระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น มนุษย์ใช้จิตน้อมออกไปรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ย่อมเกิดความสงสัยในสิ่งนั้นว่า คืออะไรก็แสวงหาคำตอบด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยเริ่มคิดวิเคราะห์หาคำตอบด้วยเหตุผลว่าคืออะไร และมีธรรมชาติอย่างไร ข้อดีการวิเคราะห์คำตอบทางปรัชญานั้น คำตอบของใครก็ถูกของคนนั้น คำตอบทางปรัชญาจึงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยที่มีการค้นคว้าและแสวงหาคำตอบขึ้นมาใหม่ เช่น ความจริงเรื่องปฐมธาตุ บางยุคนักปรัชญาบอกว่าเกิดจากน้ำบ้าง บางยุคก็บอกว่าเกิดจากลมบ้าง เป็นต้น ส่วนพระพุทธศาสนาก็สนใจแนวคิดทางอภิปรัชญาเรื่องจิตของมนุษย์เช่นเดียวกัน เมื่อปรัชญาและพุทธปรัชญา ต่างก็สนใจเรื่องจิตและเมื่อจิตเป็นสาระอันเป็นแก่นแท้ของชีวิต ปรัชญาและพุทธปรัชญาจึงมีแนวคิดทางอภิปรัชญาเรื่องจิต เหมือนกัน และต่างกันในรายละเอียดซึ่งต้องศึกษากันต่อไป ก่อนศึกษาบทความนี้ให้เข้าใจนั้น ผู้อ่านจำเป็นต้องศึกษาความหมายของคำว่า"ปัจเจกบุคคล" ให้เข้าใจก่อน เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจาก ที่มาของความรู้ในพจนานุกรมแปลไทย-ไทยฉบับราชบัณฑิตย สถาน นิยามคำว่า "ปัจเจกบุคคล" หมายถึง บุคคลแต่ละคนนั้น ส่วนคำว่า"บุคคล" นั้นหมายถึง "คน" ส่วนคำว่า "คน" จากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกเรียกว่า"ขันธ์ห้า" แต่คำว่า "ขันธ์ห้า" จากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมแปลไทย -ไทย อ.เปลื้อง นิยามคำว่า "ขันธ์ห้า" เป็นคำนามหมายถึงส่วนประกอบของบุคคลห้าส่วน พระพุทธศาสนาสอนว่าคนๆ หนึ่งประกอบด้วย ๕ ส่วน เรียกว่า ขันธ์ห้า ได้แก่ ๑.รูปขันธ์ได้แก่ร่างกาย ๒. เวทนาขันธ์ เรียกว่าความรู้สึกสุขทุกข์ ๓. สัญญาขันธ์ หมายถึงความจำ ๔. สังขารขันธ์หมายถึง ความนึกคิด ๕. วิญญาณขันธ์หมายถึง ความรู้ เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูล จากแหล่งความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลข้างต้น ผู้เขียนตีความได้ว่า ชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพุทธศาสนาเถรวาทนั้น พระพุทธเจ้าทรงอธิบายในรูปแบบของคำสอนเรื่อง "ขันธ์ห้า" โดยการแสดงองค์ประกอบห้าประการของชีวิต ได้แก่ รูปหมายถึงร่างกาย เวทนาหมายความรู้สึกสุขทุกข์ของมนุษย์ สัญญาหมายถึงการจดจำสิ่งที่เข้ามาในชีวิตสังขารหมายถึงความคิดของมนุษย์ และวิญญาณหมายถึงส่วนที่เป็นจิตทั้งหมดมนุษย์ เป็นที่เก็บความรู้ไว้ในจิตของมนุษย์ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ความรู้ก็ไม่ผิด ขันธห้าของมนุษย์เมื่อย่อองค์ประกอบของชีวิต ๕ ส่วน ให้เหลือเพียง ๒ ส่วนคือกายและจิตนั่นเอง
ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๓ จิตวรรค ๕. จิตตหัตถเถรวัตถุ๔.สังฆขิตเถรวัตถุเรื่องพระสังฆรักขิตเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้แก่พระสังฆรักขิตเถระ) ไว้ดังนี้ข้อ ๓๗. คนเหล่าใดสำรวมจิตที่เที่ยวไปไกล๑ เที่ยวไปดวงเดียว๒ ไม่มีรูปร่าง๓ อาศัยอยู่ในถ้ำ๔ คนเหล่านี้จักพ้นเครื่องผูกแห่งมาร๕ คนเหล่านี้จักพ้นเครื่องผูกแห่งมาร๕ (๕)เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์ รับฟังข้อเท็จเป็นที่ยุติว่า ชีวิตของมนุษย์นอกจากมีกายแล้ว ยังมีจิตเป็นองค์ประกอบของชีวิต ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้ดังนั้นปัญหาความจริงอภิปรัชญาเรื่องจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท สาระอันเป็นแก่นแท้ของชีวิตคือจิตนั่นเอง
ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๓ จิตวรรค ๕. จิตตหัตถเถรวัตถุ๔.สังฆขิตเถรวัตถุเรื่องพระสังฆรักขิตเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสคาถานี้แก่พระสังฆรักขิตเถระ) ไว้ดังนี้ข้อ ๓๗. คนเหล่าใดสำรวมจิตที่เที่ยวไปไกล๑ เที่ยวไปดวงเดียว๒ ไม่มีรูปร่าง๓ อาศัยอยู่ในถ้ำ๔ คนเหล่านี้จักพ้นเครื่องผูกแห่งมาร๕ คนเหล่านี้จักพ้นเครื่องผูกแห่งมาร๕ (๕)เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์ รับฟังข้อเท็จเป็นที่ยุติว่า ชีวิตของมนุษย์นอกจากมีกายแล้ว ยังมีจิตเป็นองค์ประกอบของชีวิต ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ต่อไปได้ดังนั้นปัญหาความจริงอภิปรัชญาเรื่องจิตในพุทธปรัชญาเถรวาท สาระอันเป็นแก่นแท้ของชีวิตคือจิตนั่นเอง
๑.ปัญหาว่าจิตคืออะไร เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ พระสุตตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ธรรมบท ๓.จิตวรรค ๑.เมฆิยเถรวัตถุ พระผู้มีพระภาคพระคาถานี้ แก่พระสังฆรักขิตเถระ [๓๗] คนเหล่าใดสำรวมจิต เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่างอาศัยอยู่ในถ้ำ คนเหล่านั้นจะหลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ รับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นที่ยุติว่า คนสำรวมจิตของตนเอง เป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในถ้ำ เที่ยวไปดวงเดียว เมื่อไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดยกเหตุผลขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงพระไตรปิฎกให้เกิดข้อพิรุธสงสัยอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่า จิตคือสิ่งไม่มีรูปร่าง เที่ยวไปดวงเดียว อาศัยอยู่ในถ้ำ (ร่างกาย) ของคนนั้น เราวิเคราะห์ได้ดังนี้
๑.๑ คำว่า "จิตเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง" จิตของมนุษย์อาศัยในร่างกาย ไม่ใช่ร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างไม่กินเนื้อที่ ไม่สามารถสัมผัสได้แต่รู้ด้วยใจของมนุษย์เอง เมื่ออาศัยอยู่ในร่างกายเป็นสิ่งที่มีรูปร่างกาย ดังนั้น จิตจึงเป็นสิ่งที่ไม่รูปร่าง เป็นต้น เมื่อธรรมชาติของจิต มีลักษณะเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างต้องอาศัยกายตลอดเวลา ออกไปรับรู้อารมณ์ซึ่งอยู่ภายนอกตัวมนุษย์ ส่วนของร่างกายที่จิตใช้เป็นสะพานหรือทวารออกไปรับรู้อารมณ์เหล่านี้นั้นคืออายตนะภายในของร่างกายมนุษย์อันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายและใจของมนุษย์สภาวะรู้อารมณ์ของมนุษย์เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อจิตน้อมออกไปผัสสะอารมณ์รูปทางประสาทตาเกิดความรู้อารมณ์ขึ้น แต่เมื่อจิตเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง สิ่งที่จิตน้อมรับเข้ามาสู่จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างไปด้วย ได้แก่สภาวะของอารมณ์เรื่องราวเกี่ยวกับรูปภาพที่มนุษย์เห็นเท่านั้น ไม่สามารถนำวัตถุภาพผ่านทะลุประสาทตาเข้าสู่จิตได้เมื่อจิตน้อมออกไปผัสสะอารมณ์ของเสียงผ่านหูเกิดความรู้ของอารมณ์เสียงขึ้น แต่เมื่อจิตเป็นที่ไม่มีรูปร่างและเสียงก็มีไม่รูปร่างเช่นเดียวกัน จิตจึงน้อมรับเอาเสียงเข้าสู่จิตได้
๑.๒ จิตมีลักษณะ"เป็นดวง" ธรรมชาติของจิตมีลักษณะเป็นดวงเกิดดับตลอดเวลา แต่ความสัมพันธ์ระหว่างจิตดวงเก่ากับจิตดวงใหม่ก่อนจิตดวงเก่าจะดับก็ถ่ายทอดเชื้อกรรมไปยังจิตดวงใหม่เช่นนี้ตลอดเวลา
๑.๓. จิตอาศัยอยู่ใน"ถ้ำ" เมื่อจิตอาศัยอยู่ในร่างกายและใช้ร่างกายรับรู้เรื่องของโลกได้ ส่วนของร่างกายมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นถ้ำอยู่อาศัยได้แก่ กะโหลกศรีษะของมนุษย์ มีลักษณะเป็นถ้ำเป็นที่บรรจุก้อนสมองซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาททั้งหมดของร่างกาย จิตจึงอาศัยอยู่ในบริเวณแห่งนี้
๑.๔ จิตท่องเที่ยวไกล เมื่อมนุษย์เสียชีวิตลงร่างกายเสื่อมสลายสู่ธรรมชาติเว้นแต่จิตเท่านั้นออกจากร่างกายไปจุติจิตไปสู่ภพภูมิต่างๆใน ๓๑ ภพภูมิ ดังที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกคำว่าท่องเที่ยวคือการจุติจิตในภพต่างๆซึ่งถือเป็นการเดินทางไกลหรือจิตปล่อยกระแสอารมณ์ไปตามกิเลสของตนเอง
๒.ลักษณะของจิตเป็นอย่างไร เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูล ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่๓๕ อภิธรรมปิฎกที่๐๒ วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ (ขันธ์๕คือ ๑.รูปขันธ์ ๒.เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔.สังขารขันธ์ ๕.วิญญาณขันธ์) เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลเรื่องเรื่องชีวิตจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎก ผู้เขียนตีความได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาเรื่องชีวิตของมนุษย์ในหลักธรรมเกี่ยวกับขันธ์ห้า โดยแยกส่วนประกอบของชีวิตมนุษย์เป็น๕ ส่วน เมื่อย่อส่วนประกอบของชีวิตเหลือ ๒ ส่วนได้แก่กายและจิต โดยคำว่า "รูป"หมายถึงร่างกายของมนุษย์นั้น ส่วนเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ หมายถึงอาการของ"จิต"ที่แสดงออกมาทางกายมนุษย์นั่นเอง ธรรมชาติของจิตของปัจเจกบุคคลมีลักษณะอย่างไรตามธรรมชาติฉบับประมวลศัพท์ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) นั้นมีดังต่อไป
๒.๑. ลักษณะของจิตมีอาการเวทนา เป็นความรู้สึกสุข ทุกข์ เบื่อหน่าย เมื่อมนุษย์ผัสสะกับวัตถุแห่งกิเลส อารมณ์เกี่ยวกับกิเลส จิตย่อมเกิดความสุขในอารมณ์ที่ตนพอใจ จิตย่อมเกิดความทุกข์ในอารมณ์ที่ตนไม่พอใจ และขณะเดียวกับเมื่อมีความสุขในอารมณ์ที่ตนพอใจมากเป็นประจำ ย่อมเกิดอารมณ์นิพพิทาที่เรียกว่า "เบื่อหน่าย"ได้เช่นเดียวกัน
๒.๓.ธรรมชาติของจิตเก็บสั่งสมความรู้ ธรรมชาติของจิต เมื่อรับรู้สิ่งต่างๆแล้ว สิ่งที่รับรู้ยังคงอยู่ในจิตและยังอยู่ในจิตของมนุษย์นักวิชาการบางท่านบอกว่า อยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์เป็นที่สะสมพฤติกรรมของจิตหลายอย่างเช่น แรงจูงใจทำให้แสดงพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์ชอบเก็บผัสสะต่างๆที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะภายในชอบเก็บกายกรรมที่แสดงออกทางกายมาไว้ วจีกรรมการแสดงออกทางวาจาของไว้และเก็บมโนกรรมสั่งสมไว้ในจิตในบางครั้งเก็บประสบการณ์ทางผัสสะที่ดีเรียกว่า“กุศลกรรม”หากเก็บประสบการณ์ที่ไม่ดีเรียกว่า อกุศลกรรม”เป็นต้น
๒.๔.ธรรมชาติของจิตรับรู้ เมื่อจิตอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ การรับรู้ของจิตโดยอาศัยร่างกายเป็นตัวเชื่อมกับปัจจัยภายนอกชีวิตของมนุษย์ รูปร่างหน้าของมนุษย์ สัตว์ป่าสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ โบราณวัตถุ ดวงดาวที่อยู่บนท้องฟ้า เป็นต้น เมื่อรับรู้แล้วสงสัยอยากรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ต่าง ๆ มีกิจกรรมทางจิตหรือทางปัญญา รวมถึงกระบวนการคิดในแง่กรอบการคิด หมายถึงกระบวนการรับรู้การรับความรู้สึกความมีจิตสำนึกและจินตนาการ เมื่อมนุษย์มีความรู้เก็บไว้ในจิตแล้ว ความเหล่านั้นจะมีประโยชน์ต่อชีวิต เมื่อมนุษย์เจ้าของความรู้นำมาคิดจินตนาการทำให้ตนเข้าใจสภาวะโลกตามความเป็นจริง แตกต่างกันตามความคิดหาเหตุผลของตน และแปลความหมายของผัสสะตามความเข้าใจของตนเพื่อเชื่อมกับความเป้าหมายของชีวิตที่ตนปรารถนาและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
โดยสรุปคำว่า "ปัจเจกบุคคล" หมายความว่ามนุษย์แต่ละคนมีชีวิตที่เกิดจากปัจจัย ๒ ประการคือร่างกายและจิต ชีวิตต้องอาศัยร่างกายสัมผัสอารมณ์แล้วจิตเกิดความสงสัย จากนั้นวิเคราะห์และหาเหตุผลคำตอบจากข้อมูลจากสิ่งที่สงสัยนั้น เมื่อจิตมนุษย์เป็นสิ่งไร้สัณฐานที่อาศัยอยู่ในร่างกายบนกะโหลกศรีษะ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกาย หลังจากความตายร่างกายไม่อยู่ในสภาพที่จิตจะดำรงอยู่ต่อไปจิตจะท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ จิตมีลักษณะเป็นผู้รู้ ผู้คิด ผู้เก็บอารมณ์ไว้ในจิต และนำอารมณ์นั้นมานึกคิดจินตนาการต่อยอดไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตน (ยังมีต่อ)
๒.๔.ธรรมชาติของจิตรับรู้ เมื่อจิตอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ การรับรู้ของจิตโดยอาศัยร่างกายเป็นตัวเชื่อมกับปัจจัยภายนอกชีวิตของมนุษย์ รูปร่างหน้าของมนุษย์ สัตว์ป่าสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ โบราณวัตถุ ดวงดาวที่อยู่บนท้องฟ้า เป็นต้น เมื่อรับรู้แล้วสงสัยอยากรู้ว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ต่าง ๆ มีกิจกรรมทางจิตหรือทางปัญญา รวมถึงกระบวนการคิดในแง่กรอบการคิด หมายถึงกระบวนการรับรู้การรับความรู้สึกความมีจิตสำนึกและจินตนาการ เมื่อมนุษย์มีความรู้เก็บไว้ในจิตแล้ว ความเหล่านั้นจะมีประโยชน์ต่อชีวิต เมื่อมนุษย์เจ้าของความรู้นำมาคิดจินตนาการทำให้ตนเข้าใจสภาวะโลกตามความเป็นจริง แตกต่างกันตามความคิดหาเหตุผลของตน และแปลความหมายของผัสสะตามความเข้าใจของตนเพื่อเชื่อมกับความเป้าหมายของชีวิตที่ตนปรารถนาและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
โดยสรุปคำว่า "ปัจเจกบุคคล" หมายความว่ามนุษย์แต่ละคนมีชีวิตที่เกิดจากปัจจัย ๒ ประการคือร่างกายและจิต ชีวิตต้องอาศัยร่างกายสัมผัสอารมณ์แล้วจิตเกิดความสงสัย จากนั้นวิเคราะห์และหาเหตุผลคำตอบจากข้อมูลจากสิ่งที่สงสัยนั้น เมื่อจิตมนุษย์เป็นสิ่งไร้สัณฐานที่อาศัยอยู่ในร่างกายบนกะโหลกศรีษะ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกาย หลังจากความตายร่างกายไม่อยู่ในสภาพที่จิตจะดำรงอยู่ต่อไปจิตจะท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ จิตมีลักษณะเป็นผู้รู้ ผู้คิด ผู้เก็บอารมณ์ไว้ในจิต และนำอารมณ์นั้นมานึกคิดจินตนาการต่อยอดไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตน (ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น