บทนำ หมู่บ้านชิราวาโกะ (Shirakawa-go Village) มรดกโลกทางวัฒนธรรมในปรัชญาแดนพุทธภูมิ

๑.บทนำ
มนุษย์ทุกเชื้อชาติ ภาษาและศาสนาอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ พวกเขาเผชิญกับความท้าทายที่ต้องแก้ไขปัญหาตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดของตน มนุษย์แต่ละคนมีชีวิตตามธรรมชาติที่ประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ เมื่อจิตใจอาศัยร่างกายเชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองแล้ว ก็เก็บเอาอารมณ์ของสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์ชอบปรุงแต่ง (คิด) จากหลักฐานที่มีอยู่ในจิตใจตน พวกเขาใช้วิธีเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในปัญหาที่น่าสงสัยนั้น หรือหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริง ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาไม่น่าเชื่อ เพราะอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของมนุษย์มีความจำกัดในการรับรู้เรื่องราวเหล่านั้น ข้อเท็จจริงที่ได้มาจึงไม่ครบองค์ประกอบของความรู้ และมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ความกลัว ความเกลียดชัง และรักใคร่ชอบพอเป็นการส่วนตัว จิตใจมนุษย์จึงมีอารมณ์มืดมนอยู่เสมอเมื่อเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบยังไม่ชัดเจน เพราะหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นได้ แต่ผู้เขียนสนใจศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ต่อไป ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงจริงของคำตอบในปัญหานั้น ๆ ต่อไป
เมื่อผู้เขียนไปชมผลงานที่หมู่บ้านชิราวาโกะ เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากไกด์ว่า หมู่บ้านชิราวาโกะในประเทศญี่ปุ่น เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ชาวบ้านชิราวาโกะต้องทุกข์ทรมานจากสภาพอากาศหนาวเย็น เนื่องจากหิมะตกหนักเป็นประจำทุกปีติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี แม้ผนังของบ้านจะก่อสร้างด้วยอิฐหน้าหลายชั้น แต่อากาศเย็นก็ยังสามารถทะลุผ่านตัวบ้านเข้าไปภายในบ้านได้ เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของชาวบ้านชิราวาโกะ ดังนั้น พวกเขาจึงคิดหาวิธีป้องกันความหนาวเย็นจากหิมะที่ตกลงมาเป็นเวลานานในแต่ละปี ด้วยสร้างหลังคาหญ้าธรรมชาติและมีความหนามาก จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพื่อหารายได้ให้คนท้องถิ่น พวกเขาเปิดหมู่บ้านชิราวาโกะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้คนทั่วโลกได้เยี่ยมชมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก และสร้างรายได้มหาศาลจากการบริการท่องเที่ยวและขายของที่ระลึก ฯลฯ

เหตุปัจจัยของกายและจิตใจของมนุษย์เป็นบ่อเกิดความรู้ที่มา จากประสบการณ์ชีวิตได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของชาวบ้านชิราวาโกะ และสั่งสมเป็นความรู้ที่อยู่ในจิตใจ ของชาวบ้านชิราวาโกะ จนกลายเป็นคำสัญญามานับร้อยปี ทุกๆ ฤดูหนาวของทุกปีชาวบ้านชิราวาโกะ ต้องเผชิญกับความหนาวเย็นของอากาศ หลายคนในหมู่บ้านนอนแข็งตัวจนตาย เพราะความหนาวเย็นของอากาศสามารถทะลุผ่านเข้าในบ้าน และชีวิตของพวกเขาแทบจะทนกับความหนาวไม่ได้ติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อพวกเขาตระหนักถึงปัญหาอากาศหนาวแล้ว จึงคิดวิธีแก้ปัญหาความหนาว โดยสร้างบ้านที่มีหลังคาจั่วแหลมทำมุม ๖๐ องศา เพื่อป้องกันมิให้หิมะตกลงบนหลังคาจนแข็งตัวและกระจายความเย็นเข้าในบ้านนั้น หลังคาบ้านเป็นหญ้าธรรมชาติ สามารถป้องกันความเย็นในฤดูหนาวหมู่บ้านมรดกโลกชิราวาโกะ โดยยังคงอนุรักษ์บ้านสไตล์ญี่ปุ่นดั่งเดิมไว้ที่มีหน้าจั่วแหลม ๖๐ องศาหลังคาปูด้วยหญ้าหนาประมาณ ๑ เมตรตั้งฉาก ๖๐ องศา นี่เป็นภูมิปัญญาของชาวชิราวาโกะ ที่ใช้ป้องกันความหนาวเย็นในฤดูหนาว ที่สามารถแผ่ขยายเข้าไปในบ้านแต่ละหลังในหมู่บ้านชิราวาโกะ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อปี ๑๙๙๕ และยังคงรักษารูปแบบการสร้างบ้านแบบญี่ปุ่นดั่งเดิม และเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างมันขึ้นมาให้มีชีวิตอยู่ เพราะผู้คนยังอนุรักษ์และเข้าไปใช้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากหมู่บ้านแห่งนี้
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ที่เล่าสืบทอดกันมาหลายปี แม้นักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ศึกษาข้อเท็จจริงตามเว็บไซต์ต่าง ๆ และยอมความคิดเห็นโดยปริยายว่าเป็นความจริง แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เมื่อเราได้ยินเชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องใดที่เล่าต่อ ๆ กันมา อย่าเชื่อข้อเท็จจริงทันทีให้สงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรืื่องนั้น ๆ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนแล้ว ผู้เขียนจึงสงสัยถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านชิราวาโกะในการสร้างบ้านจากความคิดอย่างไร? จึงได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ตัดสินใจเดินทางมาที่หมู่บ้านแห่งนี้ เพื่อศึกษาว่าชาวบ้านชิราวาโกะคิดอย่างไร?ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของตน และจะเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่เกิดจากความคิดของตนเอง เพื่อเป็นอัตลักษณ์เพื่อให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และศึกษาเป็นมรดกโลกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น