The problems of Moriya country According to Epistemology
in Buddhaphumi's Philosophy
บทนำ
เมื่อศากยมุนีพุทธเจ้าปรินิพพานที่พระนครกุสินารา เป็นเมืองหลวงของแคว้นมัลละ(Malla country) หลังจากมัลละกษัตริย์ทรงจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ในวันที่ ๘ มีพระราชพิธีเก็บพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่จิตกาธาน (เชิงตะกอน) ที่เรียกว่า"มกุฏพันธเจดีย์" มหาราชาทั้ง ๘ เมือง ทรงยกทัพขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า โทณพราหมณ์ได้แบ่งพระพระบรมสาริกธาตุให้มหาราชาทั้ง ๘ เมือง เพื่อบรรจุไว้ในสถูปที่สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวเมืองได้สักการะบูชาเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า ดังปรากฏหลักฐานจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับบมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๗.ธาตุชนียคาถาว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ [๑] พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐเสด็จดับขันธปรินิพพานที่กรุงกุสินาราพระบรมสาริกธาตุได้แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ [๒] พระบรมสาริกธาตุทะนานหนึ่งเป็นพระเจ้าอชาตศัตรู อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงวัชชี อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์ อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงอัลลกัปปะ [๓] อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุง รามคาม อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงเวฏฐทีปกะอีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงปาวาของมัลลกษัตริย์ อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกุสินารา [๔] โทณพราหมณ์ให้ช่างสร้างสถูปบรจุทะนานทอง กษัตริย์กรุงโมริยะ ผู้มีหทัยยินดี รับสั่งให้สร้างสถูปบรรจุพระอังคาร [๕]พระสถูปบรรจุพระบรมสาริกธาตุ ๘ แห่งตุมพเจดีย์เป็นแห่งที่ ๙ และพระสถูปบรรจุพระอังคารเป็นแห่งที่ ๑๐ ประดิษฐานอยู่แล้วในกาลนั้น
เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ"สถูปพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่เมืองปิปผลิวัน" จากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ ข้างต้น ผู้เขียนได้รับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเมื่อกษัตริย์มัลละได้ทำพิธีประชุมเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสาริกธาตุแก่กษัตริย์ทั้ง ๘ เมือง ได้แก่ กษัตริย์แห่งพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ, พระนครเวสาลี แคว้นวัชชี, พระนครกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ พระนครอัลลกัปปะ เป็นต้น ส่วนทูตของกษัตริย์โมริยะพระนครปิปผลิวันเดินทางไปยังแคว้นมัลละเพื่อขอพระบรมสาริกธาตุไปบรรจุไว้ในสถูปที่สร้างขึ้นใหม่ และเปิดให้ชาวโมริยะเฉลิมฉลองด้วยอามิสบูชาพร้อมกัน แต่ได้มีการจัดสรรแบ่งพระบรมสาริกธาตุไปจนหมด เหลือแต่พระอังคารเท่านั้น กษัตริย์โมริยะทรงยินดีรับพระอังคารไปบรรจุไว้ในสถูปที่สร้างขึ้นใหม่ เมื่อไม่มีพยานเอกสารจากที่มาของความรู้ในคัมภีร์อื่นใดจะยกข้อความขึ้นมา โต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกให้เกิดข้อพิรุธสงสัยในเหตุผลของข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าพระนครปิปผลิวันแห่งแคว้นโมริยะได้รับส่วนแบ่งพระอังคาร(เถ้า)มาบรรจุไว้ในสถูปในพระนครปิปผลิวันจริง
มีปัญหาว่าแคว้นโมริยะตั้งอยู่ที่ไหนในอนุทวีปอินเดีย เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในhttps://tripitaka-online.blogspot.com/2016/08/tpd33-12.html ซึ่งเป็นหลักฐานในพระไตรปิฎกออนไลน์ เพื่อค้นหาข้อความคำว่า "โมริยะ" แล้ว ปรากฏพยานหลักฐานข้อความในพระไตรปิฎกเพียง ๓ เล่มและบันทึกข้อความเพียงไม่กี่บรรทัด มีรายละเอียดของข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแคว้นโมริยะ (Moriya country) จำเป็นต้องหาพยานวัตถุ เพื่อยืนยันสถานที่ตั้งของแคว้นโมริยะ (Moriya country) ซึ่งเป็นเจดีย์พระพุทธเจ้าที่ชาวโมลิยะสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานบรรจุพระอังคาร (ขึ้เถ้า) ของพระพุทธเจ้าที่พระนครปิปผลิวัน และพยานบุคคลได้แก่ เอกสารบันทึกความเห็นของนักโบราณคดีที่ขุดค้นโบราณสถูปพระพุทธเจ้า (Buddha stupa) ที่เมือง Lauria Nandangarh มาวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบเรื่องมีความมีอยู่ของแคว้นโมริยะต่อไป
ตามแนวคิดทางญาณว่าด้วยบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ตามทฤษฎีประจักษ์นิยม การวิเคราะห์ข้อมูลหาความมีอยู่ของรัฐโมริยะ ต้องรับรู้ได้โดยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น ตามแนวคิดของทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมมีแนวคิดว่าบ่อเกิดของความรู้ใดนั้น มีอยู่จริงต้องรับรู้ได้ประสาทสัมผัสของมนุษย์เพียงเดียวเท่านั้นผู้เขียนตีความทฤษฎีความรู้นี้ต่อไปอีก ถ้าความรู้ใดไม่ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์แล้วก็กลายเป็นความรู้ที่เป็นความเท็จได้ เมื่อผู้เขียนศึกษาคำนิยามจากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนเอง ในคำนิยามของคำว่า"ประเทศ" หมายถึง บ้านเมือง แว่นแคว้น ถิ่นที่อยู่ ตามทฤษฎีความรู้ (กฎ) ได้นิยามคำว่า ชุมชนแห่งมนุษย์ ตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้นตามคำนิยามคำว่า "ประเทศ" ผู้เขียนตีความได้ว่า ดินแดนใดที่จะเรียกเป็นประเทศ บ้านเมือง แว่นแคว้น ได้นั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้กล่าวคือ
๑. ประเทศจะต้องมีชุมชนแห่งมนุษย์เพื่ออยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่จนมีพลังอำนาจอธิปไตยเป็นองตัวเอง เช่น ชุมนุมของชาวโมริยะอาศัยอยู่รวมกันที่เรียกว่า "เมืองปิปผลิวัน" ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นโมริยะ ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้พยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตร ข้อ๒๓๗.........พวกเจ้าโมริยะผู้ครองนครปิปผลิวันได้ทรงสดับว่า "พระผู้มีพระภาคได้ทรงปรินิพพาน ในกรุงกุสินาราจึงทรงส่งทูตไปยังพวกเจ้ามัลละผู้ครองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นกษัตริย์แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์ควรได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุบ้าง จะได้สร้างสถูปบรรจุพระบรมสาริกธาตุและทำการฉลอง พวกมัลละกษัตริย์ผู้ครองกรุงกุสินาราตอบว่าไม่มีส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุ พระบรมสาริกธาตุได้แบ่งไปหมดแล้ว พวกท่านจงเอาพระอังคาร (เถ้า)ไปจากที่นี้เถิด พวกทูตเหล่านั้นจึงนำเอาพระอังคารไป"
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดังกล่าวข้างต้นแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติว่า ตามพยานเอกสารในพระไตรปิฎกนั้น มีชุมชนถิ่นพำนักอาศัยของชาวโมริยะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในพระนครปิปผลิวันเมืองหลวงของแคว้นโมลิยะ เมื่อได้พระอังคารเถ้าของพระพุทธเจ้าก็ได้มาก่อสร้างสถูปบรรจุพระอังคารไว้ให้คนพระนครปิปผลิวันฉลองและปฏิบัติบูชา เมื่อไม่มีพยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล ยกข้อเท็จจริงขึ้นมาหักล้างเหตุผลของคำตอบในพระไตรปิฎกให้เกิดข้อพิรุธสงสัยอีกต่อไปในความมีอยู่ของชุมชนชาวโมริยะแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าแคว้นโมริยะนั้น มีประชาชนอาศัยอยู่จริง ตั้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในพระนครปิปผลิวัน
๒.ชุมชนนั้นต้องอยู่ในอาณาเขตแน่นอน การจะตั้งรัฐขึ้นมาได้ต้องมีชุมชนอาศัยอยู่ในดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอนปรากฎพยานหลักฐานเป็นพยานวัตถุของสภาพทางภูมิศาสตร์ที่่แน่นอนและหลงเหลือมาถึงสมัยปัจจุบัน ประเทศโมริยะนั้นแม้จะมีหลักฐานในพระไตรปิฎกยืนยันว่าเป็นประเทศเอกราชเพราะแต่งตั้งราชทูต มาขอส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุพำนักอยู่รวมกันตั้งชุมชนพระนครปิปผลิวันขึ้นมา แม้พระไตรปิฎกออนไลน์ทุกฉบับจะมิได้บันทึกไว้ว่า อาณาเขตของแคว้นโมริยะนั้นในทิศต่าง ๆ จะจดอาณาเขตของประเทศใดบ้าง เป็นพยานหลักฐานก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น