Evidence proving the truths of The Moliya state in Tripitaka
บทนำ
ในการศึกษาปัญหาของอภิปรัชญาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ โลก ธรรมชาติและเทพเจ้า ซึ่งเป็นความรู้ ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ เป็นต้น ความจริงของสิ่งเหล่านี้ เป็นความรู้ที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเองและเก็บสั่งสมความรู้เป็นอารมณ์ไว้ในจิตใจ หลังจากนั้นจิตใจของมนุษย์ก็วิเคราะห์อารมณ์เหล่านั้น โดยอนุมานความรู้ โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา เพื่ออธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล หรือ สิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งอยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ แต่มนุษย์สามารถอธิบายการดำรงอยู่ของสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยเหตุผลของมนุษย์ ดังนั้นธรรมชาติอันแท้จริงของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมด ซึ่งอยู่รายล้อมตัวมนุษย์ ตามหลักอภิปรัชญา ผู้เขียนจึงแบ่งความจริง ออกเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.สิ่งที่เป็นจริงโดยสมมติ (appearance)
๒.สิ่งที่เป็นความจริง (Reality)
๑. ความจริงที่สมมติขึ้น (appearance) เป็นสิ่งที่ปรากฏและรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ว่าเป็นวัตถุ เช่น ชีวิตมนุษย์ สัตว์ป่า ปลา นก หรือสิ่งนามธรรมที่มีอยู่ในรูปพลังงาน เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต เรด้าร์ คลื่นเสียงของมนุษย์ ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์จึงพัฒนาศักยภาพของตนเองในการดำเนินชีวิต จนสามารถสร้างสรรค์เทคโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้พร้อมกันนั้น ก็สร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการรับคลื่นอินเตอร์เน็ตแทนที่จะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ เนื่องจากการรับรู้ของมนุษย์มีข้อจำกัด จึงไม่สามารถรับรู้คลื่นวิทยุ คลื่นเรดาร์ และอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวของตนเอง เป็นสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ที่มีอยู่จริง และตามแนวคิดทางญาณวิทยาเกี่ยวกับความรู้นั้นเรียกว่า"ทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยม"นั้น มีแนวคิดว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น"
จากนิยามของทฤษฎีความรู้ ผู้เขียนตีความว่า แก่นแท้ของสรรพสิ่งที่มีอยู่จริง จะต้องรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงได้ หากความรู้ใดไม่ผ่านประสาทของมนุษย์ให้ถือเป็นความรู้เท็จ ส่วนความรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของพระนครปิบผลิวันแห่งแคว้นโมริยะ
เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกายมหาวรรค ๓ มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยบูชาพระบรมธาตุและสร้างพระสถูปพวกเจ้ามัลละผู้ครองนครกุสินาราตอบว่า "(บัดนี้) ไม่มีส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุพระบรมสาริกธาตุได้แบ่งกันไปหมดแล้วพวกท่านจงนำเอาพระอังคาร (เถ้า) ไปจากที่นี้เถิดพวกทูตเหล่านั้นจึงนำเอาพระอังคารไปจากที่นั่น"

๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในระดับปรมัตถ์ คือความจริงอันเป็นที่สิ้นสุด, หรือความจริงอันลึกซึ้งเกินกว่าปุุถุชนจะรับรู้และเข้าใจได้ เพราะมิได้เกิดจากปัจจัยของสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้น จึงไม่มีการดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ในที่สุดก็จางหายไป จากการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว รับฟังข้อเท็จจริงเป็นข้อยุติได้ว่าชนวรรณะกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์โมริยะ ได้ส่งราชฑูตมาขอส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุจากเจ้ามัลละแห่งเมืองกุสินารา แต่พระบรมสาริกธาตุได้ถูกแบ่งไปให้พระนครทั้ง ๘ เมืองไปจนหมดสิ้นแล้ว เหลือแต่เพียงพระอังคาร (เถ้ากระดูก) ของศากยมุนีพุทธเจ้า พวกราชฑูตจึงรับพระอังคารไปบูชาที่เมืองของตนต่อไป เมื่อไม่พยานหลักฐานอื่นใดยกข้อความขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกให้มีเหตุผลของคำตอบมีข้อพิรุธน่าสงสัยให้ความจริงเป็นอย่างอื่นอีกต่อไปได้ ผู้เขียนเห็นว่าชนวรรณะกษัตริย์แห่งโมริยะได้รับส่วนแบ่งเป็นพระอังคาร (เถ้า) ของศากยมุนีพุทธเจ้าจากพวกมัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราแคว้นมัลลไปจริง
ข้อเท็จจริงของพระนครปิปผลิวันอยู่ที่ไหน เมื่อผู้เขียนศึกษาจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และพยานหลักฐานอื่น ๆ ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า กษัตริย์แห่งพระราชวงศ์โมริยะได้ส่งพระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรโมริยะมาขอส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้าจาก เจ้าชายมัลละซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นมัลละ แต่พระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้าได้แบ่งให้กษัตริย์แห่งแคว้นต่าง ๆ ไปจนหมดสิ้นแล้ว เหลือเพียงพระอังคาร (เถ้ากระดูก) เท่านั้น พระธรรมทูตแห่งพระรวงศ์โมริยะ จึงยินดีรับเอาพระอังคารของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในสถูปที่ตั้งอยู่ในแคว้นโมริยะของตนเอง
มีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่าแคว้นโมริยะมีความเป็นอย่างไร ? เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว ฟังข้อเท็จจริงว่า พยานเอกสารในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณนั้น มิได้ระบุรายละเอียดว่าแคว้นโมริยะมีความเป็นอย่างไร เมืองปิปผลิวันเป็นเมืองหลวงของแคว้นโมริยะตั้งอยู่ที่ไหนในชมพูทวีป มีใครเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นแห่งนี้ และระบอบการปกครองแบบไหน ? เป็นต้น เมือผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แล้ว ก็เกิดความสงสัยในการมีอยู่ของอาณาจักรแห่งนี้ ส่วนในระบอบการปกครองของแคว้นโมริยะ แม้ในมหาปรินิพพานสูตรในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค จะไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนมีระบบการปกครองแบบใด แต่ถ้อยคำในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงว่าเมื่อกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะทรงได้ยินว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประสูติในวรรณะกษัตริย์ พวกเขาก็อยู่วรรณะกษัตริย์เช่นกัน เมื่อฟังข้อเท็จจริงได้เช่นนี้ ผู้เขียนจึงวิเคราะห์ข้อเท็จจริงโดยการคาดคะเนความรู้จากหลักฐานในพระไตรปิฎกว่า แคว้นโมริยะเป็นรัฐในศาสนาพราหมณ์ มีระบบการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยการแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะได้แก่วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพทย์ และวรรณะศูทร เป็นต้น
เมื่อวรรณะของกษัตริย์ทุกคน เป็นผู้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ มีหน้าที่ใช้บัญญัติกฎหมายผ่านรัฐสภา มีส่วนร่วมในการบริหารปกครองประเทศและมีส่วนร่วมในการพิจารณาอรรถคดีทั้งปวง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติเช่นนี้ ผู้เขียนตีความต่อไปได้อีกว่า พวกโมลิยะเป็นวรรณะกษัตริย์นับถือศาสนาพราหมณ์ และอ้างอำนาจแห่งพระพรหมเป็นผู้สร้างประชาชนชาวโมริยะให้อุบัติขึ้นมาเป็นมนุษย์ และบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งประชาชนออกเป็นวรรณะ ๔ ด้วยกัน เพื่อให้มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามที่พระพรหมบันดาลไว้ดังนั้นคำว่า"พวกโมลิยะ"นั้นจึงหมายถึงชนวรรณะกษัตริย์แห่งโมลิยะเช่นชนวรรณะแห่งศากยวงศ์เป็นต้น

๑.๒ แผนที่ชมพูทวีป เมื่อผู้เขียนศึกษาแผนที่ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล เกี่ยวกับความจริงของการมีอยู่ของแคว้นโมลิยะนั้น ที่ถูกแชร์ไว้ในเว็บไซด์ของอินเตอร์เน็ตนั้น เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานเอกสารดิจิทัลแล้ว ไม่มีชื่อพระนครปิปผลิวันแห่งแคว้นโมริยะ เป็นแคว้นมหาอำนาจ ๑ ใน ๑๖ แคว้นแต่อย่างใดในแผนที่โบราณ แต่อย่างใด ส่วนแคว้นเล็ก ๆ อีก ๕ แคว้นนั้นคือ สักก โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ ก็ไม่ปรากฏชื่อพระนครปิปผลวันแห่งแคว้นโมริยะถูกระบุไว้เช่นเดียวกัน แสดงว่าในช่วงเวลานั้น เมืองปิปผลิแห่งแคว้นโมริยะพึงตั้งตนเองเป็นชุมชนการเมืองขึ้นก่อนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน จึงไม่มีอิทธิพลทางการเมืองให้เห็นที่ประจักษ์ต่อชาวชมพูทวีป
๑.๓ เมื่อแผนที่โลกกูเกิล (Google Map) และแผนที่โลกชมพูทวีปโบราณไม่ได้ระบุว่าเมืองปิปผลิวันของแคว้นโมริยะตั้งอยู่ที่ไหน ผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่โลกไม่ได้ว่าเมืองปิปผลวันในพระไตรปิฎกตั้งอยู่ที่ไหนของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล เนื่องจากพยานเอกสารในพระไตรปิฎกนั้น ยังมิได้แสดงรายละเอียดในลักษณะของเนื้อหาของรัฐโมริยะนั้นว่า มีพรหมแดนติดต่อกับรัฐใด หลักฐานในพระไตรปิฎกจึงไม่ชัดเจนเพียงพอให้นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักปรัชญ์ทางศาสนานำไปทำแผนที่ของพระนครปิปผลิวัน แคว้นโมริยะในสมัยพุทธกาลได้ เมื่อพยานเอกสารชั้นต้นคือพระไตรปิฎกมีข้อมูลไม่เพียงพอ ที่จะตีความให้รู้ว่าเมืองปิปผลิวันตั้งอยู่ที่ใด ผู้เขียนจำเป็นต้องหาข้อมูลในพยานเอกสารอื่น ๆ และพยานวัตถุของโบราณสถานที่สร้างในยุคหลังพุทธกาล เป็นพยานวัตถุเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบของสถานที่ตั้งอยู่ของพระนครปิปผลิวันกันต่อไปแต่เมื่อข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกที่รับฟังข้อยุติได้ว่า รัฐโมริยะเป็นดินแดนแห่งอธิปไตยที่มีอยู่จริง โดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะมีหน้าที่ปกครองแคว้นโมริยะได้ส่งทูตไปขอส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุจากกษัตริย์มัลละ แต่ไม่ได้ส่วนแบ่ง เพราะพระบรมสาริกธาตุถูกแบ่งออกจนหมดเหลือเพียงพระอังคาร (ขึ้เถ้า) ของพระพุทธเจ้าทูตแห่งแคว้นโมริยะ จึงได้พระอังคารนี้ไปและสร้างสถูปบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าไว้บูชาและฉลองเพื่อระลึกถึงคุณของศากยมุนีพระพุทธเจ้าในบ้านเมืองของตน
๑.๔. Buddha Stupa of Lauriya Nandangarh

สถูปนันทนคร (Nandangarh)เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นโบราณสถานในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้รับการดัดแปลงเป็นเจดีย์ของศาสนาอื่น แต่จากการบันทึกข้อความรายงานจากที่มาของความรู้จากการขุดค้นของเจ้าหน้าที่โบราณคดีชาวอังกฤษในช่วงอังกฤษปกครองนั้น ได้บันทึกการขุดค้น Buddha Stupa of Lauriya Nandangarh [1] รับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นที่ยุติว่าปี ๒๔๐๔ นักโบราณคดีชาวอังกฤษในยุคสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดียนั้น ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากพยานวัตถุที่ได้จากการขุดค้นที่เป็นพยานกระดูกที่เหลือจากการประชุมเพลิงที่บรรจุในสถูปที่เมือง Lauriya Nandangarh แล้ว เห็นว่าเป็นสถูปของพระพุทธเจ้า ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระอังคาร(เถ้า) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งสอดคล้องกับพยานหลักฐานที่ข้อความจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกายมหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตรว่าด้วยบูชาพระบรมธาตุและสร้างพระสถูปข้อ๒๓๘กล่าวว่าพวกเจ้าโมลิยะผู้ครองปิปผลวินได้ทรงสดับว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในกรุงกุสินาราจึงทรงทูตไปถึงพวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินาราว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกษัตริย์แม้พวกเราก็เป็นกษัตริย์จึงควรได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุบ้างจะได้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสาริกธาตุ และทำการฉลองพวกเจ้ามัลละผู้ครองนครกุสินาราตอบว่า บัดนี้ไม่มีส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุ พระบรมสาริกธาตุได้แบ่งไปหมดแล้วพวกท่านจำเอาพระอังคาร (เถ้า) ไปจากที่นี้เถิดพวกทูตเหล่านั้นจึงนำเอาพระอังคารไปจากที่นั่น"
เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้นนั้น เราได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเอกอัครราชฑูตแห่งโมริยะได้รับพระอังคาร (เถ้า) ของพระพุทธเจ้าจากมัลละกษัตริย์แล้วนำไปบรรจุในสถูปที่สร้างขึ้นมาใหม่ในพระนครปิปผลิวันเพื่อ ชาวแคว้นโมลิยะได้เฉลิมฉลองและสักการบูชาเมื่อข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกจึงสอดคล้องต้องกันกับข้อเท็จจริงจากพยานวัตถุในสถูปของพระพุทธเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ในที่เมือง Lauriya Nandangarh ที่เซอร์คันนิ่งแฮมนักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ขุดค้นจนพบเถ้ากระดูกและถ่านไม้ไหม้ไฟที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในสถูปพระพุทธเจ้าแห่งนั้น และเขาเชื่อว่าเป็นพระอังคาร (เถ้า) ของศากยมุนีพระพุทธเจ้าที่ได้รับส่วนแบ่งจากเมืองกุสินาราเมื่อไม่มีข้อความจากพยานเอกสารจากคัมภีร์อื่นใด จะยกเป็นเหตุผลของข้อความขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อความในพระไตรปิฎก ทำให้เกิดข้อพิรุธสงสัยในคำตอบอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น