The problem of truth regarding the Law of karma in humans
บทนำ
โดยทั่วไป วิชาอภิปรัชญาจะสนใจศึกษาปัญหาความจริงของ "ชีวิตมนุษย์" นั้น เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงของชีวิตมนุษย์จากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณ นั้น ผู้เขียนฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เดิมนักปรัชญาพราหมณ์สนใจศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตและให้คำตอบในเรื่องชีวิตมนุษย์ว่า พระพรหมสร้างมนุษย์จากพระกายของพระองค์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิด เมื่อมนุษย์เกิดมาตายแล้วสูญเปล่า กรรมที่เกี่ยวพันกันแต่ก่อนก็สูญสลายไป ไม่จำเป็นต้องชดใช้กรรมกันที่ทำต่อกันอีกต่อไป แต่คำสอนของพราหมณ์ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เมื่อวรรณะกษัติย์ได้นำหลักคำสอนของพราหมณ์ไปตรากฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ย่อมมีสภาพบังคับตามกฎหมายคือห้ามแต่งงานข้ามวรรณะและห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น เมื่อผู้เขียนศึกษาชีวิตชาวอนุทวีปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้คนในสมัยนั้นประกอบด้วยร่างกายและจิต จะขาดทั้งกายและจิตไปไม่ได้ ถ้าร่างกายขาดไปแล้ว จิตวิญญาณไม่สามารถอยู่ในร่างกายได้ เพราะจิตวิญญาณไม่สามารถใช้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายเป็นสะพานเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นได้ จิตวิญญาณจำเป็นต้องออกจากร่างกายทันทีตามกฎธรรมชาติไปเกิดในภพภูมิอื่น ๆ หรือหากไม่มีร่างกายของมารดา ก็ไม่อาจปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์ของมารดาได้ เมื่อมนุษย์ตายไปแล้วก็ไม่สูญสิ้น เพราะจิตวิญญาณออกจากร่างกายของมนุษย์ไปเกิดใหม่ในภพภูมิ ส่วนจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับอารมณ์กรรมที่สั่งสมไว้ในจิตดวงนั้นของตนเอง ตามหลักวิชาการทางปรัชญานั้น เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ก็ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นด้วย ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ให้ถือว่าข้อเท็จจริงในเรื่องเรื่องนั้นขาดความน่าเชื่อถือ และไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นว่าเป็นความจริงได้ เพราะมนุษย์เป็นคนเห็นแก่ตัว มักมีอคติซ่อนเร้นอยู่ในจิต และมีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของร่างกาย มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในอดีตที่ย้อนเวลากลับเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา หรือ ไม่เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเอง โดยเฉพาะความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเอง เช่น การเห็นดวงวิญญาณออกจากร่างกายของคนตาย เพราะมนุษย์ยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นต้น ดังนั้น ความจริงตามหลักอภิปรัชญาจึงแบ่งออกเป็น ๒ ประการกล่าวคือ ๑. ความจริงที่สมมติขึ้น ๒. สัจธรรม ซึ่งเราสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ดังนี้
๑. ความจริงที่สมมติขึ้น เป็นความจริงที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และเสื่อมสลายไปในอากาศธาตุ ตัวอย่างเช่นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีอยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์ หรือเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะเลือนหายไปจากสายตาของมนุษย์ เมื่อมนุษย์รู้แล้ว จิตก็จะเก็บข้อมูลเป็นประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตวิญญาณของตนเอง แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์มิใช่ค่รับรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด, เก็บข้อมูลเป็นสัญญาอยู่ในจิตใจเท่านั้น แต่ยังวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์ที่อยู่ในจิตใจของตนเองตลอดเวลา หากผลการวิเคราะห์นั้นยังไม่ชัดเจนว่าเรื่องนั้นมีความเป็นอย่างไร หากมนุษย์ชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นต่อไป หรือมีหน้าที่ต้องแสวงหาความจริงตามกฎหมายต่อไป ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมให้เพียงพอ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นต่อไป และสมมติความจริงขึ้นมาว่าเป็นเรื่องนั้นเรื่องนี้ต่อไป ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเองในข้อเท็จจริงในเรื่องการฆ่าคนตายที่สถานบันเทิงแห่งหนึ่ง การลงมือฆ่าเกิดขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไป ก่อนสภาวะารฆาตรกรรมจะสลายไปในอากาศ มนุษย์ก็รับรู้ว่าใครเป็นคนลงมือฆ่าและเป็นอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิต เมื่อวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์ที่มีอยู่ในใจของตนเอง ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดมูลเหตุจูงใดในการฆ่าครั้งนี้ เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจะต้องสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่อหาผู้กระทำผิดในครั้งนี้ต่อไป ดังนั้นความจริงของการฆาตกรรมเป็นเหตุที่เกิดขึ้น ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และสลายตัวไปในอากาศ ถือว่าเป็นความจริงระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ตามหลักวิชาการทางปรัชญาถือว่าเป็นความจริงที่สมมติขึ้น
๒.สัจธรรม เป็นความจริงที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่ไม่สามารถรับรู้ได้โดยตรง หรือความจริงขั้นปรมัตถ์ หรือความจริงอันเป็นที่สุดและลึกซึ้งที่สุดยากที่ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้ โดยธรรมชาติทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงอันเป็นที่สุดได้ด้วยตนเองเพราะอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของมนุษย์มีความจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นไกลออกไปหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่ย้อนเวลาไปในสมัยพุทธกาลเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว นอกจากนี้ชีวิตของพวกเขามักมีอคติต่อผู้อื่นตลอดเวลาสาเหตุเกิดจากความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชัง และความรักใคร่ชอบพอกันเป็นการส่วนตัว เป็นต้น ทำให้ชีวิตพวกเขามืดมิด แต่มนุษย์ไม่เคยยึดติดกับแนวคิดของความเชื่อเดิม ๆ เป็นกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาริดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่นในยุคอินเดียโบราณ มหาราชาแห่งแคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะได้นำความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยอ้างเหตุของการบัญญัติกฎหมายว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำหน้าที่ของตนตามวรรณะที่ตนเกิดมา เป็นต้น ในปัจจุบันแม้นักวิทยาศาสตร์จะพยายามสร้างเครื่องวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาความที่แท้จริงในขั้นปรมัตถ์ ยังไม่หลักฐานประกาศออกมาอย่างชัดเจนว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบความจริงขั้นปรมัตถ์ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ใดๆ แต่ผู้เขียนกลับค้นหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ว่า พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตของพระองค์เป็นเวลาหลายปี หลายแนวปฏิบัติ จนกระทั่งพระองค์ทรงค้นพบการปฏิบัติธรรมตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงในระดับอภิญญา ๖ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ถือว่าเป็นความที่แท้จริงที่อยู่นอกเหนือขอบเขตในการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่น ภาวะนิพพาน มนุษย์หยั่งรู้ความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ต้องเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ เท่านั้น (ยังมีต่อ)
เพื่อป้องความไม่น่าเชื่อของประจักษ์พยานหลักวิชาการทางปรัชญาได้ตั้งทฤษฎีความรู้ทางญาณวิทยาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ นักปรัชญาได้กำหนดทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์นิยมว่า "บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์จะต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้นั้น" ดังนั้น พยานบุคคลที่น่าเชื่อว่ามีความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นต้องมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่าน ดังกล่าวก็เป็นหลักฐานน่าเชื่อ และสามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ได้ ให้คำจำกัดความว่า "กรรม" ไว้หลายความหมาย ได้แก่ (๑) การ การกระทำ การงาน กิจ เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระเป็น การดีก็ได้ เป็นการชั่วก็ได้ เช่นกุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นต้น (๒) การกระทำที่ส่งผลเลวร้ายมาถึงปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่นบัดนี้กรรมตามทัน ระวังกรรมจะตามทัน (๓) บาป เคราะห์ เช่นคนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ (๔) ความตาย ในคำว่าถึงแก่กรรม เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนศึกษาคำจำกัดความของ "กรรม" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้ว ผู้เขียนตีความดังนี้มนุษย์ทุกคนมีกรรมหรือการกระทำของตนเองเพราะจิตใจของมนุษย์อาศัยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ เป็นสะพานเชื่อมอารมณ์ของโลกแล้วมีกิเลสแฝงอยู่ในใจ แสดงเจตนาที่อยู่ในใจของตนเองออกมา เมื่อกระทำเสร็จแล้วจะกลายเป็นกรรมของบุคคลนั้น โดยไม่คำนึงถึงสถานะ อาชีพ และศาสนา เมื่อมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจที่ก่อให้เกิดชีวิตของมนุษย์ใหม่ที่อาศัยอยู่บนโลก จิตใจใช้ร่างกายรับรู้เรื่องราวของปรากฏการณ์ทางสังคมมนุษย์และธรรมชาติของโลก จักรวาล ฯลฯ พวกเขาต้องการมีชีวิตอยู่และชีวิตที่ดีกว่า ที่เป็นอยู่ทุกวัน และมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลตามที่ต้องการ แต่มนุษย์แต่ละคนมีจุดแข็งหรือจุดอ่อนต่างกัน บางคนสามารถอดทนกับการแก้ปัญหาโดยไม่ยอมแพ้และพยายามทำให้สำเร็จ บางคนมีชีวิตที่อ่อนแอเพราะวิตกกังวลมาก มีความกลัวอยู่เสมอ และตัดสินใจยกเลิกงานทั้งที่ใกล้จะเสร็จแล้ว แต่บางคนมีความกล้าที่จะก่ออาชญากรรมโดยไม่รู้ตัวด้วยการฆ่าผู้อื่นเพราะความโกรธ หากเขามีสติสัมปชัญญะ เขาจะเห็นผลของการกระทำนั้น เมื่อทำแล้วต้องรับกรรม ชีวิตจะไม่สงบสุข เพราะผิดศีลธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นการละเมิดกฎหมายอาญา ตัวอย่างเช่น ตามหลักศีลธรรมนั้น เมื่อผิดศีล ๕ ในข้อที่แรก ห้ามฆ่าสัตว์ใด ๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เมื่อจะฆ่าใคร จิตวิญญาณจะรับก็ถือเอาอารมณ์ของการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนานั้น เป็นคำสัญญาที่สั่งสมไว้ในจิตใจของผู้นั้น เมื่อตาย วิญญาณที่มีเจตนาฆ่าห่อหุ้มจิตวิญญาณไว้ ออกจากร่างกายไปยังภพอื่นตามกฎธรรมชาตินั้น จะเป็นนรกอะไรก็ได้ เป็นต้น
ในช่วงชีวิตที่เป็นอยู่ จิตใจอาศัยร่างกายรับรู้เรื่องราว ปัญหา และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เมื่อจิตพอใจในกิจกรรมต่าง ๆ และมี"ราคะ ที่เรียกว่า"ตัณหา" มีความอยากที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจและแสดงเจตนาทางกายให้ทำงานตามอารมณ์ หาเงินซื้อของที่ตนพอใจแต่กว่าจะได้มานั้น ต้องใช้ความอดทนในการหาบ้าน รถยนต์ และโทรศัพท์มือ ฯลฯ แต่บางคนไม่มีความอดทน ก็คิดเลิกล้มกลางคั้นก็มี แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์ที่อ่อนแอย่อมระแวงสงสัยในสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา และเก็บความสงสัยไว้ในจิตใจแล้วเกิดความอยากรู้ก็เกิดขึ้นและหาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบให้หายสงสัย ตัวอย่างเช่นเมื่อเขาเห็นคนตาย ขาดองค์ประกอบในสาเหตุการตายและไม่รู้ว่าคนตายเป็นใคร มาจากไหน ชื่ออะไรเพราะไม่มีบัตรประชาชน ต้องหาหลักฐานเพื่อเป็นข้อมูลวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุการตายด้วยการตรวจลายนิ้วมือ หรือการตรวจเนื้อเยื่อดีเอ็นเอ สอดคล้องกับญาติของผู้เสียชีวิตหรือไม่ เป็นต้น จำเป็นที่จะต้องหาเหตุผลของคำตอบให้ตรงกับความรู้และความจริงในเรื่องนั้น คำว่า"กรรม"ของมนุษย์จากที่มาของความรู้ในเอกสารดิจิทัล ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้น ได้นิยามว่า "กรรม" ไว้หลายความหมายดังนี้

(๑) การกระทำ การงาน กิจกรรมต่าง ๆ เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระก็ได้ เป็นกรรมดีก็ได้ อาจเป็นกรรมชั่วก็ได้ เช่น เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นต้น คำว่า "การ" หมายถึงงาน, สิ่งหรือ เรื่องที่ต้องทำ, การกระทำ หมายถึง เรื่องทีทำ, เรื่องที่ทำขึ้น, หรือการกระทำใด ๆ ที่มีผลทางกฎหมาย, แต่การงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทำก็ถือว่าเป็นการกระทำด้วย เป็นต้น กล่าวคือ มนุษย์เห็นสิ่งใดก็ชอบใจและก็อยากได้ไว้ครอบครองแล้ว ก็จะกระทำตามเจตนาในจิตใจของตนเช่นฆ่าผู้อื่น ลักทรัพย์ของผู้อื่น หลอกลวงผู้อื่นให้มีเพศสัมพันธ์กับตนในทางที่ผิด ดูหมิ่นผู้อื่นและแสวงหาความสุขจากสุราและยาเสพติด เป็นการกระทำที่เรียกว่า "อกุศลกรรม" ( การกระทำไม่เหมาะสม) เป็นต้น ส่วนการกระทำที่เรียกว่า"กุศลกรรม" คือการละเว้นจากการฆ่าผู้อื่น ไม่ลักทรัพย์ผู้อื่น การไม่ประพฤติผิดทางเพศ ละเว้นจากการใช้ถ้อยคำเยาะเย้ยถากถางผู้อื่น ไม่ดื่มสุราและยาเมาเป็นต้น
(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายในปัจจุบัน หรือ ซึ่งจะส่งผลร้ายในอนาคต เช่นบัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ กล่าวคือ เมื่อมีใครกระทำชั่วโดยเจตนาแล้ว อารมณ์ชั่วก็จะสั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้นั้น และการกระทำนั้นย่อมส่งผลร้ายแก่ผู้กระทำในปัจจุบัน ตัวอย่างของการกระทำชั่ว เช่น การฆ่าผู้อื่น, ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ และฉ้อโกงทรัพย์, หรือประเพฤติผิดในคู่ครองของผู้อื่น, หรือดูหมิ่น, ดูถูกผู้อื่น การแสวงหาความสุขจากการดื่มสุราและยาเสพติด ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมและผิดกฎหมาย เป็นต้น
ในการกระทำที่ส่งผลร้ายในอนาคตซึ่งให้ผลกับผู้กระทำเมื่อตายไป เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักคำสอนพระพุทธเจ้าจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ภาค ๑ วิชชา ๓ จุตูปปาตญาณ ข้อ๑๓. "เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุบัติ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูงงามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ประกอบด้วยสุจริต วจีสุจริต มโนทุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ ชักชวนให้ผู้อื่นทำกรรม ตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ที่กล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนตีความว่า เมื่อมนุษย์ทำชั่วโดยเจตนาฆ่าผู้อื่น ลักทรัพย์โดยเจตนา การประพฤติผิดทางเพศต่อผู้อยู่ในความอุปการะของผู้อื่น การดื่มสุราและการใช้ยาเสพติดเพื่อกระตุ้นตนเองให้มีความสุข เป็นการกระทำกรรมทางกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อแสดงเจตนาออกโดยรู้สึกสำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันย่อมประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลในการกระทำนั้น เมื่อกระทำไปแล้ว จิตก็จะนำอารมณ์ชั่วนี้สั่งสมไว้ในจิตและติดตามวิญญาณของตนไปสู่ทุคติภูมิที่เป็น อบาย ทุคติ วินิบาต และนรก เป็นต้น ถือว่าเป็นกระทำชั่วที่ส่งผลร้ายในอนาคต คือให้ผลเมื่อตายไปเท่านั้น เมื่อการกระทำยังไม่ส่งผลร้ายมนุษย์มักจะหลงตัวเอง ไม่เชื่อว่าทำดีย่อมได้ดี มองว่าทำชั่วได้ดีมีถมไป จึงตั้งตนอยู่ในความประมาทในการใช้ชีวิตโดยเจตนาฆ่าผู้อื่นต่อไป, หลอกลวงผู้อื่นเพื่อฉ้อโกงทรัพย์ผู้อื่นต่อไป ประพฤติผิดในคู่ครองของผู้อื่นต่อไป การแสดงความคิดเห็นด้วยการการดูหมิ่น พูดจาบจวงผู้อื่น ต่อไป, การแสวงหาความสุขโดยการดื่มสุราคือเสพยาติดไป ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมต่อประชาชนในราชอาณาจักรไทย เป็นต้น
การกระทำที่ส่งผลร้า่ยต่อผู้กระทำความผิดในปัจจุบัน เมื่อผู้ใดลงมือกระทำผิดแล้ว แม้ไม่มีใครเห็นความผิดของตนเอง เพราะผู้เสียหายไม่กล้าไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีหรือตำรวจ ทหาร ยังจับตัวผู้กระทำผิดไม่ได้ เพื่อส่งพนักงานสอบดำเนินคดี แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับผลแห่งการกระทำของตนเอง เมื่อจิตรู้เท่าทันการกระทำของตนเองแล้ว จิตก็รับอารมณ์แห่งกรรมนั้น มาสั่งสมอารมณ์แห่งกรรมไว้ในจิตใจของตนเอง วันหนึ่ง คนชั่วย่อมหลงตัวเอง มักจะอวดประพฤติกรรมชั่วอย่างภาคภูมิใจ เพราะคิดว่าไม่มีใครทำอะไรเขาได้ ทำให้ผู้ได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แจ้งความดเนินคดีในเรื่องนี้ ก็นำไปสู่การสืบสวน และดำเนินคดีมี กรณีตัวอย่างในสังคมมีมากมาย ในปัจจุบัน โลกมนุษย์เข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ มนุษย์สามารถสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สามารถติดตามพฤติกรรมของมนุษย์และมนุษย์ชอบแสดงตัวตนออกให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยตัวอักษรบนเอกสารดิจิทัลตามแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่สร้างเนื้อหาไว้ วีดีโอแสดงความคิดเห็นของพวกเขาบ้าง ที่ขาดการศึกษาหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนาและกฎหมาย นำไปสู่การกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนและเป็นกระทำความผิดกฎหมายเกิดการเสื่อมถอยของศรัทธาของผู้คนที่ไว้วางใจ อนาคตทางการเมืองและอาชีพที่ใช้ภาพของบุคคลสาธารณะหมดไป เป็นหน้าที่ของคนในสังคมที่จะใช้สติระลึกนึกถึงปัญหาที่ผ่านมาและสิ่งที่ควรพิจารณาต่อไป ตัวอย่างเช่น
การลักทรัพย์ในเวลากลางคืน แม้จะไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่หากกล้องวงจรปิดสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของผู้ก่อเหตุได้ หรือโทรศัพท์มือของผู้กระทำผิดสามารถให้เบาะแสในการก่อเหตุได้ ในขณะที่การโจรกรรม นั้นได้ทิ้งหลักฐานไว้ แม้ว่าทรัพย์สินจะเคลื่อนไปจากที่เคยอยู่ แต่เป็นลักษณะเอาไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นต้น
การประพฤติผิดในกาม อาจจะสื่อจากนัยน์ตา พูดจาเกี้ยวพาราสี หรือใกล้ชิดกันเกินไปส่อเจตนาของความคิดที่อยู่ในใจของมนุษย์แต่ละคน ที่สำคัญยุคสมัยเปลี่ยนไป มนุษย์มีการใช้เทคโนโลยี่มากขึ้นในการส่งข้อความ ล้วนเป็นหลักฐานที่แสดงเหตุจูงใจให้กระทำความผิดหรืออกุศลกรรมได้ เป็นต้น
การพูดจาดูหมิ่นผู้อื่นต่อหน้าภาพของการกระทำย่อมสูญหายไปกับอากาศ เพราะสิ่งเหล่าอยู่ในลักษณะของพลังงาน แม้พฤติกรรมเหล่านี้จะสูญหายไป แต่จิตวิญญาณของมนุษย์มีธรรมชาติเป็นผู้เก็บทุกอย่างที่จรเข้ามาสู่ชีวิต คำพูดถูกดูหมิ่น ฯลฯ ย่อมถูกเก็บไว้ในจิตที่เรียกว่าสัญญา แปลว่า การจดจำ กล่าวคือ มนุษย์จำทุกอย่างที่ผัสสะเข้ามาสู่ชีวิต ในสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ หรือเป็นทั้งสุขและความทุกข์ของชีวิตตนเสมอ เป็นต้น
การกระทำของมนุษย์จึงถูกจดจำไว้ในจิตวิญญาณของพวกเขาเอง แต่การกระทำของมนุษย์ก็ทำให้เกิดสุขและทุกข์ได้เหมือนกัน เมื่อถูกมองว่าเป็นกรรมชั่วแล้ว อารมณ์ของกรมชั่วจะถูกจดจำในจิตวิญญาณ เมื่อตายไป จิตย่อมไปจุติจิตย่อมไปสู่ทุกข์คติภูมิ หากเป็นกุศลกรรมย่อมไปสู่สุขคติภูมิเป็นต้น แต่มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้เพราะรับรู้แล้วก็แสดงเจตนาออกไปโดยไม่มีความรู้ว่าการกระทำของตัวเองอะไรถูก หรือผิดแค่ตนแสดงความพอใจก็แสดงออกไปหรือไม่พอใจ ก็แสดงออกไปตามความต้องการของจิตวิญญาณของตนการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเมื่อจิตวิญญาณของพวกเขาได้ผัสสะสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้จรเข้ามาสู่ชีวิตของพวกเขา ทำให้จิตวิญญาณเกิดอาการอยากที่เรียกว่า ตัณหา (คิด) ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้ผัสสะนั้นมาครอบครองเพื่อสนองความอยากของตัวเอง เมื่อเห็นว่าตำแหน่งหน้าที่การงานใดการงานหนึ่งที่มนุษย์สมมติขึ้นมามีอำนาจล้นฟ้าเป็นที่ยอมรับของผู้คน หรือเห็นคนอื่นร่ำรวยมีมูลค่าทรัพย์สินจำนวนมหาศาล จิตวิญญาณเกิดความอยากมีทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ที่ร่ำรวยหรืออยากใช้ชีวิตอิสระมีเงินทองใช้จ่ายตามอารมณ์ความพอใจของตนเอง โดยไม่ต้องทำธุรกิจการงานของตัวเองเป็นต้นเมื่อมนุษย์มีธรรมชาติของจิตวิญญาณขาดแคลนสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดเวลามนุษย์ย่อมแสวงหาเอาสิ่งนั้นมาสนองอารมณ์อยากของตัวเองและเอาสิ่งนั้นเป็นแรงบันดาลใจไขว้คว้าสิ่งเหล่านั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิตตนเองการไขว้คว้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นก็จะมีวิธีการต่างๆ ลงมือปฏิบัติการให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการและมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปอีกด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติการให้มาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตนต้องการนั้นเรียกว่า "กรรม" แปลว่าการกระทำของมนุษย์ ในยุคสมัยปัจจุบัน แม้มนุษย์จะมีความเจริญรุ่งเรืองทางเทคโนโลยี่มากมายหลายต่อหลายเรื่อง ทำให้มนุษย์ทำกิจกรรมโดยใช้ตลอดทั้งวันจนไม่มีเวลาพักผ่อนเช่น การเสพติดเกมออนไลน์ติดต่อกันหลาย ๆ วัน นอกจากนี้ผู้คนทั่วโลกต่างแชร์ประสบการณ์เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของประสบการณ์ในชีวิตตนเองทุกวินาที่เรื่องราวเหล่านั้น เป็นอุทาหรณ์ให้มนุษย์ด้วยกันได้ ศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ของความรู้และความเป็นจริงของมนุษย์ด้วยกัน คำตอบของเรื่องราวมีแนวคิดของเหตุผลที่แตกต่างกัน ออกไปพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์เคยเป็นสิ่งไม่ยอมรับกันอดีตในอดีตนั้น แต่ในบางสังคมแต่เป็นเรื่องพฤติกรรมปกติของผู้คนในสังคม แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมเหล่านั้นเมื่อวิเคราะห์ด้วยความคิดต่างที่มีเหตุผลกลายเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับในเรื่องราวเหล่านั้นเป็นคำตอบที่น่าสนใจไม่น้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น