Introduction: propagation of Buddhism in the state of Kosol in Buddhaphumi's philosophy
๑.บทนำ
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงฝันร้าย และจะทำพิธีกรรมบูชายัญ เพื่อปักเป่าฝันร้ายที่ได้ยินเสียงร้องโหยหวนของสัตว์นรกที่ชดใช้กรรมที่พวกเขาทำในขณะที่อาศัยอยู่บนโลกมนุษย์ แล้วส่งเสียงเข้าโสตประสาทของพระองค์ จนพระองค์ทรงไม่บรรทมตลอดทั้งคืน วันรุ่งขึ้นพระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยนำปัญหาไปปรึกษากับปุโรหิตและหลังจากคณะปุโรหิตได้ปรึกษาหารือกันก็ถวายคำแนะนำให้พระองค์ทรงทำพิธีบูชายัญเพื่อดับทุกข์จากฝันร้ายนั้น เมื่อไม่มีหลักฐานอื่นใดที่จะนำถ้อยคำมาหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกให้น่าสงสัยอีกต่อไป ผู้เขียนเห็นว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลจะทรงบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นพิธีกรรมของพราหมณ์นั้น แสดงว่าพระองค์ทรงนับถือในศาสนาพราหมณ์
![]() |
การบิณฑบาตรของพระธุดงค์ในรัฐอุตตรประเทศ |
เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นผู้นำประเทศและศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ ประชาชนก็นับถือศาสนาพราหมณ์ตามผู้นำของประเทศด้วย พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสำเร็จการศึกษาจากเมืองตักศิลา พระองค์ทรงเป็นนักรบผู้กล้าหาญ และมีพระราชอำนาจทางการทหาร ทำให้รัฐโกศล เป็น ๑ ใน ๑๖ รัฐที่มีอำนาจทางการเมือง พระองค์ทรงทำสงครามกับพระเจ้าอชาติศัตรูแห่งแคว้นมคธ จนได้รับชัยชนะ ทรงประกาศพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะและมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นประกาศเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวัยหนุ่ม พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงใช้คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางในชีวิตประจำวันด้วยจิตใจและสติปัญญาของพระองค์เอง ทรงมีศรัทธาในการสร้างวัดในพระพุทธศาสนาหลายแห่งด้วยกัน เพื่อเป็นสถานที่พัฒนาศักยภาพชีวิตของชาวพระนครสาวัตถี รัฐโกศล เพื่อให้มีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ จนกว่าจะมีจิตที่บริสุทธิ์ปราศจากอคติต่อผู้อื่นและอารมณ์ขุ่นมัว มีบุคลิกที่อ่อนโยนเหมาะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีจิตใจที่มั่นคงในอุดมการณ์ของชีวิต และไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิและยุติธรรมเป็นที่ตั้ง มีสติระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ที่ผ่านประสาทสัมผัสที่ผ่านมาและสั่งสมอยู่ในจิตใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาด้วยเองได้ จนพวกเขาสามารถบรรลุถึงความรู้ที่แท้จริงของชีวิตที่เรียกว่า "อภิญญา ๖" ได้
แม่น้ำอจิรวดีในพระนครสาวัตถี แคว้นโกศล |
พระพุทธเจ้าเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐโกศลเป็นเวลา ๒๕ พรรษา ซึ่งถือเป็นดินแดนที่เผยแผ่พุทธศาสนาที่หนักที่สุดในพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า และแคว้นโกศลตั้งอยู่ติดกับแคว้นสักกะชนบท แคว้นโกศลถูกกล่าวถึงในพระไตรปิฎกไว้ในหลายพระสูตรด้วยกัน ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนสงสัยว่าพระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนาในรัฐโกศลอย่างไรทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลและ ชาวโกศลศรัทธาในคำสอนของพระพุทธศาสนาและเป็นสัญญาฝังแน่นในจิตใจของชาวโกศลตราบจนทุกวันนี้ ดังนั้นผู้เขียนจึงตัดสินใจที่จะศึกษาความจริงของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรัฐโกศล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎก อรรถกถา พยานวัตถุได้แก่ เสาหินอโศก วัด สถูป อีกหลายแห่งที่อินเดียและเนปาลที่สร้างขึ้นมาเพื่อระลึกถึงปณิธานของพระพุทธเจ้าในการทรงปฏิบัติงานเผยแผ่ของพระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าสำหรับมวลมนุษย์และใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติบูชาเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษยชาติ ให้มีสมาธิ (ความเข้มแข็ง) บริสุทธิ (ปราศจากอคติ) ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง (ความขุ่นมัวของจิต)เป็นคนอ่อนโยน (ไม่หยาบกระด้าง) มั่นคง (หนักแน่นในความจริง) ไม่หวั่นไหว (ไม่เป็นคนโลเล) ต่อปัญหาหนักของชีวิต เพื่อชำระล้างความทุกข์ให้หมดสิ้นไปจากจิตวิญญาณของตัวเอง และพยานเอกสารดิจิทัลได้แก่แผนที่โลกของ Google Map เป็นต้น ในยุคสมัยปัจจุบัน อำเภอสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลของสาธารณรัฐอินเดียให้ชาวพุทธทั่วโลกมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แสวงบุญเพื่อปฏิบัติบูชาโดยเฉพาะการสวดมนต์ไหว้พระและทำสมาธิตามแนวทางของพระพุทธเจ้า เพื่อชำระล้างกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตวิญญาณของตนเอง เป็นต้น ข้อมูลได้จากการเขียนบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรใช้เป็นเนื้อหาของบรรยายแก่ผู้แสวงบุญแต่ละคณะ ให้มีเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานเอกสารดิจิทัล เพื่อหาเหตุผลของคำตอบที่เป็นความรู้ผ่านเกณฑ์ตัดสินอย่างสมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น