The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ปัญหาญาณวิทยาของศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎก

Epistemological problems of Brahmanism in the Tripitaka

สารบาญ ๑.ศาสนาคืออะไร  ๒.องค์ประกอบของศาสนา ศาสดา หลักธรรม, นักบวช,  พิธีกรรม, ศาสนสถาน, ศาสนิกชน 


บทนำ  
               ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์  วิธีการของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ ความสมเหตุสมผลของความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น และญาณวิทยาจึงมีหน้าที่ให้คำตอบแก่สังคมนุษยว่า "เรารู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราได้ยินมานั้นเป็นความจริง ?" มาตราฐานที่กำหนดความรู้ของมนุษย์คืออะไร ?ข้อความใดเป็นจริงและข้อความใดเป็นเท็จ  ความรู้ของมนุษย์คืออะไร ?  ธรรมชาติความรู้ของมนุษย์คืออะไร ?  เงื่อนไขหรือปัจจัยที่สร้างองค์ความรู้ของมนุษย์ ?  

            ๑. ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์   ตามหลักการทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ   ปรัชญาตะวันตกและวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มันคือความรู้ของมนุษย์ทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วชีวิตตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมตัวกันในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือนก็คลอดออกมาเป็นมนุษย์คนใหม่ ถูกตั้งชื่อใหม่ นามสกุลก็ตั้งขึ้นใหม่บิดาหรือมารดา เพราะเมื่อคนได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใด มักจะสงสัยความคิดเห็นของมนุษย์ในเรื่องนั้นเสมอ นักปรัชญาตะวันตก, นักปราชญ์พราหมณ์ พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์ ก็จะสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ  มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริง หรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ดังนั้น คำตอบจะเป็นความรู้ที่เกิดจากการรับรู้จากความคิดเห็นของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ชีวิตมนุษย์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นคือ ชีวิตเกิดขึ้นจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจในครรภ์มารดา มารวมกันเพื่อสร้างมนุษย์ใหม่  เมื่อดวงวิญญาณเกิดในครรภ์มารดา  เติบโตเป็นทารกและเกิดเป็นมนุษย์ จิตใจมนุษย์อาศัยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในการรับรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือเรื่องโกหก  แต่ความไม่รู้ของมนุษย์ล้วนมาจากขาดการศึกษา พวกเขาจึงไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจ  เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดที่เข้ามาในชีวิต พวกเขาจึงไม่สามารถแยกแยะข้อเท็จจริงใด ๆ ได้ว่าจริงหรือเท็จ เพราะไม่รู้จะตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล   เมื่อไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ ถึงแม้จะหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบได้ก็ตาม  แต่ก็เป็นคำตอบของความรู้ที่ไม่มีความสมเหตุสมผล ดังนั้น ต้นกำเนิดความรู้จากอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายมนุษย์นั้นในการรับรู้ถึงข้อเท็จจริงนั้น ยังได้รับข้อมูลไม่เพียงพอที่จะวิเคราะห์เพราะความไม่รู้ของมนุษย์ นักปรัชญาจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา เพื่อเป็นหลักในการวิเคราะห์หลักฐานต่อไป 
 
๒.องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์    

         โดยทั่วไปแล้ว  เมื่อมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ พวกเขามีอวัยวะอินทรียทั้ง ๖ ในร่างกายของตัวเอง  มีความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตอย่างจำกัดและมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ชีวิตของพวกเขาจึงตกอยู่ในความมืดมิด  เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต    พวกเขาจึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่าข้อความใดจริงหรือเท็จได้     พระพุทธองค์ตรัสสอนความคิดเห็นของมนุษย์ในเรื่องราวต่าง ๆ จึงไม่น่าเชื่อถือ     พระองค์ทรงจึงสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาโดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานอย่างเพียงพอ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น   ๆ  เช่น ความรู้เรื่องการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรถือเป็นวิชาแรกที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษา และบันทึกไว้อย่างชัดเจนในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะทฤษฎีการกำเนิดโลกของลัทธิอาจารย์ของพวกพราหมณ์       กล่าวไว้ว่าพระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ ตามวรรณะที่ตนเกิด               ปุโรหิตที่ปรึกษาของมหาราชาแห่งแคว้นสักกะก็ยืนยันข้อเท็จจริงว่า เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรมาก่อนในแคว้นสักกะ และพวกเขาสามารถเข้าถึงการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรได้ด้วยการทำพิธีบูชายัญ แต่คำสอนของพราหมณ์ในเรื่องนี้ ก็ไม่เป็นสากลเพราะมีเพียงวรรณะพราหมณ์เท่านั้น ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่บูชายัญในเรื่องนี้ แต่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นทำให้มนุษย์มีความรู้ว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยทั้งสิ้นตัวอย่างเช่น ชีวิตมนุษย์มีองค์ประกอบทางร่างกายและจิตวิญญาณ ความรู้เรื่องการผิดศีลข้อที่ ๑  งดเว้นจากการฆ่าสัตว์น้อยใหญ่  การฆ่าผู้อื่นมีองค์ประกอบ ผู้ใด ฆ่าผู้อื่นและโดยเจตนาทุจริต เป็นต้น   
 
       ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาแรกที่เกิดขึ้นในโลก ก่อนที่พระศาสนาพุทธและศาสนาอื่นจะเกิดขึ้นในโลก เรื่องราวของศาสนาพราหมณ์มีหลักฐานอยู่ในคัมภีร์มัทสยปุราณะ คัมภีร์พรหมชาติสูตร และพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เป็นต้น เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ก็ได้ยินข้อเท็จจริงว่าก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันซึ่งตั้งอยู่ในพระนครพาราณสีแห่งแคว้นกาสี เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นรัชทายาทของราชวงศ์ศากยะ พระองค์ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติในชีวิต  เจ้าชายสิทธัตถะทรงร่วมพิธีทางศาสนาของพราหมณ์หลายครั้ง เช่น พิธีแรกนาขวัญครั้งแรก, พิธีขนานพระนาม (ตั้งชื่อ) และพิธีทำนายดวงชะตาของพระองค์ โดยพวกปุโรหิต (priesthood) ได้ทำนาย ๒ ประการ กล่าวคือคติแรก หากเจ้าชายสิทธัตถะยังทรงดำรงอยู่ในวรรณะกษัตริย์ต่อไป พระองค์จะทรงเป็นพระมหาจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และมีคำทำนายอีกประการหนึ่งว่า หากพระองค์จะทรงผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ จะทรงเป็นพระศาสดาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เป็นต้น 

       ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ หลายเล่ม ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาพยากรณ์มาเผยแผ่ มีเพียงพราหมณ์จากนิกายต่าง ๆ เท่านั้น ที่บูชาเทพเจ้าประจำนิกายของตน  มีคำสอนที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ ให้เชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระพรหมเป็นสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้น ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมาเท่านั้น ในยามที่มนุษย์มีความทุกข์เกิดขึ้นในชีวิตเทพเจ้าเหล่านั้น สามารถช่วยให้มนุษย์บรรลุสิ่งที่เขาปรารถนา ศาสนบุคคลคือพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมีพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อบูชาเทพเจ้าที่นิกายนับถือ  ส่วนศาสนสถานเป็นสถานที่บูชาไฟสำหรับเทพเจ้าหรือเทวดาเป็นต้น เมื่อพราหมณ์ทำพิธีบูชายัญแล้ว วรรณะกษัตริย์ทรงประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศ  กษัตริย์ทรงแต่งตั้งพราหมณ์เป็นปุโรหิต (priesthood) มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ หลายเล่ม และเป็นข้อมูลที่น่าศึกษาอย่างยิ่งโดยเฉพาะปรากฏการณ์ทางสังคมในสมัยก่อนพุทธกาลที่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ทำให้เราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ที่วิวัฒนาการไปตามกาลเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

               ปัญหาเกี่ยวกับความจริงแห่งอภิปรัชญา เมื่อมนุษย์ได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์หรือเรื่องอื่นใด ที่เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมอยู่ในจิตใจมนุษย์ เมื่อวิเคราะห์หลักฐานในจิตใจ   ก็ไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นอย่างไร ?  นักปรัชญาสงสัยข้อเท็จจริงนี้ ชอบที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นต่อไป นักปรัชญาจะสอบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น  ๆ  ตัวอย่างเช่น ปัญหาความจริงของพระพรหม พระอิศวร พระอินทร์ คือความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ มีเพียงพราหมณ์ที่ทำพิธีบูชายัญเท่านั้น  ที่สามารถติดต่อกับเทพเจ้าได้  เมื่อชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยราคะที่ซ่อนอยู่ในจิตใจและต้องการบรรลุสิ่งที่ปรารถนา  แต่เมื่อเสร็จสิ้นพิธีบูชายัญ ทุกคนก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้น จึงมีปัญหาการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรหรือไม่ แต่ทำไมนุษย์ทุกคนถึงมองไม่เห็นพรหมเช่นเหมือนพราหมณ์  มีปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือถ้าพระพรหมสร้างมนุษย์จริง ๆ ทำไมไม่สร้างชีวิตมนุษย์เป็นอมตะ?  แต่ความจริงที่มนุษย์รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส มนุษย์ทุกคนล้วนแก่ เจ็บป่วยและตายอย่างโดยไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่าจะเป็นวรรณะสูง วรรณะต่ำหรือจัณฑาล เป็นต้น ในสมัยพุทธกาลของพระพุทธเจ้า พราหมณ์ตัดสินใจปฏิรูปตนเองจากศาสนาแห่งการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์และคน มาเป็น "ศาสนาฮินดู"  ซึ่งสอนมนุษย์ให้ชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ช่วยให้เราเข้าใจแนวคิดของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเห็นการพัฒนาความคิดของมนุษย์ผ่านการรับรู้ข้อเท็จจริง และเชื่อทันทีโดยที่ไม่มีหลักฐาน ๆที่จะพิสูจน์ความจริง เป็นต้น ในสมัยพุทธกาลมนุษย์ได้พัฒนาการคิดของมนุษย์จากความเชื่อ ไปสู่การอย่าเชื่อข้อเท็จจริงที่ได้ยินทันที่จนกว่าสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพียงพอ เป็นข้อมูลวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ 

         ในยุคพุทธกาล มนุษย์ได้พัฒนาศักยภาพชีวิตของตน  จนมีญาณทิพย์เหนือมนุษย์ทั้งปวง จนสามารถเห็นจิตวิญญาณ   ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่เหนือประสาทสัมผัส   และเป็นความรู้ที่รู้ได้ด้วยตนเองเท่านั้น    แต่มนุษย์ยังคงพัฒนาศักยภาพของชีวิตต่อไป       จนสามารถสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำยิ่งขึ้น   ในด้านศาสนาพราหมณ์ก็เช่นเดียวกันเมื่อพราหมณ์อารยันยังไม่พัฒนาศักยภาพชีวิตของตน    จึงไม่มีความรู้เหนือขอบเขตประสาทของตนเหมือนพระพุทธเจ้า เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  ได้ทราบข้อเท็จจริงว่า ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ยังไม่เป็นระบบความรู้สมัยใหม่       และเนื้อหาของข้อเท็จจริงเหล่านั้น    เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล  กระจัดกระจายอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ  ทั้ง   ๔๕ เล่ม     เมื่อผู้เขียนนำข้อเท็จจริงและหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงขององค์ประกอบของศาสนาพราหมณ์แล้ว     แต่องค์ประกอบของศาสนาพราหมณ์ที่ยังไม่ชัดเจน    เราจำเป็นต้องสร้างองค์ประกอบความรู้เกี่ยวกับศาสนาขึ้นมา       โดยคำนิยามศัพท์ของคำว่า "ศาสนา"  ตามพจนานุกรมแปลไทย-ไทยราชบัณทิตยสถานเป็นทฤษฎีความรู้และได้นิยามว่า"ศาสนา" เป็นคำนามหมายถึงลัทธิความเชื่อของมนุษย์ อันเป็นหลักคือแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมอันเป็นบาปบุญเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมอีกประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีกรรมที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อนั้น      ๆ "  คำนิยามจากที่มาความรู้นั้น ผู้เขียนดังกล่าวแยกองค์ประกอบความรู้เกี่ยวกับศาสนาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ได้ดังนี้ว่า 

           ๑. ศาสดา  โดยคำนิยามจากที่มาของความรู้นั้น กล่าวว่า"ศาสนาคือลัทธิความเชื่อของมนุษย์"  คำว่า "มนุษย์ " หมายถึง ศาสดาเจ้าลัทธิผู้ตั้งศาสนานั้น ที่เรียกว่า ครู ผู้สอน อาจารย์ เป็นต้น  ในสมัยก่อนพุทธกาล ศาสนาพราหมณ์นั้นมีพวกสมณพราหมณ์ตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิหลายสำนัก เช่น เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะ  เจ้าลัทธิมักขลิโคสาล เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพล เจ้าลัทธิปกุธกัจจายนะ เจ้าลัทธิสัญชัยเวลัฏฐบุตร เจ้าลัทธินิครนถ์นาฏบุตร เป็นต้น   แต่นิกายเหล่านี้ยังไม่กล้าประกาศตนเป็นพระอรหันต์เหมือนพระพุทธเจ้า ดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกออนไลน์เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] สังยุตตนิกาย สถาคาวรรค [๓.โกสบสังยุต] ๑.ปฐมวรรค ๑.ทหรสูตร ข้อ ๑๑๒ กล่าวว่า....พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ข้าแต่พระสมณโคตม สมณพราหมณ์บางพวก เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิคนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี  คือท่านปูรณกัสสปะ  ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธกัจจายนะ ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ท่านนิครนถ์นาฏบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกข้าพระองค์ถามว่า "ท่านทั้งหลายยืนยันตนเองหรือว่า "เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" ก็ไม่ยืนยันว่า "เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" ส่วนพระโคดมผู้เจริญยังทรงเป็นหนุ่มยังเป็นผู้เจริญโดยพระชาติและยังทรงเป็นผู้ใหม่ในบรรพชา จึงกล้ายืนยันตนเล่า" พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "มหาบพิตรสิ่ง ๔ อย่างนี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่า เล็กน้อย สิ่งสี่อย่างอะไรบ้างคือ ๑.กษัตริย์ไม่ควรดูหมิ่นว่าทรงพระเยาว์ ๒. งูไม่ควรดูหมิ่นว่าตัวเล็ก ๓.ไฟไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ๔.ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม สิ่ง ๔ อย่างนี้ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่า "เล็กน้อย" 

           เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยก่อนพุทธกาลยังไม่มีผู้ใดประกาศตนเป็นศาสดาในศาสนาพราหมณ์ มีเพียงแต่สมณะและพราหมณ์ที่ตั้งตนเป็นผู้นำนิกายพราหมณ์ทั้ง ๖ นิกาย เช่น เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะ  เจ้าลัทธิมักขลิโคสาล เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพล เจ้าลัทธิปกุธกัจจายนะ เจ้าลัทธิสัญชัยเวลัฏฐบุตร เจ้าลัทธินิครนถ์นาฏบุตร เป็นต้น แม้ว่าจะเป็นเจ้าของลัทธิที่มีชื่อเสียง     และได้รับยกย่องจากประชาชนทั่วไปว่าเป็นคนดีที่น่านับถือทำหน้าที่สวดพระเวทและประกอบพิธีบูชายัญ ขอให้พรหมช่วยผู้บูชาสำเร็จให้สมปรารถนาและหลุดพ้นจากภยันตรายทั้ง ปวง แต่ไม่มีพราหมณ์นิกายใดในหกนิกายที่กล้าเปิดเผยตนต่อพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลว่า   "เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ"   เหมือนพระศากยมุนีพุทธเจ้า 

         เมื่อไม่มีหลักฐานของพระไตรปิฎกอื่นใดเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล พิสูจน์ข้อเท็จจริง โต้แย้งและหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ให้มีน้ำหนักการให้เหตุผลน่าเชื่อถือมากกว่าในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ แล้วผู้เขียนเห็นว่าในสมัยศาสนาพราหมณ์กำลังรุ่งเรืองไม่มีใครประกาศตัวเองเป็นศาสดาแห่งศาสนาพราหมณ์ เพราะศาสนาของพราหมณ์ทั้ง ๖ นิกายนั้นที่เชื่อว่า พระพรหมลิขิตชีวิตมนุษย์โดยเน้นการทำพิธีบูชายัญและสาธยายพระเวท เพื่อดับทุกข์แก่ผู้บูชาเพียงอย่างเดียว เมื่อพราหมณ์เจ้าของลัทธิ จึงยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยวิธีการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้บรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖  ดังนั้นสมัยก่อนพุทธกาลนั้น ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาไม่มีใครศาสดามีแต่เจ้าลัทธิเท่านั้นเอง  
                                                            
        ๒.  คำสอนในศาสนาพราหมณ์  เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำสอนในศาสนาว่า "ลัทธิอันเป็นหลักคือแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลกอันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์อีกประการหนึ่งและแสดงหลักธรรมคือบาปบุญเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมอีกประการหนึ่ง" เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลคำว่า"ลัทธิอันเป็นหลักคือแสดงกำเนิดและสิ้นสุดโลก"นั้น คำว่า "โลก" จากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า"แผ่นดิน" โดยปริยายหมายถึง  "หมู่มนุษย์"   เมื่อวิเคราะห์ความหมายผู้เขียนเห็นว่า "หลักธรรม"    เป็นคำสั่งสอนในศาสนานั้นสั่งสอนเรื่องการเกิดและสิ้นสุดของหมู่มนุษย์ในปรัชญาศาสนาพราหมณ์ว่าด้วยแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์นั้นว่า มนุษย์กำเนิดขึ้นมาจากการถูกสร้างขึ้นมาส่วนต่าง ๆ ของกายพระพรหม ดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค [๑.ปาฏิกสูตร] เรื่องการประกาศทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิดโลก ข้อ.๓๖ ภัคควะ เราก็รู้ชัดว่าด้วยทฤษฎีต้นกำเนิดของโลกเรารู้ชัดความเป็นมาของทฤษฏีนั้นและรู้ชัดยิ่งกว่านั้นและเมื่อรู้ชัดยิ่งกว่านั้นจึงไม่ยึดมั่น  และเมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ชัดความดับด้วยตนเองที่เมื่อรู้ชัดจึงไม่ดำเนินการไปสู่ที่เสื่อม
                            
       ข้อ.๓๗ ภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวก ประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกตามลัทธิอาจารย์ว่า พระอิศวรเป็นผู้สร้างว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง เราจึงถามเขาไปอย่างนี้ว่า"ทราบว่า" ท่านทั้งหลายบัญญัติทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างจริง หรือสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามก็ยืนยันอย่างนั้นเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่าพวกท่านประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง มีความเป็นมาอย่างไรสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ตอบเรามิได้กลับย้อนถามเราว่าเราถูกเขาถามแล้วจึงตอบว่า........"

        เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์นั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นข้อยุติว่า ในศาสนาพราหมณ์ พวกสมณพราหมณ์ที่ตั้งตนเป็นเจ้าลัทธินั้น ได้สั่งสอนชาวชมพูทวีปว่า พระอิศวรและพระพรหมเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์ขึ้นมาเมื่อไม่มีพยานเอกสารอื่นใด ยกเหตุผลขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ให้คำตอบเป็นอย่างอื่นอีก ผู้เขียนเห็นว่าเจ้าลัทธิหลายสำนักในยุคสมัยก่อนพุทธกาลนั้น สั่งสอนเรื่อง พระอิศวรและพระพรหม เป็นผู้สร้างมนุษย์จริงจากกายของพระอิศวรจริง 

        ประเด็นต่อไป   ผู้เขียนสงสัยว่าในศาสนาพราหมณ์มีคำสอนเรื่อง "โมกษะ" เมื่อผู้เขียนสืบค้นข้อมูลคำว่า"โมกษะ" ในพระไตรปิฎกทั้งฉบับหลวงและฉบับมหาจุฬาแล้ว ไม่มีข้อความปรากฏเป็นหลักฐานแต่อย่างใด เมื่อไม่มีหลักฐานจากคัมภีร์อื่น มาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ และฉบับหลวงอีกต่อไปทำให้เกิดความสงสัยในความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล ผู้เขียนเห็นว่าในปรัชญาศาสนาพราหมณ์นั้นยังไม่มีหลักคำสอน "โมกษะ" ในคำสั่งสอนของสมณพราหมณ์แต่อย่างใด เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลของเจ้าลัทธิทั้ง ๖ แล้วจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑  ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๒.สามัญญผล] ลัทธิของครูมักขลิโคสาลได้ค้นคว้าพบเหตุผลของคำตอบเรื่องผลของความเป็นสมณะที่เห็นเป็นประจักษ์ปัจจุบันได้อย่างไร ดังต่อไปนี้ 

            ๒.๑ ครูปูรณะ กัสสปะ ให้เหตุผลของคำตอบว่า  ตอบว่ามหาบพิตร เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน  ทำให้โศกเศร้าเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้โศกเศร้า ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นดิ้นรน  ฆ่าสัตว์  ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้น  ทำโจรกรรมในบ้านหลังเดียว ดักซุ่มในที่ทางเปลี่ยว  เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำเช่นจัดว่าทำบาป  แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นดุจลานตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา  แม้หากบุคคล ไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา  ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเองใช้ให้ผู้อื่นตัด  เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากรรมนั้น  ไม่มีบาปมาถึงเขา  แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น  ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการฝึกสำรวม จากการพูดคำสัตย์ไม่มีบุญมาถึงเขา  หม่อมฉันถามถึงผลของความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์  แต่ครูปูรณะ กัสสปะ กลับตอบเรื่องทำแล้วไม่เป็นอันทำ"  

           เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลของครูปูรณะ กัสสปะ จากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯข้างต้นนั้น รับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นที่ยุติว่า ครูปูรณะ กัสสะ มีแนวคิดของความเชื่อในความจริงของชีวิตว่า เมื่อคนได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ว่ากระทำดีหรือกระทำชั่วเมื่อกระทำไปแล้วไม่ถือว่าเป็นกระทำ หรือทำกรรมแล้วสูญเปล่าไม่มีผลของกรรมแต่อย่างใด"  เมื่อไม่มีข้อความในคัมภีร์อื่นที่จะยกขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎก ให้เกิดข้อพิรุธสงสัยอีกต่อไปแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อครูปูรณะ กัสสปะมีแนวคิดทางอภิปรัชญาว่าความรู้และความจริงในแก่นแท้ชีวิตว่าเมื่อคนตายแล้วสูญเปล่า เพราะยังไม่มีความรู้และพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยวิธีการตามมรรคมีองค์ ๘ ที่ศากยมุนีพุทธเจ้า   
  
             ๓. นักบวช ในศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า"พวกพราหมณ์" ได้รับการยกย่องตามกฎหมายจารีตประเพณีให้เป็นวรรณะ ๑ ใน ๔ วรรณะมีหน้าที่สาธยายธรรมพระเวทและประกอบพิธีกรรมบูชายัญเพียงวรรณะเดียวเท่านั้น   

          ๔. ลัทธิพิธีกรรม  เมื่อผู้เขียนศึกษาคำว่า"พิธีกรรม"จากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า "พิธีกรรม" หมายถึง การบูชา, แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในศาสนา    ดังนั้นในศาสนาพราหมณ์นั้นมีแบบแผนของพิธีกรรมการบูชาที่ปฏิบัติในศาสนาพราหมณ์นั้นคือ การฆ่าโคบูชายัญพระพรหม ดังปรากฏหลักฐานข้อมูลจากที่มาความรู้ในพยานเอกสารวิทยาศาสตร์ของพระไตรปิฎก เล่มที่  ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] ข้อ ๓๑๓ เพราะการฆ่าโคบูชายัญนั้น เทวดา พระพรหม พระอินทร์ อสูร และผีเสื้อสมุทรต่างเปล่งวาจาประณามมนุษย์ว่าไม่มีคุณธรรมเพราะมีดที่แทงแม่โคนั้น" 
      
        เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์นั้นรับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นข้อยุติว่า การประกอบพิธีกรรมบูชายัญในศาสนาพราหมณ์นั้นคือการฆ่าสัตว์ เช่นการฆ่าโค เพื่อบูชายัญเทวดา พระอินทร์ พระพรหม  เป็นต้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงในพยานเอกสารอื่นใด ยกเหตุผลขึ้นมาหักล้างโต้แย้ง ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกออนไลน์แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า การบูชายัญของพวกพราหมณ์คือการฆ่าสัตว์ เพื่อบูชาพระพรหม พระอินทร์และเทวดา เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลของความจริงอีกต่อไป จึงเชื่อว่าพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ในยุคก่อนคือการฆ่าสัตว์บูชายัญนั่นเอง 
                                                                                                          
        ๕.ศาสนิกชน สาวกที่เชื่อในคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่  วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร ต่างเชื่อว่าเทพเจ้ามีอยู่จริง พระพรหมทรงสร้างวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทรจากร่างของพระองค์ในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานนั้น      ผู้คนจากวรรณะต่าง ๆ นึกถึงพราหมณ์นิกายนั้นที่ช่วยแก้ปัญหาชีวิตด้วยการทำพิธีบูชายัญ  เช่น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีความทุกข์เพราะทรงรับสั่งให้ประหารพระเจ้าพิมพิสาร พระบิดาได้เสด็จไปปรึกษาความทุกข์กับเจ้าลัทธิทั้ง ๖  เป็นต้น ด้วยเหตุผลของข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ และทฤษฎีความรู้จากคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ นั้น  ผู้เขียนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศึกษาล้วนเป็นองค์ความรู้ตามคำนิยามจริง  ในศาสนาพราหมณ์มีทั้งเจ้าลัทธิทั้ง ๖ ทำหน้าที่เป็นศาสดาเผยแผ่คำสอนเรื่องพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ มีการทำพิธีกรรม บูญชายัญในศาสนาของตนและได้รับการยกย่องศาสนาบุคคลคือนักบวชให้เป็น ๑ ใน ๔ วรรณะตามกฏหมายจารีตประเพณีชนชั้น ให้มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายให้บูชายัญและสาธยายพระเวทเพียงวรรณะเดียว  
        

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ