Introduction: Self-delusion leads to carelessness in life

สารบาญ
๑.บทนำมนุษย์
๒.ความหลง
๓.ความประมาทในชีวิต
๑.บทนำ
โดยทั่วไป ชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "เบญจขันธ์" (Five Aggregates) ประกอบด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราสามารถบูรณาการความรู้จากพระพุทธศาสนาเข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ โดยนำความรู้จาก ๒ องค์ขึ้นไป คือพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มาผสมผสานกันอย่างเป็นระบบแล้ว ขันธ์ห้าสามารถสรุปได้เป็น ๒ อย่างคือ นามกับรูป เราเรียกให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คือกายและจิตใจเท่านั้น ดังนั้น ชีวิตมนุษย์จึงประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ "วิญญาณ" เท่านั้น เมื่อมนุษย์แต่ละคนมีวิญญาณอาศัยอยู่ในร่างกายของตนเอง เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณนั้นจะออกจากร่างไปเกิดในโลกอื่น เช่น สวรรค์ นรก หรืออาจกลับมาเกิดในโลกมนุษย์อีกก็ได้ ญาติพี่น้องของผู้ตายจะทำพิธีทางศาสนาโดยการเผาศพจนเหลือแต่เถ้ากระดูก แล้วจึงนำเถ้ากระดูกไปทำพิธีทางศาสนา โดยการโปรยเถ้ากระดูก(scatter ashes) ลงในแม่น้ำ หรือทะเลเพื่อกลับสู่ธรรมชาติ
เมื่อมนุษย์อาศัยอยู่บนโลก จิตใจของมนุษย์จะใช้อายตนะภายในร่างกายเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต เพื่อเก็บหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ แล้ว มนุษย์ก็ใช้หลักฐานทางอารมณ์เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริง เพื่อพิศูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ถือเป็นที่สมเหตุสมผลและสามารถยืนยันได้ว่าข้อเท็จจริงนั้นจริงหรือเท็จ
เมื่อได้คำตอบแล้ว จิตจะเก็บคำตอบเป็นความรู้ไว้ในจิตและความรู้นั้นก็จะสูญหายไปเมื่อบุคคลนั้นเสียชีวิต เพื่อป้องกันปัญหานี้ ผู้คนจึงถ่ายทอดความรู้จากจิตใจของตนในรูปของภาพวาดในถ้ำ หรือหน้าผา เมื่อเนื้อหาความรู้เพิ่มมากขึ้น ก็จะเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้น เช่น การประดิษฐตัวอักษรมาใช้เขียนบนใบลาน การเขียนตำราเรียนหรือนวนิยาย เป็นต้น เพื่อให้ผู้อื่นได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนั้น ๆ ถือเป็นความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในและสั่งสมไว้ในจิตใจ เมื่อมนุษย์มีความอยากได้สิ่งของต่างๆ ตลอดเวลา เมือแรงดึงดูดของตัณหาไม่เพียงพอ มนุษย์ก็สร้างสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่น เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ขึ้นมา หรือมัวแต่หลงไหลในสิ่งของเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่คำนึงสภาพแวดล้อม การไปสถานบันเทิงขนาดใหญ่ ไม่ว่าสถานที่นั้นจะสวยงามเพียงใด แม้จะรู้สึกพอใจและอยากไปหลายครั้งเพราะติดอยู่กับสถานบันเทิงนั้น เราก็ยอมเสียสุขภาพเพื่อแลกกับความสุขนั้น และกลายเป็นคนไม่ดี เมื่อเราไปเที่ยวสถานบันเทิงแล้วและต้องการความสุขมากขึ้นด้วยการดื่มสุราและเสพยา เราก็จะประมาทในชีวิตและเกิดอุบัติเหตุ ที่ทำลายชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ชีวิตของพวกเขาจึงไม่สงบสุขทั้งทางศีลธรรมและกฎหมายอีกต่อไป
มีปัญหาหนึ่งที่ผู้เขียนสงสัย คือ การหลงตนอยู่กับตัวเองทำให้พลาดโอกาสในชีวิตได้อย่างไร ? ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป โดยจะสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอที่จะวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบของความหลงนั้น ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหรือตามขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณีจากคัมภีร์ทางศาสนา หรือตำราเรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย จากคำสอนของครูบาอาจารย์ ฯลฯ อย่าเชื่อทันที เราควรตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน จนกว่าเราได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณ อรรกถา ฎีกา อนุฎีกา เอกสารทางวิชาการต่าง ๆ และข่าวกิจกรรมทางสังคม ที่ประชาชนละเมิดศีลธรรมและกฏหมาย เป็นต้น มาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบ ในเรื่องนี้

๑.ชีวิตมนุษย์มีธรรมชาติเป็นผู้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต กล่าวคือ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้เขียนเข้าใจว่า ชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจที่รวมกันเข้าในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙เดือน จึงได้เกิดมาเป็นมนุษยและได้รับชื่อและนามสกุลใหม่ ขณะยังมีชีวิตอยู่ จิตจะอาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และจิตจะใช้ร่างกายเป็นสะพานเชื่อมกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมนุษย์ทั้งวัตถุ พลังงานเสียง พลังงานไฟฟ้า เมื่อสัมผัสสิ่งนั้นก็จะพอใจสิ่งนั้น จะได้รับความบันเทิงจากสิ่งนั้นเท่านั้น เช่น ในสมัยก่อนพุทธกาล เจ้าชายสิทธัตถะทรงครองชีวิตหมกมุ่นอยู่กับนางสนมที่รับใช้พระองค์ในพระราชวังกบิลพัสด์ุนาน ๓ ฤดู พระองค์ทรงมีความสุขที่ได้ฟังเสียงร้องเพลงและดนตรีไพเราะที่พระองค์ทรงฟังอยู่ตลอดเวลา กลิ่นน้ำหอมอันเย้ายวนจากเกสรดอกไม้นานาพันธ์ รสชาติของอาหารที่อร่อย รสกลมกล่อม คุ้นลิ้น และสามารถสัมผัสได้ถึงความเสียดสีในสิ่งที่ชอบ จนไม่อยากจะจบสิ้นเป็นต้น
ดังนั้นส่วนของร่างกายเรียกว่า"อายตนะภายใน" นั้นจึงเป็นที่มาของความรู้ของมนุษย์ แต่ความรู้ในเรื่องเดียวกันนั้นมนุษย์แต่ละคนจะมีความรู้ลึกซึ้งต่างกัน และความแตกต่างก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน ซึ่งจะสั่งสมความรู้ไว้ในจิตใจของมนุษย์ได้ไม่เหมือนกันทุก ๆ วินาที มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นชีวิตหลายๆเรื่องแต่จิตใจของมนุษย์ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรู้ได้ทุุกอย่างไม่ว่าจะเป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัส หรือความรู้ที่อยู่เหนือระดับขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ขึ้นไป ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของร่างกายตนเองมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ห่างออกไปไกลเกินประสาทสัมผัสของมนุษย์จะรับรู้ได้ และมนุษย์ชอบบมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอสาเหตุมาจากความไ่ม่รู้ ความเกลียดชัง ความกลัว และความรักใคร่ชอบพอเป็นการส่วนตัว
ดังนั้น เมื่อมนุษย์ได้ยินความเห็นเรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้าในชีวิต มักจะไม่สงสัยและยอมความจริงโดยปริยาย จึงไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆเมื่อมีหลักฐานเพียงพอมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบถือเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผล มนุษย์จึงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อเรื่องราวต่างๆที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของชีวิตแต่ละคน เมื่อจิตใจของมนุษย์ได้รับผลกระทบจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็ไม่สามารถคิดหาเหตุผลได้ไม่เท่ากัน ความรู้ที่เกิดจากเรื่องเดียวกัน แต่มนุษย์มีความสามารถคิดหาเหตุผลของความจริงได้ต่างกัน ทำให้จิตมีอาการพอใจหรือไม่พอใจ ซึ่งบางครั้งเรียกว่ากุศล อกุศล ตามเกณฑ์ตัดสินความรู้นั้นอย่างสมเหตุสมผลของแต่ละคน ส่วนสัตว์ทั่วไปมีความรู้ต่ำกว่ามนุษย์ เพราะมีสมาธิสั้น การจดจำที่เรียกว่า "สัญญา" มีศักยภาพน้อยกว่ามนุษย์ และมีจินตนาการน้อยกว่ามนุษย์ จึงปรับตัวพ้นจากความเปลื่ยนแปลงของโลกไม่ได้.
๒.ชีวิตของมนุษย์เป็นผู้คิดตลอดเวลา กล่าวคือ ธรรมชาติของจิตตนเมื่อกระทบกับสิ่งใด ย่อมเกิดความคิดจากสิ่งนั้น เพราะในบางครั้งกระทบกับสิ่งใดแล้วเกิดความไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร ก็จะคิดหาเหตุผลของคำตอบจากสิ่งนั้น เมื่อได้เหตุผลของคำตอบจะเกิดเป็นความรู้และความจริงในสิ่งนั้น เช่น เมื่อเกิดลมพายุในทะเลอ่าวไทยย่อมเกิดความจริงว่าคลื่นขนาดใหญ่สูงขนาด ๔๐ เมตรทำให้เรือขนาดเล็กได้รับอันตรายได้จึงสั่งห้ามมิให้เรือเล็กออกจากฝั่งทะเล เป็นต้น ปัญหาว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าจะมีพายุเกิดขึ้น เพราะเป็นรายงานการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ใช้เครื่องผ่านดาวเทียมตรวจท้องทะเลว่าเป็นความจริงตามที่จิตพิจารณาแล้ว
ปัญหาชีวิตมนุษย์ตายแล้วสูญหรือไม่ เพียงใด โดยทั่วไปชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งไม่เที่ยง ในแต่ละปีมนุษย์ไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลศพหลายงานด้วยกัน บุคลลที่เสียชีวิตลงไปนั้น ไม่เคยมีใครมาปรากฏตัวให้เห็นแต่อย่างใดว่า ฟื้นคืนมาเป็นคนธรรมดาแต่อย่างใด ทำให้น่าเชื่อว่าตายแล้วสูญ เป็นต้น แต่ก็มีข้อสงสัยว่าคนหลายคนบอกว่าคนตายมาเข้าฝันบ้างบางคนระลึกชาติเคยเกิดเป็นนายนั้นนายนี่บ้าง เมื่อได้ยินได้ฟังเช่นนี้แล้ว ทำให้คนทั่วไปเกิดความสงสัยว่าชีวิตมนุษย์ตายแล้วสูญหรือไม่เพียงใด เมื่อศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คนที่ไม่ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิต ย่อมไม่บรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ย่อมมองไม่เห็นชีวิตหลังความตาย ย่อมไม่เชื่อว่าชีวิตหลังความตายมีอยู่จริง เป็นต้น ส่วนบุคคลที่ได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตตนแล้วย่อมเห็นชีวิตหลังความตายเป็นสิ่งมีอยู่จริงเพราะมนุษย์มีจิตวิญญาณ เป็นตัวตนที่แท้จริง
แต่ในความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์หลังจากความตายแม้มนุษย์ธรรมดาทั่วไปจะมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อก็ตามใช่ว่าไม่มีใครเห็น แต่พระพุทธเจ้านั้นทรงตรัสรู้แจ้งว่า ชีวิตมนุษยไม่ได้ตายแล้วสูญแต่อย่างใดเพราะมนุษย์ยังมีจิตเป็นปัจจัยหนึ่งของชีวิตไม่ได้ดับพร้อมกับร่างกายแต่อย่างใด แต่จิตวิญญาณออกจากร่างไปไปจุติจิตในภพชาติอื่นต่อไป นอกจากนี้พระอริยสงฆ์ทั้งหลายที่ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองก้ได้ผลกาารปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ อย่างเดียวกันกล่าวคือจิตของพระอริยสงฆ์เหล่านั้นบรรลุถึงความรู้ระดับอภิญญา๖ ส่วนความรู้ในระดับโลกิยธรรมนั้นเมื่อมนุษย์กระทำสิ่งใดย่อมสั่งสมกรรมไว้ในจิตของตัวเองกรรมเหล่านั้นมีค่าทางจริยศาสตร์ดี ชั่ว ถูก หรือผิด ควรหรือไม่ควรกระทำเป็นต้น ดังนั้นเราจึงกล่าวได้ว่า มนุษย์มีธรรมชาติของจิตจึงเป็นผู้คิดจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มากระทบจากภายนอกชีวิตตัวเองส่วนสัตว์โลกชนิดอื่นๆแม้ จะมีจิตเป็นผู้คิดก็ตามแต่ยังขาดการนึกคิดจินตนาการจึงไม่สร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตเพราะข้อจำกัดของสรีระของร่างกาย เป็นต้น

๓.ชีวิตมนุษย์เป็นผู้ที่สั่งสมข้อมูลองค์ความรู้เมื่อธรรมชาติจิตมนุษย์นั้นเมื่อรับรู้สิ่งใดย่อมคิดเรื่องราวต่าง ๆ จากสิ่งนั้น การคิดของมนุษย์มีเหตุผลยืนยันว่าเป็นความจริงแล้ว จิตย่อมมีความรู้ของมนุษย์จากสิ่งนั้น มนุษย์ก็สั่งสมความรู้นั้นไว้ในจิตของตัวเราเอง จนกลายเป็นสัญญาการจำได้หมายเกิดขึ้น แม้มนุษย์จะโยกย้ายชีวิตไปอยู่ที่ใดก็ตามความรู้ของมนุษย์มีบ่อเกิดที่มาจากการอ่าน การเขียน การฟัง การพูด และการลงมือปฏิบัติเป็นวัตถุสิ่งของต่าง ๆ มากมายที่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เอง สิ่งเหล่านี้เมื่อลงมือกระทำบ่อย ๆ จนกลายเป็นความรู้ระดับสัญญาของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น-มนุษย์เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯแต่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่ต่างจังหวัดที่ตนทำงานได้เพราะมนุษย์มีจิตสั่งสมความรู้ไว้ในจิตจนกลายเป็นสัญญานอนเนื่องอยู่อย่างนั้น แม้ว่ามนุษย์จะโยกย้ายถิ่นฐานเดินทางไปอยู่อื่นมิใช่ที่เดิมแล้ว ความรู้เหล่านี้ยังติดตามจิตไปด้วยการระลึกถึงได้ สามารถนำมาอธิบายได้นำใช้ประโยชน์เพื่อสร้างสรรค์งานแก่ชุมชนได้-เมื่อเราศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา จนสามารถจดจำเนื้อหาความรู้นั้นได้ เมื่อเราเดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง๔ เราสามารถเรื่องราวที่ระบุไว้ว่ามีเหตุการณ์ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในแต่ละเมืองที่เราเดินทางไปถึงเมืองนั้น ๆ เป็นต้น.
๔.มนุษย์มีจินตนาการตามธรรมชาติ เมื่อมนุษย์มีธรรมชาติแห่งการรับรู้ ผู้คิดเห็น สงสัย เก็บข้อมูลไว้ในจิตวิญญาณและมีธรรมชาติแห่งจินตนาการ(สร้างภาพเกิดขึ้นในใจ) อีกด้วยนั่นคือ เมื่อบุคคลสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บุคคลนั้นก็จะนำข้อมูลที่ตนรับรู้และเก็บหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจนั้น วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อคิดหาเหตุผล เพื่ออธิบายความจริงของคำตอบเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผล และไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความรู้นั้น ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือเท็จอีก และสั่งสมจนกลายเป็นสัญญาที่คงอยู่ในจิตวิญญาณไม่สิ้นสุด ดังนั้นเมื่อมนุษย์มีความรู้จากการศึกษา ค้นคว้าการเก็บรวบรวมข้อมูลและลงมือกระทำ เป็นต้น มนุษย์จึงสนใจที่จะใช้ความรู้ที่มีอยู่ในจิตวิญญาณนั้น ลองจินตนาการและต่อยอดความรู้ให้มีประโยชน์มากขึ้น เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น
ในสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นมีชาวอนุทวีปอินเดีย มีความเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างชีวิตมนุษย์และกำหนดโชคชะตามนุษย์ไว้ด้วยการสร้างวรรณะให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมาตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน แต่เมื่อคำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ก็มีสภาพบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีคือข้อห้ามสมสู่กับคนต่างวรรณะและห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่วรรณะอื่นและมีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาและกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง ผลของความเชื่อดังกล่าวทำให้มนุษย์เกิดสิทธิหน้าที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคม เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะขอยกเลิกกฎหมายแบ่งวรรณะในสังคมแต่ทำไม่ได้เพราะขัดต่อหลักอปริหานิยธรรมอันเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญสูงสุด ในการปกครองรัฐสักกะ แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตั้งสติระลึกถึงประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมา ทรงเห็นว่าความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้และความตายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตมุษย์ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ทรงพิจารณาต่อไปอีกว่า เมื่อปรัชญาศาสนาพราหมณ์มีแนวคิดทางอภิปรัชญาว่าเมื่อพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาและกำหนดโชคชะตามนุษย์ไว้แล้วแต่ทำไมเมื่อพระพรหมจะลิขิตชีวิตมนุษย์มิให้มีสภาวะของความแก่ ไม่เจ็บไข้ และไม่ต้องตายนั้นไม่ได้ดังนั้น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จึงเป็นมูลเหตุให้เกิดความสงสัยในจิตของเจ้าชายสิทธัตถะในความมีอยู่จริงของพระพรหม ที่ต้องศึกษาหาความรู้และความจริงของชีวิตมนุษย์
ดังนั้น เมื่อมนุษย์สั่งสมความรู้ไว้ในจิตใจแล้ว พวกเขาจึงใช้ข้อมูลที่เก็บไว้ในจิตใจนั้น มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสนใจและวิธีนำความรู้ที่อยู่ไปใช้ประโยชน์ เป็นอาการของจิตที่คิดหรือจินตนาการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น เมื่อมนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว ทำให้เกิดแนวคิดสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงอย่างเห็นในปัจจุบันชีวิตมนุษย์ ในยุคปัจจุบันจึงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะมนุษย์เป็นสัตว์รู้จักวิธีคิดจากความรู้เกี่ยวกับวัตถุที่มีอยู่ในธรรมชาติกล่าวคือมนุษย์รู้จักก่อไฟเพื่อย่างเนื้อต่างๆ เห็นแร่ธาตุที่ไหลออกจากหินต่างๆ และแห้งกลายเป็นวัตถุต่าง ๆ พวกเขาจึงรู้จักสร้างวัตถุต่างๆ ให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาหารเช่น สร้างกะทะใช้ผัดทอด แกง สร้างหม้อหุงข้าวหรือต้มเนื้อสัตว์ เป็นต้น ในส่วนที่พักพิงนั้น มนุษย์เคยอาศัยอยู่ในถ้ำและตามโคนต้นไม้ พวกเขายังต้องเผชิญกับอันตรายจากมนุษย์คนอื่นและสัตว์ร้ายต่าง ๆ ที่ขัดขวางการดำรงอยู่ปกติของชีวิต ดังนั้นพวกเขาจึงนำประสบการณ์ชีวิตเหล่านี้ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของชีวิต เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกความสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตัวเอง มนุษย์จึงคิดที่จะสร้างที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ และมนุษย์เข้ามาบุกรุกและรบกวนวิถีชีวิตของพวกเขา มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและต้องเดินทางพบปะกันเป็นประจำ มนุษย์จึงคิดหาวิธีการสร้างถนนและผลิตรถยนต์ รถไฟใช้เป็นพาหนะ ในการขนส่งผู้คนเพื่อเดินทางไปยังที่ต่างๆ เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องใช้สถานที่ในการทำธุรกิจหรือ ทำงานที่สะดวกสบายในชีวิต เมื่อต้องเผชิญกับอากาศร้อน มนุษย์จึงคิดสร้างเครื่องปรับอากาศเพื่อให้ชีวิตสบายขณะทำงาน เพื่อระบายความร้อนในร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม แม้มนุษย์จะอยู่ในสังคมวัตถุนิยม มนุษย์ยังคงต้องทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆเช่นเดิม แม้ว่ามนุษย์จะปรับตัวเข้ากับธรรมชาติที่เปลื่ยนแปลงไปก็ตามแต่เชื้อโรคมีอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ซึ่งคุกคามมนุษย์เมื่อร่างกายอ่อนแอเพราะเชื้อโรคได้ปรับตัวและพัฒนาชีวิตต่อต้านยาที่มนุษย์ผลิตขึ้นเช่นกันมนุษย์จึงไม่สามารถหลีกหนีจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ แม้ว่ามนุษย์จะเป็นสัตว์ที่ฉลาดมากและมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อนำไปใช้ในชีวิตได้ แต่ความรู้นี้ไม่ได้ช่วยชีวิตมนุษย์ให้เป็นอมตะ ไม่แก่ ไม่ป่วย และไม่ตายได้

การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้มนุษย์ตระหนักถึงความจริงว่ามนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนได้ โดยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ก็จะบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้ ด้วยความเพียรพยายามในการทำสมาธิ จนจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหวกับอารมณ์เรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของตนเองมีสติและปัญญา สามารถใช้ความรู้ที่ติดตัวมานั้น แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เมื่อจิตใจของมนุษย์บรรลุถึงความจริงของชีวิตตัวเองดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมแห่งชีวิต คือจิตอาศัยในร่างกายของมนุษย์เพียงชั่วคราวเท่านั้นจิตวิญญาณจะต้องเกิดใหม่ในโลกต่างๆเพราะชีวิตดับไป เพราะร่างกายเสื่อมสลาย จิตไม่อาจอยู่ในร่างกายที่เน่าเปื่อยได้มันก็จะออกจากร่างมนุษย์และไปสู่อีกโลกอื่น การพัฒนาศักยภาพของชีวิตเพื่อ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้ โดยการศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง เพราะจิตวิญญาณมีความเป็นธรรมชาติเป็นผู้สั่งสมความรู้ดังหลักฐานปรากฎในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ ว่า ความรู้คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน จากการค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติหรือทักษะ เป็นต้น จากคำนิยามกล่าวไว้โดยชัดเจนให้รู้ว่า ความรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากสั่งสมความรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ เข้าสู่จิตมนุษย์ เมื่อความรู้เข้าสู่จิตแล้วย่อมห่อหุ้มจิตไว้อย่างหนาแน่นดังปรากฏหลักฐานในพจนานุกรมฉบับแปลไทยเป็นไทยของอ.เปลื้อง ณ. นคร ได้ให้คำนิยามคำว่า "นิพพาน" ว่าความสิ้นกิเลสและอธิบายขยายความต่อไปอีกว่า พระพุทธเจ้าทรงค้นพบว่าจิตของคนเรานี้ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสอย่างหนาแน่นคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฯลฯ และทรงค้นพบวิธีการอย่างหนึ่งที่จะสำรอกกิเลสออกจากจิตได้คือมรรคมีองค์ ๘ ถ้าใครปฏิบัติตามมรรค มีองค์ ๘.

จากคำจำกัดความข้างต้น เป็นการยืนยันว่าแม้มนุษย์จะเดินทางไปที่ไหนในโลกนี้และโลกหน้าก็ตาม ความรู้ที่ห่อหุ้มจิตก็จะติดตามวิญญาณไปทุกหนทุกแห่งและคงอยู่เป็นอนุสัยอยู่อย่างนั้น ซึ่งจะจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของความรู้ ก็ต่อเมื่อนำความรู้ที่มีอยู่นั้น สร้างจินตนาการไปใช้ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของมนุษยชาติต่อไป ในความจริงของชีวิตแม้มนุษย์จะพัฒนาสังคมมากให้เจริญมากขึ้นเท่าใด ใช่ว่าความทุกข์ในชีวิตของมนุษย์นั้นจะหมดสิ้นไป เพราะความเจริญรุ่งเรืองด้านเทคโนโลยี่มากขนาดไหนก็ตามแค่ปัจจัยภายนอกชีวิตเท่านั้นแต่ปัจจัยภายในมนุษย์ยังมีปัญหาจากความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุเช่นเดียวกันโดยเฉพาะขยะจากอิเลคโทนิคที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว ก่อให้เกิดมลภาวะของสารพิษในสิ่งแวดล้อมเป็นต้น เป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างสิ่งใดขึ้นมาเอง เพื่อสนองความต้องการของตนทั้งสิ้น เมื่อชีวิตมนุษย์มีความอยากในสิ่งใดย่อมหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุแห่งกิเลสนั้น บางครั้งมนุษย์ต้องตกเป็นทาสของทำงานหนักขึ้นให้ได้เงินมาเพื่อไปแลกเปลื่ยนวัตถุแห่งกิเลสนั้น การทำงานหนักต้องแลกกับสุขภาพที่ทรุดโทรมเพราะการพักผ่อนของร่างกายน้อยหรือว่าไม่มียอมทำงาน แต่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ตนชอบทำ จนละเลยสนใจสุขภาพเพราะมัวแต่สนใจแต่สิ่งที่ตนชื่นชอบ ได้รับสะดวกสบาย ชอบเล่นเกมส์ออนไลน์สนุกอยู่อย่างนั้นจนเสียชีวิตก็มีการค้นคว้าหาความรู้ของวิทยาการสมัยใหม่ เพื่อรักษาสุขภาพของมนุษย์ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป การรักษาทางยาแค่รักษาร่างกายให้แข็งแรงขึ้นเท่านั้น ยังไม่อาจรักษาชีวิตของมนุษย์ให้คงอยู่ต่อไปและการรักษาทางใจในโรคบางประเภทโดยเฉพาะความเครียดต่างๆ ยังจำเป็นต้องอาศัยวิธีการของศาสนาโดยเฉพาะการปฏิบัติธรรมเพื่อลดความเครียดของจิตมนุษย์.
ปรัชญาเกิดจากความคิดที่สงสัยของมนุษย์ เป็นสัตว์สังคมชอบอยู่อาศัยใกล้กัน และทำกิจกรรมร่วมกันและมนุษย์ใช้ภาษาสื่อสารถึงกันแสดงออกถึงความอยากที่ต้องการจากกันและกันได้ มีการแบ่งหน้าที่กันทำงานตามศักยภาพของตัวเอง ต่อมามนุษย์ก็พัฒนาแนวคิดมาสู่การสร้างกฎกติกาหรือกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน ทำให้มนุษย์สงสัยในความไม่แน่นอนของการใช้ชีวิตตลอดเวลาเนื่องจากในแต่ละวันมีเรื่องราวมากมายทำให้มนุษย์มีความสุขหรือทุกข์ทรมาน เมื่อเราศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ เราวิเคราะห์ได้ว่าโครงสร้างของมนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ ๕ เป็นชีวิตมนุษย์ขึ้นมา เมื่อชีวิตใหม่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว เราตั้งชื่อเด็กหลายคนที่เกิดขึ้นใหม่ว่า นาย ก. นาย ข. นางสาวค.เป็นต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายในการนำความรู้เรื่องขันธ์ห้าไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการ เราจำเป็นต้องสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องขันธ์ ๕ ขึ้นใหม่ให้เป็นเรื่องของกายและจิตเพราะเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดชีวิตของมนุษย์ขึ้นมา.

ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าปรัชญาพุทธภูมินั้น ต้นกำเนิดความรู้ในเรื่องนี้ เริ่มจากความสงสัยของเจ้าชายสิทธัตถะเรื่องการมีอยู่ของพระพรหม เพราะเมื่อพระองค์ทรงประสบความแก่ ความเจ็บ และความตายของคนไร้วรรณะเรียกว่า "จัณฑาล" ทั้งสองข้างทางเสด็จพระดำเนินของเจ้าชายสิทธัตถะ ทำให้พระองค์ทรงเสียพระทัยกับวิบากกรรมของจัณฑาลเหล่านั้น ทรงคิดหาวิธีช่วยให้จัณฑาลหลุดพ้นจากทุกข์เพราะไม่สิทธิและหน้าที่ในการประกอบอาชีพ อาชีพทั้งหมดสงวนไว้สำหรับผู้มีวรรณะตามกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ทำให้จัณฑาลมีฐานะยากจน อยู่อย่างคนไร้บ้านสองข้างทางในเมืองใหญ่โดยเฉพาะพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น เมื่อผัสสะปัญหาของคนไร้บ้าน ทรงตั้งสติระลึกว่า ปัญหาของคนจัณฑาลไร้วรรณะนั้นเป็นเพราะความเชื่อในพระพรหมสร้างมนุษย์ตามคำสอนของชนวรรณะพราหมณ์ เป็นต้น เจ้าชายสิทธัตถะได้เสนอปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะด้วยการยกเลิกวรรณะทั้ง ๔ แต่ไม่อาจทำได้เพราะขัดต่อธรรมของกษัตริย์ในการปกครองประเทศ เมื่อการปฏิรูปสังคมไม่อาจแก้ไขได้ด้วยกระบวนการทางการเมืองผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ เจ้าชายสิทธัตถะระลึกถึงความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายของประชาชนไร้วรรณะแล้ว ทรงเห็นว่าหากพระพรหมทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจริง และลิขิตโชคชะตามนุษย์ด้วยการแบ่งวรรณะจริง ทำไมพระองค์ปล่อยให้มนุษย์ทุกวรรณะแก่ เจ็บ ตายเช่นเดียวกันกับชนไร้วรรณะ หรือพระพรหมไม่มีอยู่จริง เมื่อไม่มีใครให้คำตอบแก่พระองค์ได้เจ้าชายสิทธัตถะจึงเริ่มใช้จิตคิดหาวิธีการแสวงหาความรู้ให้สิ้นสงสัยในความเป็นไปของวิถีชีวิตมนุษย์ด้วยตัวพระองค์เอง
บรรณานุกรม
๑.ชวาล ศิริวัฒน์. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เอกสารประกอบการสอนรายวิชารหัส๐๐๐ ๑๕๘ โครงการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี่สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนา.....๒๕๕๐
๑.ชวาล ศิริวัฒน์. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เอกสารประกอบการสอนรายวิชารหัส๐๐๐ ๑๕๘ โครงการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี่สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนา.....๒๕๕๐
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น