The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566

บทนำ การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระเจ้าพิมพิสารตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ

Introduction to King Bimbisara's patronage of Buddhism
    
บทนำ 

              ในบทความนี้ ผู้เขียนศึกษาจะได้ศึกษาเรื่องการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา และมีอิทธิพลอย่างมาก ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เราจะศึกษารายละเอียดของการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาตั้งแต่การถวายปัจจัยต่าง ๆ ไปจนถึงการสร้างสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา  โดยเน้นถึงความสำคัญและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อพระพุทธศาสนาและต่อสังคมของเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยนั้น   พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมและมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า  การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่เพียงการให้ปัจจัยทางวัตถุ  แต่ยังเป็นให้การสนับสนุนเต็มที่ทั้งด้านกำลังคน ทรัพยากรและการปกป้องคุมครอง    ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของพระพุทธศาสนาในยุคเริ่มต้น 

             สาเหตุการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนนั้น เมื่อศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว    ผู้เเขียนได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเจ้าชายสิทธัตถะประสูติในสวนป่าลุมพินีในแคว้นสักกะ  ระบบการปกครองของแคว้นสักกะเป็นแบบรัฐของศาสนาพราหมณ์ มีหลักราชอปริหานิยธรรมเป็นรัฐธรรมนูญสูงสุดที่ใช้ในการปกครองแคว้นสักกะ สาระสำคัญของกฎหมายระบุว่า เมื่อบัญญัติกฎหมายใช้แล้วจะเพิกถอนไม่ได้  นอกจากนี้  คำสอนของพราหมณ์อารยันเกี่ยวกับ พระพรหมทรงสร้างมนุษย์จากกายของพระองค์ และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา  เมื่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์เป็นกฎหมาย จารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ เพื่อกำหนดสิทธิ และหน้าที่ให้ประชาชนต้องปฏิบัติตามวรรณะที่ตนเกิดมา และเงื่อนไขห้ามมิให้ประชาชนทำงานในหน้าที่ของวรรณะอื่น และห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะ           

        ดังนั้น เมื่อประชาชนมีชีวิตที่มืดมน พวกเขาก็ขาดศรัทธาพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการศึกษา  ขาดความพากเพียรในการแสวงหาความจริงของชีวิต ขาดสติที่จะนึกถึงบทเรียนชีวิตที่ผ่านมา   สมาธิคือความแน่วแน่ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิตที่จะควบคุมตัณหาของตนเองได้ว่าหากตนกระทำผิดโดยเจตนา ที่ละเมิดกฎหมายวรรณะขนบธรรมและจารีตประเพณีนั้น โดยสังคมจะลงโทษพวกเขาด้วยการไล่ออกจากถิ่นที่อยู่ หรือหากไม่ยอมรับจะถูกคนในชุมชนลงโทษด้วยการขว้างปาด้วยก้อนหินจนตาย  พวกเขาต้องหนีจากบ้านไปตลอดชีวิต และใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในเมืองใหญ่ เช่น พระนครเทวทหะ พระนครกบิลพัสดุ์,  พระนครราชคฤห์ เป็นต้น 

         เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาความจริงของจัณฑาล ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในวัยชรา ป่วยหนัก และนอนตายในท้องถนนของพระนครกบิลพัสดุ์ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกเศร้าในพระหฤทัยอย่างยิ่งและทรงเห็นปัญหาสังคมของอาณาจักรสักกะ ในการประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ส่งผลให้ประชาชนมีความไม่เท่าเทียมกันในสิทธิและหน้าที่ในการทำงาน การศึกษา การบูชาตามความเชื่อในนิกายพราหมณ์ของตนและการสมรสข้ามวรรณะ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาจัณฑาลขึ้นมา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลแล้ว พระองค์ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคม โดยเสนอกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการเลิกวรรณะต่อรัฐสภาศากยวงศ์ แต่สมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์เข้าประชุมเพื่อพิจารณา และมีมติไม่อนุมัติการตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการเลิกวรรณะ เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" เมื่อปัญหาของอาณาจักรสักกะแก้ไขยาก เจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามปุโรหิตแห่งอาณาจักรสักกะเกี่ยวกับประวัติของพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีใครตอบพระองค์ได้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยในความมีอยู่จริงของเทพเจ้า และเห็นวิธีเดียวที่จะช่วยจัณฑาลจากความทุกข์ยากได้โดยพระองค์ละทิ้งวรรณะกษัตริย์ออกผนวช  เพื่อค้นหาความจริงของชีวิตว่า พรหมสร้างมนุษย์และวรรณะตามคำสอนของพราหมณ์หรือไม่  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทูลขอพระเจ้าสุทธโทธนะและพระนางปชาบดีโคตมี เพื่อออกผนวชแต่ทั้งสองพระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับการที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัย เพื่อสละวรรณะกษัตริย์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยหนีจากพระราชวังกบิลพัสดุ์และทรงผนวชที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาในสมัยปัจจุบันเรียกว่า "แม่น้ำอามี่" ตั้งอยู่ในจังหวัดโครักขปูร์ รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
 
              พระโพธิสัตว์สิทธัตถะเสด็จไปศึกษาค้นคว้าวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุสัจธรรมของชีวิตกับพราหมณ์  ซึ่งเป็นนักปราชญ์ชื่อดังแห่งพระนครราชคฤห์      เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะเสด็จออกไปบิณฑบาตแล้ว         พระองค์ทรงประทับนั่ง  ณ เชิงเขาปัณฑวบรรพต         เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวก็เสด็จมาเฝ้า และทรงซักถามถึงเหตุผลที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะเสด็จออกผนวช       และพระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะยกดินแดนของแคว้นกลิงคะ    ให้พระโพธิสัตว์สิทธัตถะขึ้นครองราชย์          แต่พระองค์ทรงไม่ยอมรับราชย์สมบัติเพราะพระองค์ทรงสละราชสมบัติด้วยความศรัทธา      ที่จะแสวงหาสัจธรรมของชีวิต  พระองค์ทรงความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการต่าง    ๆ  ด้วยสติสัมปชัญญะว่า     ชีวิตของมนุษย์เต็มไปด้วยความมืดมนโดยคิดว่าชีวิตตายแล้วสูญ       กรรมดีชั่วที่กระทำต่อกันไว้ไม่มีผลต่อกัน  เพื่อเกื้อกูลชาวโลกให้หายจากความมืดมืดมิด พระองค์ทรงปฏิญาณต่อพระเจ้าพิมพิสารว่า หากพระองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะเสด็จมาแคว้นมคธ   
          
               ต่อมาหลังจากที่พระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์แล้ว   ชาวพุทธจึงเรียกพระนามว่า "พระพุทธเจ้า"   และพระองค์เสด็จไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกับชฏิล  ๓   พี่น้องและสาวก ๑,๐๐๐ รูป ณ พระนครราชคฤห์       พระเจ้าพิมพิสารทรงฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าที่ลัฏฐิวันสวนตาลในแคว้นมคธ  และพระองค์ทรงบรรลุโสดาปัตติผลกับชาวมคธ ๑๑๐,๐๐๐ คนและทรงยกสวนหลวงเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาหลังจากนั้นชีวิตของพระเจ้าพิมพิสาร  ก็ทรงอยู่ในสถานการณ์พลิกผันเพราะพระเจ้าอชาตศัตรูพระโอรสทรงจับกุม และคุมขังพระองค์ไว้จนสวรรคตในพระราชวังราชคฤห์ 

         เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงข้างต้น ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า อย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อในข้อเท็จจริงที่ได้ยินมา หรือตำราหรือคัมภีร์ฯลฯว่าจริงหรือเท็จ ควรตั้งข้อสงสัยว่ายังไม่ใช่ความจริง จนกว่าจะได้สอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน   เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว   ก็ใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริงโดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัญา ในการอธิบายความจริงในเรื่องนี้ เมื่อผู้เขียนชอบศึกษาความจริงในเรื่องนี้ต่อไป จึงตัดสินใจหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์เพิ่มเติมและหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระเจ้าพิมพิสาร  หาคำตอบอย่างมีเหตุผลโดยวิเคราะห์จากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกอรรถกถาและเอกสารวิชาการอื่น ๆ    ฯลฯ     คำตอบจะช่วยให้ผู้อ่าน ได้รับความรู้ที่ตรงตามเกณฑ์ในการตัดสินความรู้อย่างสมเหตุอย่างสมผล และเข้าใจสัจธรรมของชีวิตอย่างไม่ต้องสงสัย สามารถนำหลักคำสอนพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ เพื่อหาเหตุแห่งกรรม ข้อมูลได้จากบทความนี้   น่าจะเป็นประโยชน์กับพระวิทยากรในการบรรยายแก่ผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิ   มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน และกระบวนการคิดวิเคราะห์จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาระดับปริญญาเอกในการเขียนวิทยานิพนธ์สารนิพนธ์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาพระพุทธศาสนาทุกประการ     
        

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เพิ่มความรู้เสริมสติปัญญา สาธุ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ