Buddhaphumi's philosophy: The origin of knowledge in the innate idea of humans in Tripitaka

๒.ปัญหาว่าความรู้คืออะไร
โลกเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์หลายพันล้านคน มนุษย์เป็นสัตว์ฉลาด ที่รู้จักพัฒนาศักยภาพชีวิตให้มีพลัง และมีทักษะความสามารถนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สร้างเทคโนโลยี่และอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นเครือข่ายแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน โลกมนุษย์จึงเจริญรุ่งเรืองรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มนุษย์ขึ้นเป็นสื่อกลางให้มนุษย์สื่อสารกันได้อย่างใกล้ชิดและมีเอกภภาพมากยิ่งขึ้น การแบ่งปันความให้แก่ผู้อยู่ ห่างกันออกไปหลายหมื่นกิโลเมตรคนละซีกโลก โดยเครื่องมือสื่อสารที่เรียกว่า"โทรศัพท์มือถือ"เท่านั้น ก็สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง แบ่งปันความรู้ผ่านประสบการณ์บนเฟสบุค (Facebook) หรือการสื่อสารอื่น ๆ นั้น มนุษย์จึงเข้าถึงความรู้และเกิดเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น มีการนำความรู้ต่อยอดได้มากมายหลายประการ โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางธุรกิจมีมูลค่ามากมายหลายล้านดอลลาร์ เป็นต้น
มีปัญหาเกี่ยวกับความจริงที่ผู้เขียนสงสัยว่า ความรู้คืออะไร เมื่อผู้เขียนได้ค้นคว้าจากพยานเอกสารในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ ได้ให้คำนิยามคำว่า "ความรู้คือคำนาม (๑) สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ (๒)สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือ การปฏิบัติ เช่น ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน (๓) คำนามความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับจากประสบการณ์ เช่นผู้ชายคนนี้เก่งแต่ไม่มีความรู้เรื่องผู้หญิง จากคำนิยามดังกล่าวผู้เขียนตีความได้ว่า
(๑) ความรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาค้นคว้าและวิจัย มีปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลของคำตอบว่าการสั่งสมความรู้ของมนุษย์เป็นอย่างไร เมื่อเราศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ ที่พระองค์ทรงอธิบายในรูปแบบของขันธ์ห้า เมื่อย่อให้เหลือคำสอนเพียง ๒ อย่างคือ เรื่องกายและจิตเท่านั้น ธรรมชาติของจิตที่พระองค์อธิบายไว้ คือน้อมรับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาสู่ชีวิตในรูปของเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมย์อันรื่นรมย์ เข้าเก็บสั่งสมไว้ในจิตนอนเนื่องอยู่อย่างนั้น จนกลายเป็นสัญญาอยู่จิต ติดตามการเคลื่อนไหวของชีวิตไปสู่สถานที่ต่าง ๆ ในสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกชีวิตนั้น เมื่อผัสสะกับชีวิตมนุษย์จะเกิดประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์ เมื่อมนุษย์คิดหาเหตุผลจากสิ่งนั้น จนเกิดเป็นความรู้และความเป็นจริง ตามความเห็นของตนในสิ่งต่าง ๆ มีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ชีวิตมนุษย์มีจิตอาศัยร่างกายรับรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและคิดหาเหตุผลของคำตอบจากสิ่งนั้น จนเกิดเป็นความรู้และความจริงของสิ่งนั้นเรียกกันว่าความรู้ประจักษ์นิยมเป็นความรู้ที่มนุษย์รับรู้จากสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายภายนอกตัวมนุษย์เอง
ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นได้สอนว่าชีวิตมนุษย์มิได้มีแค่ร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีจิตวิญญาณมนุษย์น้อมออกไปรับรู้เรื่องราวของโลกมาเก็บสั่งสมเป็นข้อมูลไว้ในจิตวิญญาณของตัวเอง มนุษย์นำข้อมูลความรู้มีอยู่ในจิตนั้น นำมาคิด นึกคิด จินตนาการ ต่อยอดความรู้ให้เกิดการพัฒนาเป็นนวัตรกรรมเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาแล้ว นำมาเผยแผ่เป็นเรื่องราวในอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์ได้อ่านศึกษาความรู้ใหม่ ๆ ทุก ๆ วัน แต่ยังมีความรู้บางอย่างไม่ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ในภพชาติปัจจุบัน และเป็นมโนภาพในจิตของมนุษย์ที่ผุดขึ้นมาเองเหมือนกับว่าตนคุ้นเคยว่า เคยใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง บนโลกใบนี้มาก่อนแล้ว นำมาอธิบายด้วยเหตุผลได้แต่ไม่มีหลักฐานพยานบุคคลมา พยานเอกสารมายืนยันได้ว่าสถานที่แห่งนั้นตั้งอยู่ที่ใดมีจริงหรือไม่ หรือใช้เครื่องมือใดๆทางวิทยาศาสตร์มาเก็บข้อมูลพิสูจน์ ที่มาของความรู้ด้วยทฤษฎีความรู้เพื่อยืนยันที่มาของความรู้ที่เป็นความเป็นจริงขึ้นมาได้เรียกว่า "ความรู้เหตุผลนิยม"
ในปัจจุบันเราได้รับข่าวสารผ่านโลกออนไลน์เกี่ยวกับความรู้ไม่ผ่านประสบการณ์ของมนุษย์ที่กล่าวถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมิใช่เวลาปัจจุบัน เช่น การระลึกชาติของผู้คนที่อาศัยอยู่ในที่ต่าง ๆ ของโลกสมัยปัจจุบันตัวอย่างเช่นนายสงค์ ไชยสอน เกิดเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๗๓ ที่หมู่บ้านหนองตอ ตำบลดอนแรด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์บิดาชื่อนายจำปา ไชยสอน มารดาชื่องนางเมือง ไชยสอน เมื่ออายถได้ ๔ ขวบเขาได้รบเร้าให้บิดามารดาผู้ให้กำเนิด พาตนไปหาพ่อแม่ของตนในชาติปางก่อนซึ่งมีภูมิลำเนาในหมู่บ้านบังหนองกก ตำบลบังหุง อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีษะเกษ แต่พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดไม่สนใจคิดว่า ลูกของตนสติไม่ดี เป็นบ้าไป แต่เด็กชายสงค์บอกว่าเขาไม่ได้บ้า เขาจำชื่อพ่อแม่ ญาติพี่น้องได้หมดจึงได้ขอร้องให้พาไปเยี่ยมพ่อแม่ของตนในชาติปางก่อนแต่พ่อแม่ก็ผัดผ่อนเรื่อยมา เด็กชายสงค์มีโอกาสได้พบญาติพี่น้อง เพื่อนเล่นในอดีตชาติของตนและเล่าเรื่องในอดีตของตนให้ฟังเมื่อพบกันทุกคนซักไซร์ไล่เรียงกันไปมาและพูดถึงพ่อแม่ไร่นาสาโทและสมบัติต่างๆ ได้ถูกต้องทั้งหมด[๑] และตามพยานหลักฐานปรากฎที่มีอยู่ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าพระพุทธเจ้าเคยเกิดในภพภูมิต่างๆ เช่น เคยเกิดเป็นสุเมธดาบส สุวรรณสาม พระมหาชนก เป็นต้น
หนองหานสกลนคร by ปรัชญา& พุทธภูมิ |
๓. ตัวของมนุษย์
คำว่า "ตัว" หมายถึงชีวิตหรือตัวตนของมนุษย์ ชีวิตของมนุษย์ทุกคนไม่ได้มีแค่ร่างกายเท่านั้น แต่มีจิตวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดชีวิตใหม่ขึ้นมา มีปัญหาที่ต้องวิเคราะห์ว่า"จิตวิญญาณคืออะไร" เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลคำสอนของพระพุทธเจ้า จากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารจากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายธรรมบท๓จิตตวรรค ๕. จิตตหัตถเถรวัตถุ ๔ สังฆรักขิตเถรวัตถุเรื่องพระสังฆรักขิตเถระในข้อ ๓๗.กล่าวว่า ....คนเหล่าใดสำรวมจิตที่เที่ยวไปไกล ๑ เที่ยวไปดวงเดียว ๒ ไม่มีรูปร่าง ๓ อาศัยอยู่ในถ้ำ ๔ คนเหล่านี้จักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร๕[๒]จากธรรมบทจิตวรรคดังกล่าวเราแยกประเด็นวิเคราะห์ลักษณะของจิตได้ดังนี้คือ
๑.จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างคำว่าไม่มีรูปร่างหมายถึงสิ่งที่ไม่กินเนื้อที่ในอากาศและคนธรรมดาทั่วไปไม่สามารถสัมผัสสะได้ เว้นแต่ผู้นั้น พัฒนาศักยภาพของความมีอยู่นั้นรู้ได้ด้วยใจของมนุษย์เอง.
๒.จิตมีลักษณะเป็นดวงในธรรมชาติของความเป็นจิตมนุษย์นั้น จิตมีลักษณะเป็นดวง แต่มีความเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ก่อนที่จิตดวงเก่าจะดับลงไปก็ถ่ายทอดกรรม หรือเชื้อไปยังจิตดวงใหม่เป็น กระบวนการธรรมชาติอย่างนี้ตลอดเวลา.
๓. จิตมีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย เมื่อคำสอนทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องชีวิต ในส่วนของร่างกายที่มีลักษณะเป็นลักษณะเป็นถ้ำ คือบริเวณกะโหลกศรีษะ เป็นที่บรรจุของก้อนสมองของมนุษย์นั้นเอง
๔.จิตท่องเที่ยวไกล คำว่า "ท่องเที่ยว" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตของมนุษย์ไปจุติจิตในภพภูมิต่างๆ จึงถือว่าเป็นการเดินทางไกลนั่นเอง.
๓.๒ ธรรมชาติของจิตวิญญาณเราอาจกล่าวด้วยถ้อยคำมีให้ความทันสมัยขึ้นว่า ลักษณะของจิตวิญญาณของมนุษย์นั้นเป็นอย่างไร เมื่อจิตวิญญาณมนุษย์อาศัยอยู่ในร่างกายแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิตที่พึ่งพาอาศัยกัน ทำให้ชีวิตของมนุษย์ดำรงอยู่ได้ เมื่อเราศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าจากคำสอนที่กล่าวไว้ในมหาหัตถิปโทปมสูตร พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ กล่าว
ในข้อ ๓๐๑ ว่า ทุกข์อริสัจยเป็นอย่างไร คือชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะเป็นทุกข์ โทมนัสและอุปาทายสเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งต้องการเป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ ประการเป็นทุกข์ [๓] คำว่าขันธ์ ๕ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้กล่าวคำว่าขันธ์หมายถึงส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น๕ กองคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เรียกว่าขันธ์ ๕ ส่วนที่เป็นนามได้เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นส่วนที่เรียกว่าเป็นธรรมชาติหรือลักษณะของจิต เราแยกวิเคราะห์ออกเป็นได้ดังนี้
๑. จิตมีธรรมชาติเป็นเวทนาคำว่า "เวทนา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ. ๒๕๕๔ หมายถึง ความรู้สึกสุขทุกข์, ความรู้เจ็บปวดทรมาน ในที่นี้คำว่า จิตมีธรรมชาติเวทนา หมายถึงจิตของมนุษย์เป็นผู้มีความรู้สึกรู้สุขหรือรู้สึกทุกข์กล่าวคือจิตมนุษย์ผัสสะสิ่งใดผ่านอินทรีย์ ๖ ของร่างกายก็สะสมสิ่งเหล่านี้มีไว้ในจิตและนำข้อมูลมีในจิตนี้มานึกคิดว่าเป็นไปต่าง ๆ นา ๆ สิ่งไหนที่ตนพอใจเป็นความสุข สิ่งไหนคิดแล้วไม่พอใจก็เกิดทุกข์เวทนา เพราะฉะนั้นคำว่าเวทนาหมายถึงอาการของจิตที่นึกคิดไปต่างๆ นา ๆ เนื่องจากผัสสะนั้นเอง
๒. จิตมีธรรมชาติมีสัญญาคำว่า "สัญญา"ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ หมายถึง "ความจำ" ในที่นี้ผู้เขียนตีความ ว่า"จิตมีธรรมชาติมีสัญญา กล่าวคือ จิตมีธรรมชาติเป็นผู้มีความจำ รู้สิ่งใดก็จดจำสิ่งนั้นคำว่าจำหมายถึง สะสมไว้หรือมีไว้ในจิตของตนกล่าวคือ เมื่อจิตผัสสะความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งใดบ่อย ๆ ก็สามารถระลึกเรื่องราวเหล่านั้นได้เพราะจิตมีธรรมชาติเป็นผู้สั่งสมประสบการณ์ให้มีอยู่ในจิต การสั่งสมเป็นการห่อหุ้มจิตไว้อย่างหนาแน่น แม้วันเวลาผ่านมาหลายปีก็ยังสามารถจดจำได้อยู่เสมอ แม้จะไม่ได้อาศัยอยู่ในสถานที่ดังเดิมโยกย้ายภูมิลำเนาไปสู่ที่ใหม่ก็ตาม
๓. จิตมีธรรมชาติเป็นสังขาร คำว่า สังขาร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง ความคิด ในที่นี้คำว่าจิตมีธรรมชาติเป็นสังขารคือจิตเป็นผู้คิดเมื่อจิตรับรู้สิ่งใดผ่านอินทรีย์ทั้ง๖ย่อมนำสิ่งที่สั่งสมไว้ในจิตนั้นคิดมาพิจารณามาไตร่ตรอง, ใคร่ครวญพิจารณา, วิเคราะห์, มาตัดสินว่าความจริงคืออะไร เป็นต้น.
๔. จิตมีธรรมชาติเป็นวิญญาณคำว่า"วิญญาณ" แปลว่าการรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ส่วนวิญญาณอีกความหมายหนึ่ง คือจิตวิญญาณของมนุษย์แม้จะมีสภาวะเกิดดับตลอดเวลา แต่จิตวิญญาณเกิดดับนั้นไม่ตายแล้วสูญแต่อย่างใด เพื่อสิ้นชีวิตลงไปจิตวิญญาณออกจากร่างกายของมนุษย์ไปจุติจิตในภพชาติอื่นต่อไปพร้อมกับที่เป็นสัญญาอยู่ในจิตวิญญาณของตนไปด้วย สัญญาก็คือความรู้ที่มีอยู่ในจิตที่เรียกว่า "ประสบการณ์ชีวิตก็ได้เป็นต้น.
บรรณานุกรม
[๑.] ฟื้น ดอกบัว.ปรัชญาแห่งชีวิต,สำนักพิมพ์ศยาม.กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๕.
[๒.] พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท จิตวรรค.
[๓] โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม :๑๒ หน้า : ๓๒๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น