The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับเมืองพาราณสี ในพระไตรปิฏก

?ำProblems with the origin of knowledge of Varanasi city in the Tripitaka

บทนำ          

     โดยทั่วไปแล้ว นักอภิปรัชญาจะสนใจศึกษาความเป็นจริงของมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โลกและเทพเจ้า เป็นต้น ตามหลักวิชาการทางปรัชญานั้น เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ  ควรสงสัยอย่าปลงใจเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง จนกว่าจะตรวจสอบความจริง และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอเสียก่อน นักปรัชญาชอบที่จะแสวงหาความรู้ต่อไป จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ว่าเป็นความจริงหรือความเท็จ   ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น  นักปรัชญาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงปากเดียวไม่น่าเชื่อถือ และไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงนั้นว่าเป็นความจริงได้  ทั้งนี้เป็น เพราะประจักษ์พยานที่เป็นมนุษย์นั้นมีความเห็นแก่ตัวและมักจะมีอคติต่อผู้อื่น อันเกิดจากความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชังและความรักใคร่ชอบพอ เป็นต้น นอกจากนี้มนุษย์ยังมีข้อจำกัดในการรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในอดีต หรือจุดเกิดเหตุที่อยู่ไกลออกไป จึงไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองได้  เป็นต้น  

     ดังนั้น เมื่อมนุษย์เป็นเจ้าของความรู้ทางปรัชญา และมีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร่างกายเป็นสะพานเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่างๆทางสังคมหรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นแล้ว มันอยู่ในสภาพอชั่วระยะเวลาหนึ่งและสลายตัวไปในอากาศธาตุแต่ก่อนที่สภาวะของเหตุการณ์ทางสังคมจะจางหายไป ตัวอย่างเช่นคนฆ่ากันตายในสถานเริงรมย์ในต่างประเทศ  การปล้นร้านทองในต่างจังหวัด  การแย่งสามีภริยากันหรือแฟนของคนอื่น  การหลอกลวงลงทุนทำธุรกิจแล้วเกิดการฉ้อโกงครั้งยิ่งใหญ่มีผู้เสียหายหลายร้อยคน และเกิดความเสียหายหลายร้อยล้านบาท เป็นต้น  เมื่อมนุษย์รับรู้อารมณ์รับรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ก็จะดึงดูดอารมณ์ของข้อเท็จจริงในเรื่องราวเหล่านี้ สั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองแต่เมื่อวิเคราะห์หลักฐานแล้ว ผลการวิเคราะห์นั้นเรื่องราวปรากฏขึ้นในจิตใจของพวกเขาก็ยังไม่ชัดเจนว่ามันเกิดได้อย่างไร ? เพราะมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ทำหน้าที่รับรู้อย่างจำกัดทั้งความรู้ระดับประสาทสัมผัสหรือเหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ขึ้นไป เมื่อปัญหาการรับรู้ของมนุษย์มีขอบเขตจำกัดเช่นนี้ นักปรัชญาจึงแบ่งความจริงทางอภิปรัชญาออกเป็น ๒ ประการกล่าวคือ ๑. ความจริงที่สมมติขึ้น ๒. สัจธรรม  

           ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น    เป็นความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของมนุษย์ อาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น  แล้วตั้งสภาวะอยู่ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไปในอากาศธาตุ  แต่ก่อนสภาวะของเหตุการณ์ทางสังคมและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะจางหายไปจาก มนุษย์สามารถใช้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของตนเองในการรับรู้อารมณ์เหล่านั้นและดึงดูดอารมณ์เหล่านั้นไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในปัญหาเกี่ยวกับความจริงในเรื่องนั้น  ๆ  ตัวอย่างเช่น เมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสี  เป็นชุมชนทางการเมืองที่ชาวพาราณสีก่อสร้างเป็นรัฐเอกราช ที่เกิดขึ้น มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเองในการปกครองประเทศ  แบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะเป็นต้นให้ประชาชนทำงานตามหน้าที่ของตนเองตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ  ต่อมาก็ยกเลิกวรรณะ เมื่อมหาราชานับถือพระพุทธศาสนา แคว้นกาสีดำรงเอกราชมาเป็นเวลาหลายปี  อาณาจักรกาสี  ก่อนที่จะเสื่อมสลายไปเองตามกฎธรรมชาติ  เมื่อมหาราชาแห่งแคว้นกาสีย่อมสละอำนาจอธิปไตยของตนเองให้กับรัฐบาลกลางแห่งสาธารณรัฐอินเดีย เป็นเพียงอำเภอเล็ก ๆ  ขึ้นตรงกับรัฐอุตตรประเทศแห่งสาธารณรัฐอินเดีย  ดังนั้น  เมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสีเป็นชุมชนทางการเมืองที่ก่อตั้งโดยชาวพาราณสี เป็นเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น  ดำรงสภาวะของความเป็นรัฐอยู่ชั่วระยะเวลาหลายปี และเสื่อมสลายไปตามกฎธรรมชาติ  ตามหลักวิชาการทางปรัชญานั้น จึงถือได้ว่าการมีอยู่ของเมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสีโบราณนั้น เป็นความรู้ในระดับประสาทสมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์  จึงถือว่าเมืองพาราณสี เป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นกาสี จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น   

       ๒.สัจธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความจริงขั้นปรมัติ คือความจริงอันเป็นที่สุดและลึกซึ่้งที่สุดยากที่ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้  เป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ได้   โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงอันเป็นที่สุดได้ด้วยเอง เพราะอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น นอกจากนี้มนุษย์มีความเห็นแก่ตัวและมักมีอคติต่อผู้อื่นตลอดเวลา  ทำให้ชีวิตพวกเขาอยู่ในความมืดมิด  แม้โลกมนุษย์จะเจริญรุ่งเรืองด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์  จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นจนค้นพบคลื่นวิทยุโทรคมนาคม โทรศัพท์มือ และอินเตอร์เน็ตไว-ฟาย ก็ตาม แต่ค้นหาความรู้ขั้นปรมัตถ์  แต่ก็ไม่หลักฐานว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบความรู้ที่แท้จริงในขั้นปรมัตถ์ แต่อย่างใด  แต่ผู้เขียนค้นพบหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์เองตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘  จนบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงในระดับอภิญญา ๖  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จจริงที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่นสภาวะนิพพาน   เป็นต้น   ผู้หยั่งรู้ความจริงอันเป็นที่สุดและที่ลึกซึ้งที่สุดยากที่ปุถุชนจะหยั่งรู้ได้     ต้องเป็นผ่านการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘  เช่นพระพุทธเจ้า ,พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์เท่านั้น   เป็นต้น 

          ที่มาของความรู้ของผู้เขียนในฐานะพยานเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตของผู้เขียน ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๕๔ ผู้เขียนเดินทางมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู อำเภอพาราณสี  รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงจากบอกเล่าพระภิกษุชาวไทยรูปหนึ่งซึ่งเดินทางไปศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่าเมืองพาราณสีเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรกแต่กาลเวลาผ่านไปอย่างน้อย  ๑,๕๐๐ ปี    ผู้คนในเมืองนี้นับถือศาสนาฮินดูไปเกือบหมดสิ้นในตัวเมืองเต็มไปด้วยเทวสถานบูชาพระศิวะที่สร้างขึ้นตามริมถนน     ผู้คนรับประทานอาหารทำจากผักเป็นส่วนใหญ่ กินเนื้อสัตว์น้อยมาก ตามริมแม่น้ำคงด้านทิศตะวันตกเต็มไปด้วยท่าน้ำของมหาราชาเมืองต่าง ๆ ที่มีศรัทธาต่อเทพเจ้าได้มาสร้างป้อมปราการเพื่อเป็นสถานที่บูชาเทพเจ้าในยามเช้าและยามค่ำคืนเพื่อช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดที่เรียกว่า "โมกษะ"ความจริงทางอภิปรัชญา มนุษย์เป็นผู้ใช้เหตุผลอธิบายเป็นความของมนุษย์เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรกาสีโบราณ ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมินั้นต้องเป็นความรู้ที่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น แสดงให้เห็นว่านักปรัชญาคนใดสนใจศึกษาความจริงในเรื่อง ต้องมีหลักฐานมายืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น  แม้จะได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เป็นรัฐอิสระโบราณซึ่งเป็นชุมชนทางการเมืองที่ตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชและผู้เขียนมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเพราะอาศัยอยู่ในเมืองนี้  เพื่อศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเป็นเวลาเกือบ ๙ ปี ได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวเมืองพาราณสีแห่งนี้    ซึ่งเป็นสังคมแห่งศาสนาฮินดูผ่านวัฒนธรรมของกินอาหารมังสวิรัติตามเชื่อของศาสนาฮินดู เพื่อร่างกายและจิตวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่เบียดเบียน  สัตว์น้อยใหญ่ในการรับประทานอาหารมังสวิรัติตลอดชีวิต ในยามเช้าวิถีชีวิตของชาวพาราณสีมักจะเดินทางสู่แม่น้ำคงคา เพื่อบูชาพระอาทิตย์เพื่อล้างบาปที่ทำให้ขุ่นมัวเพราะกิเลสจรเข้ามาสู่ชีวิตตลอดเวลา  แม้จะบันเทาความทุกข์ที่อยู่ในจิตเพียงชั่วคราวก็ตามด๊กว่าปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมเมื่อตายไปกรรมเวรก็ยังไม่สิ้นสุดลง อารมณ์กรรมยังคงห่อหุ้มจิตของตนเอง 

      การศึกษาเรื่องเมืองพาราณสี สามารถศึกษาเชิงปรัชญาได้หรือไม่ เมื่อพาราณสีเป็นชุมชนทางการเมืองที่เกิดขึ้นมานานาตั้งแต่มัยพุทธกาล  เมื่อปรัชญาและพระพุทธศาสนาเป็นความรู้ของมนุษย์เหมือนกัน นักปรัชญาและพระพุทธเจ้า  เกิดจากเหตุปัจจัยของกายและจิตเหมือนกันและมีธรมชาติของจิต เป็นผู้คิดปรุงแต่งอารมณ์ต่าง ๆที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ ด้วยการวิเคราะห์หลักฐานซึ่งเป็นข้อมูลทางอารมณ์เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องที่ยังเป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ในข้อเท็จจริง    และทฤษฎีซึ่งเป็นหลักในการวิเคราะห์กล่าวคือ เมืองพาราณสีเป็นชุมชนทางการเมืองของแคว้นกาสี ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาความจริงทางอภิปรัชญาที่สนใจศึกษาปัญหาความจริงของมนุษย์   ดังนั้นการศึกษาปัญหาความจริงของเมืองพาราณสี ในปรัชญาแดนพุทธภูมิ จึงเป็นเรื่องที่สามารถศึกษาได้  

๑. พระนครพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสีหรือไม่                   

   เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในแพลตฟอร์มพระไตรปิฎกของ https://84000.org /tripitaka /pitaka_item /  เพื่อค้นหาข้อความว่า "แคว้นกาสี"พบข้อความคำว่าแคว้นกาสีอยู่ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ หลายเล่ม เช่นเล่มที่ ๑, ๒, ๕, ๖, ๗, ๙,๑๐, ๑๓, ๑๖, เป็นต้น  และได้ค้นพบหลักฐานยืนยันเหตุผลของข้อเท็จจริงว่าพระนครพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสีจริง    ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ  เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุทททกนิกาย วิมานวัตถุ [อิตถีวิมาน] ข้อ๑๕๔ "......อยู่ในกรุงพาราณสีซึ่งเป็นราชธานีแคว้นกาสี" เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเช่นนี้ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตได้ว่าพระนครพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี เป็นดินแดนที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ตั้งเป็นชุมชนของชาวกาสีขึ้นที่ริมฝั่งแม่นำคงคาที่ยังไม่มีความสำคัญนักจากหลักฐานในพระไตรปิฎกผู้เขียนพบว่าเป็นเมืองทีมีชื่อเสียงที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศที่ปรากฎหลักฐานเด่นชัดในพระไตรปิฎกเจ้าชายสิทธัตถะทรงสวมใส่ผ้าไหมกาสีเป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ที่เมืองพาราณมีป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในอดีตเส้นป่าล่ากว้างของพระเจ้าพรหมทัตมหาราชาผู้ปกครองแคว้นกาสีและตั้งป่าแห่งนี้เป็นเขตอภัยทาน ต่อมานักบวชพวกปริพาชก นักพรตได้มาใช้สถานที่แห่งนี้เป็นหลีกเร้นภาวนาเพื่อหาทางหลุดพ้นสิ่งที่อยู่จิตของตน เป็นต้น เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลเรื่อง"เมืองพาราณสี" จากที่มาความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬาฯ  อรรถกถา  บทความ ที่ถูกแชร์ไว้ในอินเตอร์เน็ตนั้นมีหลายเวบไซด์ด้วยกันในสมัยพุทธกาลเมืองพาราณสีเคยเป็นดินแดนของแคว้นโกศลมาก่อน เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์และอรรถกถา เป็นต้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิทรงยกกองทัพไปรุกรานดินแดนในแคว้นกาสีซึ่งเป็นเมืองขึ้นของแคว้นโกศล ในทำสงครามครั้งนั้น พระเจ้าอชาติศัตรูเวเทหิได้รับชัยชนะ เมื่อไม่มีข้อเท็จริงจากพยานเอกสารอื่นใดที่ยกขึ้นมาโต้แย้งเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎก  เพื่อให้เกิดสงสัยอีกต่อไปผู้เขียนเห็นว่าแคว้นกาสีเป็นรัฐที่มีอยู่จริง และตกเป็นเมืองขึ้นของแคว้นโกศลในสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศลดังนั้น พาราณสีจึงเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ - ๔๐๐๐ ปีจึงถือเป็นเมืองมรดกโลกที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน  ดังปรากฏหลักฐานที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตนิกาย สคาถวรรค ๔ ปฐมสังคามสูตรว่า ด้วยสงครามสูตรที่ ๑. ข้อ ๑๒๕  "เรื่องที่เกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิผู้ครองนครมคธทรงจัดจตุรงคินีเสนายกไปรุกราน พระเจ้าปเสนทิโกศล ทางแคว้นกาสีทรงสดับข่าวพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ผู้ครองนครมคธทรงจัดจตุรงคีนีเสนายกมารุกรานเราทางแคว้นกาสีจึงทรงจัดจตุรงคีนีเสนายกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิผู้ครองนครมคธป้องกันแคว้นกาสีครั้งนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิผู้ครองนครมคธ กับพระเจ้าปเสนธิโกศลทรงทำสงครามต่อกันสงครามครั้งนั้น  พระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิผู้ครองนครมคธทรงชนะพระเจ้าปเสนธิโกศล ฝ่ายพระเจ้าปเสนธิโกศลผู้พ่ายแพ้ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุงสาวัตถีราชธานีของพระองค์"

๒.เมืองพาราณสีเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในด้านศิลปะ วัฒนธรรม แฟชั่นและการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าไหมกาสี  

       เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑๒ สุขุมาลสูตร [๓๙]ได้กล่าวว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้สุขุมาลชาติ  เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่งยวด ได้ทราบว่าพระราชบิดารับสั่งให้ขุดสระโบกขรณี (สระบัว) ไว้ เพื่อเราภายในที่อยู่ได้ทราบว่าพระราชบิดานั้น  รับสั่งให้ปลูกอุบลไว้ในสระหนึ่ง รับสั่งให้ปลูกปทุมไว้ในสระหนึ่ง  รับสั่งให้ปลูกปุณฑลิกไว้ในสระหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่เราเราไม่ได้ใช้เฉพาะไม้จันทร์แคว้นกาสีผ้าโพกของเราก็ทำในแคว้นกาสี  ผ้านุ่งเราก็ทำในแค้วนกาสี   ผ้าห่มก็ทำในแคว้นกาสี......" 

     ตามหลักฐานในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์นั้น ผู้เขียนได้รับฟังข้อเท็จจริงว่าพระนครพาราณสี แห่งแคว้นกาสีนั้นเป็นศูนย์กลางแฟชั่นแห่งชมพูทวีปโบราณ มาเป็นระยะเวลาหลายพันปี ๆ แล้ว เปรียบเทียบได้กับเมืองศูนย์กลางแห่งแฟชั่นในยุโรป ที่เรายกย่องว่าเมืองพาราณสีเป็นปารีสแห่งเอเซียใต้เพราะมิใช่ผลิตไหมกาสีขึ้นมาที่นิยมใช้เฉพาะชนวรรณะสูงในเมืองพาราณสีเท่านั้นยังส่งออกไปขายยังต่างประเทศที่แคว้นสักกะชนบทเพราะเราพบหลักฐานยืนยันว่า  เมืองนี้ได้ส่งเสื้อผ้าเครื่องห่มและเครื่องแต่งกายส่งไปขายยังแคว้นสักชนบทให้ชนวรรณะกษัตริย์ใช้โดยเฉพาะเจ้าชายสิทธัตถะพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางมายาเทวีในขณะยังดำรงตำแหน่งรัชทายาทแห่งแคว้นสักชนบททรงสวมใส่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและผ้าห่มที่ทำมาจากผ้าเนื้อดี เป็นผ้ามัสลิน   ผ้าไหมกาสีล้วนแต่ผลิตมาจากช่างฝีมือชั้นเลิศ มาจากความนึกคิดในการจินตาการสร้างสรรค์ด้วยจิตที่มีสมาธิของชาวเมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสีทั้งสิ้น เมื่อไม่มีพยานหลักฐานในคัมภีร์อื่นใดยกข้อเท็จจริงขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกให้เกิดข้อพิรุธสงสัยอีกต่อไปแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อพาราณสีเป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่น  ผ้าไหมกาสีอันมีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลนั้น ในยุคสมัยปัจจุบันชาวเมืองพาราณสียังคงอนุรักษ์การผลิตผ้าไหมกาสีขายราคาแพงให้ชาวต่างประเทศได้สวมใส่ในเมืองนี้อยู่จริง เมื่อผู้เขียนได้เดินทางมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งเมืองพาราณสีรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียผู้เขียนได้รับรู้ผ่านประสบการณ์ผัสสะของตนเองได้เห็นชาวเมืองพาราณสียังรักษาวัฒนธรรมการทอผ้าไหมกาสี ไว้เป็นของที่ระลึกไว้ขายแก่นักท่องเที่ยวทั่วโลก ที่ได้เดินทางมาสู่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เป็นจำนวนไม่น้อยประจำทุกปี ลักษณะของเนื้อผ้าผ้าไหมกาสีนั้น เนื้อเนียนละเอียดหาที่ตำหนิไม่ได้ และมีราคาแพงเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนแห่งยุคนั้น โดยเฉพาะคนที่เกิดในวรรณะอันสูงส่ง พอที่จะมีกำลังทรัพย์ในการซื้อหามาสวมใส่ได้จึงมิใช่เรื่องแปลกใจแต่อย่างใดที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงจัดซื้อมาถวายแก่เจ้าชายสิทธัตถะพระราชโอรส ทรงสวมใส่ใช้ในวิถีชีวิตประจำวันที่ปราสาท ๓ ฤดู    

๓.เป็นเมืองกำเนิดของพระพุทธศาสนา  
    
            ในสมัยก่อนพุทธกาลหรือ ๕๔๙ ก่อนคริสต์ศักราชนั้นศายมุนีพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ (ค้นพบ) กฎธรรมชาติว่าด้วยแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณเป็นแก่นแท้ของชีวิต กล่าวคือเมื่อมนุษย์สิ้นชีวิตลงไปแล้ว มีสิ่งที่ไม่เสื่อมสลายไปตามร่างกาย คือจิตวิญญาณ แต่ออกจากร่างกายไปจุติจิตในภพภูมิอื่นต่อไปส่วนจะเป็นภพภูมิไหน นรก สวรรค์  หรือโลกมนุษย์ขึ้นกับเจตนาของการกระทำเรียกว่า"กรรม" ของตนเองเพราะกรรมที่กระทำไปนั้นมิได้สูญหายไปไหนแต่กลายเป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตของตน และติดตามจิตไปด้วยทุกหนทุกแห่งทรงตรัสรู้ด้วยวิธีการพัฒนาศักยภาพของชีวิตที่เรียกว่า"วิธีการปฏิบัติตามรรคมีองค์๘" ที่ใต้พระศรีมหาโพธิ์แล้วตั้งอยู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ การตรัสรู้แจ้งพระองค์นั้นทำให้เกิดข้อโต้แย้งและหักล้างความเชื่อเรื่องพระพรหม เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นจากพระวรกายของพระองค์และบัญญัติกฎหมายแบ่งประชาชนเป็นวรรณะ๔ พวกทำให้ชีวิตของประชาชนตกอยู่ในความมืดบอดไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้รู้แจ้งถึงความรู้และความจริงแท้ของชีวิตได้  เมื่อระลึกได้เช่นนั้นศายมุนีพุทธเจ้า ทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่หลักธรรมชาติของชีวิตมนุษย์และวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความรู้และความจริงในระดับอภิญญา ๖ นั้นเมื่อได้เสด็จมาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕  ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเขตพระนครพาราณสี แคว้นกาสี ทำให้พระอัญญาโกณทัญญะสำเร็จโสดาบันขอบวชในพระพุทธศาสนาพร้อมเพื่อนอีก ๔ รูปทำให้เมืองพาราณสีเป็นเมืองกำเนิดของพุทธสาวกเป็นครั้งแรกในโลก 
 

   ดังนั้นการที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาทรงแสดงพระธรรมคำสอนเรื่องชีวิตแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕และมีสาวกเกิดความเชื่อในหลักธรรมคำสอนนั้นและนำไปพัฒนาศักยภาพของชีวิตจนมีความรู้ที่เป็นความจริงแท้ของชีวิตที่เรียกว่า "อภิญญา ๖ พระพุทธศาสนามีองค์ประกอบของคำว่า"ศาสนา"ครบถ้วน ๕ ประการ ณ  ธัมเมฆสถูป ในตำบลสารนารถ เมืองพาราณีในปัจจุบันนี้ คือ (๑) มีศาสดาคือโคตมะพระพุทธเจ้า (๒) หลักธรรม กฎธรรมชาติที่เรียกว่าอริสัจ ๔ บ้าง กฎแห่งกรรมบ้าง ปฏิจจสมุปบาทบ้างเป็นต้น (๓) มีพุทธสาวกคือปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (๔) มีพิธีการบวชเกิดขึ้นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (๕) มีศาสนสถานเกิดขึ้นครั้งแรกคือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   เมื่อ ปี พ.ศ. ๙๔๘ สมณะฟาเหียน ผู้แสวงบุญชาวจีนมาเยือนเมืองพาราณสีและบันทึกเรื่องราวที่รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองพาราณสีไปสู่ประเทศจีน เมื่อปีพ.ศ. ๑๑๗๘  สมณะถั่มกัมจั่งนักบวชชาวจีน เดินทางมาเยือนเมืองพาราณสีบันทึกเหตุการณ์ และเรื่องราวในเมืองพาราณสีไปสู่เมืองพาราณสีเป็นสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดูของรัฐบาลกลางที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ที่สุดของประเทศอินเดีย และมีอาณาเขตรวมไปถึงตำบลสารนารถที่เป็นป่าอิสิปตนมฤคทายวันอันเป็นสถานเลี้ยงกวางของพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์ปกครองเมืองพาราณสี เมืองพาราณสี จัดเป็นเมืองหนึ่งในสี่เมืองของสังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนาให้พุทธสาวกของพระองค์ที่ระลึกถึงพระองค์และอยากใกล้ชิดพระพุทธองค์เสด็จไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง เมืองพาราณสีเป็นอำเภอพาราณสีเป็น ๑ ใน ๗๒ อำเภอของรัฐอุตตรประเทศเมืองพาราณสีได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ (Holy City) ๑ ใน ๘ ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูที่ชาวฮินดูต้องเดินทางมาเพื่อล้างบาป เพื่อหยุดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ 

          ๑.๙ ศังกาจารย์    นักบวชในศาสนาฮินดูได้ตั้งนิกายไศวะขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ ในเมืองพาราณสีการบูชาพระศิวะที่ถูกต้องคือการทำความดีถวายพระศิวะเช่นเดียวกับคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติบูชาเป็นความดีทำเพื่อถวายพระพุทธเจ้าการเข้าถึงอาตมันทำได้ด้วยการทำสมาธิเช่นเดียวกับการเข้าถึงนิพพานด้วยการทำสมาธิ เป็นต้น      
  

สะพานมาราวิยะ(Malaviya  bridge) เป็นสะพานสร้างขึ้นมาเพื่อให้ชาวเมืองพาราณสีนักท่องเที่ยวทั่วโลกใช้เป็นที่สัญจรข้ามไปมาระหว่างฝังนรกกับฝั่งสวรรค์  เป็นสะพานสองชั้นข้างบนใช้เป็นเส้นทางเดินรถยนต์วิ่งไปมาทั้งสองฝังส่วนชั้นล่าง เป็นทางรถไฟที่ใช้วิ่งระหว่างรัฐและเมืองต่างๆทั่วประเทศอินเดียสถานที่ก่อสร้างแห่งนี้เรียกว่า "ราชการ์ต"(Raj ghat)เป็นสถานที่แห่งนี้ นักประวัติศาสตร์ชาวอินเดียเชื่อว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้เส้นทางราชการ์ตนี้ผ่านไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หลังจากตรัสรู้แจ้งในกฎธรรมชาติของวิถีความเป็นไปของชีวิตมนุษย์แล้วพระพุทธองค์ได้จากตำบลอุรุเวลาเสนานิคมมาถึงเมืองพาราณสี   ๒๖๐ กิโลเมตร เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยใช้เรือตรงสะพานมาราวิยะข้ามแม่น้ำคงคา   เพื่อเดินทางต่อไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อไปแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ สถานที่แห่งนี้เราใช้ลงเรือไปเที่ยวอารตีบูชาในยามค่ำคืนทุกวันเป็นการประกอบพิธีบูชายัญด้วยไฟ เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากชีวิตของตน ภาพที่เห็นเป็นทางเข้ามหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู ที่มีชื่อเสียงของประเทศอินเดียอยู่ในอันดับที่ ๗๐๑ ของโลก อันดับที่ ๑๕๕ ของเอเซีย มีคณาจารย์ ๑๒๓๐ คน  มีนักศึกษาชาวอินเดีย ๒๕,๑๓๘ คนนักศึกษาต่างชาติ ๕๑๖ คน หอพักพระนักศึกษาไทยตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยห่างจากประตูใหญ่ประมาณ ๒.๐๐ กิโลเมตรที่นี้ การจราจรคับคั่งไปด้วยผู้คนเข้าออกตลอดเวลามีเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ดูแลการเข้าออกรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งขึ้นมา เพื่อรักษาปรัชญาศาสนาฮินดูด้วยการเปิดหลักสูตรสาขาปรัชญาศาสนาในมหาวทยาลัยแห่งนี้มากว่า ๙๓ ปีแล้ว เมื่อผู้เขียนเดินทางมาใหม่ๆ มีความสุขในการศึกษามากเพราะผู้เขียนมีเพื่อนต่างชาติ ทำให้ฉันมีโอกาสพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษ เรียนรู้นิสัยใจคอของคนอินเดีย ที่นักการศึกษาอาจารย์และนิสิตด้วยกันการเรียนหนังสือในระดับปริญญาเอกถือว่า เป็นทำงานที่หนักพอสมควรเพราะต้องแปลอังกฤษตลอดเวลาเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙  ผู้เขียนได้เดินทางมาเยี่ยมเมืองพาราณสี ที่ผู้เขียนถือว่าบ้านแห่งที่สองของผู้เขียนในประเทศอินเดียอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะหอพักสิทธารถวิหารเป็นหอพักนักบวช   ที่เป็นนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดูเป็นมหาวิทยาลัยชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศอินเดียผู้เขียนอาศัยที่นี้เป็นเวลา ๙ ปีเป็นความทรงจำที่ดีงามช่วงหนึ่งของชีวิตวัดไทยสารนารถ เป็นวัดไทยอีกหนึ่งที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ผู้เขียนทราบเบื้องต้นเพียงว่าตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ในนามมูลนิธิมฤทายวันมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๓๒ ไร่ด้วยกันห่างจากมหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดู ที่ผู้เขียนศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ออกไปประมาณ ๑๔ กิโลเมตรด้วยกันวัดแห่งนี้มีพระไทยและชาวอินเดียจำพรรษาจำนวนหลายรูปด้วยกันพระอินเดียหลายรูปเหล่านี้พูดภาษาไทยได้แล้วยังมีหน้าที่ทำงานการกุศลด้วยการเปิดโรงเรียนให้การศึกษาทางพระพุทธศาสนาและวิชาการทางโลกแก่ชาวอินเดียด้วยโดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาพระพุทธศาสนาพวกเขาต้องสวดมนต์ได้ สมาทานศีลได้เขามีนักเรียนเข้ามาศึกษามากพอสมควร 

ในยามอยู่ต่างประเทศคนไทยคนไทยยังชอบพูดภาษาไทย รับประทานอาหารไทยด้วยในภาพเป็นโรงเรียนP.P.SPublic School การที่สร้างขึ้นมาในนามมูลนิธิมฤคทายวันมหาวิหารที่เปิดสอนตั้งแต่เด็กเล็กไปจนเกรด ๑๒ สอนเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฮินดีเป็นภาษาหลัก เพราะประเทศอินเดียมีภาษาราชการถึง ๑๔ ภาษาด้วยกันมหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดูที่ผู้เขียนศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกห่างจากวัดแห่งนี้ออกไปอีกประมาณ ๑๔ กิโลเมตรในแต่ละปีชาวอินเดียที่จบเกรด ๑๒ ทุกคนมีความปรารถนาเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และยื่นใบสมัครเข้าสอบปีละหลายแสนคน  มหาวิทยาลัยรับเข้าศึกษาเพียงละไม่กี่พันคน เป็นอะไรที่ตื่นตาตื่นใจสำหรับฉันมากเลยที่เห็นคนเป็นแสนมาเข้าสอบพร้อมกันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดีย ที่มีพลเมืองจำนวนมหาศาลมาร่วมทำกิจกรรมต่างคนต่างสนใจซึ่งกันและกัน แสดงถึงศักยภาพความพร้อมเพียงของคนในชาติของเขา วันนี้ผู้เขียนเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยเสร็จแล้วกลับมาที่สารนารถ  เพราะผู้เขียนมารอบรรยายสถานที่แสดงปฐมเทศนาแก่ญาติโยมคณะผู้แสวงบุญจากประเทศไทยก่อนคณะจะเดินทางมาถึงผู้เขียนอยู่ตัดสินใจไปผู้เขียนเช้าที่โรงอาหารวัดไทยสารนารถที่เป็นสถานที่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษา ในวัดนี้ผู้เขียนภัตตาหารเป็นประจำที่นี้ทุกวันส่วนคณะผู้แสวงบุญกลับ  จากแม่น้ำคงคาพากันไปรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม ที่พักค่อยเดินทางไปที่สารนารถหรือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นสถานที่แสดงธรรมครั้งแรกของพระพุทธเจ้าเพื่อให้ธรรมะที่พระองค์ทรงค้นพบเผยแผ่ออกไปให้กว้างไกล ผู้เขียนเช้าที่วัดไทยสารนารถที่โรงครัวของวัด มีญาติโยมคนไทยทำอาหารไทยไว้ต้อนรับผู้แสวงบุญที่ติดต่อเข้ามา เนื่องจากข้อจำกัดของเวลาของคณะสงฆ์ต้องถวายเพลตอนเวลา ๑๑ โมงคณะสงฆ์จะกลับไปฉันภัตตาหารที่อื่น แทบจะไม่ทันเวลาอาหารรสชาติแบบไทยในอินเดียมีแทบทุกอย่าง เพราะคนอินเดียทำงานที่เมืองไทยมีมากที่วัดพอที่จะช่วยเหลือคนไทยอย่างผู้เขียนที่เดินทางมาต่างประเทศ  ประเทศอินเดียมีทุกอย่างยกเว้นแต่น้ำปลาและปราร้าเท่านั้น 

สุนทรียศาสตร์ของปรัชญาชีวิต 
   
              ในยามค่ำคืนของแม่น้ำคงคา เรานั่งอยู่บนเรือมองไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคาด้านทิศตะวันตก  มองเห็นท่าต่างๆงดงามดุจสวรรค์บนดินเต็มไปด้วยแสงไฟฟ้าหลากสีสรรค์จากหลอดแสงไฟฟ้าหลายร้อยดวง  ที่เขาติดตั้งประดับประดาตลอดท่าน้ำคงคาอันยาวไกลหลายกิโลเมตร  เพื่อปรุงแต่งฝั่งแม่น้ำคงอันมืดมิดในยามค่ำคืนให้สว่างไสวให้ทั่ว ถึงแม้แสงสีนั้นไม่ส่องสว่างทั่วท้องฟ้าก็ตาม แต่ก็สามารถหันจิตของฉันละทิ้งความทุกข์เพราะเหนื่อยล้าจากการเดินทางอันยาวไกลมาสนใจความงามที่ตรึงตาฉันได้บ้างอย่างน้อยก็ยังมีที่อีกที่หนึ่งจิตฉันได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าได้   และเป็นมรรคาแห่งแสงสว่างให้ผู้คนเดินทางตามฝั่งแม่น้ำคงคาให้เหล่ามนุษย์ได้อาศัยริมฝั่งแม่น้ำและนักท่องเที่ยวยามราตรีได้มองเห็นภยันตรายใดอาจจะเกิดขึ้นใกล้ไกลย่อมได้เห็นมองทางอย่างที่เป็นไม่ใช่ความอยากที่ตนอยากเห็น  เพราะมันเป็นเช่นนั้นเองพระอาทิตย์ลาลับใช่ดับลง ผู้คนมากมายอาศัยฝั่งไม่หยุดยั้งชั่งใจในหน้าหนาว ลงอาบน้ำสู่แม่น้ำคงคา อากาศเย็นส่งเมฆหมอกพัดมา ในบางคราวยามเขาหนาวโผล่น้ำย่ำราตรีไหลน้ำพัดลงสู่ที่ต่ำแม้มืดค่ำย่ำเท้าริมน้ำไม่หลุดไหล  วิหคบินมาอยู่ทั่วไป แสงจากหลอดไฟฟ้าเปิดไว้ส่องให้ทุกชีวิตได้รู้ทางให้สว่างต่อไปให้ใครตลอดทั้งคืน ให้เปิดทั่วไปในฝั่งแม่น้ำคงคาทำให้จิตมนุษย์รื่นรมย์ชมวิถีชีวิตเป็นไปของมนุษย์จิตมนุษย์ถูกนำด้วยอารมณ์เรื่องราวของโลก  ความอ้างว้างของไร้สิ่งเหนี่ยวย่อมทำให้มนุษย์ทุกข์โศกแต่มนุษย์เป็นสัตว์มีปัญญาเป็นเครื่องนำโชค  เพราะรู้จักพิจารณาแก้ไขความทุกข์โศกนั้นด้วย วิถีคิดทางปัญญาด้วยการใคร่ครวญปัญหาด้วยตนเอง

           ๑.๑๐ การใช้ชีวิตของผู้เขียนในเมืองพาราณสี   ตามทฤษฎีความรู้เมื่อศึกษาค้นคว้าจากทฤษฎีประจักษ์นิยม     เป็นทฤษฎีบ่อเกิดความรู้และความจริงของชีวิตมนุษย์มีแนวคิดว่า  ชีวิตมนุษย์แต่ละคนสามารถรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ของตนเอง เพียงเดียวเท่านั้นกล่าวคือ ผู้เขียนมีความรู้และความเป็นจริงในสถานที่ตั้งอยู่ของเมืองพาราณสีนั้น มีที่มาของความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียนเองเพราะผู้เขียนเคยใช้ชีวิตในเมืองนี้ในฐานะนิสิตนานาชาติเป็นเวลา ๙ ปี มาศึกษาในระดับปริญญาโท  และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดูเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลกลาง มีอายุไม่น้อยกว่า ๙๐ ปีแล้ว  ปี ๒๐๐๒ ผู้เขียนเดินทางจากประเทศด้วยสายการบินไทยมาศึกษาในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย จากสนามบินดอนเมืองมาสู่เมืองโกลกัลต้า (Kolkata) และนั่งรถไฟมาที่เมืองพาราณสี (Varanasi)  อันเก่าแก่แห่งนี้ ๖๔๗ กิโลเมตร   ใช้เวลาอีก ๑๑ ชั่วกว่าชั่วโมง เป็นเมืองเล็ก ๆที่ตั้งบนฝั่งแม่น้ำคงคาทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งวันตก  ผู้เขียนมองด้วยความผิดหวังเล็กน้อยเพราะเมืองแห่งนี้ยังมิได้ทันสมัยอย่างประเทศไทยที่ ผู้เขียนเคยอยู่อาศัยแต่อย่างใด เป็นเมืองชนบทแต่มีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมากได้เก็บความเงียบไว้ในใจตนรถของจิ๊บโดยสารบรรทุกคน และสิ่งจากสถานีมงคลสาหร่ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำคงคาลงถนนเรียบแม่น้ำคงคาเข้าสู่มหาวิทยาลัยอันเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกเมืองเงียบสงบ ฉันมองวัวควายเดินไปตามท้องถนนใช้ชีวิตปกติกับคนเพราะเขานับถือศาสนาฮินดู  จะกินผักเป็นอาหารหลักปรุงแต่งด้วยเครื่องเทศน์นานาชนิด เพื่อความบริสุทธิ์ของร่างกายไม่ปะปนด้วยเลือดเนื้อของสัตว์นานาชนิดเพื่อการยังชีพเป็นสัญญาของตราบาปอยู่ในจิตวิญญาณต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตของผู้เขียนเริ่มต้นค้นหาตัวตนอีกครั้งหนึ่ง    


ปรัชญาชีวิต

    ยามเวลาเช้าในเมืองพาราณสีของวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๕.๐๐ น.  วันนี้ฉันออกจากสถานที่พักแรมในเมืองพาราณสี ระหว่างการเดินทางไปแสวงบุญในแดนพุทธภูมิเพื่อนั่งรถตุ๊ก ๆ ฝ่าอากาศหนาวเย็น  ๑๓ องศาไปสู่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู รัฐยูพี สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อรับเอกสารเกี่ยวกับการเทียบวุฒิการศึกษาของอาจารย์ประจำหลักสูตร และนั่งรถหาตู้เอทีเอ็มกดเงินเพื่อทำบุญกับคณะนักศึกษาไทย ฉันนั่งรถกดสามตู้กว่าจะเงินสองพันรูปีเกือบทั่วเมืองพาราณสีเต็มไปด้วยผู้คนชาวอินเดียหลายคนหาที่ตู้เอทีเอ็มกดเงิน เนื่องจากรัฐบาลเขายกเลิกแบงค์ธนบัตร ๕๐๐ รูปี และ ๑๐๐๐ รูปี เพราะมีการปลอมแบงค์กันมากทำให้เงินสดขาดแคลนมากทั่วอินเดีย บางที่ต้องมีการประท้วงรัฐบาลด้วยเพื่อแก้ไขปัญหาก็มี ที่สำคัญคัญปิดถนนจราจรเส้นทางการเดินทางแสวงบุญของคณะเราเมืองพาราณสี ยามเช้าอากาศไม่หนาวมากนักตัวเมืองเงียบสงบผู้คนออกสู่ท้องถนนยังน้อยอยู่ร้านขายน้ำชาเล็ก ๆ  เปิดบริการขายให้แก่ผู้ตื่นแต่เช้าให้ร่างกายอบอุ่นแก้อากาศหนาวได้เป็นอย่างดีเหตุผล ที่พวกใช้ถ้วยดินเล็กๆ เมื่อใช้แล้วโยนทิ้งเลยเกิดจากแนวคิดการแบ่งชนชั้นวรรณะในสังคมเขาไม่ต้องการใช้ของร่วมกันเป็นอัตตาหรือทิฐิมานะ ยังหลงเหลือเป็นวัฒนธรรมของคนอินเดียมีให้เห็นตามตรอกซอกซอยของเมืองพาราณสี ในยามไม่มีเงินติดตัวบัตรเอทีเอ็มแทบจะไร้ความหมาย เพราะกดเงินไม่ได้ไม่น่าเชื่อว่า จะเป็นประสบการณ์ของชีวิตคนไม่น่าจะได้เจอะเจอในชีวิตนี้ในความเงียบของชีวิตในยามเช้าผู้คนออกจากบ้านน้อยร้านน้ำเปิดขายแล้วแค่ ๑ รูปี มีอาชีพรับจ้างถีบสามล้อยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป เพราะปริมานของประชาชนเขามีมากยังมีคนจนส่วนหนึ่ใช้บริการของเขาอยู่เขาดำรงชีพอยู่ได้ด้วย การถีบสามล้ออย่างที่เราให้เห็น แม้คนส่วนใหญ่ของเขายังยากจน     แต่คนจนส่วนหนึ่งมีเอทีเอ็มใช้เพราะคนอินเดียเก็บเงินเก่งคนอินเดียส่วนใหญ่รับประทานอาหารทำจากผักเป็นส่วนใหญ่เขาจึงไม่เดือดร้อน เพราะมีลูกเยอะในแต่ละวันชาวฮินดูจำนวนหลายร้อยคนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ ตื่นแต่เช้าหิวประป๋องน้ำเพื่อไปอาบน้ำประกอบพิธีบูชาพระแม่น้ำคงคาด้วยกะทงดอกไม้ เป็นประจำทุกวันตั้งแต่เช้ายันเย็น เป็นเมืองมีผู้คนอยู่อาศัยต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานหลายพันปีแล้วในปัจจุบันเมืองพาราณสีแคว้นกาสีได้ สละอำนาจอธิปไตยให้แก่รัฐบาลกลางของสาธารณะรัฐอินเดีย เป็นผู้บริหารจัดการเมืองพาณาณสีแห่งแคว้นกาสีที่ขึ้นตรงต่อรัฐอุตตรประเทศ   จึงกลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับรัฐอุตตรประเทศหนึ่งในหลายรัฐของสาธารณรัฐอินเดียพวกเขายังรักษาอุตสาหกรรมอันมีชื่อเสียงทางอุตสาหกรรมไหมกาสี ที่มีตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลต่อเนื่องมายาวนานจนถึงยุคปัจจุบัน.           

บรรณานุกรม
๑.http://www.topuniversities.com/universities/Banaras-Hindu-university  

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ